เคมีอินทรีย์เบื้องต้น

สร้างโดย : นางสาวสุพรรณวดี เพชรเรียง
สร้างเมื่อ เสาร์, 01/11/2008 – 12:05
มีผู้อ่าน 249,160 ครั้ง (08/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/17531
รางวัลชนะเลิศ ประเภทสื่อออนไลน์ (บุคคล)
โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ (Digital Learning Contest) ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2551
ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เคมีอินทรีย์เบื้องต้น

ยินดีต้อนรับทุกคน เข้าสู่บทเรียนสำเร็จรูป

 วิชาเคมี เรื่องเคมีอินทรีย์เบื้องต้น

               ในเรื่องนี้ทุกคนจะได้เรียนรู้และเข้าใจ เคมีอินทรีย์ว่าคืออะไร และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารประกอบไฮโดรคาร์บอน นอกจากนี้แล้วสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเข้าใจได้โดยง่ายอีกด้วยค่ะ
               พร้อมกันรึยังค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเริ่มศึกษาบทเรียนกันได้เลยค่ะ ขอให้สนุกกับการเรียนเคมี นะค่ะ

 เคมีอินทรีย์ 

             เคมีอินทรีย์ (organic chemistry) เป็นสาขาหนึ่งของการศึกษาวิชาเคมี ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิต เนื่องจากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราส่วนใหญ่จัดเป็นสารอินทรีย์ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เครื่องสำอาง เชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งแหล่งที่กำเนิดสารอินทรีย์ส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ดังนี้

           ในสมัยแรกๆ นักวิทยาศาสตร์แบ่งสารเคมีออกเป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ สารอนินทรีย์เป็นสารประกอบของธาตุต่างๆ ส่วนสารอินทรีย์เป็นสารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิต           
        ต่อมาในปี พ.ศ. 1828 ฟรีดริช เวอเลอร์ สามารถสังเคราะห์ยูเรียได้จากสารอนินทรีย์ ดังสมการ 

           หลังจากนั้นทำให้คำจำกัดความของสารอินทรีย์เปลี่ยนไป สารอินทรีย์ คือ สารประกอบที่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก ยกเว้นสารประกอบคาร์บอนบางชนิด เช่น สารประกอบออกไซด์ คาร์บอเนต ไฮโดรเจนคาร์บอเนต ฯลฯ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสารอินทรีย์ เรียกว่า “เคมีอินทรีย์” 

        สมบัติของสารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์

              สารประกอบอินทรีย์มีสมบัติแตกต่างจากสารอนินทรีย์โดยสรุป  ดังตารางต่อไปนี้

               สารประกอบอินทรีย์               สารประกอบอนินทรีย์
 1. ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนเป็นธาตุหลัก และธาตุอื่นๆ เช่น H, O, N, S, Cl, Br เป็นต้น 1. ประกอบด้วยธาตุต่างๆ ในตารางธาตุ
 2. ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบโคเวเลนต์ 2. สารอนินทรีย์มีจำนวนมาก ทั้งสารประกอบไอออนิกและสารประกอบโคเวเลนต์
 3. จุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสารประกอบโคเวเลนต์ ยกเว้น สารอินทรีย์เป็นประเภทพอลิเมอร์บางชนิดที่มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง 3. ถ้าเป็นประเภทสารประกอบไอออนิกหรือโคเวเลนต์แบบโครงผลึกร่างตาข่ายจะมีจุดหลอมเหลวสูง ถ้าเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ธรรมดา มีจุดหลอมเหลวต่ำ
 4. สารอินทรีย์ที่ติดไฟได้จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์หรือเขม่าสีดำ ซึ่งเป็นผลละเอียดของธาตุคาร์บอน 4. สารอนินทรีย์ติดไฟหรือทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนจะได้ผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นที่ไม่ใช่เขม่าของคาร์บอน
 5. สารอินทรีย์มีทั้งละลายน้ำได้และไม่ละลายน้ำ 5. สารอนินทรีย์มีทั้งที่ละลายน้ำได้และไม่ละลายน้ำ
 6. สารอินทรีย์มีปรากฏการณ์ไอโซเมอริซึม คือ สูตรโมเลกุลสูตรหนึ่งอาจเป็นสารได้หลายชนิดที่มีโครงสร้างต่างกัน จึงมีจำนวนชนิดมากกว่าสารอนินทรีย์ 6. สารอนินทรีย์ไม่มีปรากฏการณ์ไอโซเมอริซึม สารต่างชนิดกันสูตรโมเลกุลจะต่างกัน
               ที่มา : เคมีอินทรีย์ ช่วงชั้นที่ 4  ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ และคณะ ,หน้า 8-9

อ่านเพิ่มเติม...

