ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular  System)

สร้างโดย : นางสาวธัญชนก รุ่งเรือง
สร้างเมื่อ ศุกร์, 28/01/2011 – 14:45
มีผู้อ่าน 187,182 ครั้ง (24/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/92946

ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)

              ระบบกล้ามเนื้อเป็นระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยจะอาศัยคุณสมบัติการหดตัวของใยกล้ามเนื้อ ทำให้กระดูกและข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน นอกจากการเคลื่อนไหว ของกระดูกและข้อต่อแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น  การเต้นของหัวใจ  การบีบตัวของ เส้นโลหิต  การบีบตัวของกระเพาะอาหาร  ลำไส้  และการทำงานของปอด เป็นต้น  การเคลื่อนไหวต่างๆ เหล่านี้ เกิดจากการ ทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสิ้น

              กล้ามเนื้อเป็นส่วนประกอบใหญ่ของร่างกายมนุษย์ และเป็นส่วนสำคัญที่สุด ทำหน้าที่ในขณะ ที่มีการเคลื่อนไหว ของร่างกาย หรือ เพียงบางส่วน เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การเคลื่อน ไหวของระบบทาง เดินอาหาร เป็นต้น กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมดมี น้ำหนักประมาณ 2/5 ของน้ำหนัก ตัวส่วนใหญ่อยู่บนรอบแขนและขา ซึ่งยึดติดกันอยู่โดยอาศัยข้อต่อ (Joints) และเอ็น (Tendon) ทำให้ร่างกายประกอบเป็นรูปร่างและทรวดทรงขึ้นมาอย่าง เหมาะสม

ชนิดของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อภายในร่างกายแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ

  1. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) หรือ กล้ามเนื้อในอำนาจจิตใจ
  2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) หรือกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจ
  3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle)

1. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle)

https://www.blockdit.com/posts/5f6805df26e0be0cb80edc0c

              เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ พบที่อวัยวะภายในของร่างกายเช่น หลอดอาหาร หลอดเลือด เป็นต้น เซลล์มีรูปร่างคล้ายกระสวย แต่ละเซลล์ มีนิวเคลียสอันเดียวอยู่ตรงกลางเซลล์ เซลล์ไม่มีลาย ตามขวาง ตรงรอยต่อของเยื่อหุ้มเซลล์บางส่วนจะมีบริเวณถ่ายทอดคลื่นประสาทเรียกว่าอินเตอร์คอนเนกติง บริดจ์ (interconnecting bridge) เพื่อถ่ายทอดคลื่น ประสาทไปยังเซลล์ข้างเคียง การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่นอกอำนาจจิตใจ การหดตัวเกิดได้เองโดยมีเซลล์เริ่มต้นการทำงาน (pace maker cell point) และการหดตัวถูกควบคุม โดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้นกล้ามเนื้อชนิดนี้ปลายประสาทจึงไม่ได้ไปเลี้ยงทุกเซลล์ ยกเว้นกล้ามเนื้อเรียบในบางส่วนของร่างกายมี ีปลายประสาทไปเลี้ยงทุกเซลล์ เช่น กล้ามเนื้อในลูกตา กล้ามเนื้อชนิดนี้เรียกว่า กล้ามเนื้อเรียบหลายหน่วย (multiunit smooth muscle) ส่วนกล้ามเนื้อเรียบ ชนิดแรกที่กล่าวถึง ในตอนต้นเรียกว่า กล้ามเนื้อหน่วยเดียว (single unit smooth muscle

2. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle)

              เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่กับกระดูก และมีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย

https://www.blockdit.com/posts/5f6805df26e0be0cb80edc0c

              กล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเซลล์ลักษณะเป็นเส้นยาวจึงเรียกว่า ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ความยาวของใยกล้ามเนื้อจะเท่ากับมัดกล้ามเนื้อที่ใยกล้ามเนื้อนั้นเป็น องค์ประกอบอยู่ ใยกล้ามเนื้อมีลายตามขวาง และมีเยื่อหุ้มเซลล์ ์เรียกว่า ซาร์โค เลมมา (sarcolemma) ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มอีกชั้นหนึ่งเรียกว่า เอนโดไมเซียม (endomysium) ใยของกล้ามเนื้อลายมีนิวเคลียสหลายอันอยู่ด้านข้างของเซลล์ เรียงตัวกันเป็นระยะตลอดแนวความยาวของเซลล์ แต่ละเซลล์มีปลายประสาทมาเลี้ยง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดตัว ใยกล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเส้นใยขนาดเล็กเรียกว่า ไมโอไฟบริล (myofibril) แต่ละไมโอไฟบริลประกอบด้วยฟิลาเมนท์ (filament) ซึ่ง มี 2 ชนิด คือ ชนิดหนา (thick filament) และชนิดบาง (thin filament) ใยกล้ามเนื้อหลายใยรวมกันเป็นมัดกล้ามเนื้อ และมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มเรียกว่า เพอริไมเซียม (perimysium) มัดของกล้ามเนื้อขนาดเล็กนี้รวมกันเป็นมัดใหญ่และ มีเนื้อเยื่อประสานเรียกว่า อีพิไมเซียม (epimysium)หุ้มอยู่ การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่ในอำนาจจิตใจจึงเรียกว่า กล้ามเนื้อโวลันทารี (voluntary muscle)

3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle)

https://www.blockdit.com/posts/5f6805df26e0be0cb80edc0c

              เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ พบที่หัวใจเพียงแห่งเดียว กล้ามเนื้อหัวใจมีเซลล์เป็นเส้นใยยาว มีลายตามขวาง เซลล์เรียงตัวหลายทิศทาง และเซลล์มีแขนงเชื่อมเซลล์อื่นเรียกว่า อินเตอร์คาเลทเตท ดิสค์ (intercalated disc) มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์เป็นรูปไข่ เซลล์บางกลุ่มเปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปเป็นเซลล์นำคลื่นประสาท (special conducting system) ซึ่งได้แก่ เอ-วี บันเดิล (A-V bundle) และเส้นใยเพอร์คินเจ (perkinje fiber) การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอยู่นอกอำนาจจิตใจ และทำงานได้เอง

คุณสมบัติของกล้ามเนื้อ

  • มีความรู้สึกต่อสิ่งเร้า (Irritability) คือ สามารถรับ Stimuli และตอบสนองต่อ Stimuli โดยการหดตัวของ กล้ามเนื้อ เช่น กระแสประสาทที่กล้ามเนื้อเวลาที่จับโดนความร้อนหรือ กระแสไฟฟ้า เรามักมีการหนีหรือหลบเลี่ยง
  • มีความสามารถที่จะหดตัวได้ (Contractelity) คือ กล้ามเนื้อสามารถเปลี่ยนรูปร่างให้สั้นหนา และแข็งได้
  • มีความสามารถที่จะหย่อนตัวหรือยืดตัวได้ (Extensibility) กล้ามเนื้อสามารถ ที่จะเปลี่ยน รูปร่างให้ยาวขึ้นกว่าความยาวปกติของมันได้ เมื่อถูกดึง เช่น กระเพาะอาหาร กระเพาะ ปัสสาวะ มดลูก เป็นต้น
  • มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง (Elasticity) คือ มีคุณสมบัติที่เตรียมพร้อมที่จะ กลับคืนสู่สภาพ เดิมได้ ภายหลังการ ถูกยืดออกแล้ว ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้ เกิด Muscle Tone ขึ้น
  • มีความสามารถที่จะดำรงคงที่อยู่ได้ (Tonus) โดยกล้ามเนื้อมีการหดตัว บ้างเล็กน้อย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะ ทำงานอยู่เสมอ

การหดตัวของกล้ามเนื้อ

              การหดตัวของกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการกระตุ้น กลไก การหดตัวของกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจจะคล้าย กัน ในมนุษย์การทำงานของกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นได้เมื่อ มีการ กระตุ้นของ ระบบประสาท หรือกระตุ้นโดยความร้อนหรือสารเคมี หรือ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ แล้วแต่ กล้ามเนื้อจะหดตัวได้ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าขณะเซลล์ทำงาน ( Action potential) ซึ่งเกิดขึ้น ที่บริเวณ เยื่อแผ่นของ เส้นใยของกล้ามเนื้อ รวมทั้งต้องอาศัยพลังงานอย่างมาก

