การสืบพันธุ์ของพืชดอก
สร้างโดย : นายจำเริญ บุญยืน
สร้างเมื่อ พฤ, 11/12/2008 – 14:30
มีผู้อ่าน 198,546 ครั้ง (28/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/18858
การสืบพันธุ์ของพืชดอก
ลักษณะของพืชมีดอก
พืชมีดอก หมายถึง พืชที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะออก ดอก เพื่อใช้ในการสืบพันธุ์ เช่น เงาะ ทุเรียน กุหลาบ มะลิ บัว กล้วยไม้ พืชดอกบางชนิดมีดอกขนาดใหญ่สามารถมองเห็นชัดเจนเช่น ดอกผลไม้ต่าง ๆ พืชบางชนิดมีดอกขนาดเล็กมาก จนมองเกือบไม่เห็นส่วนประกอบต่าง ๆภายในดอก เช่น จอก แหน สีของดอก ก็จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของพืช แม้แต่พืชชนิดเดียวกัน แต่ต่างพันธุ์ก็ให้ดอกที่มีลักษณะและสีที่แตกต่างกันได้
พืชมีดอก ขึ้นอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ทั่วไป บางชนิดลอยอยู่ที่ผิวน้ำ เช่น ผักตบชวา บัว จอก และแหน บางชนิดจมอยู่ในน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอก บางชนิดชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นแฉะ เช่น ผักบุ้ง และผักกระสัง บางชนิดขึ้นในที่แห้งแล้งเช่น กระบองเพชร แต่ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่ตามดินทั่วๆ ไป
เมื่อพืชมีดอกเจริญเติบโตอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจนเจริญเติบโตเต็มที่ แล้วจึงจะสร้างดอก ซึ่งดอกของพืชมีดอกแต่ละชนิดจะมีรูปร่าง ขนาด สี และส่วนประกอบแตกต่างกันออกไป
ดอกของพืชจำแนกตามการเกิด
ดอกของพืชเราสามารถจำแนกตามการเกิดออกได้ 2 ชนิด คือ
- ดอกเดี่ยว คือ ดอกที่โผล่ขึ้นมาจากก้านชูดอกเพียงก้านเดียว เช่น ดอกบัว ดอกกุหลาบ ดอกชบา ดอกดาวเรือง ดอกตานตะวัน ฯลฯ
- ดอกช่อ คือ ดอกหลายๆ ดอกที่โผล่ออกมาจากก้านดอกเดียวกัน เช่น ดอกเข็ม ดอกกล้วยไม้ ดอกเงาะ ดอกมะม่วง ดอกทุเรียน ฯลฯ
การสืบพันธุ์ของพืชมีดอก
พืชมีดอกจะอาศัยดอก เป็นอวัยวะในการสืบพันธุ์ เรียกว่า การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
การสืบพันธุ์ของพืชมีดอก ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 2 ขั้นตอน คือ
- การถ่ายละอองเรณู
- การปฏิสนธิ
นอกจากนี้พืชมีดอกยังสามารถสืบพันธุ์โดยใช้วิธีอื่นที่ไม่ต้องใช้ดอก เรียกว่า การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่น ใช้ กิ่ง ใบ ราก ลำต้น
องค์ประกอบของดอก
ดอกของพืชเป็นส่วนที่พืชใช้ในการสืบพันธุ์ ดอกของพืชมีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย
- กลีบเลี้ยง เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของดอก มักมีสีเขียวคล้ายใบทำหน้าที่ี่ห่อหุ้มส่วนที่อยู่ข้างในของดอกไว้ ในขณะที่ดอกยังอ่อนอยู่ หรือที่ยังเป็นดอกตูม เพื่อป้องกันอันตรายจากแมลง และศัตรู
- กลีบดอก เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไป มักมีสีสันสวยงามบางชนิดมีกลิ่นหอม ซึ่งสีสันที่สดใส และกลิ่นหอมของดอกไม้จะช่วยล่อแมลงให้มาตอม เพื่อช่วยในการผสมเกสร
- เกสรตัวผู้ เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป เป็นอวัยวะสร้างเซลล์ สืบพันธุ์ตัวผู้ มักมีหลายอัน เกสรตัวผู้แต่ละอันประกอบด้ว
