ดนตรี๊…ดนตรี ศาสตร์ที่น่าลองค้นหา

สร้างโดย : นางสาวอนันตพร โอตตัปปะวงศ์ เเละนางสาวเพ็ญศรี รอดจากภัย
สร้างเมื่อ จันทร์, 16/11/2009 – 14:26
มีผู้อ่าน 1,047,079 ครั้ง (11/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/44045

ดนตรี๊…ดนตรี ศาสตร์ที่น่าลองค้นหา

https://tanaporn0676.files.wordpress.com/2013/09/1304418274.jpg

เนื้อหาประกอบด้วย

  1. » ประเภทของวงดนตรีไทย
  2. » การไหว้ครูเเละการครอบครู
  3. » ประวัติเศียรบรมครูดนตรีไทย
  4. » ประเภทเครื่องดนตรีไทย
  5. » เครื่องดนตรีภาคเหนือ
  6. » เครื่องดนตรีภาคกลาง
  7. » เครื่องดนตรีภาคอีสาน
  8. » เครื่องดนตรีภาคใต้
  9. » เครื่องกำกับจังหวะ
  10. » พระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  11. » ประวัติเพลงชาติไทย
  12. » โน้ตเพลงไทย
  13. » ผู้มีชื่อเสียงในเเวดวงดนตรี
  14. » ความเป็นมาของอังกะลุง
  15. » กว่าจะมาเป็นอังกะลุง
  16. » ประโยชน์ของดนตรี
  17. » ศัพท์สังคีต
  18. » เเหล่งอ้างอิง

» 1. ประเภทของวงดนตรีไทย

       ประเภทของวงดนตรีไทย  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. วงเครื่องสาย
  2. วงปี่พาทย์
  3. วงมโหรี

อ่านเพิ่มเติม...

 1. วงเครื่องสาย  

         วงเครื่องสายเป็นชื่อวงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งเครื่องดนตรีส่วนใหญ่ในวงจะประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ใช้สายเป็นต้นกำเนิดของเสียงดนตรีเช่น ซออู้ ซอด้วง จะเข้ แม้ว่าเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงนั้นจะมีวิธีการบรรเลงที่ต่างกันออกไป ทั้ง ดีด สี หรือตีก็ตามจึงเรียกวงดนตรีนี้ว่า “วงเครื่องสาย” วงเครื่องสายอาจมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย หรือเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง กลอง บรรเลงอยู่ด้วยก็ยังถือว่าอยู่ในวงเครื่องสายเช่นกันเพราะมีเป็นจำนวนน้อย และที่นำมาร่วมบรรเลงในวงด้วยเพียงเพื่อช่วยเพิ่มรสในการบรรเลงให้น่าฟังยิ่งขึ้น 

         วงเครื่องสายเกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ซึ่งมีเครื่องสี คือ ซอ เครื่องดีด คือ จะเข้ และกระจับปี่ ผสมในวง ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ
         1.1. วงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยว เป็นวงเครื่องสายที่มีเครื่องดนตรีผสมเพียงอย่างละ 1 ชิ้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วงเครื่องสายไทยวงเล็ก เครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวนี้นับว่าเป็นสิ่งสำคัญและถือเป็นหลักของวงเครื่องสายไทยที่จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเสียมิได้ เพราะแต่ละสิ่งล้วนดำเนินทำนองและมีหน้าที่ต่าง ๆ กัน เมื่อผสมเป็นวงขึ้นแล้ว เสียงและหน้าที่ของเครื่องดนตรีแต่ละอย่างก็จะประสมประสานกันเป็นอันดี เครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวซึ่งถือเป็นหลัก คือ

  1. ซอด้วง เป็นเครื่องสีที่มีระดับเสียงสูงและกระแสเสียงดัง มีหน้าที่ดำเนินทำนองเพลง เป็นผู้นำวง และเป็นหลักในการดำเนินทำนอง
  2. ซออู้ เป็นเครื่องสีที่มีระดับเสียงทุ้ม มีหน้าที่ดำเนินทำนองหยอกล้อ ยั่วเย้า กระตุ้นให้เกิดความครึกครื้นสนุกสนานในจำพวกดำเนินทำนองเพลง
  3. จะเข้ เป็นเครื่องดีดดำเนินทำนองเพลงเช่นเดียวกับซอด้วง แต่มีวิธีการบรรเลงแตกต่างออกไป
  4. ขลุ่ยเพียงออซึ่งเป็นขลุ่ยขนาดกลาง เป็นเครื่องเป่าดำเนินทำนองโดยสอดแทรกด้วยเสียงโหยหวนบ้าง เก็บบ้าง ตามโอกาส
  5. โทนและรำมะนา เป็นเครื่องตีที่ขึงหนังหน้าเดียว และทั้ง 2 อย่างจะต้องตีให้สอดสลับรับกันสนิทนสมผสมกลมกลืนเป็นทำนองเดียวกัน มีหน้าที่ควบคุมจังหวะหน้าทับ บอกรสและสำเนียงเพลงในภาษาต่าง ๆ และกระตุ้นเร่งเร้าให้เกิดความสนุกสนาน
  6. ฉิ่ง เป็นเครื่องตรี มีหน้าที่ควบคุมจังหวะย่อยให้การบรรเลงดำเนินจังหวะไปโดยสม่ำเสมอ หรือช้าเร็วตามความเหมาะสม
  7. เครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวอาจเพิ่มเครื่องที่จะทำให้เกิดความไพเราะเหมาะสมได้อีก เช่น กรับและฉาบเล็กสำหรับตีหยอกล้อยั่วเย้า  ในจำพวกกำกับจังหวะ โหม่งสำหรับช่วยควบคุมจังหวะใหญ่ 

         1.2. วงเครื่องสายไทยเครื่องคู่

http://st.mengrai.ac.th/users/9134/ONet51/work%5E%5E/pic/2/161.jpg

         คำว่า เครื่องคู่ ย่อมมีความหมายชัดเจนแล้วว่าเป็นอย่างละ 2 ชิ้น แต่สำหรับการผสมวงดนตรีจะต้องพิจารณาใคร่ครวญถึงเสียงของเครื่องดนตรีที่จะผสมกันนั้น ว่าจะบังเกิดความไพเราะหรือไม่อีกด้วย เพราะฉะนั้นวงเครือ่งสายไทยเครื่องคู่จึงเพิ่มเครื่องดนตรีในวงเครือ่งสายไทยเครื่องเดี่ยวขึ้นเป็น 2 ชิ้น แต่เพียงบางชนิด คือ

  1. ซอด้วง 2 คัน แต่ทำหน้าที่ผู้นำวงเพียงคันเดียว อีกคันหนึ่งเป็นเพียงผู้ช่วย
  2. ซออู้ 2 คัน ถ้าสีเหมือนกันได้ก็ให้ดำเนินทำนองอย่างเดียวกัน แต่ถ้าสีเหมือนกันไม่ได้ก็ให้คันหนึ่งหยอกล้อห่าง ๆ อีกคันหนึ่งหยอกล้อยั่วเย้าอย่างถี่ หรือจะผลัดกันเป็นบางวรรคบางตอนก็ได้
  3. จะเข้ 2 ตัว ดำเนินทำนองแบบเดียวกัน
  4. ขลุ่ย 2 เลา เลาหนึ่งเป็นขลุ่ยเพียงอออย่างในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยว

         ส่วนเลาที่เพิ่มขึ้นเป็นขลุ่ยหลีบซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขลุ่ยเพียงออ และมีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 3 เสียง มีหน้าที่ดำเนินทำนองหลบหลีกปลีกทางออกไป ซึ่งเป็นการยั่วเย้าไปในกระบวนเสียงสูง  สำหรับโทน รำมะนา และฉิ่ง ไม่เพิ่มจำนวน ส่วนฉาบเล็กและโหม่ง ถ้าจะใช้ก็คงมีจำนวนอย่างละ 1 ชิ้นเท่าเดิม  ตั้งแต่โบราณมา วงเครื่องสายไทยมีอย่างมากก็เพียงเครื่องคู่ดังกล่าวแล้วเท่านั้น ในสมัยหลังได้มีผู้คิดผสมวงเป็น วงเครื่องสายไทยวงใหญ่ ขึ้น โดยเพิ่มเครื่องบรรเลงจำพวกดำเนินทำนอง เช่น ซอด้วง ซออู้ และขลุ่ย ขึ้นเป็นอย่างละ 3 ชิ้นบ้าง 4 ชิ้นบ้าง การจะผสมเครื่องดนตรีชนิดใดเข้ามาในวงนั้นย่อมกระทำได้ ถ้าหากเครื่องดนตรีนั้นมีเสียงเหมาะสมกลมกลืนกับเครื่องอื่น ๆ แต่จะเพิ่มเติมในส่วนเครื่องกำกับจังหวะ เช่น โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ และโหม่ง ไม่ได้ ได้แต่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไป เช่น ใช้กลองแขกแทนโทน รำมะนา

         1.3. วงเครื่องสายผสม เป็นวงเครื่องสายที่นำเอาเครื่องดนตรีต่างชาติเข้ามาร่วมบรรเลงกับเครื่องสายไทย การเรียกชื่อวงเครื่องสายผสมนั้นนิยมเรียกตามชื่อของเครื่องดนตรีต่างชาติที่นำเข้ามาร่วมบรรเลงในวง เช่น นำเอาขิมมาร่วมบรรเลงกับ ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ย และเครื่องกำกับจังหวะต่าง ๆ แทนจะเข้ ก็เรียกว่า “วงเครื่องสายผสมขิม” หรือนำเอาออร์แกนหรือไวโอลินมาร่วมบรรเลงด้วยก็เรียกว่า “วงเครื่องสายผสมออร์แกน” หรือ “วงเครื่องสายผสมไวโอลิน” เครื่องดนตรีต่างชาติที่นิยมนำมาบรรเลงเป็นวงเครื่องสายผสมนั้นมีมากมายหลายชนิด เช่น ขิม ไวโอลิน ออร์แกน เปียโน หีบเพลงชัก แอกคอร์เดียน เจ้ง

         1.4. วงเครื่องสายปี่ชวา คือ วงเครื่องสายไทยทั้งวงบรรเลงประสมกับวงกลองแขก (ดู
วงกลองแขก ประกอบ) โดยไม่ใช้โทนและรำมะนา และใช้ขลุ่ยหลีบแทนขลุ่ยเพียงออกเพื่อให้เสียงเข้ากับปี่ชวาได้ดี เดิมเรียกว่า วงกลองแขกเครื่องใหญ่ วงเครื่องสายปี่ชวาน  เกิดขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    การบรรเลงเครื่องสายปี่ชวานั้น นักดนตรีจะต้องมีไหวพริบและความเชี่ยวชาญในการบรรเลงเป็นพิเศษ โดยเฉพาะฉิ่งกำกับจังหวะจะต้องเป็นคนที่มีสมาธิดีที่สุดจึงจะบรรเลงได้อย่างไพเราะ เพลงที่วงเครื่องสายปี่ชวานิยมใช้บรรเลงเป็นเพลงโหมโรง ได้แก่ เพลงเรื่องชมสมุทร เพลงโฉลก เพลงเกาะ เพลงระกำ เพลงสะระหม่า แล้วออกเพลงแปลง เพลงออกภาษา แล้วกลับมาออกเพลงแปลงอีกครั้งหนึ่ง

2. วงปี่พาทย์

         วงปี่พาทย์ประกอบด้วยเครื่องตี เครื่องเป่า เครื่องกำกับจังหวะ แบ่งเป็นปี่พาทย์ไม้แข็ง ปี่พาทย์ไม้นวม แบ่งตามลักษณะไม้ที่ใช้ตี 

  • ปี่พาทย์ไม้แข็ง ไม้ตีก็จะแข็งมาก ตีดังแน่นและไกล 
  • ปี่พาทย์ไม้นวม ไม้ตีจะหุ้มผ้า ให้อ่อนนุ่ม ตีดังเสียงนุ่มๆ ทุ้มๆ ดังไม่ไกลนัก มักเป็นของผู้ชายเล่น

     วงปี่พาทย์มี 8  แบบ คือ

        2.1. วงปี่พาทย์เครื่องห้า เป็นวงปี่พาทย์ที่เป็นวงหลัก มีจำนวนเครื่องดนตรีน้อยชิ้นที่สุด ดังนี้

http://202.44.68.33/files/u2462/img001_1_.jpg
  • ปี่ใน 1 เลา
  • ระนาดเอก 1 ราง
  • ฆ้องวงใหญ่ 1 วง
  • กลองทัด 2 ลูก
  • ตะโพน 1 ลูก
  • ฉิ่ง 1 คู่

        ในบางกรณีอาจใช้ฉาบ กรับ โหม่งด้วย

        2.2. วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เป็นวงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยเครื่องทำทำนองเป็นคู่เนื่องด้วยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีผู้คิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก 2 อย่าง คือ ระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็ก และนำเอาปี่นอกซึ่งใช้ในการบรรเลงปี่พาทย์สำหรับการแสดงหนังใหญ่สมัยโบราณมารวมเข้ากับวงปี่พาทย์เครื่องห้าที่มีอยู่เดิม    วงปี่พาทย์เครื่องคู่มีเครื่องดนตรีดังนี้

  • ปี่ 1 คู่ คือ ปี่ในและปี่นอก
  • ระนาด 1 คู่ คือ ระนาดเอกและระนาดทุ้ม
  • ฆ้องวง 1 คู่ คือ ฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็ก
  • กลองทัด 1 คู่
  • ตะโพน 1 ลูก
  • ฉิ่ง 1 คู่
  • ฉาบเล็ก 1 คู่
  • ฉาบใหญ่ 1 คู่
  • โหม่ง 1 ใบ
  • กลองสองหน้า 1 ลูก (บางทีใช้กลองแขก 1 คู่ แทน)

        ในบางกรณีอาจใช้กรับด้วย

       2.3. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ คือ วงปี่พาทย์เครื่องคู่ที่เพิ่มระนาดเอกเหล็กกับระนาดทุ้มเหล็ก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ขึ้น กลายเป็นวงปี่พาทย์ที่มีระนาด 4 ราง โดยตั้งระนาดเอกเหล็กที่ริมด้านขวามือและตั้งระนาดทุ้มเหล็กที่ริมด้านซ้ายมือ ซึ่งนักดนตรีนิยมเรียกกันว่า “เพิ่มหัวท้าย” วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบางวงก็เพิ่มกลองทัด รวมเป็น 3 ใบบ้าง 4 ใบบ้าง ส่วนฉาบใหญ่นำมาใช้ในวงปี่พาทย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     วงปี่พาทย์ทั้งเครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ ถ้ามีการบรรเลงเพลงภาษาจะใช้เครื่องดนตรีกำกับจังหวะของภาษานั้น ๆ ด้วย เช่น

  • ภาษาเขมร ใช้ โทน
  • ภาษาจีน ใช้ กลองจีน กลองต๊อก แต๋ว
  • ภาษาฝรั่ง ใช้ กลองมริกัน (อเมริกัน) หรือกลองแตร็ก (side drum, snare drum)
  • ภาษาพม่า ใช้ กลองยาว
  • ภาษามอญ ใช้ ตะโพน เปิงมาง

       2.4. วงปี่พาทย์นางหงส์  คือ วงปี่พาทย์ธรรมดาซึ่งใช้บรรเลงทั่วไป แต่เมื่อนำมาใช้ประโคมในงานศพ จะนำวงบัวลอยซึ่งประกอบด้วยปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 1 คู่ และเหม่ง 1 ใบ ที่ใช้ประโคมในงานศพเข้ามาผสม (ดู วงบัวลอย ประกอบ) โดยตัดปี่ใน ตะโพน และกลองทัด ออก ใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายูแทนตะโพนและกลองทัด ส่วนเหม่งนั้นมีเสียงไม่เหมาะกับวงปี่พาทย์จึงไม่นำมาใช้ ใช้แต่โหม่งซึ่งมีอยู่เดิม เรียกว่า “วงปี่พาทย์นางหงส์”   วงปี่พาทย์นางหงส์ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพมาแต่โบราณก่อนวงปี่พาทย์มอญ สาเหตุที่เรียกว่าปี่พาทย์นางหงส์ ก็เพราะใช้เพลงเรื่องนางหงส์ 2 ชั้น เป็นหลักสำคัญในการบรรเลง นอกจากนี้ยังมีวิวัฒนาการไปใช้บรรเลงเพลงภาษาต่าง ๆ เรียกว่า “ออกภาษา” ด้วย

       2.5. วงปี่พาทย์มอญ

http://ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_o_ebook/html/018/60.files/image004.jpg

       ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ได้อิทธิพลมาจากมอญ เช่น ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ และเปิงมางคอก

       ปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญมี 3 ขนาด ได้แก่

  1. วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วยปี่มอญ ระนาดเอก ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
  2. วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า แต่เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องมอญวงเล็ก
  3. วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่เพิ่ม ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก

       วงปี่พาทย์มอญนั้นที่จริงแล้วใช้บรรเลงในโอกาสต่าง ๆ ได้ทั้งงานมงคล เช่น งานฉลองพระแก้วมรกตในสมัยธนบุรี และงานอวมงคล เช่น งานศพ แต่ต่อมานิยมบรรเลงในงานศพ เนื่องจากท่วงทำนองเพลงมอญมีลีลาโศกเศร้า โหยหวน ซึ่งเหมาะกับบรรยากาศของงาน จนบางท่านนึกว่าปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น

3. วงมโหรี

      วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีผสมทั้งดีด สี ตี เป่า เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเพื่อขับกล่อม ไม่นิยมบรรเลงในการแสดงใด ๆ
      วงมโหรีมี 5 แบบ คือ

           3.1. วงมโหรีเครื่องสี่ เป็นวงมโหรีที่รวมเอาการบรรเลงพิณและการขับไม้ ซึ่งมีมาแต่โบราณเข้าด้วยกัน เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี 4 ชิ้น คือ

  1. ทับ (ปัจจุบันเรียกว่า โทน) เป็นเครื่องควบคุมจังหวะ
  2. ซอสามสาย
  3. กระจับปี่
  4. กรับพวง (ผู้ขับร้องเป็นผู้ตีกรับพวง)

      วงโหรีเครื่องสี่นี้เดิมผู้ชายเป็นผู้บรรเลง ต่อมาเมื่อนิยมฟังมโหรีกันแพร่หลาย ผู้มีบรรดาศักดิ์จึงนิยมให้ผู้หญิงฝึกหัดบรรเลงบ้างและได้รับความนิยมสืบต่อมา
            3.2. วงมโหรีเครื่องหก คือ วงมโหรีเครื่องสี่ซึ่งเพิ่มเครื่องดนตรีอีก 2 อย่าง คือ รำมะนา สำหรับตีกำกับจังหวะคู่กับทับ และขลุ่ย (ปัจจุบันเรียกว่า ขลุ่ยเพียงออ) สำหรับเป่าดำเนินทำนอง และเปลี่ยนใช้ฉิ่งแทนกรับพวง นับเป็นการบรรเลงที่มีเครื่องดนตรีครบทั้งดีด สี ตี และเป่า เกิดขึ้นในตอนปลายสมัยอยุธยา
            3.3. วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก คือ วงมโหรีที่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีและเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ครั้งแรกเพิ่มระนาดเอกและฆ้องวง (ภายหลังเรียกว่า ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี) (ดู ฆ้องมโหรี ประกอบ) ต่อมาจึงได้เพิ่มซอด้วงและซออู้ ส่วนกระจับปี่นั้นเปลี่ยนเป็นใช้จะเข้แทน เนื่องจากเวลาบรรเลงจะเข้วางราบไปกับพื้น ซึ่งต่างกับกระจับปี่ที่ต้องตั้งดีด ทั้งนมที่ใช้รองรับสายและบังคับเสียงก็เรียงลำดับมีระยะเหมาะสมกว่ากระจับปี่ เวลาบรรเลงจึงทำให้ใช้นิ้วดีดได้สะดวกและแคล่วคล่องกว่า นอกจากนี้จะเข้ยังสามารถทำเสียงได้ดังและทำเสียงได้มากกว่ากระจับปี่

http://staffzone.amnuaysilpa.ac.th/thaimusic/mhoreb1.jpg


ปัจจุบันวงมโหรีเครื่องเดี่ยวประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้

