คำที่ใช้ ฤ, ฤๅ, ฦ, ฦๅ

สร้างโดย : นายอดุลย์ อินยัง
สร้างเมื่อ ศุกร์, 14/11/2008 – 18:02
มีผู้อ่าน 438,511 ครั้ง (25/10/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/18072

เรามาทำความเข้าใจกับตัว ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ

     ตัว”  “ไม่ไช่คำที่เป็นภาษาไทยแท้ เป็นคำที่นำมาจากภาษาอิ่น โดยนำมาจากภาษาสันสกฤตซึ่งในภาษาสันสกฤตจะอ่านออกเสียงเป็น ” ริ “ แต่เมื่อไทยเราได้นำมาใช้ ตัว”  “ก็อ่านออกเสียงได้หลายแบบ และยังนำมาใช้เป็นสระในภาษาไทยจัดอยู่ในรูปของสระเกินหรือสระลอย ซึ่งสระในภาษาไทยของเราจะมี 21  รูป  32  เสียง รวม ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เข้าไปด้วย แต่ตัว”  “ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสระอย่างเดียว ยังทำหน้าที่เป็นพยัญชนะ หรือพยัญชนะต้นอีกด้วย    

จุดประสงค์ของการเรียนรู้

  1. ผู้เรียนสามารถออกเสียง ฤ ฤๅ ได้อย่างถูกต้อง
  2. เขียน ฤ ฤๅ ได้ถูกวิธีและถูกตำแหน่ง
  3. อ่านและเขียนคำที่ใช้ ฤ ฤๅ ได้ถูกต้อง
  4. ร้องเพลงสระ ฤ ฤๅ ได้ถูกต้องตามคำร้อง ทำนอง และจังหวะ
  5. สามารถสรุปสาระสำคัญจากเนื้อเพลงได้

 กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน

การอ่านคำที่ใช้” ฤ “

     การอ่านคำที่ใช้ ” ฤ “ ในภาษาไทยจะอ่านออกเสียงตัว”  “ได้  3  แบบ ได้แก่ อ่านออกเสียงเป็น” ริ ” อ่านออกเสียงเป็น” รึ “ อ่านออกเสียงเป็น” เรอ “

  1. อ่านออกเสียงเป็น” ริ “เมื่อตัว” ฤ “อยู่ตามหลังพยัญชนะ ก ต ท ป ศ ส ตัวอย่าง เช่น
    • กฤษฤา อ่านว่า  กริด – สะ – ดา หมายความว่า  ที่ทำแล้ว
    • กฤษณา อ่านว่า  กริด – สะ – หนา หมายความว่า  ไม้เนื้อหอมชนิดหนึ่ง
    • กฤติ อ่านว่า  กริด – ติ หมายความว่า  เกียรติ
    • กฤช อ่านว่า  กริด หมายความว่า  มีดสองคมปลายแหลม
    • กฤษิ อ่านว่า  กริ – สิ  หมายความว่า  การเพาะปลูก 
    • กฤปณ อ่านว่า  กริ – ปะ – นะ หมายความว่า  ยากไร้ กำพร้า
    • กฤษาณ อ่านว่า  กริ – สาน หมายความว่า  คนที่ทำการเพาะปลูก
    • กฤตานตะ อ่านว่า  กริด – ตาน – ตะ หมายความว่า  ชื่อพระยม
    • ตฤท อ่านว่า  ตริด หมายความว่า  เจาะ แทง
    • ตฤณ อ่านว่า  ตริน หมายความว่า  หญ้า
    • ตฤณชาติ อ่านว่า  ตริน – นะ – ชาด หมายความว่า  หญ้าต่างๆ
    • ตฤตียะ อ่านว่า  ตริ – ตี – ยะ หมายความว่า  ชายที่ ๓ เป็นสรรพนามพวกหนึ่ง
    • ตฤษณา อ่านว่า  ตริด – สะ – หนา หมายความว่า  ความปรารถนา ความยาก
    • ทฤษฏี อ่านว่า  ทริด – สะ – ดี หมายความว่า  หลักความคิด
    • ทฤษัท อ่านว่า  ทริด – สัด หมายความว่า  หินตามภูเขา ก้อนหินใหญ่
    • ปฤษฎางค์ อ่านว่า  ปริด – สะ –  ดาง  หมายความว่า  อวัยวะเบื้องหลัง
    • ปฤงคพ อ่านว่า  ปริง – คบ หมายความว่า  ผู้ประเสริฐ หัวหน้า
    • ปฤจฉา อ่านว่า  ปริด – ฉา หมายความว่า  คำถาม
    • ปฤษฎ์ อ่านว่า  ปริด หมายความว่า  เบื้องหลัง
    • ปฤษฐ อ่านว่า  ปริด – สะ – ถะ หมายความว่า  ยอด พื้นบน
    • ศฤงคาร อ่านว่า  สะ – หริง – คาน หมายความว่า  ความรัก ความกำหนัด
    • สฤก อ่านว่า  สริก หมายความว่า  ดอกบัว ลูกศร
    • สฤต อ่านว่า  สริด หมายความว่า  ผ่านไป
    • สฤคาล อ่านว่า  สริ – คาน หมายความว่า  หมาจิ้งจอก
    • สฤษฏ์ อ่านว่า  สะ – หริด หมายความว่า  การสร้าง
  2. อ่านออกเสียงเป็น ” รึ ” เมื่อตัว “ฤ” อยู่ตามหลังพยัญชนะ ค น พ ม ห ตัวอย่าง เช่น
    • คฤหาสน์ อ่านว่า  คะ – รึ – หาด หมายความว่า  เรือนอันสง่าผ่าเผย
    • คฤโฆษ อ่านว่า  คะ – รึ – โคด หมายความว่า  ครึกครื้น กึกก้อง
    • นฤมล อ่านว่า  นะ – รึ – มน หมายความว่า  คนที่มีความมัวหมอง
    • นฤพาน อ่านว่า  นะ – รึ – พาน หมายความว่า  ความดับแห่งกิเลส
    • นฤมิต อ่านว่า  นะ – รึ – มิด หมายความว่า  การสร้าง
    • หฤโหด อ่านว่า  หะ – รึ – โหด หมายความว่า  ชั่วร้าย เลวทราม
    • หฤหรรษ์ อ่านว่า  หะ – รึ – หัน หมายความว่า  ชื้นชม ร่าเริง
    • หฤทัย อ่านว่า  หะ – รึ – ไท หมายความว่า  หัวใจ
    • หฤษฎี อ่านว่า  หะ – ริด – สะ – ดี หมายความว่า  ความปลาบปลื้ม
    • พฤกษ์ อ่านว่า  พรึกอ่านว่า หมายความว่า  ต้นไม้
    • พฤกษา อ่านว่า  พรึก – สา หมายความว่า  ต้นไม้ต่างๆ
    • พฤศจิก อ่านว่า  พรึด – สะ – จิก หมายความว่า  ราศีรูปดาวแมลงป๋อง
    • พฤติกรรม อ่านว่า  พรึด – ติ – กำ หมายความว่า  การแสดงอาการ
    • มฤค อ่านว่า  มะ – รึก – คะ หมายความว่า  สัตว์ป่า
    • มฤคราช อ่านว่า  มะ – รึก – คะ – ราด หมายความว่า  เจ้าแห่งสัตว์
    • มฤดก อ่านว่า  มะ – รึ – ดก หมายความว่า  สมบัติของผู้ตาย
      คำที่ใช้ตัว” ฤ ” คำบางคำอาจมีข้อยกเว้น ตัวอย่างเช่น
    • หฤษฎ์ อ่านว่า    หะ – ริด หมายความว่า  น่าชื่นชม ยินดี
    • นฤตย์ อ่านว่า    นะ – ริด หมายความว่า  การระบำ การฟ้อน
  3. อ่านออกเสียงเป็น “เรอ” ในภาษาไทยของเราเท่าที่นำตัว “ฤ” เข้ามาใช้อ่านออกเสียงเป็น “เรอ” ในภาษาไทยจะพบอยู่ตัวเดียวเท่านั้น คือ “ฤกษ์” อ่านออกเสียงว่า “เริก”
    ข้อควรสังเกต ถ้า “ฤ” เป็นพยัญชนะต้น การอ่านจะออกเสียงได้หลายแบบ ตัวอย่าง เช่น
    • ฤณ อ่านว่า  ริน หมายความว่า  หนี้สิน ภาระ
    • ฤต อ่านว่า  รึด หมายความว่า  ความจริง
    • ฤษภ อ่านว่า  รึ – สบ หมายความว่า  วัวตัวผู้
    • ฤทธี อ่านว่า  ริด – ที หมายความว่า  อำนาจ ความเจริญ
    • ฤทธา อ่านว่า  ริด – ทา หมายความว่า  อำนาจ ความเจริญ
    • ฤทธิ์ อ่านว่า  ริด หมายความว่า  อำนาจ ความเจริญ
    • ฤษยา อ่านว่า  ริด – สะ – หยา หมายความว่า  ริษยา
    • ฤดู อ่านว่า  รึ – ดู หมายความว่า  ช่วงฤดูกาล
    • ฤทัย อ่านว่า  รึ – ไท หมายความว่า  หัวใจ
    • ฤตียา อ่านว่า  รึ – ตี – ยา หมายความว่า  รังเกลียด ดูถูก
    • ฤคเวท อ่านว่า  รึก – คะ – เวด หมายความว่า  ชื่อคัมภีร์หนึ่งในไตรเพท
      แต่บางคำจะออกเสียงได้ทั้ง “ริ” และ “รึ” ตัวอย่าง เช่น
    • มฤตยู อ่านว่า   มะ – ริด – ตะ – ยู  หรือ มะ – รึด – ตะ – ยู
    • อมฤต อ่านว่า   อะ – มะ – ริด    หรือ อะ – มะ – รึด
    • พฤนท์ อ่านว่า   พริน  หรือ  พรึน