กล้ามเนื้อตะคริว

              การเป็นตะคริว เกิดจากมีการเกร็งชั่วคราวของมัด กล้ามเนื้อทั้งหมด ขณะที่มีการหดตัวทำให้กล้าม เนื้อมัดนั้นมีลักษณะแข็งเป็นลูกและ เจ็บปวดมาก อาการเกร็งของตะคริว กล้ามเนื้อเกิดขึ้น นอกเหนืออำนาจจิตใจ และเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาไม่นาน ก็จะหายไปเอง แต่กลับ เป็นซ้ำขึ้นมา ที่เดิมได้อีก ในบางครั้งกล้ามเนื้ออาจเป็นตะคริว พร้อมกันหลายๆ มัดได้ สาเหตุที่ พบบ่อย ได้แก่

  • กล้ามเนื้อขาดการฟิตซ้อมหรือฟิตซ้อมไม่เพียงพอ
  • สภาวะแวดล้อมของอากาศ
  • ร่างกายขาดเกลือแร่บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียม
  • การใช้ผ้ายึดหรือสนับผ้ายืดพันหรือรัดลงไปบนกล้ามเนื้อค่อนข้างแน่นขณะที่มีการออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อทำงานหรือ ขยายตัวได้ไม่เต็มที่

การปฐมพยาบาล

  • หยุดพักการออกกำลังกายทันที ถ้ามีเครื่องพันธนาการ เช่น สนับเข่า หรือผ้ายืดรัด อยู่ให้ปลดออก
  • ให้ผู้ป่วยนอนราบ งอตะโพก 90 องศา งอเข่า 90 องศา
  • ค่อยๆ ดันปลายเท้าเพื่อให้ข้อเท้ากระดกขึ้น ทำช้าๆ ขณะที่ข้อเท้ากระดกขึ้นนั้น กล้ามเนื้อน่องจะค่อยๆ คลายตัวออกหรือยืดออก
  • ประกบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน หรือถูนวดเบาๆ ด้วยน้ำร้อนๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียน ให้ไปยังบริเวณ นั้น

กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย

              กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 792 มัด เป็นกล้ามเนื้อชนิดที่อยู่ในอำนาจจิตใจ 696 มัด ที่ เหลืออีก 96 มัด เป็นกล้ามเนื้อที่เราบังคับได้ไม่เต็มสมบูรณ์ ซึ่งได้แก่กล้ามเนื้อ ที่ทำหน้าที่ในการหายใจ (Respiration) จาม (Sneezing) ไอ (Coughing) เป็นต้น เพื่อสะดวกในการจดจำและทำให้เกิดความเข้าใจ จึงต้องมีการตั้งชื่อกล้ามเนื้อขึ้น ซึ่งมีหลายวิธี คือ

  • โดยลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อ (By Action) เช่น กล้ามเนื้อด้านในของต้นขา Adductor Muscle ทำหน้า ที่ในการหุบ ขา และกล้ามเนื้อปลายแขนด้านหลัง Flexor carpiradialis ซึ่งทำ หน้าที่ในการงอปลายแขน
  • โดยตำแหน่งที่ตั้ง (By location) เช่น กล้ามเนื้อปลายแขนด้านหน้า ติดกับกระดูก Tiibia,Tibialis antorioi และกล้ามเนื้อของทรวงอกด้านหน้า Pectoralis major
  • โดยจุดเริ่มต้นหรือส่วนยึด (By heads of origin) เช่น กล้ามเนื้อ Biceps brachii ซึ่งมี Origin 2 จุด กล้ามเนื้อ Triceps และ Quadraceps
  • โดยรูปร่าง (By shape) เช่น กล้ามเนื้อ Trapezius ซึ่งมีลักษณะ เป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กล้ามเนื้อ Detoid ที่ปกคลุมไหลมีรูปร่าง คล้ายตัว D
  • โดยตำแหน่งที่กล้ามเนื้อเกาะหรือยึดอยู่ Sternum กระดูก Clavicle และ Mastoid process ของ กระดูกขมับ

1. กล้ามเนื้อของศรีษะ (The Muscles of head)

