มหาเวสสันดรชาดก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนทุกระดับชั้น
สร้างโดย : นางสาวโสรดา ปิยะศุภสิทธิ์ นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
สร้างเมื่อ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2545
มีผู้อ่าน 1,999,067 ครั้ง (21/10/2022)
มหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องที่คนไทยรู้จักกันมานานแล้ว เป็นเรื่องที่สนุกสนานและมีคติธรรม ทางข้าพเจ้าผู้จัดทำได้รับฟังแล้วรู้สึกประทับใจ ในเนื้อหาคติธรรมและไหวพริบปฏิภาณของตัวละคร จึงมุ่งหวังให้ท่านผู้ที่เข้ามาชมได้รับรู้เรื่องราวอันน่าสนใจนี้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีประโยชน์ โดยเนื้อหาที่ข้าพเจ้าได้ค้นหามานั้นมีทั้งประวัติความเป็นมา การประกอบพิธีกัณฑ์เทศน์ และเรื่องย่อ
ข้าพเจ้าได้พยายามรวบรวมเนื้อหามาสุดความสามารถแต่ถ้ามีการผิดพลาดประการใดก็กราบขออภัยมา ณ ที่นี้ และขอความกรุณาท่านช่วยส่งคำติชมกลับมาที่ email ที่ข้าพเจ้าได้แจ้งไว้ด้วย
ขอขอบคุณ อาจารย์พูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล ที่ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่หนูมาตลอดค่ะ
ขอขอบคุณ อาจารย์รัตนาภรณ์ ทองอยู่ ที่ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์มาทำโปรเจ็คนี้มีประโยชน์มากค่ะ
ขอขอบคุณ เพื่อน ๆ ทุกคน ที่คอยช่วยทำและให้คำปรึกษาและกำลังใจแก่เรามาทั้งมากและน้อย
ชาดก
ชาดก เป็นเรื่องที่มีมาก่อนพุทธกาล เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ ชาดกมี 2 ประเภท คือ
- นิบาตชาดก เป็นชาดกในพระไตรปิฎกมี 500 เรื่อง แบ่งออกเป็นหมวดๆ ตามจำนวนคาถา นับตั้งแต่ 1 คาถาถึง 80 คาถา ชาดกที่มี 1 คาถาเรียกว่า เอกนิบาตชาดก 2 คาถาเรียกว่า ทุกนิบาตชาดก 3 คาถาเรียกว่า ตักนิบาตชาดก 4 คาถาเรียกว่า จตุคนิบาตชาดก 5 คาถาเรียกว่า ปัญจกนิบาตชาดก ชาดกที่มีเกิน 80 คาถาขึ้นไปเรียกว่า มหานิบาตชาดก ซึ้งมี 10 เรื่อง เรียก ทศชาติ หรือ พระเจ้าสิบชาติ
- ปัญญาสชาติชาดก เป็นชาดกที่แต่งขึ้นจากนิทานพื้นเมือง ไม่มีในพระไตรปิฎก หรือเรียกว่า ชาดกนิบาตมี 50 เรื่อง พระภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งขึ้นเมื่อประมาณพ.ศ. 2000-2200 เป็นภาษามคธ โดยเลียนแบบนิบาตชาดก ครั้นเมื่อพ.ศ.2443-2448 พระบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธ์ ดำรงตำแหน่งองค์สภานายก หอพระสมุดสำหรับพระนคร ได้ทรงแปลเป็นภาษาไทย เรื่องปัญญสชาดกจึงแพร่หลาย
องค์ประกอบของชาดก ชาดกทุกเรื่องจะมีองค์ประกอบ 3 ประเภท คือ
- ปรารภเรื่อง คือบทนำเรื่องหรือ อุบัติเหตุ จะกล่าวถึงมูลเหตุหรือที่มาของชาดกเรื่องนั้น เช่น มหาเวสสันดกชาดก
- อดีตนิทาน หรือ ชาดก หมายถึงเรื่องราวนิทานที่พระพุทธองค์ตรัสเล่า
- ประชุมชาดก ประมวลชาดก เป็นเนื้อความสุดท้ายของชาดกกล่าวถึงบุคคลในชาดก คือผู้ใดที่กลับชาติเป็นใครบ้างในปัจจุบัน