- ก้านเกสรตัวผู้ หรือก้านชูอับเรณู มีลักษณะเป็นก้านยาวๆ ทำหน้าที่ชูอับ
- อับเรณูมีลัษณะเป็นกระเปาะ เป็นแหล่งสร้างและเก็บ”ละอองเรณู”ซึ่งภายในละอองเรณูจะมี “เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้” อยู่
- เกสรตัวเมีย เป็นส่วนที่อยู่ในสุด คือตรงกลางดอก ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย ที่ปลายยอดเกสรตัวเมียจะมีลักษณะเป็นขนและมีน้ำเหนียวๆ เคลือบอยู่ เพื่อช่วยในการดักจับละอองเรณูและในน้ำเหนียวๆ นี้จะมี “น้ำตาล” เป็นองค์ประกอบอยู่ จะช่วยกระตุ้นให้ละอองเรณูเกิดการงอกหลอด ซึ่งเกสรตัวเมียประกอบด้วย
- ยอดเกสรตัวเมีย อยู่ตรงส่วยบนสุดของเกสรตัวเมีย เป็นส่วนรองรับละอองเรณูของเกสรตัวผู้
- ก้านชูเกสรตัวเมีย ทำหน้าที่ชูเกสรตัวเมีย
- รังไข่ อยู่ส่วนล่างสุดของเกสรตัวเมีย มีลักษณะเป็นกระเปาะ ภายในมี “ไข่อ่อน” หรือ “ออวุล” ซึ่งมี “เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย” อยู่
ลักษณะดอกของพืช
ดอกไม้บางชนิดมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ส่วน แต่ดอกไม้บางชนิดมีองค์ประกอบไม่ครบทั้ง 4 ส่วน ทำให้เราสามารถแบ่งประเภทของพืชมีดอกได้ โดยใช้ลักษณะของดอกเป็นเกณฑ์ ได้ดังนี้
- ใช้ส่วนประกอบของดอกเป็นเกณฑ์ ได้แก่
- ดอกสมบูรณ์ หมายถึง ดอกที่มีองค์ประกอบครบ 4 ส่วน คือ กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย ได้แก่ ดอกพริก ดอกกุหลาบ ดอกชบา ดอกต้อยติ่งดอกมะเขือ ดอกพู่ระหง ดอกผักบุ้ง ดอกบานบุรี ดอกมะลิ ดอกชงโค ดอกอัญชัน ดอกมะแว้ง ดอกแค ดอกการเวก
- ดอกไม่สมบูรณ์ หมายถึง ดอกที่มีองค์ประกอบไม่ครบ 4 ส่วน ได้แก่ ดอกมะพร้าว ดอกมะระ ดอกบวบ ดอกฟักทอง ดอกตำลึง ดอกมะละกอ ดอกข้าว ดอกข้าวโพด ดอกตำลึง ดอกฟักทอง ดอกจำปา ดอกจำปี ดอกบานเย็น ดอกเฟื่องฟ้า ดอกมะยม ดอกมะเดื่อ ดอกตาล ดอกบวบ ดอกหญ้า ดอกแตงกวา
- ใช้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์ ได้แก่
- ดอกสมบูรณ์เพศ หมายถึง ดอกที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ได้แก่ ดอกพู่ระหง ดอกบัว ดอกกุหลาบ ดอกบัว ดอกชงโค ดอกถั่ว ดอกมะเขือ ดอกพริก ดอกกล้วยไม้ ดอกมะม่วง ดอกชบา ดอกข้าว ดอกต้อยติ่ง ดอกจำปา ดอกมะลิ เฟื่องฟ้า ดอกอัญชัน ดอกแค ดอกผักบุ้ง
- ดอกไม่สมบูรณ์เพศ หมายถึง ดอกที่มีเกสรตัวผู้ หรือเกสรเมียเพียงอย่างเดียวในหนึ่งดอก โดยดอกที่มีเฉพาะเกสรตัวผู้ เรียกว่า ดอกตัวผู้ ส่วนดอกที่มีเฉพาะเกสรตัวเมีย เรียกว่า ดอกตัวเมียได้แก่ ดอกบวบ ดอกฟักทอง ดอกมะละกอ ดอกข้าวโพด ดอกมะยม ดอกตำลึง ดอกมะพร้าว ดอกตาล ดอกเงาะดอกฟักทอง ดอกบวบ ดอกแตงกวา ดอกมะยมดอกมะระ ดอกหน้าวัว ดอกมะเดื่อ
การสืบพันธุ์ของพืชมีดอกแบบอาศัยเพศ
เมื่อพืชมีดอกเจริญเติบโตเต็มที่จะเริ่มออกดอก ภายในดอกจะมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์โดยเกสรตัวผู้สร้างเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ หรือละอองเรณูเก็บไว้ใน อับละอองเรณู ส่วนเกสรตัวเมียจะมีรังไข่ซึ่งภายในรังไข่จะมีไข่ ( ออวุล ) ทำหน้าที่เก็บเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย หรือ ไข่อ่อนเอาไว้ การสืบพันธุ์ของพืชมีดอกแบบอาศัยเพศ มีลำดับ 2 ขั้นตอน คือ