การอ่านคำที่ใช้” ฤๅ “

     คำที่มี “ฤๅ” อ่านว่า รือ ถ้าใช้เพียงคำเดียวจะมีความหมายเหมือนกับคำว่า” หรือ “แต่ถ้าใช้ผสมกับคำอื่นจะไม่มีความหมายว่า“หรือ “ส่วนมากจะพบ ตัว” ฤๅ “ในคำกลอน โคลง หรือคำประพันธ์ต่างๆ ตัวอย่าง เช่น

  • ฤๅแล้งแหล่งสยาม        หมายความว่า               หรือไม่มีทั่วแผ่นดินไทย           
  • ฤๅสาย                     อ่านว่า   รือ – สาย         หมายความว่า       เป็นผู้ใหญ่
  • ฤๅทัย                      อ่านว่า   รือ – ไท          หมายความว่า       ความรู้สึก  
  • ฤๅชุ                        อ่านว่า   รือ – ชุ            หมายความว่า       ตรง
  • ฤๅษี                        อ่านว่า   รือ – สี            หมายความว่า       นักบวชอยู่ในป่า
  • ฤๅดี                         อ่านว่า   รือ – ดี            หมายความว่า       ความยินดี

เรามักจะพบตัว “ฤๅ” อยู่ในคำประพันธ์ประเภทโคลง ตัวอย่างเช่น    

      คำที่มีตัว “ฦ” อ่านว่าลึ คำที่มีตัว “ฦๅ” อ่านว่าลือ ในปัจจุบันเราจะไม่พบการใช้ ตัว ฦ หรือ ตัวฦๅ หัวออกและไม่มีที่จะบรรจุลงในภาษาไทยแล้ว 

กิจกรรมปริศนาคำทาย

กิจกรรมปริศนาคำทาย

1. อะไรเอ่ย? ไม่ใช่เณร ไม่ใช่พระ ห่มผ้าสีกระ เป็นลวดลายเสือ


2. หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน เขายกย่องกันว่าเป็นครู หนูหนูทายดูว่าวันอะไร?

3. เราเป็นคนไทย ใช้ภาษาไทย คนในโลกทั่วไปใช้ภาษาอะไร? ที่เป็นภาษากลาง

4. ดาวอะไร? อยู่ในท้องฟ้า ส่องแสงเจิดจ้า ไม่พึ่งพาแสงจากใคร

กิจกรรมปริศนาตัวเลือก

1. คำว่า กฤษณา อ่านว่า กริด-สะ-หนา หมายถึงข้อใด ?
หัวใจ
หญ้าต่างๆ
ไม้เนื้อหอมชนิดหนึ่ง

2. คำว่า คฤหาสน์ อ่านว่า คะ-รึ-หาด หมายถึงข้อใด ?
ชาวยุโรปชาติหนึ่ง
เรือนอันสง่าผ่าเผย
ชั่วร้าย เลวทราม

3. คำว่า หฤทัย อ่านว่า หะ-รึ-ไท หมายถึงข้อใด ?
หัวใจ
การสร้าง
ต้นไม้

4. คำว่า ทฤษฎี อ่านว่า ทริด-สะ-ดี หมายถึงข้อใด ?
ชื่อวันที่ 5 ของสัปดาห์
หลักความคิด
ชาวยุโรปชาติหนึ่ง

5. คำว่า ตฤณชาติ อ่านว่า ตริน-นะ-ชาด หมายถึงข้อใด ?
ชาวยุโรปชาติหนึ่ง
ชั่วร้าย เลวทราม
หญ้าต่างๆ

คะแนนที่ได้ =

เฉลย :

แหล่งอ้างอิงที่นำมาใช้ประกอบในสื่อนี้ :

  • คู่มือการจัดกิจกรรมสำหรับครูยุคใหม่ เรียนภาษาไทยด้วยเพลง ชุดที่ ๑, เพลิดเพลินกับสระ, รศ.ปิตินันท์ (ประคอง) สุทธิสาร
  • หนังสือชุด รักภาษาไทย, การอ่าน, สมาน จันทรจามร, พิมพา จันทรจามร
  • ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ กลุ่มภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕, อ.รัชนี เหรัญกิจ และคณะ
  • พจนะภาษา, เปลื้อง ณ นคร ป.ม., อ.ม. (กิตติมศักดิ์)