ทศบารมี
ทศบารมี คือ บารมีที่พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญ 10 ประการในชาติต่างๆ คือ
- พระเตมีย์ บำเพ็ญ เมตตาบารมี
- พระมหาชนก บำเพ็ญ วิริยะบารมี
- พระสุวรรณสาม บำเพ็ญ เมตตาบารมี
- พระเนมีราช บำเพ็ญ อธิษฐานบารมี
- พระมโหสถ บำเพ็ญ ปัญญาบารมี
- พระภูริทัต บำเพ็ญ ศีลบารมี
- พระจันทกุมาร บำเพ็ญ ขันติบารมี
- พระนารทะ บำเพ็ญ อุเบกขาบารมี
- พระวิทูร บำเพ็ญ สัจจะบารมี
- พระเวสสันดร บำเพ็ญ ทานบารมี
หัวใจพระเจ้าสิบชาติ คือ เต ช สุ เน ม ภู จ นา วิ เว ( อักษรตัวแรก ของแต่ละชาติ )
ประเพณีการเทศน์มหาชาติ
การมีเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลังฤดูทำนาเสร็จคือราวเดือนอ้าย ( ตั้งแต่วันสารทไทยเป็นต้นไปบางแห่งก็ทำช่วงสงกรานต์ )ส่วนจำนวนวันที่จัดนั้น จัดเสร็จภายใน 1 วันกับ 1 คืนตามคตินิยม ( ถือกันเป็นประเพณีว่า ถ้าใครฟังจบทั้ง 13 กัณฑ์ในวันเดียวย่อมได้บุญแรง ถ้าไม่บรรลุโลกุตรธรรม ก็จะได้พบพระศรีอริยเมตไตรย ) จัดเฉพาะกลางวันรวม 3 วันบ้าง ทั้งนี้แล้วแต่ความสะดวกเป็นสำคัญ เมื่อมีการเทศน์มหาชาติ นิยมประดับประดาสถานที่เทศน์ให้เปป็นเสมือนป่า เพื่อให้คล้ายป่าเมืองกบิลพัสดุ์ โดยจัดให้มีต้นกล้วย ต้นไม้ประดับตามประตูวัด และที่ธรรมมาสน์เทศน์
เครื่องกัณฑ์เทศน์
เมื่อใครรับกัณฑ์ใด ก็ได้นามว่าเป็นเจ้าของกัณฑ์นั้น และมีหน้าที่จัดเครื่องกัณฑ์มาถวาย เป็นต้นว่า เครื่องอัฏฐบริขาร ของขบฉันข้างหน้าธรรมมาสน์ต้องมีหมากประจำกัณฑ์ (มักนิยมเลียนแบบของป่า ) และขันนำมนต์ส่วนวัตถุปัจจัยได้แก่ เงินเหรียญติดเทียนซึ้งปักบนเชิงรองพานตั้งไว้หากมีผู้บริจาคเงินเป็นธนบัตรก็ใช้ไม้เล็ก คีบธนบัตรปักลงที่เทียนอีกทีหนึ่งนอกจากนี้เครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ยังมีเทียนประจำกัณฑ์เล่มใหญ่ พอจุดจนจบกัณฑ์ ปักไว้ข้างอาสนะสงฆ์ ฉัตรธงรูปชายธง ธูปเทียนคาถา ดอกไม้ อย่างละพันเท่าจำนวนคาถาที่ทั้งเรือมี 1000 พระคาถามีผ้าเขียนภาพระบายสีหรือปักด้วยไหมเป็นรูปภาพประจำกัณฑ์ที่เรียกว่า ” ผ้าพระบฏ ” หรือ ” ภาพพระบฏ ” มีพานหมาก หรือขันหมากพลูไว้ถวายพระด้วย มักประดิษฐ์ประดอยทำเครื่องกัณฑ์ด้วยความประณีต มีการทำขนมและการแกะสลักผักเป็นการประกวดงานฝีมือกันไปในตัว เช่น จากเรื่องขุนช้างขุนแผน ” เครื่องกัณฑ์ของนางศรีประจันแกะเรียบร้อยก่าขุนช้าง” คือ
บ้างเอามะละกอมาผ่าจัก ช่วยกันแกะสลักเป็นหนักหนา
แล้วย้อมสีสดงามอร่ามตา ประดับประดาเป็นศรีขรินทร์
แกะเป็นราชสีห์สิงห์อัด เหยียบหยัดยืนอยู่ดูเฉิดฉิน
แกะเป็นเทพพนมพรหมมินทร์ พระอินทร์ถือแก้วและเหาะมา
แกะรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ ผาดผันเผ่นผยองล่องเวหา
ยกเข้าไปให้เขาโมทนา ฝูงข้าก็รับไปทันที
หนังสือคำหลวง
หนังสือคำหลวงมีลักษณะดังนี้
