โรคติดเชื้อ COVID-19
สร้างโดย : นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
จำนวนผู้ติดเชื้อ Coronavirus Cases: 643,214,474
จำนวนผู้เสียชีวิต Deaths: 6,626,426
รักษาหาย Recovered: 622,436,451
ปรับปรุงล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2022, 12:44 GMT
โรคติดเชื้อ COVID-19
โรคโควิด 19 คืออะไร
โรคโควิด 19 คือโรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการ ค้นพบล่าสุด ไวรัสและโรคอุบัติใหม่นี้ไม่เป็นที่รู้จักเลยก่อนที่จะมีการระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี 2019 ขณะนี้โรคโควิด19 มีการระบาดใหญ่ไปทั่ว ส่งผลกระทบแก่หลายประเทศทั่วโลก
ต้นกำเนิดของไวรัส
ต้นตอของไวรัสน่าจะมาจากการที่ไวรัสจากสัตว์ตัวกลางระบาดมาสู่คน ผู้ป่วยรายแรกเท่าที่ทราบกัน เริ่มมีอาการต้้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม และไม่มีความเชื่อมโยงกับตลาดต้องสงสัยในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน แต่ผู้ป่วยหลายรายอาจมีมาต้้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนหรือก่อนหน้านั้น มีการเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมในตลาดไปส่งตรวจและพบเชื้อไวรัสและพบมากที่สุดในบริเวณที่ค้าสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม ตลาดอาจเป็นต้นกำเนิดของไวรัส หรืออาจมีบทบาทในการขยายวงของการระบาดในระยะเริ่มแรก
อาการ
การแพร่เชื้อ
โรคโควิด19 นี้โดยหลักแล้ว แพร่จากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจากจมูกหรือปากซึ่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วย ไอหรือจาม เรารับเชื้อได้จากการหายใจเอาฝอยละอองเข้าไปจากผู้ป่วย หรือจากการเอามือไปจับพื้นผิวที่มีฝอยละอองเหล่านั้นแล้วมาจับตามใบหน้า ระยะเวลานับจากการติดเชื้อและการแสดงอาการ (ระยะฟักตัว) มีต้้งแต่ 1-14 วัน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 วัน เกิน 97% ของผู้ป่วยเริ่มมีอาการภายใน 14 วัน
การแพร่เชื้อ
การเพิ่มจำนวนของไวรัสเกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและในปอด มีงานวิจัยในช่วงแรกระบุว่า การเพิ่มจำนวนของไวรัสได้ในระบบทางเดินอาหาร แต่การติดต่อโดยระบบทางเดินอาหารยังไม่เป็นที่ยืนยัน ช่วงพีคของการแพร่เชื้อน่าจะเกิดขึ้นในช่วงแรกที่แสดงอาการและลดลงหลังจากนั้น การแพร่เชื้อก่อนแสดงอาการอาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีอาการไอ(กลไกหลักในการขับไวรัสออกมา) อาจจำกัดการแพร่เชื้อในช่วงนั้น
เหตุการณ์ระบาดเป็นวงกว้าง
- การชุมนุมขนาดใหญ่
- ประชากรสูงอายุ
- ประชากรไร้ถิ่นฐาน
- การสัมผัสโรคจากต่างประเทศ
- ความหนาแน่นของเขตเมือง
- ระบบสาธารณสุขไม่เข้มแข็ง
- รัฐบาลขาดความโปร่งใส
- สื่อขาดเสรีภาพ
ลักษณะจำเพาะของโรค อัตราการแพร่เชื้อและความรุนแรง
- Basic Reproductive Rate(R0) คือ ค่าเฉลี่ยที่ผู้ป่วย 1 คนจะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นในกลุ่มประชากรที่มีความไวต่อการรับเชื้อ ค่า R0 ของโรคโควิด19 อยู่ที่ประมาณ 2 และ 4
- Clinical Onset Interval คือ ช่วงเวลาแสดงอาการในผู้ป่วยรายต่อๆ กันในห่วงโช่ของการแพร่ระบาด ในงานวิจัยส่วนใหญ่ เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 4 และ 5 วัน
- Case Fatality Ratio (CFR) หรืออัตราการเสียชีวิต คือ สัดส่วนของผู้ป่วยที่ถึงแก่ชีวิตอัตราคร่าวๆของทั่วโลกอยู่ที่ 7% (ธันวาคม 2019 – พฤษภาคม 2020)
กลุ่มเสี่ยง
เสี่ยงต่ำ | เสี่ยงสูง |
งานวิจัยระบุว่า เด็กและคนหนุ่มสาวติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ อย่างไรก็ตามเด็กมักจะไม่มีอาการรุนแรง | ความเสี่ยงต่ออาการรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้นตามอายุและในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังและโรคมะเร็ง |
ภูมิคุ้มกัน
ระยะสั้น
- ลดลงอย่างต่อเนื่อง
- ผู้ป่วยอาจยังแพร่เชื้อได้แม้มีอาการดีขึ้น สิ่งนี้มีนัยสำคัญต่อการควบคุมป้องกันโรคในบริบทสถานพยาบาลและในการจำหน่ายผู้ป่วย ผู้ป่วยบางรายยังคงต้องแยกกักตัวเองต่อที่บ้านหลังจากได้รับการจำหน่ายแล้ว
ระยะยาว
- ขณะนี้ ยังไม่หลักฐานเพียงพอเกี่ยวกับประสิทธิภาพหรือระยะเวลาของภูมิคุ้มกันที่สร้างจากสารแอนติบอดี้ที่จะรับประกันความเที่ยงตรงของสิ่งที่เรียกว่า “พาสปอร์ตภูมิคุ้มกัน” หรือ “ใบรับประกันว่าไม่มีความเสี่ยง”
- มีข้อกังวลว่า ผู้คนอาจเข้าใจว่าตนเองมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อครั้งที่สอง และละเลยการปฎิบัติตามคำแนะนำทางสุขภาพ ซึ่งอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการระบาดต่อเนื่อง
ภูมิคุ้มกัน
การตรวจ
- Nucleic Acid Amplification Test (NAATs) ใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อ (ว่าตรวจพบไวรัสหรือไม่) ในระยะเฉียบพลันของโรค การตรวจเทคนิคนี้ใช้เวลาระหว่าง 13 นาทีถึง 3 ชั่วโมง และจำต้องมีอุปกรณ์เครื่องมือเฉพาะ
- การตรวจหาแอนติบอดี้ด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันจะใช้ตรวจหาแอนติบอดี้ IgM และ IgG ที่สร้างขึ้นมาต้านไวรัส ไม่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคเนื่องจากการตอบสนองของร่างกายไม่สามารถตรวจพบได้ในสัปดาห์แรกของการเจ็บป่วยการตวจใช้เวลา 15 นาทีและสามารถใช้ตรวจว่าใครเคยติดเชื้อมาก่อนการศึกษาในระดับประชากรด้วยเทคนิคตรวจแอนติบอดี้ขณะนี้ทำอยู่ใน 6 ประเทศ
- การตรวจหาแอนติเจน ใช้ตรวจหาแอนติเจนของไวรัสและอาจเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยการติดเชื้อเฉียบพลัน การพัฒนาชุดตรวจทำอยู่ในหลายประเทศ Source: ID card ไม่มีการตรวจโควิด19 ชนิดใดได้รับการขึ้นทะเบียน ยกเว้นภายใต้ข้อกำหนดการใช้ในสภาวะฉุกเฉินเท่านั้น ทุกประเภทกำลังอยู่ระหว่างการประเมิน
การรักษา
ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้รักษาโรคโควิด19 แต่มีการทำวิจัยเพื่อพิจารณาว่ามียาตัวใดบ้างที่อาจปรับวัตถุประสงค์การใช้เดิมเพื่อการรักษาโรคโควิด19
องค์การอนามัยโลกกำลังประสานงานความร่วมมือในโครงการขนาดใหญ่ชื่อ Solidarity Trial ในหลายประเทศเพื่อประเมินยา/สูตรการรักษา 4 ชนิด ดังนี้
มาตรการระดับบุคคล
การรักษาสุขอนามัยของมือและมารยาทในการไอ/จามเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำตลอดเวลาและเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันตัวเองและผู้อื่น
เมื่อเป็นไปได้ รักษาระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น เนื่องจากผู้ติดเชื้อบางรายอาจยังไม่แสดงอาการหรือมีอาการไม่รุนแรงดังนั้นการเว้นระยะห่างจากทุกคนสำคัญมากหากคุณอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด19
มาตรการทางสาธารณสุข
- การกักกัน คือ การจำกัดกิจกรรมต่างๆ หรือการแยกผู้ที่ไม่ป่วย แต่อาจมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 จุดประสงค์คือเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในห้วงเวลาที่คนเริ่มมีอาการ
- การแยกกัก หมายถึง การแยกผู้ป่วยที่มีอาการของโรคโควิด 19 และอาจแพร่เชื้อได้ จึงทำเพื่อป้องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
- การเว้นระยะ คือ การอยู่ห่างกันและกัน องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น ส่วนนี้เป็นมาตรการทั่วไปที่ทุกคนควรทำถึงแม้ว่าจะแข็งแรงดี
- การติดตามผู้สัมผัสโรค ทำเพื่อระบุหาคนที่อาจมีประวัติสัมผัสโรคเพื่อที่จะแยกกักออกไปโดยเร็ว
ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม
- การระบาดไปทั่วในวงกว้างของโรคโควิด19 และวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์นี้ทำให้เกิดความท้าทายใหญ่หลวงในระดับโลกและระดับท้องถิ่น
- ผลกระทบทางสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมเกิดขึ้นกับกลุ่มคนทุกกลุ่ม แต่บ่อนทำลายกลุ่มประชากรเปราะบางมากที่สุด ซึ่งรวมถึง คนยากจน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เยาวชน และกลุ่มคนชาติพันธุ์
- วิกฤตทางโรคระบาดและเศรษฐกิจกระทบต่อกลุ่มประชากรเปราะบางอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจจุดชนวนให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและความยากจนมากขึ้น
- วิกฤตโลกในครั้งนี้ต้องการการประสานงาน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และนโยบายทางเศรษฐกิจ สังคมและสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ
ที่มาของข้อมูล : https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/update-28-covid-19-what-we-know—june2020—thai.pdf?sfvrsn=724d2ce3_0
https://github.com/CSSEGISandData/COVID-19.git