สร้างเมื่อ จันทร์, 06/06/2559 – 13:43
สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกเรื่อง บอนสี caladium “ ราชินีแห่งไม้ใบ ” “Queen of the Leafy Plant” ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งในหลายชนิดที่ปลูกอยู่ในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ในการจัดทำแหล่งเรียนรู้ออนไลน์เกี่ยวกับบอนสี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ในการจัดทำครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ หนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่างๆ อีกทั้งได้สอบถามผู้รู้ได้แก่คุณครู เจ้าหน้าที่ในโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งข้าพเจ้าต้องขอขอบพระคุณมาณที่นี้
ข้าพเจ้าหวังว่าข้อมูลเรื่องบอนสีนี้ คงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง หรือผิดพลาดประการใด ขอความกรุณาแจ้งมายังข้าพเจ้าได้ เพื่อจะได้ทำการแก้ไขต่อไป
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
webmaster@thaigoodview.com
ประวัติบอนสีในไทย
เส้นทางการแพร่หลายของบอนสี
ที่มาของแผนที่
https://broadcast.lds.org/crowdsource/mobile/images/1545915/bbebaca6d1cc4bdc8ddeef31cf5bc792/3137×2048.jpg
บอนสีมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แพร่หลายเข้ามาทางทวีปยุโรป อินเดีย จนถึงประเทศอินโดนีเซีย และคาดว่าแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยมากับเรือสำเภาของพ่อค้าจีน คือ Caladium schomburgkii (Andre’) M.Madison หรือที่เรียกกันว่า ว่านโพธิ์ทอง หรือว่านพระอาทิตย์ เส้นใบสีชมพู และว่านโพธิ์เงินหรือว่านพระจันทร์ เส้นใบสีขาว เชื่อกันว่าหากใครปลูกเลี้ยงบอนสีทั้งสองต้นจะเป็นสิริมงคล เมตตามหานิยม และช่วยค้าขายดี
ว่านพระอาทิตย์
ที่มาว่านพระอาทิตย์ http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/203661.jpg
ว่านพระจันทร์
ที่มาว่านพระจันทร์ http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/124286.jpg
บอนสีจึงเป็นที่นิยมและปลูกเลี้ยงกันเรื่อยมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการปลูกเลี้ยงบอนสีหลายสายพันธุ์ เช่น พระยาเศวต วัวแดง ช้างเผือก ใบบัว จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์การปลูกเลี้ยงบอนสีก็ยิ่งมีความหลากหลายมากขึ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปในปี 2440 และ พ.ศ. 2450 ทรงนำพรรณไม้จากต่างประเทศเข้ามาปลูกในประเทศหลายชนิด สำหรับบอนสีที่นำเข้ามาในปี พ.ศ. 2440 เป็นบอนสีประเภทใบไทย แต่เรียกกันว่า “บอนฝรั่ง” มีพื้นใบสีแดงเข้มและสีแดงอ่อน บางชนิดมีพร่าเหลือบสี เช่น แดงสรรพศาสตร์ แดงภาณุรังสี แดงสุริยัน ไก่อัมรินทร์ ไก่ราชาธิราช ไก่วสันต์ ฯลฯ ส่วนบอนสีที่นำเข้ามาในปี พ.ศ. 2450 เป็นบอนสีประเภทใบไทยเช่นกัน แต่มีความหลากหลายของสีสันมากขึ้น พื้นใบมีตั้งแต่สีแดงเข้ม สีแดงอ่อน สีชมพู สีชมพูอ่อน บางชนิดเป็นเหลือบสีเหลือง พื้นใบมีเม็ดสีขาว สีแดง หรือมีเม็ดสองสีปนกันและยังมีบอนป้ายที่มีแถบด่างพาดบนพื้นใบ ซึ่งถือว่าเป็นยุคเริ่มต้นของความนิยมปลูกเลี้ยงบอนสีของไทย
พระยาเศวต หรือ ว่านพญาปัจเวก
ที่มาของภาพพระยาเศวต
http://www.thaiarcheep.com/wp-content/uploads/2014/08/%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2.jpg