- เป็นพระราชนิพนธ์ ของพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายชั้นสูงทรงนิพนธ์
- เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและศีลธรรมจรรยา
- ใช้คำประพันธ์หลายประเภท คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และ ร่าย
- ใช้สวดทำนองหลวง ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ประดิษฐ์ขึ้นได้ (สวดคัร้งแรนกที่วัดพระศรีสรรเพ็ชฌ์ ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี )
คาถาพัน
คาถาพัน หมายถึง คาถาภาษาบาลี ที่ยกขึ้นมานำความทั้งมีจำนวน 1000 คาถา เช่นในกัณฑ์ทานกัณฑ์ก็บอกไว้ตอนจบว่า ” ทานกัณฑ์นิฏฐิตํ ประดับด้วยพระคาถา 209 คาถา “
คำว่า คาถา หมายถึง ฉันท์บทหนึ่ง มีถ้อยคำ 4 วรรค วรรคหนึ่งมี 8 คำ คาถาหนึ่งจึงมีคำ 32 คำเป็นพื้น
มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกเรื่องใหญ่ กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ได้บำเพ็ญบารมีอย่างสูงสุด ยากเกินกว่าจะมีผู้ใดทำได้คือให้บุตรและภรรยาแก่ผู้ที่มาขอ นอกจากนั้นยังบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่อื่นๆครบถ้วนทั้ง 10 ประการ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มหาชาติ” และการเทศน์เรื่องพระเวสสันดรืก็เรียกว่าเทศน์มหาชาติ
มหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องสูงส่ง แสดงให้เห็นถึงการเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนของพระเวสสันดร เพื่อเป็นทางนำไปสู่พระโพธิญาณ เมื่อได้บรรลุพระโพธิญาณแล้วก็มิได้รับประโยชน์เฉพาะตน แต่ได้นำมาสั่งสอนเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกด้วย
มหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องที่คนไทยรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแต่ไม่มีหลักฐานเหลือมา หนังสือวสสันดรชาดก เพิ่งมามีลายลักษณ์อักษรแน่นอนเมื่องครั้งกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าโปรกกระหม่อมให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้นเมื่อปีขาล จุลศักราช 44 คือพ.ศ. 2025 เรียกชื่อว่า “มหาชาติ” เป็นคำคละกันมีทั้งโคลงฉันท์ กาพย์ ร่าย มีวัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา
ต่อมา ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้รุจนามหาเวสสันดรชาดกขึ้นอีก เมื่อจุลศักราช 964 คือพ.ศ. 2145 เรียกชื่อว่า “กาพย์มหาชาติ” เป็นคำประพันธ์ชนิดร่ายยาว วัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้สำหรับเทศน์
หนังสือกาพย์มหาชาติให้จบในวันเดียวไม่ได้ จึงมีผู้แต่งกัณฑ์ต่างๆขึ้นใหม่ เพื่อย่นย่อให้สั้นเข้าและเทศน์จบภายในวันเดียวปรากฎว่ามีผู้แต่งมากมายหลายสำนวน คำประพันธ์ที่ใช้ก็ใช้ร่ายยาวเป็นพื้นแต่เรีกชื่อกันใหม่ว่า “มหาชาติกลอนเทศน์”