กล้ามเนื้อของศรีษะแบ่งออกเป็น 2 พวก ซึ่งแบ่งตามหน้าที่ คือ

1.1 กล้ามเนื้อแสดงสีหน้า (Muscles of facial expression) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ติดกับผิวหนังมาก จึงมีหน้าที่ทำ ให้ผิวหนัง เคลื่อนไหว และเปลี่ยนลักษณะของสีหน้าประกอบด้วย · Orbicularis Oculi ทำหน้าที่ หลับตา

  • Orbicularis Oris หุบปาก,เม้มริมฝีปาก
  • Frontal Muscle ยักคิ้ว,หน้าผากย่น

1.2 กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร (Muscles of Mastication) เป็นกล้ามเนื้อใบหน้าและขากรรไกร ส่วนที่ทำหน้าที่ี่เกี่ยวข้องกับการบดเคี้ยวอาหารโดยตรง ทำให้เกิดแรงบดเคี้ยวอาหาร และทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของขากรรไกรล่างด้วย รวมทั้งการอ้าปาก-หุบปาก ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 4 มัด คือ

  • กล้ามเนื้อแมสซีเตอร์ (masseter)
  • เทมโพราลิส (temporalis)
  • เทอริกอยด์มัดนอก (lateral pterygoid)
  • เทอริกอยด์มัดใน (medial pterygoid)

2. กล้ามเนื้อคอ (Muscles of the Neck)
ประกอบด้วย

  • Sternocleido mastoid ถ้า 2 มัดทำงานจะก้มศีรษะลงถ้ามัดเดียวทำงานจะเอียงศีรษะ ไปข้างที่หดตัว
  • Platysma ทำหน้าที่ ดึงฝีปากล่างและมุมปากลง

3. กล้ามเนื้อของลำตัว (TheMuscles of the Trunk)
แบ่งออกเป็นพวกๆ คือ

3.1 กล้ามเนื้อของหลัง (Muscles of back)

มีอยู่หลายมัด อยู่ที่เบื้องหลังของลำตัวตั้งแต่หลังคอ หลังอก ไปจนถึง บั้นเอว ที่ชั้นตื้นมีกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ อยู่ 2 มัด และชั้นลึกที่สุดอีก 1 มัด

  • Trapezius ทำหน้าที่ รั้งสะบักมาข้างหลัง,ยกไหล่ขึ้นข้างบน,รั้งศรีษะไปข้างหลัง
  • Latissimus dorsi ทำหน้าที่ ดึงแขนลงมาข้างล่างไปข้างหลังและเข้าข้างใน
  • Sacrospinalis (Elector spinae) ทำหน้าที่ ดึงกระดูกสันหลังให้ตั้งตรง

3.2 กล้ามเนื้อของทรวงอกด้านหน้า (Muscles of the chest)

  • Pectoralis major หุบ,งอและหมุนต้นแขนเข้าข้างในมาข้างหน้า
  • Pectoralis minor ดึงไหล่ลง,หมุนสะบักลงข้างล่าง
  • erratus anterior ยึดสะบักให้อยู่กับที่,ดึงสะบักไปข้างหน้าและข้างๆ

3.3 กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ (TheMuscles of respiration)

  • Diaphragm ทำให้ช่องอกขยายโตขึ้นและช่วยดันปอดให้ลมออกมา
  • External Intercostal ยกซี่โครงขึ้นทำให้ช่องอกขยาย ใหญ่ขึ้น
  • Internal Intercostal ทำให้ช่องอกเล็กลง

3.4 กล้ามเนื้อของท้อง (The Muscles of abdomen) แบ่งเป็น 2 พวก คือ
              3.4.1 กล้ามเนื้อที่ประกอบเป็นผนังข้างหน้าและข้างๆ ของท้อง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 4 มัด คือ Rectus abdominis ทำหน้าที่ เมื่อหดตัวจะกดอวัยวะต่างๆ ในช่องท้อง เพิ่มแรงกดดัน (Pressure) ในช่อง ท้อง ช่วยในการคลอดบุตร ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน
              External obligue , Internal obligue , Transversus abdominis ทำหน้าที่ ช่วยกดอวัยวะในช่องท้อง ช่วยในการหายใจออก ช่วยป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้เป็นอันตราย และไม่ให้เคลื่อนที่ ช่วยงอและหมุนกระดูก สันหลัง

