วันงดสูบบุหรี่โลก (World No-Tobacco Day)

สร้างโดย : นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
สร้างเมื่อ จันทร์, 19/05/2008 – 21:29
มีผู้อ่าน 53,831 ครั้ง (04/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/1336

วันงดสูบบุหรี่โลก
(World No-Tobacco Day)
วันที่ 31 พฤษภาคม

           ปัจจุบัน การสูบบุหรีไม่ใช่เรื่องโก้เก๋อีกต่อไปแล้ว  เพราะโทษของบุหรี่มีผลถึงสุภาพและสิ่งแวดล้อม   เป็นมหันตภัยที่คนรักชีวิตควรหลีกเลี่ยง ได้มีการรณณรงค์เรื่องการงดสูบบุหรี่กันอย่างกว้างขวาง และเป็นที่ตกลงกันว่า วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก

           ตั้งแต่ปี 2531 องค์กรอนามัยโลก ได้กำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ทุกประเทศตระหนักถึงอันตราย และความสูญเสียทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดจากการสูบบุหรี่  ได้ประกาศให้มีการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยใช้ชื่อว่า World Spidemic หรือการสูบบุหรี่เป็นโรคระบาดที่ระบาดอยู่ทั่วโลก
           และประกาศเตือน เยาวชนที่เริ่มสูบบุหรี่ เมื่ออายุยังน้อย และสูบเป็นประจำ จะเสียชีวิตก่อนอายุขัยปกติ (ประมาณ 70-80 ปี) ถึง 22 ปี
           ดังนั้นรัฐบาลไทย ได้ตระหนักถึงความสูญเสียชีวิตของประชากร ที่เกิดจากการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลาหลายปี ให้รับทราบถึงอันตราย โทษของการสูบบุหรี่ ซึ่งก็เป็นที่รู้ๆ กัน แต่จะให้เลิกสูบเลย เป็นเรื่องที่ยากมาก สำหรับผู้ที่ติดบุหรี่แล้ว
           จึงได้มีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ และกำหนดมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลนำมาใช้ โดยการดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้สูบบุหรี่ พยายามเลิกสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเลิกได้สำเร็จหรือไม่ก็ตาม ดังเช่น เมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงสาธารณสุข ประกาศบังคับใช้ มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 ให้มีการพิมพ์ คำเตือน โทษของการสูบบุหรี่ที่ข้างซอง มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 25 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป ตัวอย่างดังภาพ ข้างล่าง

อ่านเพิ่มเติม...

คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี  

ปี พ.ศ. คำขวัญภาษาไทย คำขวัญภาษาอังกฤษ

  • 2531 “บุหรี่หรือสุขภาพ ต้องเลือกสุขภาพ” Between tobacco and health,choose health 
  • 2532 “ตายผ่อนส่งด้วยบุหรี่ สิ้นศักดิ์ศรีสตรีไทย” The female smoker : at added risk 
  • 2533 “เติบโตอย่างสดใส ห่างไกลจากบุหรี่” Growing up without tobacco
  • 2534 “ปีแห่งการรณรงค์ สาธารณสถานและยวดยานปลอดควันบุหรี่” Public places and transport : better be tobacco free 
  • 2535 ” ที่ทำงานปลอดบุหรี่ สุขภาพดี ชีวีปลอดภัย” Tobacco free work places : safer&healther 
  • 2536 “บุคลากรสาธารณสุขสร้างสรรค์สังคมปลอดบุหรี่” Health services,including health personne,against tobacco 
  • 2537 “ทุกสื่อร่วมใจต้านภัยบุหรี่” The media against tobacco
  • 2538 “บุหรี่มีพิษภัย ทำลายไกลกว่าที่คิด” Tobacco costs more than you think 
  • 2539 “ศิลปะและกีฬาไม่พึ่งพาบุหรี่ ถวายองค์ภูมี ปีทรงครองราชย์” Sport and the arts without tobacco : planit tobacco free 
  • 2540 “โลกนี้สดใส ทุกฝ่ายร่วมใจ ต้านภัยบุหรี่” United for a tobacco-free world 
  • 2541 “เติบโตอย่างสดใส ห่างไกลจากบุหรี่” Growing up without tobacco 
  • 2542 “อนาคตมีคุณค่า เมื่อบอกลา เลิกบุหรี่” Leaving the pack behind 
  • 2543 “บันเทิงได้แม้ไร้ควันบุหรี่” (Siogan : Tobacco Kills – Don’t be Duped
    Theme : Entertainment and Tobacco Promotion – Countering theDeception) 
  • 2544 ” เห็นใจคนรอบข้าง ร่วมสร้างอากาศสดใส ปลอดจากภัยควันบุหรี่” SECOND – HAND SMOKE . LET’S CLEAR THE AIR 
  • 2545 “กีฬาปลอดบุหรี่ ส่งผลดีต่อสุขภาพ”  Tobacco – Free Sports: Play it clean
  • 2546 “ภาพยนตร์ปลอดบุหรี่ ส่งผลดีต่อสุขภาพ ” Tobacco free films tobacco free fashion. 
  • 2547 “บุหรี่;ยิ่งสูบ:ยิ่งจน” ” ครอบครัวปลอดบุหรี่ จะมั่งมีและแข็งแรง” Tobacco and Poverty (Avicious Circle)
  • 2548 “ทีมสุขภาพร่วมใจ ขจัดภัยบุหรี่” Health Professionals and Tobacco Control
  • 2549 “บุหรี่ทุกชนิด นำสู่ความตาย” Tabacco : Deadly in any form or disguise
  • 2550 “ไร้ควันบุหรี่ สิ่งแวดล้อมดี ชีวีสดใส” Smoke Free-Environtments
  • 2551 “เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจต้านภัยบุหรี่” Tobacco-Free Youth
  • 2552 “บุหรี่มีพิษ ร่วมคิดเตือนภัย” Tobacco Health Warnings
  • 2553 “หญิงไทยฉลาด ไม่เป็นทาสตลาดบุหรี่” Gender and tobacco with an emphasis on marketing to women
  • 2554 “พิทักษ์สิทธิตามกฏหมาย มุ่งสู่สังคมไทยปลอดบุหรี่” The WHO Framework Convention on Tobacco Control
  • 2555 “จับตา เฝ้าระวัง ยับยั้งอุตสาหกรรมยาสูบ” Tobacco Industry Interference
  • 2556 “ไม่ใช้ ไม่รับ ไม่สนับสนุนโฆษณายาสูบร้าย ทำลายชีวิต” Ban tobacco advertising, promotion and sponsorship
  • 2557 “บุหรี่ ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด” Raise taxes on tobacco
  • 2558 “หนุนกฎหมายบุหรี่ใหม่เพื่อคุณภาพชีวิตคนไทย” Stop illicit trade of tobacco products 
  • 2559 “ซองบุหรี่แบบเรียบ ลดภัยเงียบ ลดโรค” Get Ready for plain packaging
  • 2560 “บุหรี่ ภัยคุกคามต่อการพัฒนา” Tobacco-a threat to development
  • 2561 “บุหรี่ตัวร้าย ทำลายหัวใจ” Tobacco Break Heart
  • 2562 “บุหรี่เผาปอด” Tobacco burns your lungs
  • 2563 “ติดบุหรี่ ติดโควิด เสี่ยงตายสูง เลิกสูบลดเสี่ยง”
  • 2564 “เลิกสูบ ลดเสี่ยง คุณทำได้”
  • 2565 “บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อม”
https://www.youtube.com/watch?v=d3RemnDHS9o

ข้อมูลทั่วไป ของบุหรี่ (Cigarette)

ต้นยาสูบ ใบและดอกพร้อมที่จะนำมาผลิต ยาเส้น และ บุหรี่

            บุหรี่ ในพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 หมายถึง ยาเส้นหรือยาเส้นปรุง ไม่ว่าจะมีใบยาแห้งหรือยาอัดเจือปนหรือไม่ ซึ่งมวนด้วยกระดาษหรือวัตถุที่ทำขึ้นใช้แทนกระดาษหรือใบยาแห้งหรือยาอัด บุหรี่ผลิตมาจากใบยาสูบ ซึ่งเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งมีชื่อทางพฤษศาสตร์ว่า Nicotiana Tabacum โดยนำใบยาสูบมาหั่นเป็นฝอย ๆ เรียกว่า ยาเส้น แล้วนำยาเส้นมามวนด้วยใบตองแห้ง ใบจากหรือกระดาษแล้วจุดสูบ แต่บางคนก็ชอบบรรจุยาเส้นลงในกล้องแล้วจุดสูบเช่นเดียวกัน