มหาชาติกลอนเทศน์นี่เองที่รวมกันเข้าเป็น “ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก” คือท่านนักปราชญ์ เลือกเฟ้นเอากลอนเทศน์ที่สำนวนดีมารวมกันเข้า งานนี้เริ่มมาตั้งแต่พ.ศ. 2449 และสำเร็จเรียบง่ายบริบูรณ์เมื่อพ.ศ. 2452 ในรัชกาลที่ 5 และใช้เป็นแบบเรียนสืบเนื่องกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน
รายนามกวีผู้แต่งมหาเวสสันดรชาดก
หนังสือมหาเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดเป็นแบบเรียน มีรายนามและนามผู้แต่งดังต่อไปนี้
- กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ 5 กัณฑ์คือ
- ทศพร
- หิมพานต์
- มหาราช
- นครกัณฑ์
- พระบาทสมเด็จพระจอมเก้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ 3 กัณฑ์ คือ
- วนปเวสนื
- จุลพน
- สักบรรพ
- เจ้าพระยาพระคลัง ( หน ) นิพนธ์ 2 กัณฑ์ คือ
- กุมาร
- มัทรี
- พระเทพโมลี ( กลั่น ) นิพนธ์ 1 กัณฑ์ คือ มหาพน
- สำนักวัดถนน นิพนธ์ 1 กัณฑ์ คือ ทานกัณฑ์
- สำนักวัดสัขจายนิพนธ์ 1 กัณฑ์ คือ ชูชก
เพลงประจำกัณฑ์
หนังสือมหาเวสสันดรชาดก มีจำนวนคาถา 1000 คาถา 13 กัณฑ์ และมีเพลงประจำกัณฑ์ ซึ่งสมเด็จพนะเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงกำหนดให้พิณพาทย์ บรรเลงเพลงประจำกัณฑ์ดังนี้
- กัณฑ์ทศพร 19 คาถา เพลง สาธุการ
- กัณฑ์หิมพานต์ 137 คาถา เพลง ตวงพระธาตุ
- กัณฑ์ทานกัณฑ์ 209 คาถา เพลง พญาโศก
- กัณฑ์วนปเวศน์ 57 คาถา เพลง พญาเดิน
- กัณฑ์ชูชก 78 คาถา เพลง เซ่นเหล้า
- กัณฑ์จุลพน 35 คาถา เพลง คุกพาทย์
- กัณฑ์มหาพน 80 คาถา เพลง เชิดกลอง
- กัณฑ์กุมาร 101 คาถา เพลง โฮด เชิดฉิ่ง
- กัณฑ์มัทรี 90 คาถา เพลง ทยอยโอด
- กัณฑ์สักกบรรน 43 คาถา เพลง กลม
- กัณฑ์มหาราช 69 คาถา เพลง กราวนอก
- กัณฑ์ฉกษัตริย์ 36 คาถา เพลง ตระนอน
- กัณฑ์นครกัณฑ์ 78 คาถา เพลง กลองโยน
ตัวละครกับการกลับชาติมาเกิด
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสเทศนาจบเรื่องพระเวสสันดรชาดกจบแล้ว ทรงแสดงเทศนาอริยสัจ 4 และตรัสถึงการกลับชาติมาเกิดของพระองค์และบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น
- พระเจ้ากรุงสนชัย กลับชาติมาเกิดเป็น พระเจ้าสุทโธทนะ เป็นแบบอย่างของนักปกครองฟังเสียงส่วนมากไม่เห็นแก่พวกพ้อง
- พระนางผุสดี กลับชาติมาเกิดเป็น พระนางสิริมหามายา เป็นแบบอย่างของนักปกครองฟังเสียงส่วนมากไม่เห็นแก่พวกพ้อง
- พระนางมัทรี กลับชาติมาเกิดเป็น พระนางพิมพายโสธรา เป็นแม่แบบของภรรยาผู้มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตรของสามี
- พระชาลี กลับชาติมาเกิดเป็น พระราหุล เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังพ่อแม่
- ชูชก กลับชาติมาเกิดเป็น พระเทวทัต เป็นแบบอย่างของคนที่ติดอยู่ในกาม
- พรานเจตบุตร กลับชาติมาเกิดเป็น นายฉันนะ เป็นแบบอย่างของคนดีแต่ขาดความเฉลียวฉลาด
- พระกัณหา กลับชาติมาเกิดเป็น นางอุบลวรรณา เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังพ่อแม่