              3.4.2 กล้ามเนื้อที่ประกอบเป็นผนังด้านหลังของท้อง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ

  • Psoas muscle Iliacus Quadratus lumborum Psoas major ทำหน้าที่ งอต้นขา หุบและหมุนเข้าข้างใน
  • Psoas minor ทำหน้าที่ งอต้นขา หุบและหมุนเข้าข้างใน
  • Iliacus ทำหน้าที่ งอต้นขา หุบและหมุนเข้าข้างใน
  • Quadratus lumborum ทำหน้าที่ ช่วยในการหายใจเข้า (inspiration) โดยพยุงให้มุมนอกของ diaphargm มั่นคงและงอกระดูกสันหลังไปข้างๆ เหยียดกระดูกสันหลัง

4. กล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกราน (Muscles of pelvis)
Levator ani และ Coccygeus ทำหน้าที่ ขึงอยู่ใน Pelvic cavity คล้ายเป็น Pelvic diaphagm รองรับ อวัยวะที่อยู่ภายในอุ้งเชิงกรานไว้

5. กล้ามเนื้อของแขน (Muscles of the upper extremities)

5.1 กล้ามเนื้อไหล่ (Muscles of the shoulder) · Deltoid ทำหน้าที่ กางต้นแขนขึ้นมาเป็นมุมฉาก

  • Supraspinatus , Infraspinatus , Teres minor ทำหน้าที่ พยุงไหล่ หุบแขน และหมุนต้นแขนไปข้างๆ
  • Teres major ทำหน้าที่ หุบแขนและหมุนต้นแขนเข้าข้างใน
  • Subscapularis ทำหน้าที่ หมุนต้นแขนเข้าข้างใน และพยุงหัวไหล่

5.2 กล้ามเนื้อต้นแขน (Muscles of the arm)

  • Biceps brachii คล้ายกระสวยปลายบนมี 2 หัว ทำหน้าที่ งอข้อศอกและหงายมือ
  • Triceps brachii มัดใหญ่อยู่หลังต้นแขน ปลายบนมี 3 หัว ทำหน้าที่ เหยียดปลายแขน หัวยาวเหยียดและหุบแขน
  • Brachialis คลุมส่วนหน้าของข้อศอก ทำหน้าที่ งอปลายแขน
  • Coracobrachialis ทำหน้าที่ งอและหุบแขน ช่วยให้หัวของกระดูก humerus อยู่ใน Glenoid

              5.2.1 กล้ามเนื้อปลายแขนด้านหน้า (Volar group)

  • Pronator Teres ทำหน้าที่ คว่ำมือและงอแขนท่อนล่าง
  • Pronator guadatus ทำหน้าที่ คว่ำแขนท่อนบน
  • Flexor carpi Ulnaris ทำหน้าที่ คว่ำแขนท่อนล่าง งอและหุบมือ
  • Flexor digitorum Profundus ทำหน้าที่ งอมือและงอปลายนิ้ว

              5.2.2 กล้ามเนื้อปลายแขนด้านหลัง (Dorsal group)

  • Brachioradialis ทำหน้าที่ งอปลายแขนและหงายมือ
  • Extensor carpi Radialis brevis ทำหน้าที่ เหยียดแขนท่อนล่างเหยียดและกางข้อมือ
  • Extensor carpi Ulnaris ทำหน้าที่ เหยียดและกางข้อมือ
  • Extensor digitorum ทำหน้าที่ เหยียดนิ้วมือและข้อมือ

5.3 กล้ามเนื้อของมือ (Muscles of the hand) กล้ามเนื้อของมือเป็นกล้ามเนื้อสั้นๆ ที่ทำหน้าที่ ในการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ที่นิ้วมืออีกจำนวนมาก ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวนิ้วมือ อีกด้วย

6. กล้ามเนื้อขา (Muscle of lower extremities)

จำแนกออกเป็น
6.1 กล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ทำหน้าที่ เคลื่อนไหวขาท่อนบน ได้แก่

  • Gluteus maximus ทำหน้าที่ เหยียดและกางต้นขา
  • Gluteus medius ทำหน้าที่ กางต้นขา
  • Gluteus minimus ทำหน้าที่ หมุนต้นขาเข้าข้างใน

6.2 กล้ามเนื้อของต้นขา (The Muscles of the thigh)
              6.2.1 กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ประกอบด้วยกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ที่เรียกว่า Quadriceps femoris มีหน้าที่เหยีดปลายขามี 4 มัด คือ
Rectus femoris , Vastus lateralis or Vastus externus , Vastus medialis or Vastus internus , Vastus Intermediusทำหน้าที่เหยียดปลายขาและงอต้นขา
              6.2.2 กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อกลุ่ม Hamstring muscles เป็นพวก งอปลายขาขึ้นมา มี 3 มัด คือ

  • Biceps femoris ทำหน้าที่งอปลายขาเหยียดต้นขา
  • Semitendinosus , Semimembranosus ทำหน้าที่ งอปลายขา หมุนปลายขาเข้าข้างใน

6.3 กล้ามเนื้อของปลายขา (The Muscles of the legs)
              6.3.1 กล้ามเนื้อของปลายขาด้านหน้า

  • Tibialis anterior ทำหน้าที่ งอหลังเท้า เหยียดนิ้วเท้า หมุนฝาเท้าเข้าข้างใน
  • Extensor digitorum longus ทำหน้าที่ งอเท้า เหยียดนิ้วเท้า หันเท้าออกข้างนอก
  • Peroneus longus ทำหน้าที่ เหยียดเท้า กางและหมุนเท้าออกข้างนอก
  • Peroneus brevis ทำหน้าที่ เหยียดเท้า หมุนเท้าออกข้างนอก

              6.3.2 กล้ามเนื้อของปลายขาด้านหลัง
              Gastrocnemius มี 2 หัว ทำหน้าที่ เหยียดข้อเท้างอปลายขา · Soleus ทำหน้าที่ เหยียดข้อเท้า
กล้ามเนื้อทั้ง 2 มัด รวมกันเป็น Tendon ที่หนาและแข็งแรงที่สุดในร่างกาย แล้วไปเกาะที่กระ ดูกสันเท้า ตรงที่เรียกว่า เอ็นร้อยหวาย
6.4 กล้ามเนื้อของเท้า (The Muscles of the foot) เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กสั้นๆ เหมือนกับที่มืออยู่หลังเท้า และฝ่าเท้า หน้าที่สำคัญ คือ ช่วยยึดเท้าให้เป็นอุ้งเท้า (Arch) อยู่ได้

เคล็ดลับในการออกกำลังกาย

              การบริหารร่างกายที่ง่ายต่อการเรียนรู้ แต่ก็มีทั้งวิธีที่ถูกและวิธีที่ผิด วิธีที่ถูกคือ ต้องผ่อนคลายทำการบริหารส่วนต่าง ๆของร่างกายด้วยความเอาใจใส่ ส่วนที่วิธีที่ผิด (คนส่วนใหญ่นิยมทำ) คือการกระแทกขึ้นลงหรือบริหารร่างกายกันส่วนที่รู้สึกเจ็บปวด การปฏิบัติเช่นนี้เป็นอันตรายมากกว่าจะเป็นผลดี
              ถ้าคุณทำกายบริหารอย่างถูกต้องและทำเป็นประจำ จะรู้สึกว่าการเคลื่อนไหวนั้น ๆ ง่ายมากขึ้น การที่จะลดความตึงของกล้ามเนื้อและกลุ่มกล้ามเนื้อต้องใช้เวลา แต่เวลาจะผ่านไปอย่างรวดเร็วเมื่อคุณเริ่มเกิดความรู้สึกที่ดี

การทำกายบริหารร่างกายแบบง่าย ๆ
              เมื่อคุณเริ่มทำการบริหาร จงใช้เวลาประมาณ 10 – 30 วินาทีกับการบริหารร่างกายแบบง่าย ๆ ไม่ควรกระแทกขึ้นลง ทำจนถึงจุดที่คุณรู้สึกว่าตึงพอสมควร และควรผ่อนคลายขณะที่ค้างท่าบริหารนั้นไว้ ความตึงขณะที่ค้างการปฏิบัติควรบรรเทาลง ถ้าหากไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว ให้อยู่ในท่าสบาย และหาระดับที่ทำให้เกิดความตึงที่ต้องการ การบริหารร่างกายแบบง่าย ๆ ช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อ และทำให้กล้ามเนื้อพร้อมที่จะปฏิบัติกายบริหารที่หนักขึ้น

การบริหารร่างกายที่หนักขึ้น
              หลังจากที่ทำการบริหารแบบง่าย ๆ แล้ว ควรเริ่มทำกายบริหารที่หนักขึ้น การปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน คือ ไม่กระแทกขึ้นลง เคลื่อนให้ไกลออกไปอีกประมาณ 1 นิ้ว จนกระทั้งรู้สึกตึงพอสมควรและพัก หรือค้างในท่านั้นประมาณ 10 -30 วินาที ควรตึงจะค่อย ๆ ลดลง ถ้าไมาสามารถทำได้ ให้กลับมาอย่ในท่าสบาย การบริหารร่างกายที่หนักขึ้นจะช่วยปรับกล้ามเนื้อให้ดีขึ้น และเพิ่มความอ่อนตัว

การหายใจ
              ขณะทำการบริหารควรหายใจช้า ๆ และเป็นจังหวะ ขณะที่ก้มตัวไปข้างหน้า ให้หายใจออกและหายใจช้า ๆ ขณะพัก และค้างอย่ในท่าเท่านั้น ขฯทำการบริหารไม่ควรกลั้นหายใจ ถ้าหากท่าบริหารนั้นขัดขวางการหายใจแสดงว่าการปฏิบัติไม่ผ่อนคลาย ให้ปฏิบัติตามสบาย การหายใจก็จะเปผ็นไปตามธรรมชาติ

การนับ
              ในตอนแรก ๆ เมื่อทำกายบริหารแต่ละท่าในับอยู่ในใจ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณได้รับความตึงได้อย่างเหมาะสมในเวลาพอสมควร หลังจากนั้นให้ทำการบริหารตามวิธีทางของคุณโดยไม่ต้องสนใจการนับ

การตอบสนองของการทำกายบริหาร
              กลไกที่เรียกว่าการตอบสนองของการทำกายบริหาร จะช่วยปแองกันการยืดของกล้ามเนื้อที่มากเกินไป คุณจะเกร็งกล้ามเนื้อที่พยาบามเหยียดยืดอย่างมาก (คล้าย ๆ กับปฏิกิริยาที่อย่นอกอำนาจจิตใจ เมื่อสัมผัสของร้อนโดยบังเอิญ ก่อนที่จะคิดเกี่ยวกับสิ่งนั้น ก็จะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วให้พ้นจากความร้อนนั้นแล้ว)
              การพักหรือค้างการเหยียดยืดกล้ามเนื้อให้ไกลเท่าที่สามารถทำได้ หรือการกระแทกขึ้น ๆ ลง ๆ ทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวเต็มที่และเกิดการตอบสนอง กล่าวได้ว่าเป็นวิธีที่อันตราย และเป็นสาเหตุของความเจ็บปวด รวมทั้งการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการฉีกขาดเป็นฝอยละเอียดของเส้นใยกล้ามเนื้อก็เป็นอันตรายเช่นกัน การฉีดขาดนี้จะนำไปสู่การเป็นแผลในกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้เสียความเยืดหยุ่นไปทีละน้อย กล้ามเนื้อจะตึงและระบม คุณจะบริหารร่างกายและออกกำลังกายและออกกำลังกายประจำได้อย่างไร เมื่อวิธีการที่มีนำมาใช้ทำให้เกิดการบาดเจ็บ