  1. ซอสามสาย 1 คัน ทำหน้าที่คลอเสียงผู้ขับร้อง และบรรเลงดำเนินทำนองร่วมในวง
  2. ซอด้วง 1 คัน ดำเนินทำนองโดยเก็บบ้าง หวานบ้าง
  3. ซออู้ 1 คัน ดำเนินทำนองเป็นเชิงหยอกล้อยั่วเย้าไปกับทำนองเพลง
  4. จะเข้ 1 ตัว ดำเนินทำนองโดยเก็บบ้าง รัวบ้าง และเว้นห่างบ้าง
  5. ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา ดำเนินทำนองเก็บบ้าง โหยหวนบ้าง
  6. ระนาดเอก 1 ราง ดำเนินทำนองเก็บบ้าง กรอบ้าง ทำหน้าที่เป็นผู้นำวง
  7. ฆ้องวง (เรียกว่า ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี) 1 วง ดำเนินทำนองเนื้อเพลงเป็นหลักของวง
  8. โทน 1 ลูก รำมะนา 1 ลูก ตีสอดสลับกัน ควบคุมจังหวะหน้าทับ
  9. ฉิ่ง 1 คู่ ควบคุมจังหวะย่อย แบ่งให้รู้จังหวะหนักเบา

           3.4. วงมโหรีเครื่องคู่  คือ วงมโหรีเครื่องเดี่ยวที่ได้เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กเข้าในวง ทั้งนี้เนื่องด้วยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กรวมเรียกว่า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงมโหรีจึงเพิ่มเครื่องดนตรีดังกล่าวบ้าง นอกจากนั้นยังเพิ่มซอด้วงและซออู้ขึ้นเป็นอย่างละ 2 คัน เพิ่มจะเข้เป็น 2 ตัวขลุ่ยนั้นเดิมมีแต่ขลุ่ยเพียงออ จึงเพิ่มขลุ่ยหลีบอีก 1 เลา ส่วนซอสามสายก็เพิ่มซอสามสายหลีบอีก 1 คัน และเพิ่มฉาบเล็กอีก1 คู่ด้วย

ปัจจุบันวงมโหรีเครื่องคู่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้

  1. ซอสามสาย 1 คัน หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
  2. ซอสามสายหลีบ 1 คัน บรรเลงร่วมกับเครื่องดำเนินทำนองอื่น ๆ
  3. ซอด้วง 2 คัน หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
  4. ซออู้ 2 คัน หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
  5. จะเข้ 2 ตัว หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
  6. ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
  7. ขลุ่ยหลีบ 1 เลา ดำเนินทำนองเก็บบ้าง โหยหวนบ้าง สอดแทรกทำนองเล่นล้อไปทางเสียงสูง
  8. ระนาดเอก 1 ราง หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
  9. ระนาดทุ้ม 1 ราง ดำเนินทำนองเป็นเชิงหยอกล้อยั่วเย้าให้เกิดอารมณ์ครึกครื้น
  10. ฆ้องวง 1 วง หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
  11. ฆ้องวงเล็ก 1 วง ดำเนินทำนองเก็บถี่ ๆ บ้าง สะบัดบ้าง สอดแทรกทำนองไปทางเสียงสูง
  12. โทน 1 ลูก รำมะนา 1 ลูก หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
  13. ฉิ่ง 1 คู่ หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
  14. ฉาบเล็ก 1 คู่


2. » การไหว้ครูเเละการครอบครู

           การไหว้ครู และครอบครู เป็นการแสดงกตเวทีต่อบุพการี ครูบาอาจารย์   ในพิธีการนั้น จะต้องจัดให้มีเครื่องสังเวย และครูผู้อ่านโองการตามแบบแผน ส่วนใหญ่จะเลือกกระทำพิธี ในวันพฤหัสบดี

           การไหว้ครูและครอบครูของผู้ศึกษาเครื่องสายและคีตศิลป์ ครูผู้กระทำพิธีจะทำการครอบด้วยฉิ่งที่ศีรษะ และครอบเพียงครั้งเดียว  ส่วนการไหว้ครูและครอบครูสำหรับปี่พาทย์นั้นจะมีพิธีการขั้นตอนละเอียด เนื่องจากผู้เรียนปี่พาทย์จะต้องเรียนเพลงเถา  และเพลงหน้าพาทย์ ดังนั้นการครอบครู จึงมีพิธีการไว้เป็นระดับ ๆ ดังนี้

           ขั้นที่1    การเรียนเบื้องต้น ผู้เรียนจะต้องเรียนเพลงชุดโหมโรงเย็น ที่ขึ้นต้นด้วยเพลงสาธุการ ครูผู้ทำพิธี จะครอบด้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่  เพลงสาธุการ

           ขั้นที่2    ครูผู้ครอบจะครอบด้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ เพลงตระโหมโรง แล้วให้เรียนเพลงต่างๆ ในชุดโหมโรงเย็นจนจบ

           ขั้นที่3    ครูผู้ครอบจะทำพิธีด้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ เพลงตระบองกัน แล้วจึงให้เรียนเพลงต่างๆในชุดโหมโรงกลางวันจนจบ

           ขั้นที่4    ครูผู้ครอบ จะครอบด้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ เพลงบาทสกุณี ต่อจากนั้นในขั้นนี้ ผู้เรียนจะต้องเรียนในเรื่องเพลง
ที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงทุกเพลงจนจบ

           ขั้นที่5    ผู้เรียน จะต้องศึกษาเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพเป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งนับเป็นเพลงที่อยู่ในระดับสูงสุด และถือเป็นการนำความสิริมงคลมาสู่ผู้ครอบ และผู้ประกอบพิธีครอบในระหว่างประกอบพิธี ทั้งผู้ครอบและผู้ทำการครอบต้องถือเป็นเรื่องสำคัญสูงสุดและควรระมัดระวัง และต้องปฏิบัติดังนี้

           คุณสมบัติของผู้เข้ารับการครอบในขั้นนี้

  1. ผู้นั้นจะต้องผ่านการครอบขั้นต้นมาแล้ว 4 ขั้นดังกล่าวแล้ว ซึ่งหมายถึงผู้เข้ารับการครอบต้องได้เรียนเพลงหน้าพาทย์ในแต่ละขั้นตอนของพิธีครอบขั้นต้นครบถ้วนแล้ว
  2. ผู้เข้ารับการครอบในขั้นที่ 5 นี้ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี
  3. จะต้องอุปสมบทมาแล้ว 1 พรรษา (หมายถึงได้บวชเรียนแล้ว)
  4. หรือผู้นี้ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

           เมื่อผ่านพิธีการครอบอย่างถูกต้องสมบูรณ์มีคุณสมบัติดีแล้ว จึงให้ปฏิบัติในการเรียนเพลงองค์พระพิราพดังนี้     

  1. จุดธูปเทียน และดอกไม้เพื่อบูชาองค์พระพิราพก่อนที่จะเริ่มต้นเพลง
  2. ครูผู้กระทำพิธีจับมือศิษย์ให้ตีฆ้องวงใหญ่ทำนองเพลงตอนขึ้นต้นองค์พระ 3 ครั้ง
  3. ควรต่อเพลงหรือทบทวนเพลงในวันพฤหัสบดี      

***เพื่อความเป็นสิริมงคลของทั้งผู้กระทำพิธี และผู้เข้าร่วมในพิธี จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ และต้องระลึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีการโดยเคร่งครัดด้วย ***

           หัวใจสำคัญของการไหว้ครูดนตรีไทย

           หัวใจสำคัญของการไหว้ครูดนตรีไทย   คือ จิตใจและความระลึกรู้ที่ถูกต้องการสอนให้คนรุ่นหลังเข้าใจความหมายของพิธีกรรม ไหว้ครูที่ถูกต้อง การไหว้ครูอยู่ที่จิตใจดอกไม้ธูปเทียนเป็นอันดับรอง เพราะฉะนั้นการสืบทอดดนตรีไทยหรือไหว้ครู ต้องผ่านจิตใจ ไม่ใช่ผ่านโดยพิธีกรรมหรือเปลือกนอก ต้องเข้าใจความหมาย ครูต้องเป็นผู้ถ่ายทอดให้ศิษย์เข้าใจในความหมายของการไหว้ครู อย่างถูกต้อง เพื่อศิษย์จะได้ทำอย่างมีหลักและเหตุผลที่ถูกต้อง

3. » ประวัติเศียรบรมครูดนตรีไทย

ประวัติเศียรบรมครู 9 พระองค์

 พระอิศวร

http://photos1.hi5.com/0017/282/180/73HfVg282180-02.jpg

           พระอิศวร   เป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลก มี 1 พักตร์ 3 เนตร 4 กร กายสีขาว มงกุฎน้ำเต้าหรือมงกุฎทรงเทิดน้ำเต้ากาบ เกศามุ่นเป็นชฎารุงรัง มีประคำหัว กระโหลกคนคล้องพระศอ มีสังวาลเป็นงู พระศอสีนิล นุ่งหนังเสือ หนังช้าง หรือหนังกวาง โคเป็นพาหนะ สถิตบนเขาไกรลาศ มีพระมเหสีทรงนามว่า พระอุมา มีเทวโอรส 2 องค์ คือ พระขันทกุมาร และพระคเณศร์ ลักษณะเศียร สีขาว มงกุฎน้ำเต้า หรือมงกุฎเทิดน้ำเต้ากาบ

 พระนารายณ์

 http://1.bp.blogspot.com/_r58yA
Nw8u8M/RmJGyFz0xgI/AAAAAAAAACY
/mAHARifUR8E/s400/naray.jpg

           พระนารายณ์  เป็นเทพเจ้าผู้รักษาความดี กายสีดอกตะแบก (ชมพูอมม่วง) มี 1 พักตร์ 4 กร ยอดมงกุฎชัย มีครุฑเป็นพาหนะ สถิต ณ เกษียรสมุทร มีพระลักษมี เทพเจ้าแห่งลาภและความดีเป็นพระมเหสี ลักษณะเศียร สีดอกตะแบก ทรงมงกุฎชัย

พระพรหม

http://www.anurakthai.com
/khon_mask/picpost/32.gif

           พระพรหม    เป็นเทพเจ้าแห่งพรหมวิหาร มีสีขาว มี 4 พักตร์ 8 กร ทรงมงกุฎชัย 2 ชั้น หรือ มงกุฎเทิดน้ำเต้ากลม มีหงส์ เป็นพาหนะ สถิต ณ พรหมพฤนทา มีพระมเหสีนามว่า พระสุรัสวดี เทพเจ้าแห่งการศึกษา ลักษณะเศียร สีขาว หน้า 2 ชั้น มงกุฎชัยหรือมงกุฎเทิดน้ำเต้ากลม

4. » ประเภทเครื่องดนตรีไทย

           เครื่องดนตรีไทยจะแบ่งประเภทออกตามลักษณะของการบรรเลง เช่น  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงโดยการดีด ก็จะเรียกว่าเครื่องดีด บรรเลงโดยการตี เราก็จะเรียกว่าเครื่องตี เป็นต้า ซึ่งโดยหลักการบรรเลงเราสามารถแบ่งเครื่องดนตรีไทยออกเป็น 4 ประเภท คือ

  1. เครื่องดนตรีไทยประเภทดีด   มีสายใช้วัสดุไปปัด ดีดที่สายให้เกิดเสียงดัง ได้แก่
    • ณต่างๆ เช่น พิณน้ำเต้า พิณเพี๊ยะหรือเปี๊ยะ
    • จะเข้
    • ซึง
    • กระจับปี่ 
  2. เครื่องดนตรีไทยประเภทสี    ใช้คันชักสีไปบนสาย ได้แก่
    • ซอประเภทต่าง เช่น ซอด้วง ซออู้ และซอสามสาย
    • สะล้อ (เป็นเครื่องดนตรีทางภาคเหนือ) 
  3. เครื่องดนตรีไทยประเภทตี ได้แก่
    1. เครื่องตีที่ทำด้วยไม้
      • กำกับจังหวะ :กรับ โกร่ง แกระ
      • บรรเลงทำนอง : ระนาดเอก ระนาดทุ้ม
    2. เครื่องตีทำด้วยโลหะ
      • กำกับจังหวะ : ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ โหม่ง ฆ้องคู่
      • บรรเลงทำนอง : ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่
    3. เครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง
      • กลองแขก กลองสองหน้า กลองทัด โทน รำมะนา ตะโพนมอญ ตะโพน กลองตะโพน เปิงมางคอก กลองมาลายู กลองชนะ ฯลฯ 
  4. เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่า
    • แบบมีลิ้น  :ปี่ใน ปี่นอก ปี่กลาง ปี่ไฉน ปี่ชวา ฯลฯ
    • แบบไม่มีลิ้น :ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลิบ ขลุ่ยอู้ สังข์ 

5. » เครื่องดนตรีภาคเหนือ

http://www.kkusu.kku.ac.th/images/stories/KKUSU/dsc_5987.jpg

สะล้อ

http://picdb.thaimisc.com/k/keeratikul/3534-3.jpg

           สะล้อหรือ ทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงทำ ด้วยกะลามะพร้าว ตัดและปิดหน้าด้วยไม้บาง ๆ มีช่องเสียงอยู่ด้านหลัง คันสะล้อทำด้วย ไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ โดยปกติจะ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร ลูกบิดอยู่ด้านหน้านิยม ทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็ มีสาย ทำด้วยลวด (เดิมใช้สายไหมฟั่น ) สะล้อมี 3 ขนาด คือ สะล้อเล็ก สะล้อกลาง และสะล้อใหญ่ 3 สาย

ส่วนประกอบของสะล้อ

  1. กะโหลก / กระโหล้ง ( กล่องเสียง ) สะล้อ ทำด้วยกะลามะพร้าวเจาะรูด้านหลัง ให้เป็นทางออกของเสียง ด้านหน้าปิดด้วยแผ่นไม้บาง ซึ่งเรียกว่า ตาดสะล้อ
  2. หย่อง ( ก๊อบสะล้อ ) เป็นไม้ชิ้นเล็กๆ ใช้สำหรับรองสายสะล้อส่วนล่างให้ยกสูงจากตาดสะล้อ
  3. คันทวน ( คันสะล้อ ) เป็นไม้กลมเสียบทะลุกะลาใกล้ๆ ขอบที่ปิดด้วยตาดสะล้อ
  4. สายสะล้อ คือ สายที่เกิดเสียงขณะถูกสี ทำด้วยสายลวดโลหะ มี 2 สาย คือ สายเอกและสายทุ้ม
  5. รัดอก เป็นเส้นกำหนดเสียง ใช้สายเอ็นหรือสายลวดเป็นห่วงรัดสายสะล้อรวมเข้ากับคันสะล้อส่วนบน
  6. ลูกบิด ( หลักสะล้อ ) ทำด้วยไม้กลึงเรียวเล็กลง เสียบตรงปลายคอคันทวน สำหรับขันสายสะล้อให้ตึงหรือหย่อน เพื่อปรับเสียงตามความต้องการ
  7. คันชัก ( ก๋งสะล้อ ) ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรือไม้ไผ่ โค้งงอคล้ายคันศร ขึงด้วยหางม้าหรือสายเอ็นเส้นเล็กๆ

 ซึง

http://www.skn.ac.th/skl/skn422/dontri/d2.jpg

           ซึง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่งใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง มีช่องเสียงอยู่ ด้านหน้า กำหนดระดับเสียงด้วยนมเป็นระยะ ๆ ดีด ด้วยเขาสัตว์บาง ๆ มีสายทำด้วยโลหะ เช่น ลวด หรือทองเหลือง (เดิมใช้สายไหมฟั่น) 2 สาย

ปี่

http://www.phutta.com/thaifolk/images/pic_musical/pi_north.jpg

           ปี่ เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง ที่ ปลายข้างหนึ่งฝังลิ้นโลหะไว้เวลาเป่าใช้ปากอม ลิ้นที่ปลายข้างนี้ อีกด้านหนึ่งเจาะรู บังคับเสียงเรียงกัน 6 รู ใช้ปิดเปิดด้วยนิ้ว มือทั้ง 2 นิ้ว เพื่อให้เกิดทำนองเพลง มี 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่เรียก ปี่แม่ ขนาดรองลง มาเรียก ปี่กลาง และขนาดเล็กเรียก ปี่ก้อย นิยม บรรเลงประสมเป็นวงเรียก วงจุมปี่ หรือปี่จุม หรือบรรเลงร่วมกับซึงและสะล้อ

แน

 http://www.phutta.com/thaifolk/images/pic_musical/nae.jpg

           ปี่ แน มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ทำด้วยไม้ เนื้อแข็ง มีรูบังคับเสียง เช่นเดียวกับปี่ใน นิยมบรรเลงในวงประกอบกับฆ้อง กลอง ตะหลดปด และกลองแอว เช่น ในเวลาประกอบการฟ้อน เป็นต้น มี 2 ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็กเรียก แนน้อย ขนาดใหญ่ เรียก แนหลวง

พิณเปี๊ยะ

http://www.dsc.ac.th/inweb/student_job/art411/mpinpia.jpg 

           พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว เวลาดีดเอา กะโหลกประกบติดไว้กับหน้าอก ขยับเปิด-ปิด เพื่อให้เกิดเสียงกังวานตามต้องการ สมัยก่อนหนุ่มชาว เหนือนิยมเล่นดีดคลอการขับร้องในขณะไป เกี้ยวสาวตามหมู่บ้านในยามค่ำคืน ปัจจุบันมี ผู้เล่นได้น้อยมาก

กลองเต่งถิ้ง

http://www.phutta.com/thaifolk/images/pic_musical/gong_teng_thing.jpg

           กลองเต่งถิ้ง เป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน เช่น ไม้ขนุน หน้ากลองขึงด้วยหนังวัว มี ขาสำหรับใช้วางตัวกลอง ใช้ประสมกับเครื่องดนตรี อื่น ๆ เพื่อเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

ตะหลดปด

http://www.phutta.com/thaifolk/images/pic_musical/ta_lod_pod.jpg

           ตะหลดปด หรือมะหลดปด เป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ 100 เซนติเมตร หน้ากลองขึงด้วยหนัง โยงเร่งเสียงด้วยเชือกหนัง หน้าด้านกว้างขนาด 30 เซนติเมตร ด้านแคบขนาด 20 เซนติเมตร หุ่นกลองทำ ด้วยไม้เนื้อแข็งหรือเนื้ออ่อน ตีด้วยไม้หุ้มนวม มีขี้จ่า (ข้าวสุกบดผสมขี้เถ้า) ถ่วงหน้า  

กลองตึ่งโนง

http://www.phutta.com/thaifolk/images/pic_musical/klong_tueng_non.jpg

           กลองตึ่งโนง เป็นกลอง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด 3-4 เมตรก็มี ใช้ตีเป็น อาณัติสัญญาณประจำวัด และใช้ในกระบวนแห่กระบวนฟ้อน ต่าง ๆ ประกอบกับตะหลดปด ปี่แน ฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย ใช้ตีด้วยไม้ เวลาเข้ากระบวน จะมีคนหาม

กลองสะบัดชัย

http://202.143.128.66/~kruya/m67/project/klong/DSC01417.JPG

           กลองสะบัดชัยโบราณ เป็นกลองที่ มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี 3 ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร

6. » เครื่องดนตรีภาคกลาง

http://kanchanapisek.or.th/kp8/ayy/ayy30401.gif

ซอสามสาย

           ซอสามสาย เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น ถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้ในราชสำนัก มีส่วนประกอบ ดังนี้ – กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดตามด้านขวาง ด้านหน้าต่อติดกับกรอบไม้เนื้อแข็ง เดิมนิยมใช้ไม้สักเรียกว่า “ขนงไม้สัก” มีรูปร่างคล้ายกรอบหน้านาง ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะขึงปิดทับขอบขนงไม้สักและขอบกะลาให้ตึงพอดี – คันซอ แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ทวนบน ทวนกลาง และทวนล่าง ทวนบน คือ ส่วนที่นับจากรอบต่อเหนือรัดอกขึ้นไป ทวนกลาง คือ ส่วนต่อจากทวนบนลงมาถึงกะโหลก ทวนล่างหรือแข้งไก่ คือ ส่วนที่ต่อจากกะโหลก ลงไปรวมทั้งเข็มที่ทำด้วยโลหะ ซึ่งอยู่ปลายล่างสุด – ลูกบิด มีสามลูก ลูกล่างสำหรับสายเอก ลูกบนสำหรับสายกลาง สองลูกนี้อยู่ทางขวา ทางซ้ายมีลูกเดียว สำหรับสายทุ้ม หรือสายสาม – รัดอก มักใช้สายไหมฟั่นเกลียวแบบสายซอ พันรอบทวนกลาง ใช้รัดสายทั้งสาม ให้แนบเข้ากับทวนกลาง เพื่อให้เสียงของสายเปล่าได้ระดับและมีความกังวาน – หย่อง ทำด้วยไม้หรืองา เหลาเป็นรูปคันธนูให้ได้ขนาดพอรับสายซอทั้งสามสาย บนหย่องบากร่องไว้ สามตำแหน่ง เพื่อรองรับสายซอ – ถ่วงหน้า ทำด้วยแก้วหรือโลหะ ขึ้นรูปเป็นตลับกลมเล็ก ๆ ข้างบนประดับพลอยสีต่าง ๆ หรือถม หรือลงยา ภายในบรรจุสีผึ้งผสมตะกั่ว เพื่อให้ได้น้ำหนัก ใช้ชันปิดหน้า ใช้ปรับเสียงให้สายเอกเข้ากับสายทุ้ม – หนวดพราหมณ์ ใช้สายไหมฟั่นเกลียวอย่างสายซอ ผูกเป็นสายบ่วง ร้อยเข้าไปในรูที่ทวนล่าง เพื่อรั้งปมปลายสายซอทั้งสาม – คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งและเหนียว กลึงให้ได้รูป ขึงด้วยขนหางม้าสีขาวประมาณ 250-300 เส้น

ซอสามสายประกอบด้วย

http://www.student.chula.ac.th/~48467717/component.files/image002.jpg
  • » ทวนบน    คือ  ส่วนที่ติดลูกบิดสำหรับสายซอ มักทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
  • » ลูกบิด      คือ  ส่วนที่ใช้ใส่สายซอ ร้อยผ่านรูเข้าไปตั้งแต่ทวนกลางผ่านไปจนถึงลูกบิด
  • » ทวนกลาง คือ  ส่วนที่มือประคองคันซอ มักตกแต่งด้วยการลงรักประดับมุกหรือถมเงิน
  • » รัดอก       คือ  ส่วนที่รัดให้สายซอทั้ง 3 เส้นยึดติดกับทวนกลาง
  • » แกนยึดทวน    คือ  ไม้ที่สอดอยู่ระหว่างกะโหลกซอสามสายเพื่อทำให้หน้าซอแอ่น และยึดอยู่ติดระหว่างปากช้างบน และปากช้างล่าง
  • » ปากช้างบน   คือ  ส่วนที่ต่อจากทวนกลางมายังกะโหลกซอ
  • » กะโหลกซอ   คือ  กะโหลกมะพร้าวพันธุ์พิเศษ โดยมีลักษณะพิเศษคือมีพูขึ้น 3 ลูกเป็นมุมสามเหลี่ยม
  • » หน้าซอ       คือ   ส่วนที่ขึงด้วยหนังยึดติดกับกะโหลกซอ นิยมทำจากหนังลูกวัวหรือหนังแพะ
  • » ถ่วงหน้า      คือ   ตัวที่ช่วยให้หน้าซอตึงขึ้นและในเรื่องของการสั่นเทือนของเสียง(กำทอน)
  • » หย่อง         คือ   ไม้เนื้ออ่อนที่ใช้หนุนสายซอเพื่อให้การสั่นสะเทือนในการบรรเลง
  • » หนวดพราหมณ์      คือ   ส่วนที่ทำหน้าที่ยึดปมของปลายสายซอ
  • » ทวนล่าง     คือ ส่วนที่ต่อมาจากกะโหลกซอ ตอนปลายของทวนล่างจะมีเหล็กแหลมติดอยู่
  • » เหล็กแหลม  คือ  ส่วนที่ช่วยยึดซอสามสายกับพื้นไม่ไห้ลื่นไหล
  • » คันชัก        คือ  ส่วนที่ใช้สีกับสาย นิยมทำจากหางม้าหรือเอ็น
  • » สายซอ       คือ  สายที่ทำจากสายไหม นิยมใช้ไหมควั่นโดยมี3ขนาดคือ ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่

ซอด้วง 

ประวัติความเป็นมาของซอด้วง

           ซอด้วงเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีที่มี ๒ สาย ซึ่งเดิมเป็นเครื่องดนตรีของจีน ร่วมบรรเลงในวงเครื่องสาย เมื่อราวสมัยรัตนโกสินทร์หรือถ้าก่อนนั้นก็คงราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พร้อมกันกับซออู้ มีหน้าที่เป็นผู้ดำเนินทำนองเพลง สีเก็บถี่ ๆ บ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง เป็นหลักในการดำเนินทำนองเนื้อเพลง และเป็นผู้นำของวงเครื่องสาย ด้วยเหตุที่เรียกว่าซอด้วงนั้นก็เพราะว่ากะโหลกของซอนั้น มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดักสัตว์หนึ่งที่เรียกว่า ด้วงดักแด้

http://img227.imageshack.us/img227/9202/pragobdeu8.jpg

ส่วนประกอบของซอด้วง

  • » กะโหลก  ทำด้วยไม้มีลักษณะเป็นทรงกะบอก ลำตัวมีกระพุ้งเล็กน้อย ตอนปลายผายภายในเจาะให้เป็นโพรง ใกล้หน้าขึ้นหนังจะเจาะรู 2 รู เพื่อใส่ไม้คันทวน
  • » หน้าซอ  ขึ้นหนังด้วยงูเหลือม หนังลูกแพะ หรือหนังลูกวัว
  • » คันทวน  ทำด้วยไม้มีส่วนประกอบดังนี้
  • » เดือย     เป็นส่วนล่างสุดกลึงให้เล็ก เพื่อสอดใส่เข้าไปในกะโหลกตอนบนทะลุออกตอนล่างเล็กน้อย
  • » เท้าช้าง กลึงลักษณะกลมเพื่อยึดติดกับกะโหลกซอตอนบน
  • » ลูกแก้ว  กลึงเป็นวงกลมรอบไม้ต่อจากเท้าช้าง
  • » เส้นสวด  กลึงเป็นวงกลม ห่างจากลูกแก้วขึ้นมาเล็กน้อย
  • » บัวกลึง  บากให้เป็นสี่เหลี่ยมเพื่อให้รับกับโขนซอ
  •  » โขนซอที่ปลายคันทวน จะกลึงเป็นรู่สี่เหลี่ยม โค้งไปทางหลังเล็กน้อยเรียกว่าโขนซอ และที่โขนจะเจาะรู 2 รูเพื่อสอดใส่ลูกบิด
  • » ลูกบิด  ทำด้วยไม้กลึงหัวใหญ่มีลักษณะเป็นลูกแก้ว ก้านบัวประดับเม็ดปลายกลมเรียวแหลมเพื่อสวดใส่ในลูกบิด ตอนปลายสุดจะบากเป็นช่องเล็ก ๆ สำหรับผูกสายซอ
  • » สาย  ใช้สายไหมทั้ง 2 เส้น เส้นหนึ่งเป็นสายเอก อีกเส้นหนึ่งเป็นสายทุ้มต่อมาใช้สายเอ็นผูกที่เดือยใต้กะโหลลกผ่านหย่องซึ่งทำด้วยไม่เล็กเพื่อหนุนสายให้ลอยตัวผ่านหนังหน้าซอไปยังลูกบิดและไปพันผูกที่ปลายลูกบิดทั้งสอง ก่อนถึงลูกบิดใช้เชือกรัดสายให้ตึงห่างจากคันทวนพอประมาณ เรียกว่า รัดอก
  • » คันชัก  ทำด้วยไม้กลึงกลมโค้งเล็กน้อย ตอนหัวและหาง กลึงเป็นลูกแก้ว

ซออู้

ประวัติความเป็นมาของซออู้ 

           เนื่องจากซออู้มีรูปร่างคล้ายกับซอชนิดหนึ่งของจีน ซึ่งก็คือซอที่คนจีนเรียกว่า ฮู – ฮู้     (Hu – hu) ทั้งสองแบบมีสองสายเหมือนกัน แต่ ฮูฮู้ มีนมรับสายก่อนจะถึงลูกบิด แต่ลูกบิดอยู่ตรงด้านข้างทางขวามือของผู้เล่น ตรงลูกบิดที่จะสอดเข้าไปในทวนจะขุดทวนให้เป็นรางยาว และเอาสายผูกไว้กับก้านลูกบิดในร่องหรือรางนั้น ซอชนิดนี้มีเสียงทุ้ม สำหรับซออู้ที่เรียกว่าซออู้นั้น ก็คงเป็นเพราะเรียกตามสียงที่ได้ยิน    

http://www.hemarat.com/cart/admin/upload/511s12L.jpg 

ส่วนประกอบของซออู้

            ส่วนประกอบของซออู้ สัดส่วนของซออู้นั้นจะเอาแน่นอนเหมือนซอด้วงไม่ได้ ทั้งนี้เพราะเราไม่สามารถบังคับต้นมะพร้าวให้ออกลูกเท่าๆ กันทุกลูกได้ ด้วยเหตุนี้ซออู้จึงมีกะโหลกเล็กบ้างใหญ่บ้างไม่เท่ากัน เมื่อเป็นเช่นนี้คันซอหรือทวน จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตามขนาดของกะโหลกซอด้วย
           1) คันซอ หรือคันทวน คันทวน มี 3 ช่วง คือ ทวนบน ทวนกลาง หรือ อก และทวนล่าง คันทวนยาวประมาณ 60 เซนติเมตร คันทวนมีลักษณะกลึงกลมเกลี้ยงค่อย ๆ ใหญ่จากโคนลงมาหาปลาย ส่วนของคันซอจากเหนือรัดอกขึ้นไปถึงยอดข้างบนเรียกว่า “ทวนบน” ทวนบนนี้กลึงกลมต่อจากทวนล่างโดยค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นไปตอนปลายทีละน้อยเพื่อให้ดูสวยงามรับกับคันทวนที่ค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นดังกล่าวแล้ว ตรงช่วงเหนือกะโหลกขึ้นไปประมาณ 20 เซนติเมตร เรียกว่า “ทวนล่าง” ส่วน “ทวนกลาง” นั้น ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร อยู่ระหว่างทวนบนและทวนล่าง
           2) ลูกแก้ว อยู่ระหว่างปลายสุดหรือยอดทวนลงมาประมาณ 10.5 เซนติเมตรโดยการกลึง ตัวทวนเป็นลูกแก้วคั่นไว้ลูกหนึ่ง ต่อจากนั้นลงมาอีก 8.5 เซนติเมตร กลึงอีกลูก 1 ลูก และอีก 8.5 เซนติเมตร กลึงอีก 1 ลูก รวมแล้วลูกแก้วค้างอยู่บนทวนบน 3 ลูก
           3) ลูกบิด ลูกบิดนี้จะอยู่ระหว่างลูกแก้วลูกที่ 1 และลูกแก้วลูกที่ 2 และบนลูกแก้วลูกที่ 3 จะเจาะรูไว้ช่วงละ 1 รู สำหรับลูกบิดสอดเข้าไป ลูกบิดนี้มีไว้เพื่อใช้ในการพันสายซอและบิดสายเอกและสายทุ้ม ลูกบิดอันล่างสำหรับสายเอก ลูกบิดอันบนสำหรับสายทุ้ม ลูกบิดทั้งสองอันมีลักษณะเท่ากันและเหมือนกัน
           4) รัดอก อยู่ตรงทวนกลาง รัดอกจะรัดสายซอทั้งสองเข้ากับคันซอ วัสดุที่ใช้ทำรัดอกควรใช้สายเอกซอด้วง ความกว้างของรัดอกที่เหมาะสม คือประมาณ 0.5 เซนติเมตร ระยะของรัดอกระหว่างคันทวนถึงสายซอประมาณ 2.5 เซนติเมตร ขอบบนของรัดอกซอ อยู่ต่ำกว่าลูกแก้วใต้ลูกบิดสายเอกประมาณ 0.6 เซนติเมตร
           5) กะโหลกซอ เป็นเหมือนกล่องเสียงของซออู้ กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าว หน้ากะโหลกลึกประมาณ 11.5 เซนติเมตร กว้างและยาวประมาณ 14 เซนติเมตร ท้ายกะโหลกซอนี้จะแกะสลัก เพื่อเป็นช่องสำหรับให้เสียงออก และมักแกะสลักฉลุเป็นลวดลายต่าง ๆ โดยมากจะเป็นรูปร่างหนุมาน พระรามแผลงศร หรืออาจเป็นรูปอื่น ๆ ตามความต้องการและฝีมือของช่างแกะสลักที่จะตกแต่งให้เกิดความสวยงาม
           6) หนังหน้าซอ กะโหลกซออู้จะขึ้นหน้าด้วยหนังวัวหรือหนังแพะ ถ้าเป็นกะโหลกที่ดีจริง ๆ แล้ว มักจะขึ้นด้วยหนังสดเอาโขลกกับน้ำพริกแกงจนนิ่ม เรียกว่า “หนังแกง” หนังแกงนี้ ทำให้ได้เสียงนุ่มนวล น่าฟัง ส่วนกะโหลกทั่ว ๆ ไปมักจะขึ้นหนังหน้าซอด้วยหนังฟอกทั่ว ๆ ไป
           7) หมอนหรือหย่อง ทำด้วยผ้าพันกันจนกลมหรือทำด้วยกระดาษม้วน ๆ มีลักษณะกลมคล้ายหมอน เส้นผ่าศูนย์กลางของหมอนประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร หมอนซอนี้จะวางไว้ในตำแหน่งตรงกึ่งกลางหน้าซอ โดยให้สายซอพาดอยู่ข้างบนและตั้งฉากกับแนวยาวของหมอน ไม่ให้สายแนบติดกับหน้าซอในเวลาสีซอ
           8) ก้านคันชัก หรือบางทีเรียกว่า “คันสี” ทำด้วยไม้เนื้อแข็งชนิดเดียวกับคันทวน มีลักษณะกลึงกลมให้เป็นคันคล้าย ๆ คันศร ความยาวประมาณ 74 เซนติเมตร ก้านคันชักนี้ต้องมีหางม้าขึงตึงประกอบด้วย
           9) หางม้า ที่เรียกว่า “หางม้า” ก็เพราะนำเอาหางม้าจริงๆ มาใช้ทำคันชักซอ แต่ในปัจจุบันหางม้าจริงๆ มีราคาแพง จึงหันมาใช้ไนล่อนแทนหางม้า ไนล่อนนี้ทำขึ้นเป็นเส้นละเอียดเหมือนหางม้า แต่ไม่มีปุ่มเล็กๆ เหมือนหางม้าจริงๆ จึงทำให้ลื่น ฉะนั้นจึงต้องใช้ยางสนถูไปมาที่ไนล่อนเพื่อให้เกิดความฝืดเวลาสีซอจะทำให้เกิดเสียงดัง จำนวนเส้นของหางม้าหรือไนล่อนนี้ ไม่น้อยกว่า 250 เส้น
           10) หมุดยึดหางม้า เป็นหมุดที่ใช้ยึดตรึงหางม้าไว้กับก้านคันชักให้ตึง นิยมด้วยไม้ โลหะและงาช้าง
           11) สายซอ ทำด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว มี 2 สาย สายทุ้ม (สายใหญ่) สายเอก (สายเล็ก) ทั้งสองสายนี้พาดอยู่บนหมอน ระยะห่างระหว่างสายห่างกันประมาณ 0.7 เซนติเมตร
หากจำเป็นต้องใช้สายเอ็นให้ใช้เบอร์ 90 แทนสายเอก และเบอร์ 110 แทนสายทุ้ม

จะเข้

            จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด มี 3 สาย เข้าใจว่าได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพิณ คือ กระจับปี่ซึ่งมี 4 สาย นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก จะเข้ได้นำเข้าร่วมบรรเลงอยู่ในวงมโหรีคู่กับกระจับปี่ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ทำให้กระจับปี่ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อย

            ตัวจะเข้ทำเป็นสองตอน คือตอนหัวและตอนหาง โดยลักษณะทางตอนหัวเป็นกระพุ้งใหญ่ ทำด้วยไม้แก่นขนุน หนาประมาณ 12 ซม. ยาวประมาณ 52 ซม. และกว้างประมาณ 11.5 ซม. ท่อนหัวและท่อนหางขุดเป็นโพรงตลอด รวมทั้งสิ้นมีความยาวประมาณ 130 – 132 ซม. ปิดใต้ทองด้วยแผ่นไม้ มีเท้ารองตอนหัว 4 เท้า และตอนปลายปางอีก 1 เท้า วัดจากปลายเท้าถึงตอนบนของตัวจะเข้ สูงประมาณ 19 ซม. ทำหลังนูนตรงกลางให้สองข้างลาดลง โยงสายจากตอนหัวไปทางตอนหางเป็น 3 สาย มีลูกบิดประจำสายละ 1 อัน สาย 1 ใช้เส้นลวดทองเหลือง อีก 2 สายใช้เส้นเอ็น มีหย่องรับสายอยู่ตรงปลายหางก่อนจะถึงลูกบิด ระหว่างตัวจะเข้มีแป้นไม้เรียกว่า นม รองรับสายติดไว้บนหลังจะเข้ รวมทั้งสิ้น 11 อัน เพื่อไว้เป็นที่สำหรับนิ้วกดนมแต่ละอันสูง เรียงลำดับขึ้นไป ตั้งแต่ 2 ซม. จนสูง 3.5 ซม.