- พระเวสสันดร กลับชาติมาเกิดเป็น พระพุทธเจ้า เป็นแบบอย่างของผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
- พระเจ้ากรุงมัทราช กลับชาติมาเกิดเป็น พระมหานาม
- นางอมิตตดา กลับชาติมาเกิดเป็น นางจิญจมานวิกา เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาทพ่อแม่ตามคติของคนยุคนั้น
- อัจจุตฤาษี กลับชาติมาเกิดเป็น พระสารีบุตร เป็นแบบอย่างของนักธรรมผู้ฉลาด แต่ขาดเฉลียว หูเบา เชื่อคนง่าย
- พระเวสสุกรรม กลับชาติมาเกิดเป็น พระโมคคัลลานะ
- พระอินทร์ กลับชาติมาเกิดเป็น พระอนุรุท
- เทวดาที่เนรมิตเป็นพระยาราชสีห์ กลับชาติมาเกิดเป็น พระอุบาลี
- เทวดาที่เนรมิตเป็นพระยาเสือโคร่ง กลับชาติมาเกิดเป็น พระสิมพลี
- เทวดาที่เนรมิตเป็นพระยาเสือเหลือง กลับชาติมาเกิดเป็น พระจุลนาค
- เทวดาที่เนรมิตเป็นพระเวสสันดร กลับชาติมาเกิดเป็น พระมหากัจจายนะ
- เทพธิดาที่เนรมิตเป็นพระนางมัทรี กลับชาติมาเกิดเป็น นางวิสาขา
- ช้างปัจจัยนาเตนทร์ กลับชาติมาเกิดเป็น พระมหากัสสปป
- นางช้างมารดาช้างปัจจยนาเคนทร์ กลับชาติมาเกิดเป็น นางกีสาโคตมี
- นายนักการที่เอาข่าวไปทูลพระเวสสันดร กลับชาติมาเกิดเป็น พระอานนท์
- มหาทาน กลับชาติมาเกิดเป็น อนาถบิณทกเศรษฐี
- สหชาติโยธา กลับชาติมาเกิดเป็น พุทธเวไนย
เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานเทศนาพระเวสสันดรจบแล้ว ทรงแสดงเทศนาอริยสัจ 4 มีทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ นิโรธอริยสัจ และมรรคอริยสัจ
เนื้อเรื่องย่อ
เนื้อเรื่องย่อมหาเวสสันดรชาดกมีทั้งหมด 13 กัณฑ์ ประกอบด้วย 1000 พระคาถา ซึ่งท่านสามารถอ่านเนื้อเรื่องย่อของแต่ละกัณฑ์ได้ดังนี้
1. กัณฑ์ทศพร
เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วเสด็จไปเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นเสด็จไปโปรดพุทธบิาและพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ เกิดฝนโบกขรพรรษ พระสงค์สาวกกราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงเรื่องมหาเวสสันดรชาดก เริ่มตั้งแต่เมื่อกัปที่ 98 นับแต่ปัจจุบัน พระนางผุสดีซึ้งจะทรงเป็นพระมารดาของพระเวสสันดร ทรงอธิษฐานขอเป็นมารดาของผู้มีใจบุญจบลงตอนพระนางได้รับพร 10 ประการจากพระอินทร์ อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ ผู้นั้นจะได้รับทรัพย์สมบัติดังปรารถนา ถ้าเป็นสตรีจะได้สามีที่เป็นที่ชอบเนื้อเจริญใจ บุรุษจะได้ภรรยาเป็นที่ต้องประสงค์อีกเช่นเดียวกันจะได้บุตรหญิงชายเป็นคนว่านอนสอนง่าย มีรูปร่างที่งดงาม มีความประพฤติดีกริยาเรียบร้อย
พระอินทร์ประทานพร 10 ประการแด่พระนางผุสดี
- ขอให้พระนางได้ประทับในปราสาท พระเจ้าสีวีราษฎร์
- ขอให้ดวงเนตรทั้งสองดำมีสีดำ ประดุจลูกตาเนื้อทราย
- ขอให้พระขนงเขียวดุจสร้อยคอนกยูง
- ขอให้มีนามว่าผุสดี