พันธะของคาร์บอน 

             เวเลนซ์อิเล็กตรอนทั้ง 4 ของคาร์บอนสามารถเกิดพันธะโคเวเลนซ์ (covalent bond) ได้ 4 พันธะ ซึ่งอาจจะเป็นพันธะเดี่ยว (single bond) พันธะคู่ (double bond) หรือพันธะสาม (triple bond) ก็ได้ การเกิดพันธะของคาร์บอนสามารถเกิดได้ 3 แบบ   ดังนี้

  •     พันธะเดี่ยว 4 พันธะ 
  •     พันธะคู่ 1 พันธะ + พันธะเดี่ยว 2 พันธะ 
  •     พันธะสาม 1 พันธะ + พันธะเดี่ยว 1 พันธะ 

            ความยาวพันธะระหว่างคาร์บอน – คาร์บอน เรียงจากน้อยไปมาก ดังนี้   

             พลังงานพันธะ                          900                    600                    300          kJ/mol 

           อะตอมอื่นๆ ที่มาร่วมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนเกิดพันธะโคเวเลนซ์กับคาร์บอนในสารอินทรีย์ ธาตุที่พบมากที่สุด คือ ไฮโดรเจน (H) สำหรับธาตุอื่นๆ นอกจาก H แล้วยังมี ไนโตรเจน (N) , ฟอสฟอรัส (P), ออกซิเจน (O), กำมะถัน (S) และแฮโลเจน (F, Cl, Br, I)

           ตัวอย่างพันธะโคเวเลนต์ระหว่างคาร์บอนกับธาตุอื่นๆ ที่พบบ่อยในสารอินทรีย์ ดังนี้

           ข้อสังเกตสำหรับธาตุอื่นที่เกิดพันธะโคเวเลนต์กับ C ในสารอินทรีย์จะมีพันธะได้ ดังนี้    

           ดังนั้นเมื่อเขียนสูตรสารอินทรีย์และมีอะตอมข้างบนนี้เข้ามาเกี่ยวข้องต้องพิจารณาจำนวนพันธะให้ถูกต้อง

สูตรโครงสร้างของสารอินทรีย์

               การเขียนสูตรของสารประกอบอินทรีย์

             สูตรโมเลกุล เป็นสูตรที่บอกให้ทราบว่าในสารประกอบนั้นประกอบด้วยธาตุใดบ้างอย่างละกี่อะตอม ซึ่งไม่เป็นที่นิยมเขียนสูตรชนิดนี้ เช่น CH4 , C6H14 , C6H6O เป็นต้น

            สูตรโครงสร้าง เป็นสูตรที่บอกให้ทราบว่าในโมเลกุลของสารประกอบนั้น ประกอบด้วยธาตุใดบ้างอย่างละกี่อะตอม แต่ละอะตอมยึดเหนี่ยวกันอย่างไร มีหลายแบบ ดังนี้

  • สูตรโครงสร้างแบบเส้น (Expanded form)
  • สูตรโครงสร้างแบบย่อ (Condensed form)
  • สูตรโครงสร้างแบบเส้นและมุม (Bond – line form)

     สูตรโครงสร้างแบบเส้น (Expanded form)
     เป็นการเขียนสูตรโครงสร้างโดยใช้เส้นขีด (-) แทนอิเล็กตรอน 2 ตัว หรือ 1 คู่ในการเขียนแสดงพันธะโคเวเลนต์ เช่น

     สูตรโครงสร้างแบบย่อ (Condensed form)
     เป็นสูตรโครงสร้างที่ไม่แสดงเส้นพันธะเดี่ยวระหว่างไฮโดรเจนกับคาร์บอน โดยจะใช้วงเล็บย่อตัวที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน เช่น

     สูตรโครงสร้างแบบเส้นและมุม (Bond-line form)
     เป็นสูตรโครงสร้างที่ไม่แสดงธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน แต่จะแสดงเส้นพันธะระหว่างคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น

ไอโซเมอริซึม               

ไอโซเมอริซึม (Isomerism) และ ไอโซเมอร์ (Isomer)

       ไอโซเมอริซึม คือ ปรากฏการณ์ที่สารมีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่สูตรโครงสร้างต่างกัน ทำให้มีสมบัติต่างๆ เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลวแตกต่างกัน 
       ไอโซเมอร์ คือ สารที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน

หลักการพิจารณาว่าสารเป็นไอโซเมอร์กันหรือไม่

        ขั้นที่ 1 พิจารณาจำนวนธาตุว่าเท่ากันหรือไม่ ถ้าเท่ากันให้นับจำนวนอะตอมของแต่ละชนิดว่าเท่ากันหรือไม่ ถ้าเท่ากันทุกธาตุแสดงว่ามีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน ให้พิจารณาขั้นที่ 2 ต่อไป
        ขั้นที่ 2 พิจารณาว่ามีโครงสร้างที่ต่างกันหรือไม่ ถ้ามีโครงสร้างต่างกันแสดงว่าเป็นไอโซเมอร์กัน ในการพิจารณาโครงสร้างว่าเหมือนกันหรือต่างกันเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะสูตรโครงสร้างที่นักเรียนเห็นไม่ใช่โครงสร้างที่แท้จริง แต่เป็นสูตรโครงสร้างที่เขียนเพื่อความสะดวก เป็นโครงสร้างเพียง 2 มิติ แต่ความเป็นจริง เป็นโครงสร้าง 3 มิติเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสูตรโครงสร้างที่เห็นว่าต่างกันจึงอาจเหมือนกันได้ ในการพิจารณาใช้หลัก ดังนี้ “ให้ถือว่าโครงสร้างทั้งหลายเป็นเส้นลวดที่สามารถตัด พลิก หมุนได้ (เฉพาะส่วนที่เกิดพันธะเดี่ยว) แต่ห้ามตัดต่อ พลิก หรือหมุนแล้วทำให้เหมือนกันแสดงว่าเป็นโครงสร้างเดียวกัน”

หลักการเขียนไอโซเมอร์                      
         สารอินทรีย์ที่มีคาร์บอนอะตอมประมาณ 3-4 อะตอมขึ้นไปสามารถเกิดไอโซเมอร์ที่มีโครงสร้างแบบต่างๆ กัน ถ้าคาร์บอนอะตอมมากขึ้นก็จะมีจำนวน      ไอโซเมอร์เพิ่มขึ้น แต่จะมีจำนวนเท่าไรไม่มีสูตรที่จะใช้ในการคำนวณที่แน่นอนและจะทราบจำนวนไอโซเมอร์ของสารอินทรีย์ได้ต้องเขียนและพิจารณาเองโดยมีหลักการเขียน ดังนี้   

  1. การเขียนไอโซเมอร์ต้องเริ่มจากไอโซเมอร์ที่มีคาร์บอนต่อกันเป็นสายยาวที่สุดก่อน  
  2. ลดจำนวนคาร์บอนอะตอมทีละอะตอมลงในสายยาวของคาร์บอนที่ต่อกัน โดยนำมาต่อเป็นสาขาที่ตำแหน่งต่าง ๆ
  3. ต้องระวังพิจารณาว่ารูปร่างโครงสร้างที่เขียนซ้ำหรือไม่   การเขียนก็ให้เขียนเฉพาะคาร์บอนอะตอมก่อนแล้วจึงเติมไฮโดรเจนที่หลัง   แล้วเช็คดูว่าสูตรตรงกับที่โจทย์ให้หรือไม่ 

ชนิดของไอโซเมอร์

          Structural Isomer คือ ปรากฏการณ์ที่สารมีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน

              Chain Isomerism 

              Positional Isomerism 

              Functional Isomerism 

            ที่มารูปภาพ จากhttp://faculty.lacitycollege.edu/boanta/LAB102/Organic%20Isomers.htm

               StereoIsomerism   คือ  ปรากฏการณ์ที่สารมีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน   สูตรโครงสร้างเหมือนกันแต่มีการจัดเรียงตัวของอะตอมหรือหมู่อะตอมในที่ว่าง (space)  ต่างกัน

ตัวอย่าง sterioisome แบบ chelating ligands
(ที่มา http://bouman.chem.georgetown.edu/S02/lect33/lect33.htm)

      Geometric Isomerism

              Optical Isomerism 

(ที่มารูปภาพ http://faculty.lacitycollege.edu/boanta/LAB102/Organic%20Isomers.htm)

หมู่ฟังก์ชัน 

หมู่ฟังก์ชัน (Functional group = หมู่อะตอมที่แสดงสมบัติเฉพาะ)

       หมู่ฟังก์ชัน 
คือ หมู่อะตอมหรือกลุ่มอะตอมของธาตุที่แสดงสมบัติเฉพาะของสารอินทรีย์ชนิดหนึ่งๆ เช่น CH3OH (เมทานอล) CH3CH2OH (เอทานอล) ซึ่งต้องเป็นสารอินทรีย์พวกแอลกอฮอล์ เพราะสารแต่ละชนิดต่างก็มีหมู่ -OH เป็นองค์ประกอบ แสดงว่าหมู่ -OH เป็นหมู่ฟังก์ชันของแอลกอฮอล์

           HCOOH (กรดเมทาโนอิก) และ CH3COOH (กรดเอทาโนอิก) ซึ่งต่างจากกรดอินทรีย์ เพราะสารทั้งสองต่างก็มีหมู่ -COOH เป็นองค์ประกอบ แสดงว่าหมู่ -COOH เป็นหมู่ฟังก์ชันของกรดอินทรีย์

           อนึ่งสารอินทรีย์โดยทั่วไปประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นอะตอมไฮโดรคาร์บอนหรือหมู่อะตอมอื่นๆ อีกส่วนหนึ่งเป็นหมู่ฟังก์ชัน ซึ่งแสดงสมบัติเฉพาะของสารอินทรีย์นั้น และเป็นส่วนที่มีความว่องไวทางเคมี ดังรูป

         ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดกับสารอินทรีย์มักจะเกิดตรงส่วนของหมู่ฟังก์ชัน เช่น

           ตารางหมู่ฟังก์ชันบางชนิดและสารประกอบที่มีหมู่ฟังก์ชันเป็นองค์ประกอบ

ประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน

        สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon compounds) หมายถึง สารประกอบที่มีเฉพาะคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบเท่านั้น

        ประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน 

                 อะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (Aliphatic hydrocarbon) เป็นสารประกอบที่คาร์บอนในโมเลกุลต่อกันเป็นโซ่เปิด (open chain) ได้แก่ แอลเคน แอลคีน และแอลไคน์

                 อะลิไซคลิกไฮโดรคาร์บอน (Alicyclic hydrocarbon) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีโครงสร้างเป็นวงแหวนโดยที่คาร์บอนในวงแหวนเกาะกันด้วยพันธะเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจจะมีพันธะคู่หรือพันธะสามอยู่บ้าง เช่น

                 อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Aromatic hydrocarbon) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีโครงสร้างเป็นวงหกเหลี่ยมเป็นพันธะคู่สลับกับพันธะเดี่ยว โดยสารที่เป็นอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนจะต้องมีโครงสร้างแบบนี้เป็นวงพื้นฐาน โดยตัวที่มีขนาดเล็กที่สุดจะเรียกว่าเบนซีน (Benzene) เช่น

ข้อสรุปเกี่ยวกับสารประกอบไฮโดรคาร์บอน

          เป็นสารประกอบที่มี H,C เป็นองค์ประกอบหลัก สารประกอบที่มี C1 – C4 มีสถานะเป็นแก๊ส C– C17 เป็นของเหลว C18 ขึ้นไปเป็นของแข็ง 

         สารประกอบไฮโดรคาร์บอนแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 

           1. Aliphatic Hydrocarbon ได้แก่ พวกโซ่ตรง หรือโซ่กิ่ง เช่น

           2. Alicyclic Hydrocarbon ได้แก่ พวกโซ่ปิด เช่น

           3. Aromatic Hydrocarbon ได้แก่ พวกโซ่ปิดที่มีพันธะเดี่ยวสลับพันธะคู่ เช่น

        เป็นพันธะโคเวเลนต์

        แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเป็นแรงลอนดอน พันธะที่เกิดจาก C และ H มีผลต่างของค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยมาก จึงถือว่าเป็นพันธะไม่มีขั้ว แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นแรงลอนดอนซึ่งเป็นแรงแวนเดอร์วาลส์ประเภทหนึ่ง ดังนั้นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่มีขั้วจึงไม่ละลายน้ำ

         ไม่นำไฟฟ้า

          จุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่ำ เมื่อเทียบกับสารอื่นๆ ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน แต่จะเพิ่มขึ้นตามมวล หรือเพิ่มตามจำนวนอะตอมที่เพิ่มขึ้น เช่น CH3CH3 มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวสูงกว่า CH4
          สารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่างชนิดที่มีคาร์บอนอะตอมเท่ากัน และคาร์บอนต่อกันเป็นโซ่สายยาวเรียงลำดับจุดเดือดจากสูง —–> ต่ำ ดังนี้

 Alkyne > Alkane > Alkene

        ความหนาแน่น สารประกอบไฮโดรคาร์บอนมีความหนาแน่นต่ำ โดยทั่วไปความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ 

        การเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ถ้าเผาไหม้อย่างสมบูรณ์จะได้ CO2 และ H2O แต่ถ้าเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ จะเกิด CO และ H2O

        การดุลสมการการเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่สมบูรณ์ มีหลักดังนี้
                          1. ให้เอาเลข 4 หารจำนวน H ผลลัพธ์ที่ได้บวกจำนวน C แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้จากการบวกไปใส่หน้าออกซิเจน จากนั้นตรวจสอบ C และ H ให้เท่ากัน
                          2. ถ้าใช้เลข 4 หารไม่ลงตัว ให้เอาเลข 2 คูณหน้าสารประกอบไฮโดรคาร์บอนก่อน

                          C3H4  +  4O2  ———->  3CO2  +  2H2O
                          C4H8  +  6O ———->  4CO2  +  4H2O

         ในกรณีที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ จะได้ผลิตภัณฑ์ เป็น CO และ H2O การดุลทำได้โดย ดุล C และ H ก่อน จากนั้นดุล O2 ถ้าได้เลขไม่ลงตัวให้เอาเลข 2 คูณตลอด เช่น

                        2C3H4  +  5O2  ———->  6CO  +  4H2O
                        2C3H8  +  7O2  ———->  6CO  +  8H2O

            สารประกอบไฮโดรคาร์บอนแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

                           1. Alkane (แอลเคน) มีสูตรทั่วไป คือ CnH2n+2 เป็นพันธะเดี่ยวหมด
                           2. Alkene (แอลคีน) มีสูตรทั่วไป คือ CnH2n มีพันธะคู่
                           3. Alkyne (แอลไคน์) มีสูตรทั่วไป คือ CnH2n-2 มีพันธะสาม
                           4. Aromatic  ไม่มีสูตรแน่นอนมีพันธะคู่สลับพันธะเดี่ยว และมีลักษณะเป็นวงกลม

                  การอ่านชื่อสารประกอบไฮโดรคาร์บอน

สารประกอบ HCชื่อสารประกอบ HC          การอ่านชื่อตามภาษากรีก
 CH4 มีเทน (methane) C = 1 อ่านว่า มีท หรือ เม-ท
 C2H6 อีเทน (ethane) C = 2 อ่านว่า อีท หรือ เอ-ท
 C3H8 โพรเพน (propane) C = 3 อ่านว่า โพร-พ
 C4H10 บิวเทน (butane) C = 4 อ่านว่า บิว-ท
 C5H12 เพนเทน (pentane) C = 5 อ่านว่า เพน-ท
 C6H14 เฮกเซน (hexane) C = 6 อ่านว่า เฮก-ซ
 C7H16 เฮปเทน (heptane) C = 7 อ่านว่า เฮป-ท
 C8H18 ออกเทน (octane) C = 8 อ่านว่า ออก-ท
 C9H20 โนเนน (nonane) C = 9 อ่านว่า โน-น
 C10H22 เดเคน (decane) C = 10 อ่านว่า เด-ค

                  หมู่แอลคิล (Alkyl) มีสูตรทั่วไป คือ CnH2n+1 สัญลักษณ์ คือ R คือ หมู่ที่ไปเกาะบนสารอื่นๆ เช่น 
CH3 – methyl , C2H5 – ethyl , C3H– propyl

          สารประกอบอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว

          การเผาไหม้สารประกอบไฮโดรคาร์บอน สารประกอบพวกนี้จะมีเขม่ามากขึ้นอยู่กับ
                       1. สารประกอบนั้นมีคาร์บอนมากเกินไป
                       2. สารประกอบนั้นมี H น้อยเกินไป
           สาเหตุที่สารประกอบที่ไม่อิ่มตัวมีเขม่ามาก เนื่องมาจาก ในการแยกสารประกอบเหล่านี้ ต้องใช้พลังงานในปริมาณมาก เพื่อสลายพันธะคู่หรือพันธะสาม พลังงานที่จะสลายพันธะเหล่านี้มีไม่เพียงพอ จึงทำให้การสลายตัวของพันธะไม่สมบูรณ์มีคาร์บอนเหลืออยู่จาการเผาไหม้ จึงเกิดเป็นเขม่าขึ้นมา

                  เรียงลำดับอัตราการเกิดปฏิกิริยาของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ได้ดังนี้

 Alkyne > Alkene > Alkane > Aromatic

                  การเขียนสูตรโมเลกุล สูตรโครงสร้างแบบย่อ และสูตรโครงสร้างแบบเส้น

                  Isomer คือสารประกอบที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่สูตรโครงสร้างต่างกัน เช่น
C5H12 มี 3 isomer ดังนี้

ย่อ