วรรณคดีวิจักษ์ : สามัคคีเภทคำฉันท์
สร้างโดย : นางสาวอภิญญา ตู้นิ่ม และนางสาวศรีสวาสดิ์ บุนนาค
สร้างเมื่อ อังคาร, 17/11/2009 – 20:14
มีผู้อ่าน 231,557 ครั้ง (27/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/44289
วรรณคดีวิจักษ์ : สามัคคีเภทคำฉันท์
ผู้ประพันธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์
ผู้แต่ง นายชิต บุรทัต
วัตถุประสงค์
เพื่อมุ่งชี้ความสำคัญของการรวมเป็นหมู่คณะ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อป้องกันรักษาบ้านเมืองให้มีความเป็นปึกแผ่น สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นกวีนิทานสุภาษิต ว่าด้วย “โทษแห่งการแตกสามัคคี” ภายหลังได้รับการยกย่องเป็นตำราเรียนวรรณกรรมไทยที่สำคัญเล่มหนึ่งทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ประวัติของเรื่อง
ในสมัยรัชกาลที่6 เกิดเหตุการณ์ต่างๆ เช่น สงครามโลกครั้งที่1กบฏ ร.ศ.130 ทำให้เกิดความตื่นตัวทางความคิด มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการบ้านเมืองแตกต่างกันเป็นหลายฝ่าย จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อความไม่มั่นคงของบ้านเมือง ในภาวะดังกล่าวจึงมีการแต่งวรรณคดีปลุกใจให้มีการรักษาขึ้นโดยเรื่องสามัคคีเภทแต่งขึ้นในปี พ.ศ 2457 โดยมุ่งเน้นความสำคัญของความสามัคคีเพื่อรักษาบ้านเมืองสามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นกวีนิทานสุภาษิต ว่าด้วย “โทษแห่งการแตกสามัคคี” ภายหลังได้รับการยกย่องเป็นตำราเรียนวรรณกรรมไทยที่สำคัญเล่มหนึ่งทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ลักษณะเด่นของเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นกวีที่มีความงดงาม ใช้ถ้อยคำอย่างละเมียดละไม โอ่อ่าอลังการในการใช้แบบแผนฉันทลักษณ์ของกาพย์และฉันท์เช่น การใช้สัททุลลวิกกีฬิต ฉันท์แต่งบทไหว้ครู หรือการใช้มาลินีฉันท์ และสัทธราฉันท์แต่งบทขรึมขลัง การใช้กาพย์และฉันท์ลักษณะอื่นๆ ที่ให้อารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหา อารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน่าหวาดกลัว เกรี้ยวกราด ตกใจ ผาดโผน ลีลาอ่อนไหวโน้มน้ำใจ หรือเศร้าสังเวช จนกล่าวได้ว่า เอกภาพของเนื้อหาและรูปแบบฉันทลักษณ์ในสามัคคีเภทคำฉันท์นั้นแต่งได้ดียิ่ง ควรเป้นแบบอย่างในการศึกษาเรียนรู้
หลักธรรมสำคัญของสามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์ สะท้อนให้เห็นถึงการแตกความสามัคคีกันระหว่างเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี เป็นสาเหตุนำไปสู่การเสียแคว้นวัชชีแก่พระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ครองแคว้นมคธ ทั้งที่แต่เดิมนั้น กษัตริย์ลิจฉวีทุกองค์ล้วนตั้งมั่น อยู่ในธรรมที่เรียกว่า “อปริหานิยธรรม” คือ ธรรมอันเป็นไปเพื่อเหตุแห่งความเจริญฝ่ายเดียว ผู้ปฏิบัติจักไม่เป็นไปในทางเสื่อม อันได้แก่
- เมื่อมีกิจใดเกิดขึ้น ก็ประชุมกันปรึกษาในกิจนั้น
- เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันกระทำกิจอันควรทำ
- ถือมั่นตามขนบธรรมเนียมหรือประเพณีอันดีอันชอบที่มีอยู่ ไม่เลิกถอน หรือดัดแปลงเสียใหม่
- มีความเคารพยำเกรงผู้ที่อยู่ในฐานะเป็นผู้ใหญ่ ทั้งเชื่อถือกระทำตามถ้อยคำบัญชาและคำแนะนำสั่งสอนของผู้เป็นใหญ่นั้น
- ไม่ประทุษร้ายข่มเหงบุตรและภริยาของกันและกันด้วยประการใดๆ
- ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นต่อเจดียสถาน หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และการกระทำพลีกรรมบวงสรวงก็กระทำตามควร
- อำนวยความคุ้มครองป้องกันแก่พระอรหันต์ บรรดาที่มีอยู่ในแว่นแคว้นวัชชีให้เป็นสุขและปราศจากภัย
เนื้อเรื่องโดยย่อ
สามัคคีเภทคำฉันท์ มีว่าสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานไม่นานนัก พระเจ้าอชาตศัตรูทรงครองราชสมบัติที่นครราชคฤห์ แคว้นมคธ พระองค์ทรงมีวัสสการพราหมณ์ ผู้ฉลาดและรอบรู้ศิลปศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาราชกิจทั่วไป ขณะนั้นทรงปรารภจะแผ่พระราชอาณาเขตเข้าไปถึงแคว้นวัชชี แต่กริ่งเกรงว่ามิอาจเอาชนะได้ด้วยการส่งกองทัพเข้ารุกราน เนื่องจากบรรดากษัตริย์ลิจฉวีมีความสามัคคีสูง และการปกครองอาณาประชาราษฎ์รด้วยธรรม อันนำความเจริญเข้มแข็งมาสู่แว่นแคว้น พระเจ้าอชาตศัตรูทรงหารือเรื่องนี้เป็นการเฉพาะกับวัสสการพราหมณ์ จึงเห็นแจ้งในอุบายจะเอาชนะด้วยปัญญาวันหนึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จออกว่าราชการพร้อมพรั่งด้วยเสนาอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่ เมื่อเสร็จวาระเรื่องอื่นๆลงแล้ว จึงตรัสในเชิงหารือว่า หากพระองค์จะยกทัพไปปราบแคว้นวัชชีใครจะเห็นคัดค้านประการใดวัสสการพราหมณ์ฉวยโอกาสเหมาะกับอุบายตนที่วางไว้ ก็กราบทูลท้วงว่าเห็นทีจะเอาชนะไม่ได้เลย เพราะกษัตริย์ลิจฉวีทุกองค์ล้วนผูกพันเป็นกัลยาณมิตรอย่างมั่นคง มีความสามารถในการศึกและกล้าหาญ อีกทั้งโลกจะติเตียน หากฝ่ายมคธจงใจประทุษร้ายรุกรานเมืองอื่น ขอให้ยับยั้งการทำศึกเอาไว้เพื่อความสงบของประชาราษฎร์พระเจ้าอชาตศัตรูทรงแสร้งแสดงพระอาการพิโรธหนัก ถึงขั้นรับสั่งจะให้ประหารชีวิตเสีย แต่ทรงเห็นว่าวัสสการพราหมณ์รับราชการมานาน จึงลดโทษการดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพครั้งนั้น เพียงแค่ลงพระราชอาญาเฆี่ยนตีอย่างแสนสาหัสจนสลบไสล ถูกโกนหัวประจานและ เนรเทศออกไปจากแคว้นมคธ
วิเคราะห์ตัวละคร
วัสสการพราหมณ์กับกษัตริย์ลิจฉวี
วัสสการพราหมณ์เป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการดำเนินเรื่อง เป็นผู้ออกอุบายวางแผนและดำเนินการยุยงจนเหล่ากษัตริย์แตกความสามัคคีทำให้อชาตศัตรูเข้าครอบครองแคว้นวัชชีได้สำเร็จ วัสสการพราหมณ์เป็นพราหมณ์อาวุโสผู้มีความสามารถสติปัญญาดี รอบรู้ศิลป์วิทยาการและมีวาทศิลป์เป็นที่ไว้วางใจจากฝ่ายศัตรูและสามารถโน้มน้าวเปลี่ยนความคิดของฝ่ายตรงข้ามให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้สำเร็จ บางทรรศนะอาจเห็นว่าวัสสการพราหมณ์เป็นคนที่ขาดคุณธรรมใช้อุบายล่อลวงผู้อื่นเพื่อประโยชน์ฝ่ายตน แต่อีกมุมหนึ่งวัสสการพราหมณ์มีคุณสมบัติที่น่ายกย่องกล่าวคือมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศัตรูและบ้านเมืองเป็นอย่างมากยอมเสียสละความสุขส่วนตน ยอมลำบากเจ็บตัว ยอมเสี่ยงไปอยู่ในหมู่ศัตรูต้องใช้ความอดทดสูงและรู้จักรักษาความลับได้ดีเพื่อให้อุบายสำเร็จ ส่วนเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีขาดวิจารญาณ(ญาณพิจารณ์ตรอง) จนในที่สุดทำให้แตกความสามัคคีจนเป็นเหตุให้แคว้นวัชชีตกเป็นของแคว้นมคธ วัสสการพราหมณ์คือ ตัวละครใน “สามัคคีเภทคำฉันท์” อันเป็นบทประพันธ์ของ ชิต บุรทัต กวีเอกในแผ่นดินรัชกาลที่ 6 ชิต บุรทัต เชี่ยวชาญในเชิงฉันท์อย่างไร คงจะเห็นกันได้จากการร่ำพรรณนาถึงความงดงามของ กรุงราชคฤห์อันเป็นนครหลวงของพระเจ้าอาชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ เอาไว้ว่าดังนี้ “ช่อฟ้าตระการกละจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร บราลีพิลาศุภจรูญ นพศูลประภัศร หางหงส์ผจงพิจิตระงอน ดุจะกวักนภาลัย”… อันนับได้ว่างามนัก วัสสการพราหมณ์ ในคำฉันท์เรื่องนี้เป็นครูอาจารย์ผู้สอนศิลปะวิทยาอยู่ในแคว้นมคธ แต่ที่ลึกซึ้งยิ่งกว่านั้นก็คือ เป็นนักการเมืองเจ้าเล่ห์ เป็น “บ่างช่างยุ” หรือว่า นักยุแยงตะแคงรั่วมือระดับปรมาจารย์ วัสสการพราหมณ์เข้าไปเป็น “ไส้ศึก” อยู่ในแว่นแคว้นวัชชีซึ่งปกครองโดยเหล่าบรรดากษัตริย์ ลิจฉวี และใช้ระยะเวลายุแหย่อยู่ไม่นานนัก เหล่าบรรดาผู้นำดังที่ว่านั้น ก็ถึงกาลแตกแยก ก่อนหน้านี้วัสสการพราหมณ์ได้ยอมเจ็บตัวเล่นละครตบตา ยอมให้เจ้านายตนเฆี่ยนตี และโกน หัวขับไล่ให้ออกจากเมืองไป ดังที่ผู้ประพันธ์ได้บรรยายเอาไว้ว่า
แก่นเรื่อง
- โทษของการแตกสามัคคี
- การใช้สติปัญญาเอาชนะฝ่ายศัตรู
- การใช้วิจารณญานก่อนที่จะตัดสินใจทำสิ่งใดย่อมเป็นการดี
- การถือความคิดของตนเป็นใหญ่และทะนงตนว่าดีกว่าผู้อื่น ย่อมทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม
คลิกเลือกเรื่องที่ต้องการศึกษา
- วรรณคดีวิจักษ์ ม.6
- วรรณคดีวิจักษ์ : สามก๊ก
- วรรณคดีวิจักษ์ : สามัคคีเภทคำฉันท์
- วรรณคดีวิจักษ์ : ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกาแด่พระพันวษา
- วรรณคดีวิจักษ์ : ไตรภูมิพระร่วง
ผู้จัดทำ
อาจารย์ศรีสวาสดิ์ บุนนาค
น.ส.อภิญญา ตู้นิ่ม
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย
แหล่งอ้างอิง :
- http://learners.in.th/file/tonykukku/001002.jpg
- http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin225&date=22-12-2007&group=1&gblog=39
- http://img66.imageshack.us/i/maruek10lx8.jpg/
- http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/thai04/18/lukpasa/images/aj.jpg
- http://mblog.manager.co.th/uploads/1027/images/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%.gif
- http://jeepy–jeep.blogspot.com/2007/10/blog-post_06.html
- http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kritsvv
- www.wt.ac.th/~supaporn/samkok.ppt
- http://student.nu.ac.th/lovingu/images/Guan%20Yu%20%20กวนอู.jpg
- http://www.bkkonline.com/upload/picture/เล่าปี.jpg
- http://www.bkkonline.com/upload/picture/เตียวหุย01.jpg
- http://media.photobucket.com/image/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2588%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2589/tstawe6z/ZhaoYun.jpg
- http://student.nu.ac.th/k_net_l_t/gallery/อ้วนเสี้ยว.jpg
- http://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=15912
- http://www.vcharkarn.com/vcafe/133270
- http://www.banglamung.ac.th/stubm6282550/CHPAN.html
- http://www.dektriam.net/TopicRead.aspx?topicID=101505
- http://thai135.multiply.com/journal/item/3
- http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/wtripoom.htm
- http://piromwasee.exteen.com/20080325/entry-1
- http://cddweb.cdd.go.th/cdregion03/cdr03/samake.htm
- http://www.kroobannok.com/blog/16875
- www.kidsquare.com/show.php?pid=1950
- http://psc.212cafe.com/user_blog/psc/picture/1185843766.jpg
- http://www.makkasan.com/mss1/rp63index_files/Page496.htm