วรรณคดีวิจักษ์ : ไตรภูมิพระร่วง
สร้างโดย : นางสาวอภิญญา ตู้นิ่ม และนางสาวศรีสวาสดิ์ บุนนาค
สร้างเมื่อ จันทร์, 23/11/2009 – 22:19
มีผู้อ่าน 263,025 ครั้ง (27/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/46258
วรรณคดีวิจักษ์ : ไตรภูมิพระร่วง
ผู้ประพันธ์ไตรภูมิพระร่วง
ผู้แต่ง – พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 ของสุโขทัย
ชื่อเดิม – เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา
ความหมาย – เรื่องราวของสามโลก คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ
จุดมุ่งหมาย
- ชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสาม ที่มีแต่การแปรเปลี่ยน ไม่แน่นอน มีแต่อนิจจลักษณะ
- ชี้ให้มนุษย์หาทางหลุดพ้นไปจากโลกทั้งสามเพื่อไปอยู่ในโลกุตรภูมิ หรือนิพพาน
- เน้นเรื่องกฎแห่งกรรม โดยเริ่มเนื้อหาจากนรกภูมิ
ผลจากการฟัง
- ทำให้บรรลุนิพพาน
- ได้เกิดเป็นเทพยดาในสวรรค์อันเป็นโลกทิพย์
- มีโอกาสเกิดมาพบพระศรีอาริย์ผู้จะมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
เนื้อหาไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง ผู้แต่งคือ พญาลิไทย หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1 ซึ่งเป็นนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๕ แห่งราชวงศ์พระร่วง เมื่อ พ.ศ. 1888 พญาลิไทย ทรงแต่งขึ้นเพื่อเทศนาแก่พระมารดาและสั่งสอนประชาชนเนื้อหาไตรภูมิพระร่วง แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ความไม่แน่นอนทั้งมนุษย์และสัตว์รวมทั้งสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ความเปลี่ยนแปลงนี้กวีไทยเรียกว่า “ อนิจจลักษณะ ” ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า ไตรภูมิกถา / เตภูมิกถา หมายถึงเรื่องราวของโลกทั้ง 3 ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ
กามภูมิ
1. กามภูมิ เป็นที่กำเนิดของชีวิตทั้งหลายที่ยังลุ่มหลงอยู่ในกามเป็นแดนสุขสบายและแดนที่เป็นทุกข์ปะปนกัน ผู้ที่เกิดในภูมิต่าง ๆ ผู้ที่เกิดในภูมิต่าง ๆ ในกามภูมิ เพราะผลกรรมของตนเป็นใหญ่กามภูมิแบ่งออกเป็น 11 ภูมิ ได้แก่ อบายภูมิ 4 ภูมิ มนุษย์ 1 ภูมิ และสวรรค์ 6 ภูมิ การพรรณนากามภูมิแบ่งออกเป็น 6 กัณฑ์
1.1 นรกภูมิ เป็นแดนของสัตว์นรก
1.2 ดิรัจแนภูมิ เป็นแดนของสัตว์ที่เจริญตามขวาง
1.3 เปตภูมิ เป็นแดนของเปรตที่เคยเป็นมนุษย์และทำความชั่ว เกิดเป็นเปรต
1.4 อสุรกายภูมิ เป็นแดนของยักษ์มารหรือผีที่หลอกมนุษย์ให้ตกใจกลัว
1.5 มนุสสภูมิ เป็นแดนของมนุษย์
1.6 ฉกามาพจร เป็นแดนของเทวดาที่ยังเกี่ยวข้องในกามมี 6 ชั้น คือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามะ ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวดี
รูปภูมิ
2. รูปภูมิ หรือรูปาวจรภูมิ เป็นที่อยู่ของพรหมมีรูป เรียกว่า รูปพรหม ไม่มีเพศ มีรูปงามบริสุทธิ์ มีแสง สว่างรุ่งเรืองยิ่งกว่าเทวดาทั้งปวง มีเสียงไพเราะ และมีอายุยืนหลายพันปีทิพย์ มีทั้งหมด 16 ชั้น (โสฬสพรหม) จำแนกออกตามชั้นของฌานที่บุคคลได้บรรลุ เรียงลำดับ ดังนี้ ปริสัชชา ปโรหิตตา มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมานาภาอาภัสสรา ปริตตาสุภา อัปปมาณาสุภา สุภกิณาหา เวหัปผลา อสัญญิสัตตาอเวหา ตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา รูปภูมิที่เรียกว่า มหาสุทธาวาส คือรูปภูมิ 5 ชั้นสุดท้าย (ชั้นที่ 11-16) เป็นภูมิที่ไม่ถูกทำลายด้วยไฟบรรลัยกัลป์
อรูปภูมิ
3. อรูปภูมิ หรืออรูปาวจรภูมิ เป็นแดนของพรหมไม่มีรูป มีแต่จิตเท่านั้น แบ่งออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่ อากาสานัญจายตนภูมิวิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนภูมิ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ หนังสือเล่มนี้กล่าวเริ่มต้นตั้งแต่การกำเนิของชีวิตต่าง ๆ ว่ามีที่เกิดอย่างไร แล้วพรรณนาถิ่นที่เกิด คือ ภูมิต่าง ๆ ทั้ง ๓๑ ภูมิ อย่างละเอียดตอนที่ว่าด้วยมนุสสภูมิและโลกสัณฐาน คือภูมิศาสตร์ของโลก ได้เล่าอย่างละเอียดว่า ลักษณะของโลกเป็นอย่างไร ทวีปต่าง ๆ ภูเขา แม่น้ำคน และสัตว์เป็นอย่างไร หนังสือเล่มนี้จบลงด้วยการเน้นทางไปถึงการดับทุกข์ คือ พระนิพพาน ว่าเป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุดของชีวิต
คุณค่าไตรภูมิพระร่วงในด้านต่างๆ
ด้านวรรณคดี
– เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าคนไทยรู้จักแต่งวรรณคดีตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ด้านศาสนา
– เป็นการนำเสนอปรัชญาทางพุทธศาสนา
ด้านจริยธรรม
– กำหนดกรอบการปฏิบัติตนให้คนในสังคมทั้งผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองทำให้สังคมสงบสุข
ด้านประเพณีและวัฒนธรรม
– แสดงให้เห็นความเชื่อที่ตกทอดมาสู่ประเพณีและวัฒนธรรมในปัจจุบัน เช่น การจัดดอกไม้ธูปเทียนให้คนตายก่อนปิดฝาโลง เพื่อให้ผู้ตายนำดอกไม้นั้นไปสักการะพระจุฬามณีเจดีย์ในสวรรค์
– การเผาศพในเมรุเปรียบเสมือนการเดินทางขึ้นเขาพระสุเมรุไปสู่สวรรค์
ด้านศิลปะ
– ก่อให้เกิดงานจิตรกรรมและสถาปัตยกรรมตามแผนภูมิจักรวาลในเรื่องไตรภูมิ พระร่วง
คลิกเลือกเรื่องที่ต้องการศึกษา
- วรรณคดีวิจักษ์ ม.6
- วรรณคดีวิจักษ์ : สามก๊ก
- วรรณคดีวิจักษ์ : สามัคคีเภทคำฉันท์
- วรรณคดีวิจักษ์ : ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกาแด่พระพันวษา
- วรรณคดีวิจักษ์ : ไตรภูมิพระร่วง
ผู้จัดทำ
อาจารย์ศรีสวาสดิ์ บุนนาค
น.ส.อภิญญา ตู้นิ่ม
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย
แหล่งอ้างอิง :
- http://learners.in.th/file/tonykukku/001002.jpg
- http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin225&date=22-12-2007&group=1&gblog=39
- http://img66.imageshack.us/i/maruek10lx8.jpg/
- http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/thai04/18/lukpasa/images/aj.jpg
- http://mblog.manager.co.th/uploads/1027/images/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%.gif
- http://jeepy–jeep.blogspot.com/2007/10/blog-post_06.html
- http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kritsvv
- www.wt.ac.th/~supaporn/samkok.ppt
- http://student.nu.ac.th/lovingu/images/Guan%20Yu%20%20กวนอู.jpg
- http://www.bkkonline.com/upload/picture/เล่าปี.jpg
- http://www.bkkonline.com/upload/picture/เตียวหุย01.jpg
- http://media.photobucket.com/image/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2588%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2589/tstawe6z/ZhaoYun.jpg
- http://student.nu.ac.th/k_net_l_t/gallery/อ้วนเสี้ยว.jpg
- http://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=15912
- http://www.vcharkarn.com/vcafe/133270
- http://www.banglamung.ac.th/stubm6282550/CHPAN.html
- http://www.dektriam.net/TopicRead.aspx?topicID=101505
- http://thai135.multiply.com/journal/item/3
- http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/wtripoom.htm
- http://piromwasee.exteen.com/20080325/entry-1
- http://cddweb.cdd.go.th/cdregion03/cdr03/samake.htm
- http://www.kroobannok.com/blog/16875
- www.kidsquare.com/show.php?pid=1950
- http://psc.212cafe.com/user_blog/psc/picture/1185843766.jpg
- http://www.makkasan.com/mss1/rp63index_files/Page496.htm