- การถ่ายละอองเรณู
- การปฏิสนธิ
การถ่ายละอองเรณู
การถ่ายละอองเรณู คือการที่ละอองเรณูของเกสรตัวผู้ไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย
ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ 3 รูปแบบ คือ
- การถ่ายละอองเรณูภายในดอกเดียวกัน มักเกิดกับดอกสมบูรณ์เพศที่เกสรตัวผู้อยู่กว่าเกสรตัวเมีย
- การถ่ายละอองเรณูข้ามดอก แต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน
- การถ่ายละอองเรณูข้ามดอก และอยู่คนละต้นกัน มักเกิดกับดอกสมบูรณ์เพศที่เกสรตัวผู้อยู่ต่ำกว่าเกสรตัวเมีย ซึ่งไม่เอื้อให้เกิดการถ่ายละอองเรณูภายในดอกเดียวกัน และเกิดกับดอกไม่สมบูรณ์เพศซึ่งมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่คนละต้นกัน
ปัจจัยที่ช่วยในการถ่ายละอองเรณู
ปัจจัยที่ช่วยในการถ่ายละอองเรณู เพื่อให้พืชมีดอกเกิดการปฏิสนธิ สร้างผลและเมล็ดในการสืบพันธุ์ ได้แก่
- ลม เป็นตัวช่วยพัดพาละอองเรณูให้ไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย มักเกิดกับดอกที่มีขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบา ไม่มีกลิ่น และมีเป็นดอกจำนวนมาก เช่น ดอกของพืชตระกูลหญ้าชนิดต่าง ๆ ดอกหญ้า ดอกข้าว ดอกข้าวโพด ดอกละหุ่ง
- สัตว์ ได้แก่ แมลง ( ผึ่ง ผีเสื้อ ) นกบางชนิด ค้างคาวบางชนิด เป็นตัวช่วยให้เกิดการถ่ายละอองเรณูจากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่งได้ มักเกิดกับที่มีสีสวย มีกลิ่นหอม หรือมีต่อมน้ำหวาน ซึ่งเป็นตัวล่อให้สัตว์เหล่านี้เข้าหา เช่น ดอกกุหลาบ ดอกชบา ดอกเข็ม ดอกหางนกยูง
- น้ำ อาจเป็นน้ำที่เรารดให้แก่พืชหรือน้ำฝนที่ตกลงมา จะเป็นตัวพาละอองเกสรตัวผู้จากดอกที่อยู่ด้านบนให้ไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมียของดอกที่อยู่ด้านล่างได้ เช่น สาหร่าย ผักตบชวา
- คน ทำการถ่ายละอองเรณู เพื่อให้พืชเกิดการผสมพันธุ์ และได้พืชที่มีลักษณะพันธุ์ดีตามที่ต้องการ
การปฏิสนธิ
การปฏิสนธิ คือ การที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้เข้าผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย โดยหลังจากที่ละอองเรณู ตกลงบนยอดเกสรตัวเมียแล้ว ละอองเรณูจะ งอกหลอด แทงลงไปในก้านเกสรตัวเมีย จนถึงไข่อ่อน ( ออวุล ) ที่อยู่ภายในรังไข่ ภายในหลอดละอองเรณูจะมีเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้อยู่ ซึ่งจะเข้ามาไปผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (เซลล์ไข่ ) ที่อยู่ในไข่อ่อนโดยผ่านทางรูเปิดที่อยู่ข้างใต้ ได้เป็นเซลล์ใหม่อยู่ภายในไข่อ่อน (เซลล์ใหม่ที่ได้ก็ คือเซลล์ที่จะเจริญเป็นต้นพืชต้นใหม่)
การเปลี่ยนแปลงของดอกหลังปฏิสนธิ
หลังจากการปฏิสนธิ ยอดและก้านชูเกสรตัวเมียจะเหยี่วลง กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียก็จะแห้งแล้วร่วงหลุดไป ส่วนรังไข่ และ ออวุล หรือไข่ จะเจริญเติบโตต่อไป โดยรังไข่จะเจริญกลายเป็น ผล ส่วน ออวุล หรือไข่ จะเจริญไปเป็น เมล็ด ซึ่งภายในเมล็ดจะเก็บต้นอ่อน และอาหารสะสมไว้ภายใน เพื่อเกิดเป็นต้นใหม่