สมัยนั้นความนิยมปลูกเลี้ยงบอนสีอยู่ในกลุ่มขุนนาง ข้าราชบริพารเท่านั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงแบบธรรมชาติ คือปล่อยให้บอนพักตัวในฤดูหนาว ใบเหี่ยวเฉา เหลือแต่หัวฝังจมใต้ดิน รอจนกว่าจะถึงฤดูฝน ใบเริ่มแตกขึ้นมาใหม่จึงเริ่มเลี้ยงกัน จนช่วงปี พ.ศ. 2472-2475 การปลูกบอนสีได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนทั่วไปเริ่มจากบรรดาขุนนาง ข้าราชบริพารได้นำบอนสีไปถวายให้พระสงฆ์และบุคคลสำคัญที่สนิทสนมกัน แต่การปลูกเลี้ยงบอนสียังจำกัดเฉพาะในกลุ่มคนมีเงินละตามวัดวาอารามเท่านั้นเนื่องจากบอนสีมีราคาสูง เช่น บอนสี “นกยิบ” ที่มีราคา 10 ชั่ง เท่ากับ 800 บาท (มีมูลค่าเป็นแสนบาทในปัจจุบัน) และเรียกกันว่า “นกยิบสิบชั่ง”
จากนั้นจึงเริ่มพัฒนาเทคนิคการปลูกเลี้ยงที่แตกต่างไปจกาเดิม เช่น มีการนำแก้วน้ำดื่มหรือแก้วครอบพระมาครอบต้นบอน บางรายก็นำเข้าตู้กระจกเพื่อป้องกันการพักตัวของบอน การผสมเกสรให้ติดเมล็ด ซึ่งทำให้มีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น และมีการนำต้นบอนสีมาแลกเปลี่ยนกันในหมู่ผู้ปลูกเลี้ยงมีการตั้งชื่อตามลักษณะใบและสีสัน แบ่งเป็นกลุ่มโดยเรียกชื่อว่า “ตับ” ตามละครในวรรณคดีบ้าง ชื่อจังหวัดบ้าง หรือชื่อบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์บ้าง จนมีการตวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มของนักเล่นบอนสีซึ่งมีสถานที่ชุมนุม 5 แห่งได้แก่
- สนามบาร์ไก่ขาว ตั้งอยู่บริเวณร้านเมธาวลัยศรแดงในปัจจุบัน ใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในอดีตมีการนัดชุมนุมเดือนละ 1 ครั้ง มีการจัดประกวดละตั้งชื่อจดทะเบียนบอนสีสายพันธุ์ใหม่ๆ ละแบ่งเป็นตับต่างๆ เช่น ตับพระอภัยมณี ตับขุนช้าง ตับนก สถานที่แห่งนี้จึงมีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงบอนสีในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก และยังการการรวบรวมลักษณะบอนสีที่ตั้งชื่อไว้แล้วจำนวน 160 ต้นเพื่อจัดพิมพ์เป็นเล่มอีกด้วย
- วัดอินทรวิหาร เทเวศร์ โดยจางวางหลุย วังบางขุนพรหม เป็นผู้ริเริ่มรวมกลุ่มผู้ปลูกเลี้ยงบอนสีขึ้น และมีการชุมนุมทุกวันเสาร์ต้นเดือน ซึ่งผู้ชนะการประกวดจะได้รับรางวัลเป็นปั้นน้ำชา
- บ้านเจ้าคุณทิพย์ ปากคลองบางลำพูบน โดยมีพระยาทิพย์โกษาเป็นผู้ริเริ่มให้มีการพบปะกันทุกวันเสาร์-อาทิตย์ สามารถเข้าชมฟรี สำหรับผู้ส่งประกวดเสียค่าธรรมเนียมท่านละ 1 บาท
- วัดสระเกศ เป็นสำนักเลื่องชื่อ มีชมรมบอนสี 3 ชมรม โดยแยกเป็นหมู่คณะ ได้แก่ อาจารย์หรุ่น อาจารย์เป๋ หมวดเจิ่ง ทั้งหมดเป็นพระภิกษุ สถานที่แห่งนี้มีผู้นิยมไปชุมนุมมากที่สุดในยุคนั้นและเป็นเช่นนั้นมาถึง 10 ปี
- ร้านเสาวรส บางลำพู หลังห้างเสาวรส มีการจัดประกวดบอนสีอยู่เป็นประจำเมื่อในอดีต
แม้ในช่วงเวลาที่่ผ่านมาบอนสีได้รับความนิยมอย่างมาก แต่เพียงไม่นานก็เงียบหายไป จนในปี พ.ศ.2508 มีผู้สั่งบอนใบยาวจากสหรัฐอเมริกามาปลูกเลี้ยงกันมากขึ้น และทดลองผสมพันธุ์ใหม่ๆ กันมากมาย บอนสีจึงได้รับความนิยมอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2520 ตลาดต้นไม้สนามหลวงก็มีผู้นำบอนสีแปลกใหม่มาจำหน่ายกันในราคาค่อนข้างสูงเช่น “นายโชติ” มีราคาสูงถึง 35,000 บาท จนเมื่อตลาดต้นไม้ย้ายไปที่ตลาดจตุจักร ส่งผลให้ความนิยมบอนสีลดลงอีกครั้ง แต่ด้วยความตั้งใจของผู้ปลูกเลี้ยงบอนสี พลตำรวจเอก พจน์ บุณยะจินดา และนักปลูกเลี้ยงหลายท่าน จึงร่วมกันจัดตั้ง สมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2525 พร้อมกับดำรงตำแหน่งนายกสมาคม โดยมีจุดประสงค์ให้นักปลูกเลี้ยงบอนสีร่วมกันอนุรักษ์พันธุ์บอนสีที่เกิดจากฝีมือของคนไทยมาหลายชั่วอายุคนไม่ให้สูญพันธุ์ไป พร้อมกับพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ให้มีมากขึ้น มีการจัดประกวดบอนสีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บอนสีมีความนิยมสูงสุดในช่วงวลานั้น และยังมีหนังสือบอนสีเกิดขึ้นหลายเล่ม