            เวลาบรรเลงใช้ดีดด้วยไม้ดีดกลมปลายแหลมทำด้วยหรือกระดูกสัตว์ เคียนด้วยเส้นด้ายสำหรับพันติดกับปลายนิ้วชี้ข้างขวาของผู้ดีด และใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางช่วยจับให้มีกำลัง เวลาแกว่งมือส่ายไปมา ให้สัมพันธ์ กับมือข้างซ้ายขณะกดสายด้วย

จะเข้มีส่วนประกอบดังนี้ 

http://www.school.net.th/library/create-web/10000/arts/10000-4324/pic1.jpeg
  • สายของจะเข้  จะมีอยู่ 3 สาย ส่วนใหญ่ทำมาจากไหมหรือเอ็น สามารถแบ่งได้ดังนี้
    • สายที่อยู่ติดกับตัวผู้เล่นจะเข้ มีชื่อเรียกว่า สายลวด เป็นสายที่ทำมาจากลวดทองเหลือง
    • สายที่อยู่ทางด้านนอกสุดของจะเข้ มีชื่อเรียกว่า สายเอก ทำมาจากไหมหรือเอ็น
    • สายที่อยู่ตรงกลาง มีชื่อเรียกว่า สายทุ้ม ทำมาจากไหมหรือเอ็น
  • ตัวจะเข้ ทำจากไม้ต้นขนุนขุด และอาจตกแต่งด้วยมุก หรืองาช้างให้สวยงามตามแต่เจ้าของและฐานะ 
  • ลูกบิด มี 3 ลูกใช้บิดเพื่อขึงให้สายตึงหรือหย่อนได้เสียงตามต้องการ ทำจากไม้ หรืองาช้างกลึงกลม 
  • นม  ทำจากไม้ไผ่วางเรียงอยู่บนตัวจะเข้ รองรับสายจะเข้เมื่อเวลากดนิ้วและดีดให้เกิดเสียงดังแตกต่างกัน 
  • หย่อง ทำจากไม้หรืองาช้าง ใช้เป็นตัวรองและยกสายจะเข้ให้สูงจากนมอย่างพอเหมาะ 
  • โต๊ะ  ทำจากโลหะใช้รองสายจะเข้ตรงข้ามกับหย่องและมีผลต่อการเกิดเสียงที่ไพเราะของจะเข้ 
  • เท้า  มีด้วยกัน 5 เท้าทำจากไม้หรืองาช้างกลึงติดอยู่ที่ใต้ท้องตัวจะเข้ เพื่อยกให้ตัวจะเข้ลอยสูงขึ้นจากพื้น 

            เวลาดีดนั้นใช้อุปกรณ์ชนิดหนึ่งเข้าช่วยเรียกว่า “ไม้ดีด” ซึ่งอาจทำจากไม้เนื้อแข็งหรืองาช้างโดยพันด้วยเชือกไว้กับนิ้วชี้มือขวา จะเข้นิยมใช้ในวงเครื่องสายไทย วงมโหรี วงเครื่องสายปี่ชวา และการบรรเลงที่เรียกว่าการเดี่ยวและเพลงที่นิยมบรรเลงเดี่ยวก็มีหลายเพลงเช่น ลาวแพน จีนขิมใหญ่ เชิดนอก เป็นต้น  

ระนาดเอก

            ระนาดเอก   เป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า ผืน

            ลูกระนาดนี้ทำด้วย ไม้ชิงชัน  หรือไม้แก่น เช่น ไม้ไผ่บง ไม้มะหาด ไม้พะยุงก็ได้ โดยนำมาเหลาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า โขน ระนาดเอกในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำผืนระนาด มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาวประมาณ 120 ซม มีเท้ารองรางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า

            ส่วนประกอบของระนาดเอกนั้นแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

  1. รางระนาดเอก
  2. ผืนระนาดเอก
  3. ไม้ตีระนาด

1. รางระนาดเอก
            รางระนาดเอกแบ่งเป็นส่วนประกอบย่อยๆดังนี้คือ

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow
/sakaew/sornchai_p/ranad/picture/c3s1p1p1.jpg

            ตัวรางทำด้วยไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้สัก ไม้มะริด ไม้มะเกลือ ไม้ประดู่ เป็นต้น รูปร่างคล้ายเรือสมัยโบราณ คือตอนกลางป่องเป็นกระพุ้งเล็กน้อยเพื่อให้เสียงก้องกังวาน ตอนหัวและท้ายโค้งงอนขึ้นเรียกว่า “ฝาประกบ” มี 2 แผ่น บนขอบรางด้านบนทั้งสองข้างของฝาประกบจะใช้หวายเส้นซึ่งมีผ้าพันโดยรอบ ติดเป็นแนวยาวไว้ตลอด เพื่อรองรับผืนระนาดขณะที่ลดลงจากตะขอเกี่ยว ป้องกันบริเวณใต้ท้องของผืนระนาดมิให้ถูกครูดเป็นรอยได้ง่าย ที่ขอบของฝาประกบด้านนอกจะเซาะร่องเดินเป็นคิ้วไว้เพื่อความสวยงาม นอกจากทาสีที่คิ้วขอบรางแล้ว ที่ไม้ฝาประกบยังเดินเส้นดำหรือขาวไปตามขอบคิ้วรางทั้งด้านล่างและด้านบนรวมไปถึงโขนระนาดด้วย บางรางเดินเส้นเดียวบางรางเดินคู่สองเส้นแล้วแต่รสนิยมของช่างผู้ประดิษฐ์ ต่อมาการสร้างรางระนาดได้มีการพัฒนาให้สวยงามขึ้นอีกโดยทำขอบคิ้ว ซึ่งประกอบด้วยงาช้างหรือตัวรางทั้งหมดแกะเป็นลวดลายต่างๆ บางทีก็ประดับลวดลายด้วยมุกหรือแกะลวดลายลงรักปิดทอง  เป็นต้น

1.1 โขนระนาด

            โขนระนาด เป็นไม้ 2 แผ่นรูปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ติดประกบไว้ที่หัวและท้ายของไม้ฝาประกบโดยเฉพาะด้านในตอนบนจะติด “ตะขอระนาด” ซึ่งทำด้วยโลหะโค้งงอ สำหรับสอดคล้องเชือกขึงผืนระนาดให้ลอยอยู่บนราง ด้านล่างของรางมีแผ่นไม้บางๆปิดไว้ยาวโดยตลอดเพื่อยึดฝาประกบและโขนให้ติดเข้าด้วยกันเรียกว่า “ไม้ปิดใต้ท้องระนาด” ทำให้อุ้มเสียงและระนาดมีเสียงดังกังวานมากขึ้น 

1.2 เท้าระนาด

            เท้าระนาด (บางทีเรียกฐานระนาด) ทำด้วยไม้หนามีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายฐานของพานรอง ตรงกลางเป็นคอคอดส่วนตอนบนโค้งเว้าไปตามท้องราง เท้าระนาดยึดติดอยู่ที่กลางลำตัวของรางระนาดเพื่อให้หัวและท้ายของรางลอยตัวสูงขึ้น ฐานด้านล่างนิยมแกะสลักเป็น”ลายฐานแข้งสิงห์” ทั้ง 4 ด้าน ที่ฝาไม้ประกบตอนบนและตอนล่างจะใช้ไม้ติดประกบโดยตลอดเรียกว่า “คิ้วขอบราง” นิยมทาสีขาวหรือดำเพื่อตัดกับสีของแล็คเกอร์ซึ่งทาไว้ที่ตัวรางระนาด

2. ผืนระนาดเอก

            ผืนระนาด เดิมทำด้วยไม้ไผ่ตง(นักดนตรีเรียก ไผ่บง) นำมาตัดเหลาด้วยความประณีตเป็นลูกๆ มี 21 ลูก ขนาดลดหลั่นกันตามลำดับเรียกว่า ” ผืนระนาด” ใช้แขวนที่ตะขอทั้ง 4 บนโขนระนาด ใต้ลูกระนาดทั้ง 21 ลูกจะติดตะกั่วซึ่งทำด้วย ตะกั่วและขี้ผึ้งผสมกัน เพื่อถ่วงเสียงให้ได้เสียงสูงเสียงต่ำตามต้องการโดยติดไว้ที่ใต้ลูกระนาดตรงด้านล่างของปลายลูกระนาดทั้งสองข้างๆละ 1 ก้อน จำนวนที่ติดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับเสียงที่ต้องการ ถ้าติดมากเสียงจะต่ำลง ถ้าติดน้อยเสียงจะสูงขึ้น ต่อมาภายหลังนิยมนำ ไม้ชิงชัน หรือ ไม้มะหาด มาเหลาเป็นผืนระนาดได้เสียงเล็ก แหลมกว่าผืนระนาดที่ทำด้วยไม้ไผ่ นอกจากนั้นในสมัยปัจจุบันได้เพิ่มลูกระนาดเอกให้มี 22 ลูก เพื่อให้บรรเลงกับวงปี่พาทย์มอญได้สะดวก แต่ในวงปี่พาทย์เสภาเดิมไม่นิยม เพิ่มลูกระนาดคงใช้เพียง 21 ลูกเท่านั้น
            เมื่อเกิดวงมโหรีขึ้น เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ต้องย่อสัดส่วนให้เล็กลงกว่าเดิม เรียกรางชนิดนี้ว่า “รางระนาดมโหรี” ซึ่งมีส่วนประกอบเช่นเดียวกับรางระนาดเดิมทุก อย่างเพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า         

3. ไม้ตีระนาด

            ไม้ตีระนาดเอกทำด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นท่อนกลมเล็กๆ 2 อัน หัวไม้ตีทำด้วย ด้ายพันด้วยผ้าชุบรัก ลักษณะเป็นปื้นกลมเวลาตีมีเสียงดังแข็งกร้าวเรียกว่า “ไม้แข็ง” อีกแบบทำด้วยผ้าติดตะกั่วเล็กน้อยทาแป้งเปียกแล้วพันด้วยด้ายสีเส้นเล็กๆโดยรอบอย่างสวยงาม เวลาตีมีเสียงทุ้มนุ่มนวล   เรียกว่า “ไม้นวม” ใช้ตีกับระนาดเอกในวงปี่พาทย์ไม้ นวมหรือวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

ระนาดทุ้ม

http://www.thaitambon.com/thailand/Kanchanaburi/710110/02110133119/710110-A208L.jpg

            ระนาด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี สันนิษฐานว่าแต่เดิมนั้นคงนำไม้ทำอย่างกรับหลายๆอันวางเรียงกันแล้วตีให้เกิดเสียง ต่อมาจึงคิดทำไม้รองเป็นรางแล้วจึงประดิษฐ์ดัดแปลงให้มีขนาดลดหลั่นกันวางบนรางเพื่อให้สามารถอุ้มเสียงได้ จากนั้นใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆ กันนั้นให้ติดกันเป็นผืนขึงแขวนไว้บนราง และใช้ขี้ผึ้งผสมตะกั่วติดหัวท้ายเพื่อถ่วงเสียงให้เกิดความไพเราะยิ่งขึ้น โดยใช้ไม้ตีให้เกิดเสียงดังกังวานลดหลั่นกันไปตามต้องการแล้วให้ชื่อว่า “ระนาด”

            ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีผู้คิดประดิษฐ์ระนาดอีกชนิดหนึ่งให้มีเสียงทุ้มนุ่มนวล ฟังไม่แกร่งกร้าวเหมือนอย่างเก่า จึงเรียกระนาดอย่างใหม่ว่า “ระนาดทุ้ม” และเรียกระนาดอย่างเก่าว่า “ระนาดเอก” ซึ่งระนาดทุ้มนั้นคิดประดิษฐ์เลียนแบบจากระนาดเอก ลูกระนาดทำจากไม้ไผ่เช่นเดียวกัน หากแต่เหลาให้มีขนาดกว้างและยาวกว่าลูกระนาดเอก มีจำนวน 17-18 ลูก เทียบเสียงให้ต่ำกว่าระนาดเอกหนึ่งช่วงคู่แปด รางระนาดทุ้มทำจากไม้ที่มีความคงทนสวยงาม เช่น ไม้ขนุน ไม้ชิงชัน เป็นต้น  มีรูปร่างคล้ายหีบไม้แต่เว้ากลางเป็นการโค้ง ใช้โขนปิดทางด้านหัวและด้านท้ายยาวประมาณ 124 เซนติเมตร มีตะขอติดโขนข้างละ 2 อัน สำหรับแขวนหรือขึงผืนระนาดทุ้ม ปากรางกว้างประมาณ 22 เซนติเมตร และมีเท้าเตี้ยๆ รอง 4 มุมราง รางระนาดทุ้มมักมีการแกะสลักลวดลายต่างๆ แล้วลงรักปิดทองเรียกว่า “รางทอง” ซึ่งนิยมกันมาก ไม้ตีนั้นใช้ไม้นวม ซึ่งหัวไม้พันผ้าพอกให้โตและนุ่มเพื่อให้เสียงนุ่มนวล

            ไม้นวมที่ใช้สำหรับระนาดทุ้มจะต่างกับระนาดเอก  คือ  หัวไม้จะมีขนาดใหญ่กว่าไม้ระนาดเอก

http://www.weloveshopping.com/shop/classicthai/F-02.jpg

ฆ้องวงเล็ก

http://www.sema.go.th/files/Content/Social/k4/0037/dontreethai/pic/kongvong1.jpg

            ฆ้องวงเล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีขนาดย่อมกว่าฆ้องวงใหญ่ วัดจากขอบวงในด้านซ้ายมือถึงของวงในด้านขวา กว้างประมาณ 80 ซม. เรือนฆ้องสูง 20 ซม. ฆ้องวงเล็กมีทั้งหมด 18 ลูก: ลูกต้น วัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 13 ซม., ลูกยอด มีขนาดประมาณ 9.5 ซม. ใช้บรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์ โดยในวงปี่พาทย์วงหนึ่งนั้น จะใช้ฆ้อง 2 วง คือ ฆ้องวงใหญ่ และ ฆ้องวงเล็ก

ฆ้องวงใหญ่

http://www.landco-sportland.com/data/products/55SAMKNWY001.jpg

            ฆ้องวงใหญ่  เป็นเครื่องดนตรีที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมาจากฆ้องเดี่ยว ฆ้องคู่ และฆ้องราว วงฆ้องใช้ต้นหวายโป่งทำเป็นร้าน สูงประมาณ 24 ซม ระหว่างหวายเส้นนอกกับหวายเส้นในห่างกันประมาณ 14 – 17 ซม ดัดให้โค้งเป็นวงรอบตัวคนนั่งตี เปิดช่องด้านหลังคนตีเป็นทางเข้า ระยะห่างประมาณ 20 – 30 ซม วงฆ้องต้องดัดให้พอดีสำหรับคนเข้าไปนั่ง่ตีได้ไม่อึดอัด ลูกฆ้องวงหนึ่งมี 16 ลูก ลูกต้นวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 17 ซม อยู่ทางซ้ายมือด้านหลังผู้ตี ลูกยอดวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 ซม อยู่ทางขวามือด้านหลังผู้ตี ไม้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบ ตัดเป็นวงกลมเจาะกลางสอดด้ามไม้สำหรับถือ

7. » เครื่องดนตรีภาคอีสาน

http://www.tammahakin.com/cat/DVD/img/DVD0002423_3.jpg

แคน 

http://www.esanclick.com/photo/20080619004732728454.jpg

            แคน เป็น เครื่องดนตรีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของ ชาวภาคอีสานเหนือ และอีสานภาคกลางไม่รวมอีสาน ใต้ที่มีอิทธิพลเขมร ได้แก่ “แคน” แคนเป็นเครื่องดนตรีสมบูรณ์แบบที่สุด ที่มีประวัติ ความเป็นมาย้อนหลังไปหลายพันปี แคนทำ ด้วยไม้ซาง มีลิ้นโลหะ เช่นดีบุก เงิน หรือทองแดง บางๆ ประกอบไว้ในส่วนที่ประกอบอยู่ในเต้าแคน แคนมีหลายขนาด เช่น แคน 7 แคน 9 ข้าง ๆ เต้าแคน ด้านบนมีรูปิดเปิดบังคับเสียง เวลา เป่า เป่า ที่เต้าแคนด้านหน้า ใช้มือทั้งสอง ประกอบจับเต้าแคนในลักษณะเฉียงเล็กน้อย แคนเป็น เครื่องดนตรีที่บรรเลงได้ทั้งทำนองเพลงประสานเสียง และให้จังหวะในตัวเอง จึงมีลีลาการบรรเลง ที่วิจิตรพิสดารมากระบบเสียงของแคน เป็นทั้งระบบ ไดอะโทนิค และเพนตะโทนิค มีขั้น คู่เสียงที่เล่นได้ทั้งแบบตะวันตกและแบบ ไทยรวมทั้งคู่เสียงระดับเดียวกันอีกด้วย

โหวด

http://cdare.bpi.ac.th/Culture%20center/%E0%B9%88_files/wote_04.jpg

            โหวด เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่ไม่มีลิ้น เกิดจากกระแสลมที่เป่าผ่านไม้รวกหรือไม้ เฮี้ย (ไม้กู่แคน) หรือไม้ไผ่ ด้านรู เปิดของตัวโหวดทำด้วยไม้รวกขนาดเล็ก สั้น ยาว (เรียงลำดับตามความสูงต่ำของเสียง) ติด อยู่รอบกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นแกนกลาง ติดไว้ด้วยขี้สูด มีจำนวน 6-9 เลา ความ ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร เวลาเป่าจะหมุนไปรอบๆ ตามเสียงที่ต้องการ

 หืน

http://www4.msu.ac.th/satit/studentProj/2548/Selectted/M102/
g02-Thaiclassicalmusic/IMGS/huen.jpg

            หืน เป็นเครื่องดนตรีกึ่งดีดกึ่งเป่าอย่างหนึ่งมี ทั้งที่ทำด้วยไม้ไผ่และโลหะเซาะร่องตรง กลางเป็นลิ้นในตัว เวลาเล่นประกบหืนเข้ากับ ปาก ดีดที่ปลายข้างหนึ่งด้วยนิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วชี้ อาศัยกระพุ้งปากเป็นกล่องเสียง ทำให้ เกิดเสียงสูงต่ำตามขนาดของกระพุ้งปากที่ทำ สามารถดีดเป็นเสียงแท้คล้ายเสียงคนออกเสียงสระ เครื่องดนตรีนี้มีเล่นกันในพวกชนเผ่ามูเซอ เรียกชื่อว่า เปี๊ยะ

            เครื่องดนตรีชนิดนี้มิ ได้มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่มีใน ทุกส่วนของโลก เช่น แถบมองโกเลีย ปาปัว นิวกินี อัฟริกา และยุโรป นับเป็น เครื่องดนตรีโบราณชิ้นหนึ่งที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง

พิณ

http://www.trsc.ac.th/web_load_st/std/o03.jpg

            เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงด้วยการดีด มี 2-3 สาย แต่ขึ้นเป็นสองคู่ โดยขึ้นคู่ 5 ดีดเป็นทำนองเพลง ตัว พิณและคันทวนนิยมแกะด้วยไม้ชิ้นเดียวกัน มีนมสำหรับตั้งเสียง สายพิณนิยมทำด้วยโลหะ โดยเฉพาะสายลวดเบรคจักรยาน ที่ดีดนิยมทำด้วยขาสัตว์แบนๆ เหลาให้บางพอที่จะดีด สะบัดได้ 

โปงลาง

http://j.static.fsanook.com/category/2009/08/26/3/b/5536493_3.jpg

            โปงลางเป็นเครื่องดนตรีประเภทที่บรรเลง ทำนองด้วยการตีเพียงชนิดเดียวของภาคอีสาน โดย บรรเลงร่วมกันกับแคน พิณและเครื่องประกอบจังหวะ หรือ บรรเลงเดี่ยว ตังโปงลางทำด้วยท่อนไม้แข็งขนาดต่างๆ กันเรียงตามลำดับเสียงร้อยด้วยเชือกเป็นลูกระนาด ปลายข้างเสียงสูงผูกแขวนไว้กับกิ่งไม้ และ ข้างเสียงต่ำปล่อยทอดเยื้องลงมาคล้องไว้กับ หัวแม่เท้าของผู้บรรเลง หรือคล้องกับวัสดุ ปกติ ผู้เล่นโปงลางรางหนึ่งมี 2 คน คือ คนบรรเลง ทำนองเพลงกับคนบรรเลงเสียงกระทบแบบคู่ประสาน ไม้ ที่ตีโปงลางทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นรูปคล้าย ค้อนตีด้วยมือสองข้าง ข้างละอัน ขนาดของโปงลางไม่มีมาตรฐานแน่นอน

จะเข้ (กระบือ)

http://www.phutta.com/thaifolk/images/pic_musical/jakae_northeast.jpg

            เป็นเครื่องดนตรีสำคัญชิ้นหนึ่งในวงมโหรีเขมร เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดในแนวนอน มี 3 สาย สมัยก่อนสายทำจากเส้นไหมฟั่น ปัจจุบันทำจาก สายเบรคจักรยาน การบรรเลงจะใช้มือซ้ายกด สายบนเสียงที่ต้องการ ส่วนมือขวาใช้สำหรับดีด

ซอกันตรึม

http://www.sadetmusic.com/music/sarge.jpg

            เป็นเครื่องสายใช้สี ทำ ด้วยไม้ กล่องเสียงขึงด้วยหนังงู มีช่องเสียง อยู่ด้านตรงข้ามหน้าซอ ใช้สายลวดมี 2 สาย คันชักอยู่ระหว่างสาย คันซอยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีลูกบิดอยู่ตอนนอกซอใช้รัด ด้วยเชือก ขนาดของซอแตกต่างกันไปตามความ ประสงค์ของผู้สร้าง โดยทั่วไปมี 3 ขนาด คือ ขนาดเล็กเรียก ตรัวจี้ ขนาดกลางเรียกตรัวเอก ขนาดใหญ่เรียกตรัวธม

กลองกันตรึม

http://www.culture.go.th/research/musical/images/pic_musical/klong_kantrum.jpg

            กลองกันตรึม   เป็นเครื่องหนังชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ขุดกลวง ขึงหน้าด้านหนึ่งด้วยหนังดึงให้ตึงด้วยเชือก ใช้ดีประกอบจังหวะในวงกันตรึม

กระจับปี่

http://www.reurnthai.com/rtimages/RW2717x3.jpg

            เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด โดยใช้กระที่ทำจากเขาสัตว์ กล่องเสียงทำ ด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก ส่วนปลายสุดมีรู 2 รู ใช้ใส่ลูกบิดและร้อยสาย เมื่อบรรเลง จะตั้งขนานกับลำตัว มือขวาจับกระสำหรับดีด มือซ้ายกดที่สายเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง

ปี่ไสล หรือ ปี่ไฉน

http://www.phutta.com/thaifolk/images/pic_musical/pi_salai.jpg

            ใช้บรรเลงในวงกันตรึมเป็นปี่ประเภทลิ้นคู่เช่นเดียวกับปี่ใน

กรับคู่ 

http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:0DfZozjMJS4VdM

            กรับคู่ เป็นกรับทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเหมือนกับกรับเสภาของภาคกลาง แต่ขนาดเล็กกว่าใช้ ประกอบจังหวะดนตรีใน วงกันตรึม กรับคู่ชุดหนึ่งมี 2 คู่ ใช้ขยับ 2 มือ

8. » เครื่องดนตรีภาคใต้

ทับ

http://www.seasantour.com/item/shop_3.jpg

            ทับ เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะควบคุมการเปลี่ยนแปลงจังหวะและ เสริมท่ารำของการแสดงโนราให้ดีเยี่ยม ตัว ทับมีลักษณะคล้ายกลองยาว แต่มีขนาดเล็กกว่า มาก ยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร ทำด้วยไม้แก่น ขนุน หุ้มด้วยหนัง เช่น หนังค่าง หนังแมว ตรึงหนัง ด้วยเชือกด้ายและหวาย ทับใบหนึ่งจะมีเสียงทุ้ม เรียกว่า “ลูกเทิง” ส่วนอีกใบ หนึ่งจะ มีเสียงแหลมเรียกว่า “ลูกฉับ”

กลองโนรา

http://www.seasantour.com/item/shop_6.jpg

            กลองโนรา ใช้ประกอบการแสดงโนราหรือหนัง ตะลุง โดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า กลองทั้ง 2 ด้าน ประมาณ 10 นิ้ว และมี ส่วนสูงประมาณ 12 นิ้ว กลองโนรานิยมทำด้วยแก่น ไม้ขนุน เพราะเชื่อว่าทำให้เสียงดี หนังที่ หุ้มกลองใช้หนังวัวหรือควายหนุ่ม ถ้าจะให้ ดีต้องใช้หนังของลูกวัวหรือลูกควาย มี หมุดไม้หรือภาษาใต้เรียกว่า “ลูกสัก” ตอกยึดหนังหุ้มให้ตึง มีขาทั้งสอง ขาทำด้วยไม้ไผ่มีเชือกตรึงให้ติดกับ กลอง และมี ไม้ตีขนาดพอเหมาะ 1 คู่ ถ้า เป็นกลองที่ใช้ประกอบการแสดงหนังตะลุง จะมี ขนาดเล็กกว่า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว และมีส่วนสูงประมาณ 8 นิ้ว

โหม่งกับฉิ่ง

http://www.phutta.com/thaifolk/images/pic_musical/mong_and_ching.jpg

            โหม่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีส่วนสำคัญในการขับ บท ทั้งในด้านการให้เสียงและให้จังหวะ เพราะ โนราหรือหนังตะลุง ต้องร้องบทให้กลมกลืนกับ เสียงโหม่งซึ่งมี 2 ระดับ คือ เสียงทุ้มและเสียง แหลม โดยจะยึดเสียงแหลมเป็นสิ่งสำคัญ เรียกเสียง เข้าโหม่ง ส่วนไม้ตีโหม่งจะใช้ยางหรือด้าย ดิบหุ้มพันเพื่อให้มีเสียงนุ่มเวลาตีฉิ่ง เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญต่อการขับบท ของโนราหรือหนังตะลุง ผู้ที่ตีฉิ่งต้องพยาม ตีให้ลงกับจังหวะที่ขับบท สมัยก่อนนิยม ใช้ฉิ่งขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว ส่วนปัจจุบันใช้ฉิ่งขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 1.5 นิ้ว ทำด้วยทองเหลืองชนิดหนา

 ปี่ 

http://www.jidathaicraft.com/detail%20mainpage%20music%20center/k39160.jpg

            เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญใน การเสริมเสียงสะกดใจผู้ชม ให้เกิดความรู้ สึกเคลิบเคลิ้มและทำให้ผู้แสดงร่ายรำด้วยลีลา ที่อ่อนช้อย ตัวปี่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือ ใช้แก่นไม้บางชนิด เช่น ไม้กระถิน ไม้มะม่วง ไม้ รักป่า หรือไม้มะปริง ส่วนพวกปี่ทำด้วยแผ่น ทองแดงและลิ้นปี่ทำด้วยใบตาล ซึ่งนิยมใช้ใบ ของต้นตาลเดี่ยวกลางทุ่ง เพราะเชื่อว่าจะทำ ให้ปี่มีเสียงไพเราะ

แตระพวงหรือกรับพวง

http://www.phutta.com/thaifolk/images/pic_musical/trae_puang.jpg

            แตระพวงหรือกรับพวง เป็นเครื่องประกอบจังหวะทำจากไม้เนื้อแข็งขนาด 0.5x 2 x 6 นิ้ว นำมาเจาะรูหัวท้าย ร้อยเชือก ซ้อนกันประมาณ 10 อัน ที่แกนหลังร้อยแตระทำ ด้วยโลหะ

9. » เครื่องกำกับจังหวะ

ฉิ่ง 

http://www.seasantour.com/item/shop_7.jpg

            ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทตี ทำด้วยทองเหลือง หล่อหนา ปากผายกลม 1 ชุดมี 2 ฝา ฉิ่งมี 2 ชนิดคือ ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์ และ ฉิ่งที่ใช้สำหรับวงเครื่องสาย และวงมโหรี ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์มีขนาดที่วัดฝ่านศูนย์กลาง จากขอบข้างหนึ่งไปสุดขอบอีกข้างหนึ่ง กว้างประมาณ 6 – 6.5 ซม เจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก เพื่อให้จับสะดวกขณะตี ส่วนฉิ่งสำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรีนั้น มีขนาดเล็กกว่า วัดผ่านศูนย์กลางได้ขนาดประมาณ 5.5 ซม เนื่องจากการตีฉิ่ง ต้องเอาขอบของฝาข้างหนึ่งกระทบกับอีกฝากหนึ่ง แล้วยกขึ้น ก็จะมีเสียงดังกังวานยาวดัง “ฉิ่ง” แต่ถ้าเอาทั้ง 2 ฝานั้นกระทบและประกบกันไว้ จะได้ยินเสียงดังสั้นๆดัง “ฉับ” ดังนั้นการเรียกชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า ฉิ่ง ก็เพราะเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้นนั่นเอง

ฉาบ

http://www.thaiswu.freehomepage.com/image/Hit09.gif

            ฉาบ เป็นเครื่องตีอีกชนิดหนึ่งทำด้วยโลหะเหมือนกันรูปร่างคล้ายฉิ่งแต่หล่อบางกว่าฉิ่ง มีขนาดใหญ่กว่าและกว้างกว่า ตอนกลางมีปุ่มกลม ทำเป็นกระพุ้งขนาดวางลงในอุ้งมือ 5 นิ้ว ขอบนอกแบราบออกไปโดยรอบและเจาะรูตรงกลางกระพุ้งไว้ร้อยเส้นเชือกหรือเส้นหนังสำหรับถือ ต่อมาคิดทำขึ้นเป็น 2 ขนาด ขนาดเล็กเรียกว่า “ฉาบเล็ก” ขนาดใหญ่เรียกว่า “ฉาบใหญ่” ขนาดเล็กวัดผ่านศูนย์กลางราว 12-14 ซม. ขนาดใหญ่วัดผ่านศูนย์กลางราว 24-26 ซม. ใช้ขนาดละ 2 อันหรือขนาดละคู่ ตีกระทบกันให้เกิดเสียงตามจังหวะที่ต้องการ ที่เรียกว่า “ฉาบ” ก็เข้าใจว่าเรียกตามเสียงที่กระทบกันขณะที่ตีประกบ แต่ถ้าตีเปิดจะได้ยินเป็นเสียงคล้าย “แฉ่ง แฉ่ง,แฉ่ง แฉ่ง” เครื่องตีชนิดนี้กระมังที่พูดถึงไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงสมัยสุโขทัยคู่กับ”ฉิ่ง” ว่า “ฉิ่ง แฉ่ง” และไม่พูดถึงฉาบเลยถ้าเป็นดังนั้น แฉ่งกับฉาบอาจเป็นชนิดเดียวกันก็ได้ กล่าวคือ คงจะเป็นว่าในครั้งสุโขทัยเรียกชื่อตามเสียงขณะตีเปิดว่า “แฉ่ง” แต่ต่อมาเราเรียกกันตามเสียงขณะตีประกบว่า “ฉาบ” ดังนี้ก็อาจเป็นได้ หรือแฉ่งอาจเป็นชนิดใหญ่ในจำพวกม้อล่ออย่างฉาบใหญ่ของจีนชาวกวางตุ้ง ส่วนฉาบมีขนาดเล็กกว่าสะดวกแก่การตี ซึ่งเป็นคนละชนิดก็ได้

กรับ

            เครื่องดนตรีที่เรียกว่า กรับนั้นมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ กรับคู่ กรับพวง และกรับเสภา

กรับคู่

http://www.thaikids.com/ranad/chap2/c2s1p1p4.jpg

            ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก เหลาให้เรียบและเกลี้ยงอย่าให้มีเสี้ยน มีรูปร่างแบนตามซีกไม้ไผ่ หนาตามขนาดของเนื้อไม้ยาวประมาณ 40 ซม ทำเป็น 2 อันหรือเป็นคู่ ใช้ตีให้ผิวกระทบกันทางด้านแบนเกิดเป็นเสียง กรับ  เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ทำจังหวะประกอบร่วมกับฉิ่ง จัดเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ชนิดหนึ่งของมวลมนุษยชาติ แรกเริ่มทีเดียวคงพัฒนามาจากการปรบมือของมนุษย์ เมื่อปรบมือนานเข้าคงจะเกิดอาการเจ็บมือ ซ้ำซาก หลังจากนั้นอาจจะพบเศษไม้ใกล้ตัวก็นำมาเคาะ การใช้ไม่เคาะแทนการปรบมือนั้น นอกจากจะไม่เจ็บมือแล้วยังเพิ่มสีสันของเสียงในการบรรเลงอีกด้วย ภายหลังได้นำมาเหลาเพื่อให้เกิดความสวยงามและความสะดวกในการใช้ กรับที่ใช้อยู่ในวงดนตรีไทยมีอยู่หลายแบบดังนี้

กรับพวง

http://www.bloggang.com/data/banrakthai/picture/1221402289.jpg

            เป็นกรับชนิดหนึ่งตอนกลางทำด้วยไม้บางๆหรือแผ่นทองเหลือง หรืองาหลายๆอันและทำไม้แก่น 2 อันเจาะรูตอนหัวร้อยเชือกประกบไว้ 2 ข้างเหมือนด้ามพัด เวลาตีใช้มือหนึ่งถือตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดลงไปบนอีกฝ่ามือหนึ่ง เกิดเป็นเสียงกรับขึ้นหลายเสียง จึงเรียกว่ากรับพวงใช้เป็นอานัตสัญญาณ เช่นในการเสด็จออกในพระราชพิธีของพระเจ้าแผ่นดิน เจ้าพนักงานจะรัวกรับ และใช้กรับพวงตีเป็นจังหวะ ในการขับร้อง เพลงเรือ ดอกสร้อยและใช้บรรเลงขับร้องในการแสดง นาฎกรรมด้วย

กรับเสภา

http://www.bloggang.com/data/banrakthai/picture/1221402211.jpg

            ทำด้วยไม้แก่น เช่นไม้ชิงชัน ยาวประมาณ 20 ซม หนาประมาณ 5 ซม เหลาเป็นรูป 4 เหลี่ยมแต่ลบเหลี่ยม ออกเพื่อมิให้บาดมือและให้สามารถกลิ้งตัวของมันเองกลอก กระทบกันได้โดยสะดวก ใช้บรรเลงประกอบในการขับเสภา เวลาบรรเลงผู้ขับเสภาจะใช้กรับเสภา 2 คู่ รวม 4 อัน ถือเรียงกันไว้บนฝ่ามือของตนข้างละคู่ กล่าวขับเสภาไปพลาง มือทั้ง 2 ข้างก็ขยับกรับแต่ละข้างให้กลอกกระทบกันเข้าจังหวะ กับเสียงขับเสภา จึงเรียกกรับชนิดนี้ว่า กรับเสภา 

ฆ้องหุ่ย

http://2.bp.blogspot.com/_GLDY7mg6U5k/RwJe1dUIFFI/
AAAAAAAAACs/7D0EGt2bBB4/s200/img31.jpeg

            ฆ้องหุ่ย   ใช้ตีกำกับจังหวะ เป็นฆ้องที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในวงดนตรีไทย มีอีกชื่อว่า ฆ้องชัย อาจเป็นเพราะสมัยโบราณ ใช้ฆ้องชนิดนี้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ปัจจุบันใช้ตีใน งานพิธี งานมงคลต่าง ๆ

ฆ้องโหม่ง

http://www4.msu.ac.th/satit/studentProj/2548/
Selectted/M102/g02-Thaiclassicalmusic/IMGS/KongMong.jpg

            ฆ้องโหม่ง ใช้ตีกำกับจังหวะ มีขนาดใหญ่ รองลงมาจากฆ้องหุ่ย ได้ชื่อนี้ตามเสียงที่เกิดจากการตี

ฆ้องราว

http://www.skpschool.net/teacher/nop/My%20picture/img65.jpg

            ฆ้อง ๓ ใบ มีขนาดลดหลั่นกัน ใช้แขวนราวเรียงไปตามขนาด เมื่อตีเรียงไปตามลำดับลูกแล้วย้อนกลับจะได้ยินเป็นเสียง “โหม่ง-โมง-โม้ง,โม้ง-โมง-โหม่ง” แต่แรกจะคิดสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการใดหาทราบไม่ แต่ตามที่ปรากฎต่อมาใช้บรรเลงในการเล่นมหรสพโบราณชนิดหนึ่งเรียกว่า “ระเบง” หรือเรียกตามคำร้องของกลอนซึ่งขึ้นต้นวรรคด้วยคำว่า “โอละพ่อ” เลยเรียกฆ้องราว ๓ ใบ ชนิดนี้ว่า “ฆ้องระเบง” ติดมาแม้การเล่น “ระเบง” หรือ “โอละพ่อ” ในงานพระราชพิธีจะได้ว่างเว้นมาเป็นเวลานาน จนอนุชนรุ่นนี้ไม่ค่อยรู้จักกันอยู่แล้วแต่ในวงการดนตรีไทยยังรู้จัก “ฆ้องระเบง”ดีอยู่

10. » พระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ที่มารูป : http://www.webcontest2008.cmru.ac.th/main/webcus/class2/p0206/images/music.jpg

            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ทรงได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการ สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติประจำปีพุทธศักราช 2529 ให้เป็นองค์อัครศิลปินแห่งชาติทรงแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางดนตรี มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์โดยทรงได้รับการฝึกหัดดนตรีตั้งแต่พระชนมายุ 10 พรรษาทรงนำพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ทรงสะสมไว้ ไปซื้อคลาริเนตมาทรงฝึกเป่านอกจากนั้นยังสามารถทรงดนตรีอื่น ๆ ได้อีกหลายชนิด

            หลังจากเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้วเมื่อมีเวลาว่าง จะทรงดนตรีกับนักดนตรี และข้าราชบริพารซึ่งต่อมาได้ทรงรวบรวมนักดนตรีแล้วจัดตั้งวง อ.ส.วันศุกร์โดยทรงร่วมบรรเลงบทเพลงร่วมกับนักดนตรี  ออกอากาศผ่านทางสถานีวิทยุอ.ส.ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นประจำในตอนเย็นวันศุกร์ ์แต่ต่อมาทรงว่างเว้นการทรงดนตรีลงเนื่องด้วยพระราชกิจ

http://www.chaoprayanews.com/

            นอกจากนี้ ยังทรงจัดตั้งวงดนตรีสหายพัฒนา โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ทรงเป็นหัวหน้าวง

            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เพลงด้วยพระองค์เองมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2489 จนถึงปัจจุบันนับได้เกือบ 50 เพลง ซึ่งล้วนเป็นบทเพลงที่ไพเราะและมีความหมายลึกซึ้ง ในพ.ศ.2507 วงดุริยางค์ เอ็นคิวโทนคุนสเลอร์ ( N.Q. Tonkunstler Orchestra) แห่งกรุงเวียนนาได้คัดเลือกบทเพลงพระราชนิพนธ์ไปบรรเลง มีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศออสเตรียปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างสูง จนสองวันต่อมา สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา ( Institute of Music and Arts of City of Vienna) โดยรัฐบาลออสเตรีย ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ ลำดับที่ 23 ของสถาบันมีการจารึกพระนามลงบนแผ่นหินสลักของสถาบันนับเป็นผู้ประพันธ์เพลงชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับเกียรติเช่นนี้

            มีเรื่องเล่ากันมาว่า นักดนตรีเอกของโลก ได้กล่าวถึงพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีว่า หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ก็จะต้องทรงเป็นราชานักดนตรีของโลก แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเป็นทั้งพระมหากษัตริย์ และทรงเป็นนักดนตรีได้พร้อมๆกัน

            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความสนพระราชหฤทัยในด้านดนตรีมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ดังที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงพระนิพนธ์ไว้ในบทพระนิพนธ์ “เจ้านายเล็กๆยุวกษัตริย์” ความตอนหนึ่งว่า

            “เมื่อถึงเวลาสนพระทัยแผ่นเสียงก็แข่งกันอีก รัชกาลที่ 8 ทรงเลือก Louis Armstrongและ Sidey Bechet รัชกาลที่ 9 ทรงเลือกDuke Ellington และ Count Banc เกี่ยวกับการซื้อแผ่นเสียงนี้ ถ้าเป็นแจ๊สต้องซื้อเอง ถ้าเป็นคลาสสิกเบิกได้”

            “สิ่งที่ทรงเล่นมาด้วยกันเป็นเวลานานคือดนตรี รัชกาลที่ ๘ ทรงเริ่มด้วยเปียโนเพราะเห็นข้าพเจ้าเรียนอยู่ รัชกาลที่ 9 ขอเล่นหีบเพลง(accordian) เรียนอยู่ไม่กี่ครั้งก็ทรงเลิก”เพราะไม่เข้ากับเปียโน” แล้วรัชกาลที่ 8 ก็ทรงเลิกเรียนเปียโนไป
เมื่ออยู่ที่อาโรซ่า เวลาหน้าหนาว ได้ทอดพระเนตรวงดนตรีวงใหญ่ที่เล่นอยู่ที่โรงแรม รู้สึกอยากเล่นกัน ทรงหาแซกโซโฟนที่เป็นของใช้แล้ว (second hand) มาได้ ราคา 300 แฟรงค์ แม่ออกให้ครึ่งหนึ่งและสโมสรปาตาปุมออกให้อีกครึ่งหนึ่ง

            “เมื่อครูมาสอนที่บ้าน รัชกาลที่ 8 ทรงดันพระอนุชาเข้าไปในห้องเรียน รัชกาลที่ 9 จึงเป็นผู้เริ่ม เมื่อเรียนไปแล้ว 2-3 ครั้ง รัชกาลที่ 8 ทรงซื้อแคลริเน็ต(clarinet) ส่วนพระองค์ วันเรียน ครูสอนองค์ละ 30 นาที แล้วครูก็เอาแซกโซโฟน (saxophone)ของเขาออกมาและเล่นด้วยกันทั้ง 3 เป็น trio”

11. » ประวัติเพลงชาติไทย

            ภายหลังการเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรนณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (24 มิถุนายน 2475) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้แต่งเพลงชาติขึ้น เพื่อปลุกใจให้คนไทยรักชาติ และสามัคคี ตลอดจนให้เลื่อมใสในรัฐธรรมนูญ โดยใช้ทำนองเพลงมหาชัย ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้

สยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ
ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย
เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน วางธรรมนูญสถาปนาพรรษาใหม่
ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า

ต่อมาจึงดำริจะให้มีเพลงชาติแบบสากล จึงได้ให้พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) แต่งทำนองเพลงขึ้น โดยให้ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) แต่งคำร้อง ดังนี้

                 “แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบ ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของชาติไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราชคือกระดูกที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสระเสรี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เชิดชัยชโย “

     ในปีพุทธศักราช 2477 รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเพลงชาติขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน มีกรรมการท่านอื่นๆดังนี้คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์ พระเจนดุริยางค์ หลวงชำนาญนิติเกษตร จางวางทั่วพาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับเพลงชาติโดยเฉพาะ ผลการตัดสินปรากฎว่า มีเพลงชาติแบบไทย และแบบสากล อย่างละเพลงคือ แบบไทยได้แก่เพลงชาติของจางวางทั่ว พาทยโกศล ที่แต่งขึ้นจากเพลงไทยเดิมชิ่อว่า “ตระนิมิตร” ส่วนทางสากลได้แก่ เพลงของ พระเจนดุริยางค์ ที่แต่งไว้แล้ว คณะกรรมการชุดนี้ ได้พิจารณาในเวลาต่อมาว่า เพลงชาตินั้นคงจะมีลักษณะที่บ่งบอกถึงความศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีสองเพลงอาจทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ลดลง จึงร่วมกันพิจารณาใหม่ ในที่สุดตกลงว่าให้มีทางสากลเพลงเดียวคือ แบบทำนองสากลของพระเจนดุริยางค์ จึงได้จัดให้มีการประกวดบทร้องขึ้นใหม่ คณะกรรมการได้สรุปผลให้บทร้องของนายฉันท์ ขำวิไล และบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา ได้รับรางวัล แและตัดสินให้บทร้องของขุนวิจิตรมาตราได้รับรางวัลชนะเลิศ

บทร้องที่คณะกรรมการคัดเลือกมีดังนี้ 

บทของนายฉันท์ ขำวิไล

“เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิ่ต รักษาสิทธิ์อิสระ ณ แดนสยาม
ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา
แม้ถึงไทยไทยด้อยจนย่อยยับ ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า
ควรแก่นามงามสุดอยุธยา นั้นมิใช่ว่าจะขัดสนหมดคนดี
เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้
ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสระเสรี เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย
จะสิ้นนชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น ว่าไทยมั่นรักชาติไม่ขาดสาย
มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงชาย สยามมิวายอยู่มุ่งหมายเชิดชัย ไชโย”

บทของขุนวิจิตรมาตรา

แผ่นดินสยามนามประเทือยว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า
สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา ร่วมรักษาสามัคคีทวีไทย
บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่
เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินใหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เทอดไท ไชโย
ในปีพุทธศักราช 2482 มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจากคำว่า “สยาม” มาเป็น “ไทย” ทำให้จำต้องแก้ไขบทร้อง
ในเพลงชาติด้วย รัฐบาลจึงได้จัดประกวดบทร้องเพลงชาติไทยขึ้น

            ผลการประกวด ปรากฎผู้ชนะได้แก่ นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ส่งเข้าประกวดในนามกองทัพบก และให้ใช้ทำนองขับร้อง เพลงชาติไทย ของพระเจนดุริยางค์ ตามแบบที่มีอยู่ ณ กรมศิลปากร ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้

ประเทศไ ทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราาชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุถกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศสชาติไทยทวี มีชัย ชโย

            ท่านพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ มีความปราบปลื้มแและภาคภูมใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับได้สั่งเสียบุตร ธิดา ไว้ว่า “ ฉันได้สั่งบุตรธิดาของฉันไว้ทุกคนว่า ในกาลภายหน้าเมื่อถึงวาระที่ฉันจะต้องเกษียรอายุลาโลกไปแล้ว ขณะจะใกล้หจะขาดอัสสาสะ ขอให้หาจานเสียงเพลชาติอันนี้ มาเปิดให้ฟังให้จงได้ เพื่อบังเกิดความชุ่มชื่นระรื่นใจ อันไม่มีเสื่อมคลายตราบสิ้นปราณ “

12. » โน้ตเพลงไทย

โน้ตเพลงลาวดำเนินทราย 2 ชั้น

ประวัติเพลงลาวดำเนินทราย 2 ชั้น
            เพลงลาวดำเนินทราย 2 ชั้น  เป็นเพลงของจ่าเผ่นผยองยิ่ง(โคม)  ได้คิดขึ้นโดยเฉพาะแต่ทางร้อง  ซึ่งเรียกกันว่า  หางสักว่า  ต่อมา  พระยาประสาน  ดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์) ได้คิดทางดนตรีขึ้นไว้สำหรับขับร้องในวงเครื่องสายปี่ชวา  ทำนองของเพลงแสดงความหมายเป็นเชิงลาจากกันไปตามกำหนด

เนื้อเพลงลาวดำเนินทราย

เห็นเวลาดึกหนักหนาอยู่แล้วหนอ
จะรีรอร้องเล่นเป็นห่วง
เหมือนเกสรโกสุมทุกพุ่มพวง
จะแรมร่วงโรยราน่าเสียดาย

โอ้ว่าอกเอ๋ยกรรมอกเอ๋ยจะทำฉันใด
แม้ไม่มีห่วงบ่วงใยตัวฉันไม่ไปเลยเอย

เป็นกรรมจำพรากจำจากจำไกล
จำจิตจำใจจำจากไกลกันเอย

นิจจาเอ๋ยเราเคยสรวลสำรวลเล่น
จะจากไปมิได้เว้นน่าใจหาย
ค่อยอยู่เถิดกัลยาอย่าอันตราย
ขอล่าเลื่อนเคลื่อนคลายไปก่อนเอย

โอ้ว่าแสนเสียดาย
โอ้เสียดายนักต้องหักใจจร
ใจเอ๋ยจะขาดลงรอนรอน
ด้วยแสนอาวรณ์จริงเอย
หวานใดหนอบ่แม้นน้ำคำ
หวานประจำ หวานอยู่ในน้ำคำเอย

ท่อน 1

—-—-ดํรํดํล-ซ-ม–ซมรดรม-ซ-ลซมซล
—-รมซล-ดํ-รํดํมํรํรํ–รํมํรํรํรํรํซํลํซํมํซํรํมํซํ
—--ดํ-มํ–ซํรํมํรํดํล—-รมซลซลดํล-ซซซ
—-รมซลซลดํล-ซซซ-ดรม-ซ-ล-ด-ม-รมซ
—-—ดํ—รํมํรํซํมํ—-—-ซํลํซํมํซํรํมํซํ
—--ดํ-มํ–ซํรํมํรํดํล–ดํลซมซล-ดํรํมํ-รํ-ดํ

ท่อน 2

ดํรํดํลดํซลดํ—-—-ซลซมซรมซ—-—-
ดํรํดํลดํซลดํ-มซลซลดํล–ซม—-รมซลซลดํซ
–มล—--ซํ-มํ-มํมํมํ—--ดํ-รํ-มํซํรํมํรํดํล
ดํรํดํลดํลซมรมซลดํซ-ล-ม-ม—ล—ดํ—ล
–ลดํลลลลซลดํลซม-ซ–ซลซซซซลซดํลซมซล
—-—ล-ลลล-ล-ล-ม-ม—ซ-มซลดํซ–
รมซลดํลซมรมซลดํซ–ซดรมซมรดรดมรซม–
มํซํดํรํมํรํดํลมํรํซํมํ-รํ-ดํ—-มํซํดํรํมํรํดํลดํซ-ล
-มซลดํซ-ลซลดํรํมํดํ-รํ—--ดํ-มํ—รํดํมํรํดํ
—-—ดํ-ดํดํดํ-ดํ-ดํ—-มํซํดํรํมํรํดํลดํซ-ล
-มซลดํซ-ลซลดํรํมํดํ-รํ—–—--มํ-รํซํมํมํมํ
-มํ-รํซํมํมํมํ—รํดํมํรํดํ 

เขมรไทรโยค 3 ชั้น

ประวัติเพลงเขมรไทรโยค
            เพลงเขมรไทรโยค  เป็นเพลงไทยเดิม  พระนิพนธ์โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสน้ำตกไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี  เมื่อ พ.ศ. 2431
            สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงพระนิพนธ์โดยได้เค้ามาจากเพลง “เขมรกล่อมลูก”  ซึ่งเป็นเพลง 2 ชั้น  ดัดแปลงขึ้นใหม่เป็นเพลง 3 ชั้น  กับได้ทรงพระนิพนธ์บทร้องประกอบบรรยายถึงความงดงามของธรรมชาติ  แล้วประทานนามว่า “เขมรไทรโยค”  ออกแสดงครั้งแรกในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว  เมื่อวันที่ 20  กันยายน  พ.ศ. 2431  ต่อมาถูกตัดทอนให้เป็นเพลงชั้นเดียว  ใส่เนื้อร้องโดยนางจันทนา พิจิตรคุรุการ  และขยายเป็นเพลง 3 ชั้น เมื่อ พ.ศ. 2491 โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)  กลายเป็น “เพลงเถา” ขึ้นมา

คำร้อง-ทำนอง: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

            บรรยายความตามไท้  เสด็จยาตร  ยังไทรโยคประพาสพนาสัณฑ์  น้องเอย…เจ้าไม่เคยเห็น
ไม้ไร่หลายพันธุ์  คละขึ้นปะปน  ที่ชายชลเขาชะโงกเป็นโกรกธาร  น้ำพุพุ่งซ่าน  ไหลมาฉาดฉาน
เห็นตระการ  มันไหลจอกโครมจอกโครม  มันดังจ้อกจ้อก  จ้อกจ้อก  โครมโครม
น้ำใสไหลจนดู  หมู่มัสยา  กี่เหล่าหลายว่ายมา  ก็เห็นโฉม  น้องเอย  เจ้าไม่เคยเห็น
ยินปักษาซ้องเสียง  เพียงประโคม  เมื่อยามเย็นพยับโพยมร้องเรียกรัง  เสียงนกยูงทอง  มันร้องโด่งดัง
หูเราฟังมันร้องดังกระโต๊งห่ง  มันดังก้อกก้อก  ก้อกก้อก  กระโต๊งห่ง

หน้าทับ : ปรบไก่

ท่อน 1

—--ดํ-ล–ดํลซฟ-ซ–ลซฟร-ฟ-ร-ซ-ฟฟฟ
-ล-ด-ร-ฟ–ลซฟซ-ล-ดดด-รฟซ-ลดํซลซฟร
—-—ล–ดํซฟซลดํ—-ซลดํรํ-ดํ-มํ-รํรํรํ
ฟํรํดํล-ซ-ฟ–ลซฟซ-ล-ดดด-รฟซลดํซลซฟร
-ร-รซลดรดรฟด-ร-ฟ—-ดรฟซลซดํฟ-ซ-ล
—-ฟซลดํ—รํฟํรํดํลซลดํลซฟ-ซ—ซ-ซซซ
ซลซซซลซซฟซลซฟร-ฟ—-ดรฟซ-ฟ-ล-ซซซ
—--ดํ-ล-ลดํลซฟ-ซ-ซฟซลซฟร-ด-มรรรร

ท่อน 2

—รํ-ดํ-ล-ฟํ-รํ-ดํ-ลดํรํดํซดํลซฟมรดรมฟซล
—-ฟซลดํ–รํรํฟํรํดํลซลดํลซฟ-ซ—ซ-ซซซ
-ซ-ล-ดํ-รํ-ดํ-มํรํรํรํรํ–รซลทดํรํรํรํรํรํ-รํ-รํ
ดํรํดํซดํลซฟมรซรมฟซลรํดํดํดํ-รฟซฟลซฟลซฟร
-รฟรดรฟซฟลซฟรซฟร—-—-—-—-
ฟซลดํลรํลดํลซลดํลซฟร—-—-—-—-
–ลซฟซลดํ–ฟํรํดํลซฟ—-—-—-—-
–ลซฟร-ฟ—--ร-ฟ–ลซฟร-ร-รดรฟลซฟ

เต่ากินผักบุ้ง  2 ชั้น  (ทางขลุ่ยเพียงออ)

ประวัติเพลงเต่ากินผักบุ้ง
            เป็นเพลงอัตราจังหวะสองชั้นทำนองเก่าเป็นเพลงสมัยอยุธยาตอนปลายใช้เป็นเพลงลา  โบราณาจารย์จัดเพลงนี้ในเพลงช้าเรื่อง “เต่ากินผักบุ้ง”  มีอยู่หลายเพลงเช่น เต่ากินผักบุ้ง  เต่าเงิน  เต่าทอง  เป็นต้น  ภายหลังนำมาร้องส่งสำหรับเป็นเพลงลา  เต่ากินผักบุ้งทำนองทางร้องมีผู้แต่งเติมสร้อยที่เรียกว่า “ดอก”  ไว้ในท่อนที่ 2  เพื่อเปิดโอกาสให้เครื่องดนตรี  เช่น  ปี่  ซอ  ได้เป่า-สีเลียนเสียงร้องเป็นการอวดความสามารถในการบรรเลงของตน  เพลงนี้ใช้หน้าทับปรบไก่มี 3 ท่อน
            ต่อมา  นักดนตรีไม่ทราบนามแต่งขยายขึ้นเป็นอัตราจังหวะสามชั้น  โดยสอดแทรกการว่าดอกเหมือนกับทำนองในอัตราสองชั้น  เพลงนี้เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์นำมาให้แตรวงมหาดเล็กบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเปลี่ยนชื่อเป็นเพลงปลาทอง

เนื้อเพลงเต่ากินผักบุ้ง  บทพระนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
 
ดาวเดือนเลือนดับลับฟ้า                     ท้องนภาแลสว่างกระจ่างใส
มวลปักษาลาถิ่นบินออกไกล                         คงจะไปหาเหยื่อเผื่อลูกน้อย
ดอกเอ๋ยเจ้าดอกประยงค์                             ขอให้สมประสงค์ทุกประการเอย
เจ้าช่อชงโคเจ้าอย่าโศกาลัย                        วันหน้าจะมาใหม่มารับเจ้าคู่ใจชงโค
นิจจาเอยเช้าเช้าเคยได้พบพักตร์           ะจากกันนานนักก็เศร้าสร้อย
แม้มิมีใครเขาเฝ้าห่วงคอย                            รักคงถอยใจคงร้าวราวไฟราน
ดอกเอ๋ยเจ้าดอกรัก                                    หัวอกจะหักเสียแล้วเอย
เสียงไก่ขันขานเสียงกังวานหวานแจ้ว               มิเทียมเทียบเสียงเพื่อนแก้ว
หวานสุดแล้วยามพาที

ท่อน 1

—ดํ-รํรํรํ—มํ-รํรํรํซํรํมํฟํซํฟํมํรํมํฟํซํฟํมํรํดํท
รํมํรํลรํทลซฟมรมฟซลทซลทดํทดํรํมํซํลํซํรํซํมํรํดํ
ลซมซรมซลรํดํลดํซลดํรํซํรํมํฟํซํฟํมํรํมํฟํซํฟํมํรํดํท
รํมํรํลรํทลซฟมร-ซ-ลท-รํ-มํ-รํ-ท—ล—ซ

ท่อน 2

มํรํทรํลทรํมํลซมซรมซลรํลทดํรํดํทลทดํรํดํทลซม
มํรํทรํลทรํมํลซมซรมซลรมฟซฟซลทรํมํรํลรํทลซ
มํรํทรํลทรํมํลซมซรมซลรํลทดํรํดํทลทดํรํดํทลซม
มํรํทรํลทรํมํลซมซรมซลรมฟซ-ล-ทรํมํรํท-ล-ซ

ท่อน 3

ซลทดํทดํรํมํรํมํซํลํซํฟํมํรํมํรํดํทลซรซลทดํซลทดํรํ
ลทรํมํซํมํรํทมํรํทลรํทลซมซรมซลทรมรซมรํทลซ
ซลทดํทดํรํมํรํมํซํลํซํฟํมํรํมํรํดํทลซรซลทดํซลทดํรํ
ลทรํมํซํมํรํทมํรํทลรํทลซมซรมซลทรมรซมรํทลซ

ลูกหมด

รมซล-ลดํรํมํรํดํซ-ล–ซซซซ-ล–ดํดํดํดํ-รํ–
ซลดํรํดํลดํรํดํลดํรํดํรํ–มํรํดํลรํดํลซดํลซมลซมร
–ซรมซมซ–รมซลซล–ดํซลดํลดํ–ซลดํรํดํรํ

13. » ผู้มีชื่อเสียงในเเวดวงดนตรี

พระยาเสนาะดุริยางค์

https://so02.tci-thaijo.org/public/journals/812/article_251550_cover_th_TH.png

            พระยาเสนาะดุริยางค์ เป็นบุตรคนโตของครูช้อย และนางไผ่ สุนทรวาทิน ได้ฝึกฝนวิชาดนตรี จากครูช้อย ผู้เป็นบิดา จนมีความแตกฉาน ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศน์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) ได้ขอตัวมาเป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ของท่าน ท่านเข้ารับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2422 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนเสนาะดุริยางค์  ในปี พ.ศ. 2446 ตำแหน่งเจ้ากรมพิณพาทย์หลวงจึงโปรดให้เลื่อนเป็นหลวงเสนาะดุริยางค์?ในปีพ.ศ.2453ในตำแหน่งเดิมจนถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนเป็นพระเสนาะดุริยางค์   รับราชการในกรมมหรสพหลวง และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ด้วยความซื่อสัตย์ และมีความจงรักภักดี ท่านจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเสนาะดุริยางค์  ในปี พ.ศ. 2468
            ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง วงพิณพาทย์วงนี้ นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือ ซึ่งต่อมาได้เป็นครูผู้ใหญ่ เป็นที่รู้จักนับถือโดยทั่วไป เช่น ครูเทียม คงลายทอง ครูพริ้ง ดนตรีรส ครูสอน วงฆ้อง ครูมิ ทรัพย์เย็น ครูแสวง โสภา ครูผิว ใบไม้ ครูทรัพย ์นุตสถิตย ์ครูอรุณ กอนกุล ครูเชื้อ นักร้อง และครูทองสุข คำศิริพระยาเสนาะดุริยางค ์ ถึงแก้อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2492 เมื่อมีอายุได้ 83 ปี

พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)

http://img180.imageshack.us/i/princebhanuiv1.jpg/

            พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเรขา (ทองดี)กับนางนิ่ม เกิดเมื่อ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2403 ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านเลขที่ 81 ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดา กรุงเทพมหานคร  ท่านได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ  หนูดำ  ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อย่างอื่น ได้ศึกษาอย่างจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน (บิดาของพระยาเสนาะดุริยางค์) จนบรรลุแตกฉาน ท่านเข้ารับราชการ ตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระยศเป็นพระยุพราช ได้ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์จาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้นายแปลกเป็นที่?ขุนประสานดุริยศัพท์”นับจากนั้นก็ได้ รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็นที่พระยาประสานดุริยศัพท์  เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในสมัยรัชกาลที่ 6     ความรู้ความสามารถของพระยาประสานดุริยศัพท์นั้น เป็นที่กล่าวขวัญเรื่องลือว่า ท่านเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ ท่านเป็นครู และเป็นศิลปินที่หาได้ยากยิ่ง      เมื่อปี พ.ศ.2428 ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมฉลองครบรอบร้อยปี ของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่ประเทศอังกฤษผลของการบรรเลงขลุ่ยของท่านเป็นที่พอ พระราชหฤทัย ของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นอย่างยิ่งถึงกับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้ง การบรรเลงครั้งหลังนี้สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ทรงลุกจากที่ประทับและใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯพร้อมทั้งรับสั่งถามว่า เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลาพระยาประสานดุริยศัพท์ ได้แต่งเพลงไว้ดังนี้คือ  เพลงเชิดจั่น 3 ชั้น พม่าหัวท่อน เขมรราชบุรี ลาวคำหอม ลาวดำเนินทราย เขมรทรงดำเนิน (เขมรกล่อมพระบรรทม) เขมรปากท่อ เขมรใหญ่ ดอกไม้ไทร ถอนสมอ ทองย่อน เทพรัญจวน นารายณ์แปลงรูป แมลงภู่ทอง สามไม้ใน อาถรรณ์ คุณลุงคุณป้า พราหมณ์เข้าโบสถ์ ธรณีร้องไห้ มอญร้องไห้ แขกเห่ อนงค์สุดา วิเวกเวหา แขกเชิญเจ้า    ย่องหวิด 3 ชั้น เป็นต้น
            ความสามารถทางดนตรีของท่านนั้น ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่มีความสามารถเป็นทวีคูณขึ้นไป และศิษย์ของท่านเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือ พระประดับดุริยกิจ (แหยม วิณิณ) พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตตเสรี) อาจารย์มนตรี ตราโมท ครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นต้น
พระยาประสานดุริยศัพท์ ป่วยโดยโรคชรา และถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 105 ปี ในปี พ.ศ. 2467

หลวงประดิษฐไพเราะ

http://www.thaikids.com/laopan/image2.jpg

          หลวงประดิษฐไพเราะ เป็นบุตรของ นายสิน นางยิ้ม ศิลปบรรเลงเนื่องจากบิดาคือครูสินเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ และเป็นศิษย์ของพระประดิษฐไพเราะในปี พ.ศ. 2443 ขณะเมื่ออายุ 19 ปี ท่านได้แสดงฝีมือเดี่ยวระนาดเอกถวายสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เป็นที่ต้องพระทัยมาก จึงทรงรับตัวเข้ามาไว้ที่วังบูรพาภิรมย์ ทำหน้าที่คนระนาดเอก ประจำวงวังบูรพาไปด้วย พร้อมกับสมเด็จท่านได้ เชิญครูมาสอนที่วัง คือ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เนื่องจากจางวางศร ได้รับพระกรุณาจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา ภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช  เป็นอย่างมาก ทรงจัดหาครูที่มีฝีมือมาฝึกสอน ทำให้จางวางศรมีฝีมือกล้าแข็งขึ้นในสมัยนั้นไม่มีใครมีฝีมือเทียบเท่าได้เลย จางวางศร ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นหลวงประดิษฐไพเราะ ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 ทั้งๆ ที่ท่านไม่เคยรับราชการอยู่ในกรมกองใดมาก่อน ทั้งนี้ก็เพราะฝีมือและความสามารถของท่าน เป็นที่ต้อง พระหฤทัยนั่นเอง
ครั้นถึงปี พ.ศ.2469 ท่านได้เข้ารับราชการในกรมปี่พาทย์และโขนหลวงกระทรวงวังท่านได้มีส่วนถวายการสอนดนตรีให้กับ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณีพระบรมราชิน ีรวมทั้งมีส่วนช่วยงานพระราชนิพนธ์เพลงสามเพลง คือเพลงราตรีประดับดาว เถา เพลงเขมรละออองค์ เถา และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง สามชั้น หลวงประดิษฐไพเราะ  ได้แต่งเพลงไว้มากกว่า ร้อยเพลง ดังนี้

            เพลงโหมโรง โหมโรงกระแตไต่ไม้ โหมโรงปฐมดุสิต โหมโรงศรทอง โหมโรงประชุมเทวราช โหมโรงศรทอง โหมโรงประชุมเทวราช  โหมโรงบางขุนนท์ โหมโรงนางเยื้อง โหมโรงม้าสยบัดกีบ และโหมโรงบูเซ็นซ๊อค เป็นต้น
            เพลงเถา อาทิ กระต่ายชมเดือน เถา ขอมทอง เถา เขมร เถา เขมรปากท่อ เถา เขมรราชบุรี เถา แขกขาว เถา แขกสาหร่าย เถา แขกโอด เถา จีนลั่นถัน เถา ชมแสงจันทร์ เถา ครวญหา เถา เต่าเห่ เถา นกเขาขแมร์ เถา พราหมณ์ดีดน้ำเต้า เถา มุล่ง เถา แมลงภู่ทอง เถา ยวนเคล้า เถา ช้างกินใบไผ่ เถา ระหกระเหิน เถา ระส่ำระสาย เถา ไส้พระจันทร์ เถา ลาวเสี่งเทียน เถา แสนคำนึง เถา สาวเวียงเหนือ เถา สาริกาเขมร เถา โอ้ลาว เถา ครุ่นคิด เถา กำสรวลสุรางค์ เถา แขกไทร เถา สุรินทราหู เถา เขมรภูมิประสาท เถา แขไขดวง เถา พระอาทิตย์ชิงดวง เถา กราวรำ เถา ฯลฯ
            หลวงประดิษฐไพเราะ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 รวมอายุ 73 ปี

พระพาทย์บรรเลงรมย์

http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:RKB2OBxDwj3t5M

            พระพาทย์บรรเลงรมย์ (พิมพ์ วาทิน) เป็นนักดนตรีอยู่ในกรมมหรสพ ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2420 เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เมื่อพระองค์ท่านเสด็จขึ้นครองราชแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น ขุนพาทย์บรรเลงรมย์ ในปี พ.ศ. 2453 เป็นหุ้มแพรหลวงพาทย์บรรเลงรมย์ ในปี พ.ศ. 2455 ต่อมาท่านเข้ามาเป็นศิษย์ในกรมมหรสพ ของพระยาประสานดุริยศัพท์ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระพาทย์บรรเลงรมย์ เมื่อปี พ.ศ. 2465 นอกจากนั้นท่านยังมีฝีมือทางด้านตีเครื่องหนังดีมาก นอกเหนือจากเครื่องดนตรีอื่นๆ  

(เรียบเรียงจากหนังสือนามานุกรม ศิลปินเพลงไทยในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)

หลวงไพเราะเสียงซอ

http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:F_y95S_pJhai5M

            หลวงไพเราะเสียงซอ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2435 ที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา บิดาชื่อ พยอม มารดาชื่อเทียม  ท่านเริ่มศึกษาวิชาดนตรี โดยเรียนสีซอด้วงจากบิดา ต่อมาท่านเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระบรมโอสารธิราชฯ รับราชการในกองดนตรีเมื่อ พ.ศ. 2448 ครั้นสมเด็จพระบรมฯ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว มหาดเล็กทั้งปวงซึ่งเป็นข้าหลวงเดิม ก็ปรับตำแหน่งหน้าที่ราชการเข้าเป็นทำเนียบมหาดเล็กประจำ ท่านจึงได้รับยศเป็นมหาดเล็กวิเสสต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แปรพระราชฐาน จะต้องมีวงดนตรีตามเสด็จ จนได้รับพระราชทานยศเป็นรองหุ้มแพร   มีบรรดาศักดิ์เป็นที่ ?ขุนดนตรีบรรเลง? และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ท่านก็ได้รับเลื่อน บรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงไพเราะเสียงซอ    ในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้น หลวงไพเราะเสียงซอได้สอนวงดนตรีเครื่องสายของ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรราชเทวี วงพระสุจริตสุดา และวงพระยาอนิสุทธาทวา เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ท่านได้ถวายการสอน เจ้านายในวงเครื่องสาย ซึ่งประกอบด้วย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ์ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ มจ. ถาวรมงคล และมจ.แววจักร จักรพันธ์ นอกจากนั้นยังได้ถวายการสอนให้กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล และข้าหลวงในวังอีกด้วย   ต่อมากรมศิลปากรได้เชิญท่านให้สอนประจำที่วิทยาลัยนาฎศิลป์และสุดท้ายท่านยังได้สอนและปรับปรุงวงดนตรีไทย
ของสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง จนทำให้วงดนตรีไทยของธรรมศาสตร์ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในเวลาต่อมา
            หลวงไพเราะเสียงซอ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ณ โรงพยาบาลศิริราช รวมอายุได้ 84 ปี

ครูบุญยงค์ เกตุคง

http://www.igetweb.com/www/sawduang/private_folder/010908.jpg 

            ครูบุญยงค์ เกตุคง เป็นบุตรชายคนใหญ่ของ นายเที่ยง นางเขียน เกตุคง เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 4 ปีวอกตรงกับเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2463  ที่ตำบลวันสิงห์ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร บิดามารดาของครู มีอาชีพเป็นนักแสดง ซึ่งต้องย้าย สถานที่ประกอบอาชีพบ่อยๆ เมื่อยังเยาว์จึงอาศัยอยู่กับตาและยายที่ จังหวัดสมุทรสาคร ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่วัดช่องลม และเริ่มหัดเรียนดนตรีไทยกับครูละม้าย(หรือทองหล่อ) ซึ่งเป็นครูสอนดนตรี อยู่บ้านข้างวัดหัวแหลม จังหวัดสมุทรสาคร 

            เมื่ออายุได้ 10 ปีก็สามารถบรรเลงฆ้องวงทำเพลงโหมโรงเช้า และโหมโรงเย็นได้ ซึ่งถือว่าได้ผลการศึกษาดนตรีขั้นต้น 

            ครั้นอายุได้ 11 ปี บิดาได้นำไปฝากให้เป็นศิษย์ของครู หรั่ง พุ่มทองสุข ซึ่งเป็นครูดนตรีมีชื่ออยู่ที่ปากน้ำภาษีเจริญ โดยมีน้องชาย ชื่อ บุญยัง เกตุคง ไปร่วมเรียนด้วย และได้เป็นเพื่อนร่วมเรียนดนตรีพร้อมกับ นายสมาน ทองสุโชติ ได้เรียนอยู่ที่บ้านครูหรั่งนี้ประมาณ 2 ปี จนสามารถบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงเล็กได้ ก็ย้ายไป เรียนดนตรีกับพระอาจารย์เทิ้ม วัดช่องลม จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นสถานที่เรียนดนตรี ที่มีชื่อเสียงมากอีกแห่งหนึ่งในยุคนั้น
            เมื่อครูอายุได้ 16 ปี บิดาเห็นว่ามีความรู้เพลงการดีพอสมควรจะช่วยครอบครัวได้ จึงช่วยให้ไปทำหน้าที่นักดนตรีประจำคณะนาฎดนตรีของบิดา ซึ่งแสดงเป็นประจำอยู่ที่วิกบางลำภู กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มจากคนตีฆ้องวงใหญ่ แล้วจึงได้เป็นคนตีระนาดเอก ทั้งนี้ได้รับการฝึกสอนเป็นพิเศษจากอาชื่อ นายประสิทธิ์ เกตุคง ให้มีความรู้เรื่องเพลงสองชั้นที่ลิเกให้ร้อง เป็นประจำจึงมีความรู้และไหวพริบดีมากขึ้น ในเรื่องเพลงประกอบการแสดง เป็นที่ทราบกันว่า ย่านบางลำภูนั้น เป็นที่ใกล้ชิดกับบ้านนักดนตรีไทยหลายบ้าน โดยเฉพาะบ้านของสกุล ดุริยประณีต ซึ่งมีนายชื้นและนายชั้น ดุริยประณีต บุตรชายของครูสุข ดุริยประณีต มาช่วยบิดาครูบุญยงค์ตีระนาดประกอบการแสดงลิเกเป็นครั้งคราว จึงได้สนิทสนมไปมาหาสู่กันจนเกิด ความคุ้นเคยเป็นอันมาก ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางเพลงกันมากขึ้นเป็นลำดับ
            ต่อจากนั้น ครูบุญยงค์ ได้เดินทางไปเรียนดนตรีจากครูเพชร จรรย์นาฎย์ ครูดนตรีไทยฝีมือดีและเป็นศิษย์ที่มีชื่อเสียงของท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
            เมื่อปี พ.ศ. 2485 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร การแสดงดนตรีซบเซาลง ครูจึงให้เวลาว่างประกอบอาชีพแจวเรือจ้างอยู่ระยะหนึ่ง แล้วไปสมัครเป็นศิษย์ท่านครูจางวางทั่ว พาทยโกศล ณ บ้านดนตรีวัดกัลยาณมิตร ธนบุรี จึงได้เรียนรู้ทางเพลงทั้งทางฝั่งพระนคร และทางฝั่งธน เป็นอย่างดี เมื่อน้ำลดแล้ว ครูจึงได้เรียนดนตรีเพิ่มเติมอีกจาก ครูสอน วงฆ้อง ซึ่งช่วยสอนดนตรีอยู่ที่บ้านดุริยประณีตนั้น
            สมัยที่ พลโทหม่อมหลวงขาบ กุญชร เป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ครูบุญยงค์ เกตุคง ได้สมัครเข้าเป็นนักดนตรีประจำวงดนตรีไทยของกรมประชาสัมพันธ์ ทำให้ได้ใกล้ชิดกับนักดนตรี อีกหลายคน อาทิ ครูประสงค์ พิณพาทย์ และ ครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ ซึ่งเป็นหัวหน้าวงดนตรีไทยอยู่ในขณะนั้น
            ในระหว่างที่ใกล้จะเกษียณอายุราชการ ครูบุญยงค์ได้ร่วมมือกับอาจารย์บรูซ แกสตัน ก่อตั้งวงดนตรีไทยร่วมสมัย ชื่อ วงฟองน้ำ ขึ้น

            ครูบุญยงค์ เกตุคง ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2539 สิริรวมอายุได้ 76 ปี ได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็น ?ระนาดเทวดา? เพราะมีฝีมือบรรเลงระนาดเอกได้ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่ง ในยุคสมัยเดียวกัน

            ผลงานของครูบุญยงค์ เกตุคง

1.    ผลงานประพันธ์เพลง
1.1     ประเภทเพลงโหมโรง  มีอยู่ด้วยกันหลายเพลงอาทิ เพลงโหมโรงสามสถาบัน โหมโรงสามจีน และโหมโรงจุฬามณี เป็นต้น
1.2     ประเภทเพลงเถา   ได้แก่เพลงเงี้ยวรำลึกเถา เพลงทยอยเถา ชเวดากองเถา เริงเพลงเถา กัลยาเยี่ยมห้อง เป็นต้น
1.3     เพลงประกอบการแสดง ตระนาฏราชและ เพลงระบำต่างๆที่ประกอบในละคร
1.4     เพลงเดี่ยวทางต่างๆ ได้แก่ ทางเดี่ยวระนาดเอก 3 ราง เพลงอาหนู และเพลงอาเฮีย ฯลฯ
1.5     เพลงประกอบภาพยนตร์และโทรทัศน์ เงาะป่า
1.6     เพลงร่วมสมัย เจ้าพระยา คอนแชร์โต้ เพลงผสมต่างๆ ของวงฟองน้ำ

2.    ผลงานการแสดง
เป็นเจ้าของและหัวหน้าคณะนาฏดนตรีแสดงทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ชื่อคณะเกตุคงดำรงศิลป์

3.    ผลงานบันทึกเสียง
3.1     แผ่นเสียงของวังสวนผักกาด อำนวยการโดย ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ บริพัตร เพลงชุด Drum of Thailand ทำหน้าที่เป็นผู้บรรเลงระนาดเอก
3.2     เพลงมุล่ง เดี่ยวระนาดเอก แผ่นเสียงตรามงกุฏ
3.3    บันทึกผลงานเพลงโหมโรงและเพลงเถา ในหัวข้อ1.1,1.2 ข้างต้น ในโครงการ “สังคีตภิรมย์”ของธนาคารกรุงเทพ และเก็บผลงานไว้ที่ศูนย์สังคีตศิลป์ และผลงานของวงดนตรีฟองน้ำ

4.   งานเผยแพร่ต่างประเทศ

4.1     ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
4.2     สหรัฐอเมริกา และแคนาดา 2529 Exposition เยอรมัน 2525 ฮ่องกง 2525 (ฟองน้ำ)
4.3     มโหรีราชสำนัก อังกฤษ 2529-2530

5.    รางวัล

5.1      ถ้วยทองคำ นาฏดนตรี
5.2     โล่เกียรตินิยม พระราชทาน ร.9

ครูช้อย

http://cdans.bpi.ac.th/thaimusic/image/9.jpg

            ครูช้อย เป็นบุตรของครูทั่ง ครูดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อตอนเล็กๆ ตาบอดเพราะเป็นไข้ทรพิษ แต่ครูมีความสามารถทางดนตรีได้ โดยมิได้ร่ำเรียนอย่างจริงจัง ครูช้อยสามารถตีระนาดเอกนำวงได้โดยไม่ผิดตกบกพร่อง จนทำให้บิดาซึ่งแต่เดิมไม่ได้สนใจถ่ายทอดวิชาให้เพราะเห็นว่าตาบอด ในที่สุดบิดาได้ทุ่มเทถ่ายทอดวิชาการดนตรีให้ ต่อมาในบรรดาศิษย์ของครูช้อยนั้นก็มีพระยาเสนาะดุริยางค ์(แช่ม สุนทรวาทิน) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวงในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นบุตรของครูช้อย และพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวงในรัชกาลที่ 6 นักดนตรีไทยสองคนเท่านั้นที่ได้มีบรรดาศักดิ์ เป็นถึงชั้นพระยาทางดนตรีไทย นอกนั้นศิษย์ของครูช้อยก็มีอีกหลายคน เช่น พระประดับดุริยกิจ (แหยม วีณิน) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน)

            ผลงานของครูช้อย สุนทรวาทิน ถือเป็นสมบัติอันมีค่ายิ่งนักดนตรีทุกคนต้องรู้จักเช่นเพลงแขกลพบุรี โหมโรงครอบจักรวาล โหมโรงมะลิเลื้อย ม้าย่อง อกทะเล แขกโอด ใบ้คลั่ง เขมรปี่แก้วเขมรโพธิสัตว์ เทพรัญจวน พราหมณ์เข้าโบสถ์ ฯลฯ 

          ยังไม่พบหลักฐานว่าท่านถึงแก่กรรมเมื่อใด

ครูประเวช กุมุท 

http://www.igetweb.com/www/sawduang/private_folder/010908.jpg

            ครูประเวช กุมุท เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2466 ที่ตำบลคานหามอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เริ่มการศึกษาระดับประถมศึกษาที่ โรงเรียนวัดคานหาม จึงได้เข้าศึกษาที่โรงเรียน ดำเนินศึกษา ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร จนจบชั้น ม1จึงได้ย้ายไปศึกษาต่อจนจบชั้นสูงสุดที่โรงเรียนนาฎดุริยางค์ (วิทยาลัยนาฎศิลป์กรมศิลปากร) และศึกษาต่อจนจบเตรียม ธรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาลตร์และการเมือง
ครูประเวชกุมุท ได้ชื่อว่าเป็นคนเรียนดนตรีได้ว่องไว มีความจำ และมีฝีมือดี มาตั้งแต่ยังเรียนชั้นประถมศึกษา ครูเริ่มเรียนขับร้องเพลงไทย และเพลงพื้นบ้านจากบิดาซึ่งเป็นครูคนแรก ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ ครูมีพื้นฐานทางดนตรีที่ดีตลอดมา   ครูอายุ 12 ปี ก็สามารถสีซอด้วง ซออู้และ ตีขิมได้อย่างไพเราะ จนกระทั่งเข้าเรียน ที่โรงเรียนนาฎดุริยางค์ กรมศิลปากร

            เมื่ออายุ 14 ปี ได้รับถ่ายทอดวิชาดนตรีเครื่องสายจาก ครูมี พูลเจริญ ครูโสภณ ซื่อต่อชาติ 

            เมื่อครูอายุ 17 ปี ได้เรียนวิชาเครื่องสายไทยจาก ครูปลั่ง วนเขจร และเรียนจะเข้กับ นางสนิท บรรเลงการ (ครูละเมียด จิตตเสวี) และเรียนซอสามสายจากครูอนันต์ ดูรยชีวิน บุตรชายของคุณพ่อหลวงไพเราะเสียงซอ จนในที่สุด ครูก็สามารถรับวิชาการและเทคนิคการสีซอทุกรูปแบบ และถ่ายทอดเพลงเดี่ยว นานาชนิดจากคุณพ่อหลวงไพเราะ เสียงซอ จนจบสิ้น นับเป็นสุดยอดของวงการเครื่องสายไทยทีเดียว แม้แต่ในวงปี่พาทย์ ครูก็สามารถบรรเลงได้รอบวงอีกด้วย     นอกจากนั้นทางด้านการขับร้อง ครูก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาการขับเสภา
การขับร้อง จากครูเหนี่ยว ดุริยะพันธ์ และครูแช่มช้อย ดุริยะพันธ์

            ในชีวิตราชการของครูประเวช กุมุท  ครูเริ่มรับราชการในวิทยาลัยนาฎศิลป์ กรมศิลปากร ตั้งแต่ 2486-2490 จึงโอนย้ายไปสังกัดแผนกดุริยางค์ไทย กองการสังคีต กรมศิลปากร และลาออกจากกรมศิลปากรในปี 2507 แล้วเข้าทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นผู้ฝึกสอน และหัวหน้าวงดนตรีไทยของธนาคารไทยพาณิชย์   พุทธศักราช 2515 ครูได้รับเลือกเป็น
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้าน ศิลปการแสดงดนตรีไทย ในปี 2522 ครูกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในฐานะผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย ประจำที่วิทยาลัยนาฎศิลป์ จังหวัดเชียงใหม่  จนถึงปี 2525 จึงได้ลาออก และได้รับเชิญจาก คุณคทาวุธ อินทรทูต ผู้อำนวยการฝ่ายสาขา  ของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด สำนักงานใหญ่เข้าทำงานเป็น พนักงานประจำ จนเกษียรอายุในปี 2529  ทำหน้าที่สอนพิเศษ และที่ปรึกษาของชมรมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตลอดมา

ผลงานทางด้านศิลปะแขนงต่างๆ

  1.  ประพันธ์บทละครเรื่องเอกราชสุโขทัย ประกวดได้รับรางวัลที่1
  2.  ประพันธ์บทละครรำ เรื่องรถเสน ตอนชนไก่แสดงที่โรงละครแห่งชาติ
  3.  ประพันธ์บทละครวิทยุเรื่องประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา เพื่อออกอากาศทางวิทยุ กรมประชาสัมพันธ์ หลายสิบตอนติดต่อกัน
  4. แต่งแพลงแขกเล่นกล(เถา) ในปี พ.ศ.2524 โดยขยายจากทำนองสองชั้นเพลง เขมรเป่าใบไม้ และใช้บทร้องจากพระราชนิพนธ์เรื่องพระร่วงมอบให้วงดนตรีไทย ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ
  5. ประดิษฐ์ขิมแผ่น ซึ่งทำด้วยอลุมิเนียมจนสามารถเป็นที่นิยมบรรเลงร่วมกับวงเครื่องสายจนถึงปัจจุบัน

            ครูประเวช กุมุทได้ฝากผลงานบันทึกเสียงและแผ่นเสียงทั้งในฐานะนักร้องและในฐานะนักดนตรีไว้เป็นอันมาก อาทิเช่น ร้องเพลงเชิดจีนร่วมกับ ครูอุษา สุคันธมาลัย เพลงโสมส่องแสง สามชั้น เพลงเขมรละออองค์ เถา เพลงเห่เรือแบบต่างๆ เพลงลาวเสี่ยงเทียน เถา เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง เพลงลาวครวญ เพลงลาวดวงเดือน เพลงม้าย่อง ขับเสภาร่วมกับครูเหนี่ยว ดุริยะพันธ์ เพลงตับเรื่องกากี เพลงนกขมิ้น โดยมีครูเทียบ คงลายทอง เป็นผู้เดี่ยวขลุ่ย ทั้งหมดนั้นเป็นผลงานการบันทึกแผ่นเสียงของครู ในฐานะนักคนตรี ครูได้บันทึกแผ่นเสียงไว้หลายเพลง เช่น เดี่ยวซอสามสาย เพลงบุหลันลอยเลื่อน และเพลงทะแย แผ่นกรมศิลปากร เดี่ยวซอด้วง เพลงอาถรรพ์ สองชั้น แผ่นเสียงตรามงกฏ สีซอด้วงในวงเครื่องสาย เพลงชุดตับจูล่ง ขับร้องโดย ครูเหนี่ยว ดุริยะพันธ์ แผ่นเสียง ตราน ฯลฯ
            ครูได้ก่อตั้งวงดนตรีไทยไว้ดังนี้คือ คณะกุมุทวาทิต คณะเวชชศิลป์ และคณะจิตตเสวี เพื่อออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง และก่อตั้งวงดนตรีคณะ ศิษย์หลวงไพเราะเสียงซอ ร่วมกับพนักงานธนาคาร กรุงเทพฯพาณิชย์การเป็นวงสุดท้ายในปี พ.ศ. 2532 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ิได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ครูประเวช กุมุท เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีไทย) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532   เข้ารับพระราชทาน โล่ และเข็มเชิดชูเกียรติจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิต
            ครูประเวช กุมุท อุทิศร่างกายให้กับโรงพยาบาลสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 รับพระราชทานรดน้ำศพใน วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน เวลา 17.00 น. ณ. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และมอบร่างกายครู ให้กับโรงพยาบาล เพื่อเป็นอาจารย์ใหญ่ แด่นักศึกษาแพทย์ ไว้ศึกษาต่อไป

14. » ความเป็นมาของอังกะลุง

            อังกะลุง  เป็นเครื่องดนตรีประเภท  “ ตี ” มีเสียงที่เกิดจากการกระทบของไม้ไผ่ กับรางไม้     ต้นแบบจากประเทศชวา (ประเทศอินโดนิเชีย )  ที่เรียกว่า “อุงคะลุง ”
            จากตอนหนึ่ง  ในหนังสืออนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ ครูนาม  พุ่มอยู่ ได้มีบทความเกี่ยวกับเรื่องราวของอังกะลุงซึ่งรวบรวมและเขียนโดย อาจารย์พูนพิศ  อมาตยกุล ว่า“ อังกะลุง ”เข้ามาในประเทศไทยเมื่อราว พ.ศ.  2451โดยท่านครูจางวางศร ศิลปบรรเลง (หลวงประดิษฐ์ไพเราะ )เป็นผู้นำเข้ามา เมื่อครั้งท่านครู ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินสมเด็จพระอนุชาธิราช  เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงพันธุ์วงศ์วรเดช ( อนุชาร่วมพระชนกชนนี กับพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 )  ซึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศชวากล่าวกันว่า อังกะลุงชวาที่นำเข้ามาครั้งแรกเป็นอังกะลุงชนิดคู่ (ใช้ไม้ไผ่เพียง 2 กระบอก)  มีขนาดใหญ่มากและมีน้ำหนักมาก เกินกว่าจะเขย่าโดยวิธียกได้ นอกจากจะใช้วิธีการบรรเลงแบบชวา  คือมือหนึ่งถือไว้ อีกมือหนึ่งไกวให้เกิดเสียงอังกะลุงที่นำเข้ามาสมัยนั้น  มี  5  เสียง  ทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมด ทั้งตัวอังกะลุงและรางที่เป็นตัวกลอกไปมาของฐาน  ไม่มีเครื่องประกอบตกแต่งใด ๆเช่นหางนกยูง หรือธงชาติอย่างในปัจจุบัน

http://www.thaifastads.com/adpics/4a98b0bb5d24147c12bd2e7e5.jpg

            ในสมัยต่อมาจึงมีการพัฒนาอังกะลุง โดยขยายจำนวนไม้ไผ่เป็น  3  กระบอก  ลดขนาดให้เล็กและเบาลงเพิ่มเสียงจนครบ 7 เสียง ในสมัยรัชการที่ 6 เชื่อกันว่า มีการพัฒนาการบรรเลง จากการไกว  เป็นการเขย่าแทน นับว่า เป็นต้นแบบของการบรรเลงอังกะลุงในปัจจุบัน

            หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้นำวงอังกะลุง จากวังบูรพาภิรมย์  ไปแสดงครั้งแรกในงานทอดกฐินหลวง  ที่วัดราชาธิวาส ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่  6   แต่ไม่ทราบว่าเป็นปีใด
            ปัจจุบัน  วงอังกะลุง ได้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปและเป็นที่ชื่นชอบของคนที่ได้ฟังเสียงเพราะเสียงที่เกิดจากการกระทบของกระบอกไม้ไผ่กับรางมีความไพเราะที่แปลกไปจากเครื่องดนตรีชนิดอื่นแม้แต่ชาวต่างประเทศที่ได้เห็น ได้ฟัง ยังแสดงความชื่นชอบจนต้องขอซื้อเครื่องดนตรีชนิดนี้  ไปเป็นที่ระลึกด้วย
            วงอังกะลุง  จะประกอบไปด้วยชุดอังกะลุงซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย 7 คู่   เครื่องประกอบจังหวะเช่น ฉิ่ง,ฉาบเล็ก, กรับ,โหม่ง, กลองแขกและเครื่องตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงาม เช่นธงชาติ,หางนกยูง เป็นต้น  ตามสถานศึกษาต่าง ๆ มักนิยมนำมาฝึกหัดให้กับนักเรียน  เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีไทย ที่ให้เสียงไพเราะ ฝึกหัดไม่ยาก  ใช้งบประมาณในการจัดตั้งวงไม่สูงมากนัก (ประมาณ 10,000  บาท)  ทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีและความพร้อมเพรียงให้กับหมู่คณะอีกด้วย เพราะวงอังกะลุงปกติ ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว ทำไม่ได้  (นอกจากจะใช้แบบ อังกะลุงราว)

15. » กว่าจะมาเป็นอังกะลุง

http://www.thaitambon.com/thailand/Suphanburi/
720403/0461111248/N8647_0288A.jpg 

ส่วนประกอบของอังกะลุง

http://www.thaitambon.com/thailand/Suphanburi/
720403/0461111248/N8647_0288A.jpg 

      1. ไม้ไผ่ลาย  ต้องเป็นไม้ที่มีความแกร่ง คือมีเนื้อไม้แข็งได้ที่  จึงจะมีเสียงไพเราะ  และจะต้องมีลายที่สวยงาม ตัดไม้ให้เป็นท่อนตามขนาดที่ต้องการ แล้วนำมาตากแห้งย่างไม้กับไฟอ่อน ๆ  นำมาอาบน้ำยากันมอด  บ่มไม้โดยใช้ผ้าคลุ่มจะช่วยป้องกันมอดได้ หลังจากนั้นจึงนำมาเหลาตามเสียงที่ต้องการ         
            ไม้ไผ่ลายเป็นไม้ไผ่ประเภทหนึ่ง ที่ปล่องไม้จะมีลายด่างเหมือนตกกระ เป็นโดยธรรมชาติทั่วทุกปล้อง จะเห็นลายเด่นชัดเมื่อมันแก่  เนื้อไม้ค่อนข้างบางเบาแต่แข็งแกร่ง ยิ่งแก่ก็ยิ่งแข็งแต่โบราณช่างทำดอกไม้ไฟจะนำมาประกอบการทำดอกไม้ไฟที่มีชื่อว่า  “ ช้างร้อง ”เพราะทำให้เกิดเสียง    ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จะหาไม้ไผ่ชนิดนี้ได้ง่ายแถบชานเมืองกรุงเทพส่วนมากจะขึ้นตามป่าช้าตามวัด (ที่ฝังศพ หรือเก็บศพก่อนเผา) ต่อมาก็มีคนนำมาปลูกตามสวนแต่ในปัจจุบันมักจะหาดูได้ในบางท้องที่ เช่นนนทบุรี ปราจีนบุรี เป็นต้น

     2. รางไม้     เดิมจะใช้ไม้สักทองขุดเป็นราง  เพื่อให้วางขาที่ฐานกระบอกลงในร่องที่ขุด ร่องที่เจาะจะมี 3 ร่อง และรูกลมอีก 5 รู สำหรับตั้งเสายึดตัวกระบอกอังกะลุง

     3. เสาอังกะลุง มักทำด้วยไม้ไผ่เหลาเกลาหรือกลึงจนกลมเรียบ  มีความยาวตามความสูงของกระบอกอังกะลุง   ขนาดโตกว่ารูที่รางเล็กน้อย

     4. ไม้ขวาง   ทำจากไม้ไผ่เหลาแบบ ส่วนกลางปาดเนื้อไม้เป็นร่องลึกพอประมาณ  ใช้สำหรับสอดผ่านช่องกระบอกอังกะลุง เพื่อยึดตัวกระบอกกับเสา

     5. เชือก, กาว ใช้เป็นตัวยึดระหว่างไม้ขวาง กับเสา

     6. สี, น้ำมันชักเงา ใช้ตกแต่งตัวอังกะลุงให้มีความสวยงาม เป็นเงางาม

ส่วนประกอบต่าง ๆ ของอังกะลุงจะนำมาประกอบขึ้นเป็นอังกะลุง   1  ตับ โดยการนำเอากระบอกไม้ไผ่ลายที่เหลาและเทียบเสียงอย่างถูกต้องแล้ว (เทียบกับขลุ่ยเพียงออ ระนาด หรือกับเครื่องดนตรีสากล เช่น ปี่คลาริเนต  เมโลดิก้า ออร์แกน )  จำนวน  3  กระบอก 3 ขนาด ( แต่ละกระบอกจะมีเสียงสูง   กลาง  ต่ำ  แต่อยู่ในระดับเสียงเดียวกัน )    มาเจาะรูปพระจันทร์ครึ่งซีก นำมาประกอบกับรางไม้ ยึดกับเสา และไม้ขวางด้วยเชือกและกาว  แล้วนำมาตกแต่งด้วยสีหรือน้ำมันเคลือบเงา

*** ข้อควรระวัง***

            อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยวัสดุธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่จึงมักจะชำรุดง่าย   โดยเฉพาะอันตรายจากตัวมอดซึ่งเป็นตัวทำลายเนื้อไม้ให้ผุ เมื่อมอดกินเนื้อไม้ จะทำให้น้ำหนักของอังกะลุงจะเบาขึ้น  เสียงก็จะเปลี่ยนไป   การที่นำอังกะลุงมาบรรเลงบ่อย ๆอย่างสม่ำเสมอ จะมีผลดี  คือทำให้มอดไม่กินหรือกินบ้างแต่ก็ช้าลง  แต่ถ้าเก็บไว้เฉย ๆ จะทำให้เสียง่าย การวางอังกะลุง   ก็ควรวางเบา ๆ และจะต้องพิงไว้ในลักษณะเอียงเอนเสมอ   เพื่อป้องกันการตก  หรือล้มกระแทกซึ่งอาจทำให้กระบอกอังกะลุงแตกได้    สภาพดินฟ้าอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เสียงเพี้ยนได้ โดยเฉพาะความชื้น   การบรรเลงในห้องปรับอากาศก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เสียงของอังกะลุง เปลี่ยนไปจากเดิมได้

16. » ประโยชน์ของดนตรี

ประโยชน์ทั่วไป

  1. เสียงดนตรีเป็นสิ่งที่กล่อมหัวใจของคนให้อ่อนโยน เยือกเย็นดับทุกข์ได้ชั่วขณะ ปลุกใจให้รื่นเริงกล้าหาญ สิ่งเหล่านี้ย่อมเกิด แก่บุคคลผู้ฟังทั่วๆไป 
  2. เป็นเครื่องที่ทำให้โลกครึกครื้น 
  3. การแสดงมหรสพต่างๆ เป็นต้นว่า โขนละคร ดนตรีก็เป็นผู้ประกอบให้น่าดูสนุกสนานขึ้นสมอารมณ์ผู้ดูและผู้แสดง 
  4. ทำความสมบูรณ์ให้แก่ฤกษ์และพิธีต่างๆ ทั้งของประชาชนและของชาติ 
  5. เป็นเครื่องประกอบในการสงคราม ซึ่งเคยใช้ได้ผลมาแล้วหลายชาติ กล่าวโดยเฉพาะชาติไทยคราวสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลก เมื่อยังดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยาจักรีทรงรักษาเมืองพิษณุโลกต่อสู้ อะแซหวุ่นกี้ ก็ได้ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องประกอบอุบาย เป็นต้น 
  6. ทำให้โลกเห็นว่าชาติไทยมีวัฒนธรรมเป็นอันดี ชาติใดที่มีวัฒนธรรมของตนอยู่อย่างดีย่อมเป็นที่ยกย่องของชาติทั้งหลาย

  ประโยชน์เฉพาะผู้บรรเลง

  1. ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำประโยชน์ทั่วไปดังกล่าวมาแล้ว 
  2. เป็นอาชีพในทางที่ชอบอันหนึ่ง 
  3. เป็นผู้รักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมของชาติ 
  4. จะเป็นผู้มีอารมณ์เยือกเย็น สุขุมกว่าปกติ 
  5. มีเครื่องกล่อมตนเองเมื่อยามทุกข์ ปลุกตนเองเมื่อยามเหงา 
  6. เป็นเครื่องฝึกสมองอยู่ในตัว 
  7. จะเป็นผู้มีเกียรติยศชื่อเสียงปรากฏแก่โลก 
  8. ทำการสมาคมให้กว้างขวางได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ชั้นต่ำจนถึงชั้นสูงสุด

17. » ศัพท์สังคีต

18. » เเหล่งอ้างอิง

เเหล่งอ้างอิง

  • http://www4.msu.ac.th/satit/studentProj/2547/pj102-2-2547/g15-ThaiMusic/web13.htm
  • http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A
  • http://www.bs.ac.th/musicthai/s1.html
  • http://www4.msu.ac.th/satit/studentProj/2548/Selectted/M102/g02-Thaiclassicalmusic/SawSamSai.html
  • http://santithaimusic.igetweb.com/index.php?mo=3&art=177124
  • http://krusompop.blogspot.com/2008/07/blog-post_451.html
  • http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89
  • http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?q=%BB%C3%D0%C7%D1%B5%D4%A4%C3%D9%B4%B9%B5%C3%D5%E4%B7%C2&select=1#13102
  • http://writer.dek-d.com/Casiopeia/story/viewlongc.php?id=446621&chapter=10
  • http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=446621&chapter=42
  • http://www.phutta.com/thaifolk/html/musical_northeast.php?musical=krab_khoo
  • http://writer.dek-d.com/title30016/story/view.php?id=200394
  • http://www.yimsiam.com/club/board/topicRead.asp?wbID=sjt_donthreethai&id=000002
  • http://student.swu.ac.th/hm471010080/dao.htm

ย่อ