เมื่อเมล็ดพืชแพร่กระจายไปในที่ต่าง และไปตกในที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการงอกของเมล็ด เมล็ดก็จะงอกเป็นต้นใหม่ต่อไป วิธีนี้ทำให้พืชดอกที่อยู่ตามธรรมชาติสามารถแพร่ได้ โดยไม่สูญพันธุ์ไป
การสืบพันธุ์ของพืชมีดอกแบบไม่อาศัยเพศ
นอกจากพืชมีดอก ใช้วิธีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศแล้ว พืชมีดอกยังใช้วิธีการสืบพันธุ์ โดยไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ หรือไม่ต้องอาศัยการสร้างเมล็ดได้อีกด้วย วิธีการสืบพันธุ์แบบนี้ เรียกว่า การสืบพันธุ์แบบไม่ต้องอาศัยเพศ เช่น การแตกหน่อ
นอกจากนี้เรายังนำส่วนต่าง ๆ ของพืชมีดอก เช่น กิ่ง ตา ยอด ใบ ลำต้น หัว ราก มาใช้ในการขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศโดยการตอนกิ่ง
การตอนกิ่ง เป็นการขยายพันธุ์พืช โดยการทำให้กิ่งเกิดรากขณะยังไม่ได้ตัดกิ่งออกจากต้นเดิม
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตอนกิ่ง
- มีด
- ถุงพลาสติกขนาด
- เชือก
- ยมะพร้าว หรือดินผสมขุยมะพร้าว คลุกน้ำให้ชุ่มพอประมาณ
การตอนกิ่ง มีวิธีการดังนี้
- คัดเลือกกิ่ง พอเหมาะ ตั้งตรง ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป
- ควั่นรอบ ๆ กิ่ง ทั้งบนและล่าง โดยให้รอยควั่นหว่างกัน 1 นิ้ว แล้วลอกเปลือกระหว่างรอยควั่นออก
- ใช้สันมีดขูดเนื้อเยื่อลำเลียงอาหารระหว่างรอยควั่นออกให้หมด
- นำขุยมะพร้าวหรือดินผสมขุยมะพร้าว คลุกน้ำให้ชุ่มใส่ถุงอัดให้แน่น กรีดข้างยาวถุงตลอดให้ลึกประมาณครึ่งถุง นำไปสวมตรงเหนือเล็กน้อยรอยควั่น แล้วมัดด้วยเชือกให้แน่น
- นำไปสวมตรงเหนือเล็กน้อยรอยควั่น แล้วมัดด้วยเชือกให้แน่น
- ดูแลรดน้ำประมาณ 2 – สัปดาห์ เมื่อเห็นรากงอกยาวพอสมควร เริ่มแก่เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว จึงตัดบริเวณใต้รอยควั่น นำเพาะชำในถุงหรือภาชนะ เพื่อรอการปลูกต่อไป
การติดตา
การติดตา เป็นการขยายพันธุ์พืชโดยการใช้ตาของพืชพันธุ์ดีไปต่อหรือติดกับพืชพันธุ์พื้นเมืองพืชพันธุ์ดี ได้แก่ พืชทีมีดอกหรือผลดี เช่น มีดอกใหญ่ สีสวยงาม หรือมีผลใหญ่ เนื้อมาก รสอร่อย ถูกปาก แต่ไม่ค่อยทนทานต่อโรค และสิ่งแวดล้อม พืชพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ พืชที่ทนทานต่อโรค และสิ่งแวดล้อม
อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตา
- มีด
- เทปพลาสติกใส
- ตาพืชพันธุ์ดี
- ต้นตอพันธุ์พื้นเมือง
การติดตา มีขั้นตอน ดังนี้
- คัดเลือกตาพันธุ์ดี และต้นพันธุ์พื้นเมืองที่จะนำมาติดตา
- ใช้มีดคม ๆ กรีดต้นตอ
- ใช้ปลายมีดเปิดเปลือกไม้ เฉือนตาจากกิ่งพันธุ์ออกมา แล้วลอกเนื้อไม้ออกจากตาที่เฉือนออกจากกิ่ง
- นำตาของต้นพันธุ์ดีมาเสียบเข้าไปในรอยกรีดของต้นตอพื้นเมือง
- ใช้แผ่นพลาสติก หรือ ผ้าชุบเทียนไขพันให้แน่น โดยพันจากข้างล่างขึ้นข้างบนเพื่อป้องกันน้ำเข้าตา เพราะอาจทำให้ตาเน่าได้ และควรเปิดส่วนของตาไว้
- ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ เมื่อตาติดกับต้นพันธุ์พื้นเมืองแล้วแตกกิ่งก้านออกมาจึงตัดยอดของต้นตอทิ้ง