จนถึงปัจจุบันสมาคมได้กีอตั้งขึ้นมานานถึง 30 ปีแล้ว แต่สมาชิกและนักปลูกเลี้ยงบอนสีทุกท่านก็ยังคงร่วมกันพัฒนาวงการให้กว้างขวางขึ้น มีการจัดประกวดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด เพื่อต้องการอนุรักษ์สายพันธุ์และความรู้ด้านการปลูกเลี้ยงบอนสีของคนไทยให้คงอยู่ตลอดไป อีกทั้งยังมีการปลูกประดับร่วมกับพรรณไม้อื่นในงานภูมิสถาปนิก มีการผลิตกล้าพันธุ์ การผลิตหัวพันธุ์บอนสีสำหรับส่งจำหน่ายต่างประเทศ และการปลูกเลี้ยงเพื่อผลิตเป็นไม้ตัดใบ กล่าวได้ว่า บอนสีมีการปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่องจนได้สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีศักยภาพในด้านไม้ประดับไม่น้อยไปกว่าไม้ประดับอื่นๆเลย
ที่มาของข้อมูล หนังสือ "บอนสี ราชินีแห่งไม้ใบ" โดยสมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย http://www.oknation.net/blog/bonsi/2013/11/19/entry-1 ที่มาของภาพที่จัดทำแบนเนอร์ นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ลักษณะทั่วไป
เนื่องจากบอนสี ( Caladium ) เป็นไม้ใบที่มีสีสันและลายใบสวยงาม ตลอดจนขนาดรูปใบแตกต่างมากจนได้รับการขนานนามว่า “ ราชินีแห่งไม้ใบ ” “Queen of the Leafy Plant” เป็นพืชในวงศ์ Araceae สกุล Caladium มีถิ่นกำเนิดแถบทวีปอเมริกาใต้และประเทศในเขตร้อนทั่วไป บอนสีเป็นไม้ประเภทล้มลุกที่มีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดินคล้ายหัวเผือกหรือมัน มีรากเป็นเส้นฝอยเล็กๆ แทงออกมาระหว่างหัวกับลำต้นและพักตัวในฤดูหนาวโดยจะทิ้งใบจนหมดและเริ่มผลิใบเจริญเติบโตอีกครั้งในฤดูฝน
บอนสี หรือที่เรียกกันแต่เดิมว่า “บอนฝรั่ง” (Caladium Bicolor) จากชื่อทำให้คาดเดาได้ว่าเป็นพืชที่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย จากหลักฐานพอสรุปได้ว่าบอนสีปลูกเลี้ยงกันในต่างประเทศมานานกว่า 300 ปีแล้ว มีการสันนิษฐานว่า บอนสีบางต้นมีผู้นำเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีการติดต่อค้าขายกับชาวจีน ชวา เปอร์เซีย และมีความสัมพันธุ์กับชาวยุโรปเป็นอย่างดี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเสด็จนิวัตพระนครหลังเสด็จประภาสยุโรป ราวปี พศ. 2444 ทรงนำพันธุ์ไม้หลายชนิดจากยุโรปเข้ามาปลูกในประเทศไทย ในจำนวนพันธุ์ไม้เหล่านี้มีบอนฝรั่งหรือบอนสีรวมอยู่ด้วย ในช่วงแรกปลูกเลี้ยงกันเฉพาะในกลุ่มของเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และมักปิดบังวิธีการปลูกเลี้ยงและการผสมพันธุ์บอน จนกระทั่งความนิยมปลูกเลี้ยงบอนสีเสื่อมลง บอนสีพันธุ์ต่างๆ จึงได้แพร่หลายสู่ประชาชนทั่วไป
ที่มาข้อมูล http://www.oknation.net/blog/caladium/2009/08/18/entry-1
บอนสีต่าง ๆ ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=U5Aznl8bfLg
ที่มาของภาพที่จัดทำแบนเนอร์ นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
การเพาะปลูกและขยายพันธ์
ประมวลภาพบอนสี
บอนสีในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด และมีชนิดใหม่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์กันขึ้นเรื่อย ในที่นี่จะพยายามรวบรวมชนิดของบอนสีมาให้ชมกัน
ที่มาของข้อมูล
- https://forestgardenblog.wordpress.com/2014/06/10/crazy-for-caladiums/
- http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pemiga&month=21-08-2007&group=6&gblog=5
- http://www.oknation.net/blog/caladium/2009/08/18/entry-1
ที่มาของภาพที่จัดทำแบนเนอร์ นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล