กีฬาเทคบอล (TEQ Ball)
สร้างโดย : นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
สร้างเมื่อ จันทร์, 08/01/2022 – 16:55
กีฬาเทคบอล (TEQ Ball)
1. ประวัติความเป็นมาของกีฬาเทคบอล
กีฬาเทคบอล (TEQ Ball) เปิดตัวขึ้นในปี ค.ศ. 2014 ณ ประเทศฮังการี เป็นกีฬาที่ใช้ทักษะของกีฬาฟุตบอลเป็นพื้นฐาน มีอุปกรณ์ในการเล่นใช้เพียงโต๊ะทรงโค้งและลูกบอล โดยให้ผู้เล่นทั้งสองฝั่งใช้อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย (ยกเว้นมือและแขน) ส่งลูกบอลโต้ตอบกันไปมา การนับแต้มคิดจากการที่ลูกบอลไปสัมผัสโต๊ะฝั่งตรงข้าม คล้ายกับกีฬาเทเบิลเทนนิส ด้วยลักษณะการเล่นที่ไม่มีการปะทะกันโดยตรงระหว่างตัวผู้เล่น และเป็นกีฬาที่ผู้เล่นจะได้เสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางกีฬาหลายด้านไปพร้อมๆกัน ทำให้กีฬาเทคบอลได้รับความนิยมอย่างมากในหลายประเทศ โดยในปัจจุบันสหพันธ์กีฬาเทค บอลนานาชาติ (Fédération Internationale de Teqball : FITEQ) มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 46 ประเทศทั่วโลก ตั้งอยู่ ณ สมาพันธรัฐสวิส มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนากีฬาเทคบอลให้แพร่หลายทั่วโลก ช่วยผลักดันให้มีการจัดตั้งสมาคมกีฬาเทคบอลในประเทศต่างๆ และร่วมกันตั้งกฎของกีฬาเทคบอล นอกจากนี้สหพันธ์เทคบอลยังมีการจัดตั้ง ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดการแข่งขันรายการระดับชาติและนานาชาติ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. สนามแข่งขัน
- ขนาดสนามแข่งขันเทคบอล ต้องมีความสูงของเพดานอย่างน้อย 5 เมตร แต่ไม่เกิน 15 เมตร
- ขนาดสนามแข่งขันเทคบอลในร่มอย่างป็นทางการ กว้าง ไม่น้อยกว่า 12 เมตร ยาว ไม่น้อยกว่า 16 เมตร ความสูงของเพดานไม่น้อยกว่า 7 เมตร
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน
- โต๊ะเทคบอล โต๊ะทรงโค้ง กว้าง 1.7 ม.รวมตาข่าย (1.5 ม.ไม่รวมตาข่าย) ยาว 3 ม. ความสูงจากพื้นถึง ตาข่าย 90 ซม.
- โต๊ะเดี่ยว (Teq One) เป็นโต๊ะเทคบอลที่ได้รับการพัฒนารุ่นล่าสุดเพื่อความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการแข่งขัน เหมาะกับกฎ กติกาของการแข่งขัน นักกีฬาสามารถแสดงความสามารถของแต่ละบุคคลได้อย่างเต็มที่ โต๊ะเทคบอลรุ่นนี้สามารถยึดติดกับพื้นสนามได้ ใช้ได้ทั้งการแข่งขันในร่มและกลางแจ้ง
- โต๊ะพับได้ (Teq Smart) เป็นโต๊ะเทคบอลรุ่นเดียวกันกับ โต๊ะเดี่ยว (Teq One) แต่สามารถพับได้ ใช้ได้ทั้งการแข่งขันในร่มและกลางแจ้ง จึงง่ายและสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย นอกจากนี้ยังสามารถพับโต๊ะลงครึ่งนึง แล้วใช้ในการฝึกซ้อมกับผนังแทนการโต้ตอบกับคู่ต่อสู้ได้
- โต๊ะขนาดเบา (Teq Lite) โต๊ะเทคบอลรุ่นสล่าสุดที่ได้รับการพัฒนาทั้งด้านวัสดุของตัวโต๊ะเป็นไฟเบอร์กลาส ซึ่งมีน้ำหนักเบาแต่มีความทนทานมากขึ้น และเพิ่มการติดตั้งล้อที่ขาโต๊ะ เพื่อความสะดวกมากยิ่งขึ้นในการเคลื่อนย้าย
- ตาข่าย ทำจากวัสดุแข็ง กว้าง (ความยาว) 1.7 ม. หนา 20 มม. สูง 14 ซม.(วัดจากพื้นโต๊ะ)
- ลูกบอล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่น้อยกว่า 67 ซม. ไม่เกิน 69 ซม. (ลูกบอลเบอร์ 5) น้ำหนักไม่เกิน 435 กรัมไม่น้อยกว่า 420 กรัม เป็นแบบสูบลม ความดันที่ระดับน้ำทะเล 0.3 – 0.5 atm วัสดุทำจากหนังหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม
4. กติกาการเล่นเทคบอล (เป็นกติกาใช้ขั้นต้น ทางสหพันธ์ได้มีการปรับแก้ไขใหม่บางรายการ อยู่ระหว่างการแปล)
- การแข่งขันใช้ระบบการเล่นแบบ 12 แต้ม แทนแบบเดิม 20 แต้ม ผู้เล่น/ทีมที่ทำแต้มได้ 3 เซ็ตก่อน เป็นผู้ชนะการแข่งขัน
- การเสิร์ฟ คือการใช้อวัยวะใดในการเสิร์ฟก็ได้ ยกเว้นมือและแขน ส่งลูกบอลข้ามตาข่ายให้ตกลงบนพื้นโต๊ะฝั่งตรงข้ามโดยห้ามลูกบอลสัมผัสตาข่าย
- ผู้เสิร์ฟมีโอกาสเสิร์ฟได้ 2 ครั้ง ต้องเสิร์ฟจากด้านหลังของโต๊ะ 2 เมตร โดยห้ามเหยียบเส้นหลังและไม่ออกจากแนวโต๊ะด้านข้าง เมื่อฝั่งเสิร์ฟชนะการเล่นลูกนั้น ผู้ที่ทำการเสิร์ฟอยู่แล้วให้ทำการเสิร์ฟต่อ