สารต่างๆ ที่มีอยู่ในบุหรี่

  1. นิโคติา (Nicotine) เป็นสารแอลคาลอยด์(Alkaloid) มีลักษณะเป็นน้ำมัน ไม่มีสี นิโคตินมีในควันบุหรี่ประมาณ 95% จะเข้าไปจับอยู่ในปอด บางส่วนจับอยู่ในปอด บางส่วนจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางและกระตุ้นต่อมหมวกไต ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วหลอดเลือดรัดตัวนิโคตินเป็นสารสำคัญในบุหรี่ทำให้เสพติด ต้องสูบอยู่เรื่อยๆ แต่เลิกสูบยาก
  2. ทาร์ (Tar) เป็นน้ำมันเหนียวข้น สีน้ำตาล เมื่อสูบบุหรี่ทาร์ที่เข้าไปพร้อมกับควันบุหรี่จะจับอยู่ที่ปอด ทำให้ระคายเคือง มีอาการไอ ถุงลมในปอดขยาย และให้เป็นมะเร็งได้
  3. คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmonoxide) เป็นก๊าซจากควันบุหรี่ ที่ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง รู้สึกอ่อนเพลีย หายใจ สั้น เหนื่อยง่าย อาจจะหน้ามืดเป็นลม และถ้ามีปริมาณคาร์บอนมอนนอกไซด์ในเลือดสูงถึง 60 % ก็อาจเสียชีวิตได้
  4. ไฮโดรเจนไซยาไนต์ (Hydrogencyanide) ก๊าซชนิดนี้จะเข้าไปทำลายเยื่อบุหลอดลมชนิดมีขน ทำให้สิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าไปทำลายหลอดลม ก่อให้เกิดอาการไอมีเสมหะ และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  5. ไนโตรเจนไดออกไซด์(Nitrogendioxide) เป็นก๊าชที่สามารถทำลายเยื่อหลอดลม ทำให้ถุงลมโป่งพอง
  6. แอมโมเนีย (Ammonia) เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดลมอักเสบ
  7. สารกัมมันตภาพรังสี ในควันบุหรี่มีรังสีแอลฟาอยู่ ซึ่งรังสีชนิดนี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง
  8. แร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเป็นสารที่ตกค้างอยู่ในใบยาสูบจากการพ่นยาฆ่าแมลง เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็ทำให้เกิดภาวะเป็นพิษได้

โทษของบุหรี่

  1. เกิดโรคต่างๆ คือ
    • โรคมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ เช่น มะเร็งในปอด มะเร็งใน ช่องปาก มะเร็งที่กล่องเสียง มะเร็งที่ลำคอ เป็นต้น
    • โรคหลอดลมอักเสบ
    • โรคไอเรื้อรัง
    • โรคถุงลมในปอดโป่งพอง
    • โรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว
    • โรคกระเพาะอาหาร
    • โรคความดันโลหิต
    • โรคสมองเสื่อมสมรรถภาพ
    • โรคหัวใจ
  2. สิ้นเปลืองเงินที่ต้องจ่ายเป็นค่าบุหรี่
  3. เสียนิสัย ถ้าอยากสูบบุหรี่แล้วไม่ได้สูบก็จะหงุดหงิดอารมณ์เสียอย่างไร้เหตุผล
  4. ทำให้อากาศเป็นพิษ
  5. เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีของบุตรหลาน และเยาวชนอื่นๆ
  6. มีกลิ่นปาก ฟันดำ ฟันผุ
  7. เสื่อมสมรรถภาพทางเพศทั้งชายทั้งหญิง
  8. อายุสั้น การสูบบุหรี่ ๑ มวน ทำให้อายุสั้นลงประมาณ ๕ นาที
  9. ทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้เคียวเดือดร้อนรำคาญ
  10. หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่ จะมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์อาจจะทำให้แท้งหรือเกิดมาไม่แข็งแรง แคระแกร็นผิดปกติ ตายง่าย

ย่อ