การเริ่มต้นบริหาร
              หลังจากได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำกายบริหารในขั้นเริ่มต้นแล้ว ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับการทำกายบริหารอย่างถูกต้อง เมื่อทำการบริหาร สิ่งที่สำคัญคือ ต้องจัดส่วนของร่างกายให้เหมาะสม และเรียนวิธีปฏิบัติในแต่ละท่าให้เหมาะสมกับร่างกายของคุณ เมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำกายบริหารอย่างถูกต้องแล้ว การเรียนและการใช้ท่าบริหารต่าง ๆ ก็จะทำได้ง่าย
              เริ่มด้วยการยืดกล้ามเนื้อน่อง เป็นการยืดส่วนหลังของขาท่อนล่างและเท้า วิธีปฏิบัติให้หันเข้ารั้วฝาผนัง หรือสิ่งที่สามารถใช้เป็นที่รองรับได้ ยืนห่างจากฝาผนัง (สิ่งรองรับ) เล็กน้อย วางแขนท่อนล่างบนฝาผนังโดยให้หน้าฝากอยู่บนหลังมือทั้งสอง เข่าข้างหนึ่งงอไปยังฝาผนัง ส่วนขาที่อยู่ข้างหลังตรง เท้าวางราบกับฟื้นและชี้ตรงไปข้างหน้า หรือให้ปลายเท้าชี้เข้าข้างในเล็กน้อย
              จากลักษณะดังกล่าวโดยไม่เปลี่ยนตำแหน่งของเท้าทั้งสอง ให้เคลื่อนสะโพกไปข้างหน้า ขณะเดียวกันพยายามรักษาให้ขาหลังตรงและเท้ายังวางราบกับพื้น จากลักษณะดังกล่าวบอกได้ว่ากล้ามเนื้อน่องทำงานค้างอย่ในท่าดังกล่าวประมาณ 20 วินาที หลังจากนั้นให้เพิ่มความหนักขึ้น และค้างไว้นาน 20 วินาที อย่ายืดมากเกินไป

ท่าบริหารเพื่อผ่อนคลาย
              นั่งยืดต้นขาบริเวณขาหนีบ นั่งบนพื้น หันฝ่าเท้าทั้งสองข้างเข้าหากัน มือจับทั้งสองจับบริเวณปลายเท้า พยายามรักษาส้นเท้าจากช่องว่างของส่วนบนของขาให้อย่ในลักษณะสบาย ดึงร่างกายส่วนบนไปข้างหน้าจนเกิดความรู้สึกบริเวณขาหนีบ (ต้นขาด้านใน) ค้างอย่ในท่านี้ประมาณ 20 วินาที ถ้าเป็นไปได้พยายามให้ข้อศอกอยู่ด้านนอกของขาท่อนล่าง ซึ่งจะทำให้มีความมั่นคงและมีความสมดุล
              หลังจากที่รู้สึกว่าความตึงค่อย ๆ ลดลง ให้เพิ่มการยืดอย่างช้า ๆ ด้วยการดึงตัวเองไปให้ไกลขึ้น ซึ่งจะร้สึกว่าเกิดอาการตึงกว่าเดิม แต่ไม่ใช่ความเจ็บปวด พักหรือค้างไว้ในท่านั้นประมาณ 25 วินาที ถ้าหากสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ความรู้สึกตัวของกล้ามเนื้อจะต้องค่อย ๆ ลดลง หรืออย่ในระดับเดิมตลอดเวลาที่ค้างเอาไว้แต่ความตึงไม่ควรเพิ่มขึ้น ทำอย่างช้า ๆ ไม่กระตุก ไม่เร็วมาก หรือเคลื่อนที่แบบกระแทกกระทั้น ในการปฏิบัติแต่ละท่าให้ค้างเอาไว้จนเกิดความรู้สึกอะไรขึ้นการปฏิบัติในท่านั้น ๆ

เคล็ดลับง่ายๆ

  • ต้องกำหนดเป้าหมายเช่นออกเพื่อต้องการความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหรือออกเพื่อให้หัวใจแข็งแรง
  • ขณะออกกำลังกายอย่ากลั้นหายใจเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ให้หายใจเข้าออกตามปกติ
  • บริหารกล้ามเนื้อให้เกิดความสมดุล เช่นบริหารหลังก็ต้องบริหารหน้าท้อง บริหารกล้ามเนื้อแขนด้านหน้าต้องบริหารกล้ามเนื้อแขนด้านหลังเป็นต้น
  • อย่าใช้เวลามากเกินไปจากการศึกษาพบว่าเล่นวันละ set ก็เพียงพอทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
  • อย่ารีบ ให้ยกและวางลงอย่างช้าๆเพื่อกล้ามเนื้อได้ถูกบริหารอย่างเต็มที่
  • ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
  • ให้ใส่รองเท้าทุกครั้งเพื่อป้องกันเท้า