- เมื่อผู้เล่น/ทีมฝั่งเดิมทำแต้มการเสิร์ฟติดต่อกัน 4 คะแนน ให้เปลี่ยนฝั่งในการเสิร์ฟ
- ห้ามใช้อวัยวะส่วนเดิมสัมผัสลูกบอลติดต่อกัน 2 ครั้ง
- ห้ามใช้อวัยวะส่วนเดิมส่งลูกบอลไปยังแดนของฝั่งตรงข้ามติดต่อกัน 2 ครั้ง
- ผู้เล่นแต่ละคน/ทีม สามารถใช้อวัยวะใดก็ได้ ยกเว้นมือและแขน สัมผัสลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งในการส่งลูกบอลไปแดนของฝั่งตรงข้าม
- ในการแข่งขันประเภทคู่ แต่ละทีมสัมผัสลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งแต่ต้องมีการส่งบอลให้ทีมของตนเองอย่างน้อย 1 ครั้ง
- ห้ามสัมผัสตัวผู้เล่นฝั่งตรงข้ามและโต๊ะระหว่างการแข่งขัน
- หากลูกบอลสัมผัสขอบโต๊ะ (edge ball) ต้องทำการเสิร์ฟใหม่
5. ประเภทและชนิดการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาเทคบอล ประกอบด้วย 3 ประเภท ดังนี้
- การแข่งขันประเภทเดี่ยว (Singles)
- ประเภทเดี่ยวชาย (Men’s Single)
- ประเภทเดี่ยวหญิง (Women’s Single)
- การแข่งขันประเภทคู่ (Doubles)
- ประเภทคู่ชาย (Men’s Double)
- ประเภทคู่หญิง (Women’sDouble)
- การแข่งขันประเภทคู่ผสม (Mixed Doubles)
การแข่งขันกีฬาเทคบอล มี 3 ชนิด ดังนี้
- เทคบอลในร่ม (Indoor)
- เทคบอลกลางแจ้ง (Outdoor)
- เทคบอลชายหาด (Beach)
6. ประเภทการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาเทคบอลนานาชาติ (Fédération Internationale de Teqball : FITEQ) ได้จัดให้มีรายการแข่งขันกีฬาเทคบอล ดังต่อไปนี้
- World Teqball Championships
- Teqball Masters
- Grand Prix
- World Series
- Challenger Cup
- National Challenger Series
7. อันดับโลก
สมาพันธ์เทคบอลนานาชาติ(FITEQ) มีการจัดอันดับโลกในการแข่งขันเดี่ยว การแข่งขันคู่ และการแข่งขันคู่ผสม โดยอิงจากคะแนนอันดับโลกที่ได้รับจากการแข่งขันอย่างเป็นทางการของสมาพันธ์ สามารถดูรายละเอียดได้ดังนี้
- MEN’S SINGLES RANKING
- WOMEN’S SINGLES RANKING
- MEN’S DOUBLES RANKING
- WOMEN’S DOUBLES RANKING
- MIXED DOUBLES RANKING
- OVERALL PRIZE MONEY
8. รายการแข่งขันที่ผ่านมา
การแข่งขันระดับนานาชาติสามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.fiteq.org/events/international
9. ความร่วมมือระหว่างสหพันธ์กีฬาเทคบอลนานาชาติ (FITEQ) กับองค์กรกีฬาระดับนานาชาติ
สหพันธ์กีฬาเทคบอลนานาชาติ (Fédération Internationale de Teqball : FITEQ) มีการดำเนินงานร่วมกับองค์กรกีฬาระดับนานาชาติต่างๆ ดังนี้
- ได้รับการรับรองชนิดกีฬา (recognized) จากสมาคมคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติแอฟริกา (Association of National Olympic Committees of Africa Association: ANOCA)
- ได้รับการรับรองชนิดกีฬา (recognized) จากสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia : OCA)
- ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ (observer status) จากสมัชชาสหพันธ์กีฬานานาชาติ (Global Association of International Sports Federations: GAISF)
- ได้รับสถานะสมาชิก (member)จากสมาคมกีฬามวลชนนานาชาติ(The Association For International Sport for All: TAFISA)
นอกจากนี้ สหพันธ์กีฬาเทคบอลนานาชาติ (FITEQ) ยังมีความร่วมมือกับองค์กรกีฬาระดับนานาชาติอื่นอีกหลายองค์กร ได้แก่
- Olympic Africa International Foundation
- Peace and Sport
- International Testing Agency (ITA)
- International School Sport Federation (ISF)
รวมคลิปการแข่งขันของทีมชาติไทย
ทีมชาติไทย ได้รับการโหวตให้เป็น “Favourite Team” ในศึก Teqball World Championships 2022 และได้เข้าไปแข่งขันในงาน Gala Match โดยพบกับทีมชาติบราซิล สรุปผล Gala Match แข่งขันกันในประเภท Men’s Doubles ทีมชาติไทย นำโดย นายอุเทน กู้เขียว และ จ.อ. พักตร์พงษ์ เดชเจริญ เอาชนะ Matheus Ferraz และ Rodrigo Medeiros จากบราซิล ไปได้ด้วยคะแนน 12:6
ที่มา :
- https://www.thaiteqball.org
- https://www.fiteq.org/