- ขอให้มีพระโอรสที่ทรงเกียรติยิ่งกว่ากษัตริย์ทั้งหลายและมีพระราชศรัทธาในการกุศล
- ขออย่าให้พระครรภ์ปรากฎนูนดังสตรีสามัญ
- ขออย่าให้พระถันทั้งคู่ดำในเวลาทรงครรภ์และเมื่อประสูตรแล้วขออย่าหย่อนยาน
- ขอให้พระเกศดำเป็นมันดุจปีกแมลงค่อมทอง
- ขอให้มีพระฉวีวรรณละเอียดดั่งทองคำธรรมชาติ
- ขอให้ทรงมีอำนาจปล่อยนักโทษประหารชีวิตให้พ้นโทษ
2. กัณฑ์หิมพานต์
พระเวสสันดรทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสัญชัยกับพระนางผุสดี แห่งแคว้นสีวีราษฎร์ประสูติที่ตรอกพ่อค้า เมื่อพระเวสสันดรได้รับเวนราชสมบัติจากพระบิดา ได้พระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์แก่กษัตริย์แคว้นกลิงคราชฎร์ ประชาชนไม่พอใจ พระเวสสันดรจึงถูกพระราชบิดาเนรเทศไปอยู่ป่าหิมพานต์ อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ ย่อมได้สิ่งที่ปรารถนาทุกประการ ครั้นตายแล้วได้บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์เสวยสมบัติอันมโหฬาร มีบริวารแวดล้อมบำรุงบำเรออยู่เป็นนิตย์จุติจากสวรรค์แล้ว จะลงมาเกิดในตระกูลขัตติยะมหาศาลหรือตระกูลพราหมณ์มหาศาลอันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคารบริวารมากมายนานาประการจะประมาณมิได้ ประกอบด้วยการสบายใจทุกอิริยาบถ
3. กัณฑ์ทานกัณฑ์
ก่อนเสด็จไปอยู่ป่า พระเวสสันดรได้พระราชทานสัตสดก มหาทาน คือช้าง ม้า รถ ทาสชาย ทาสหญิง โคนม และ นางสนม อย่างละ 700 อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะบริบูรณ์ด้วยแก้วแหวยนเงินทองทาส ทาสี และสัตว์ 2 เท้า 4 เท้า ครั้นตายแล้วจะได้ไปเกิดในฉกาพจรสวรรค์มีนางเทพอัปสรแวดล้อมมากมายเสวยสุขในปราสาทแล้วด้วยแก้ว 7 ประการ
4. กัณฑ์วนปเวสน์
พระเวสสันดรทรงพระนางมัทรีและพระชาลี ( โอรส ) พระกัณหา (ธิดา ) เสด็จจากเมืองผ่านแคว้น เจตราษฎร์ จนเสด็จถึงเขาวงกตในป่าหิมพานต์ อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้รับความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้าจะได้เป็นบรมกษัตริย์ในชมพูทวีป เป็นผู้ทรงปรีชาเฉลียวฉลาดสามาร๔ปราบอริราชศัตรูให้ย่อยยับไป
5. กัณฑ์ชูชก
ชูชกพราหมณ์ ขอทานได้นางอมิตตาบุตรสาวของเพื่อนเป็นภรรยา นางใช้ให้ชูชกไปของสองกุมาร ชูชกเดินทางไปสืบข่าวในแคว้นสีวีราษฎณ์ สามารถหลบหลีกการทำร้ายของชาวเมือง พบพรานเจตบุตรลวงพรานเจตบุตรให้บอกทางไปยังเขาวงกต อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้บังเกิดในตระกูลกษัตริยบ์ ประกอบด้วยสมบัติอันงดงามกว่าคนทั้งหลาย จะเจรจาปราศรัยก็ไพเราะเสนาะโสต แม้จะได้สามีภรรยา และบุตรธิดาก็ล้วนแต่มีรูปทรงงดงามสอนง่าย
ลักษณะบุรุษโทษ 18 ประการของชูชก
- เท้าทั้งสองข้างใหญ่และคด
- เล็บทั้งหมอกุด
- ปลีน่องทู่ยู่ยาน
- ริมฝีปากบนย้อยทับริมฝีปากล่าง
- นำลายไหลออกเป็นยางยืดทั้งสองแก้ม
- เขี้ยวงอกออกพ้นปากเหมือนเขี้ยวหมู
- จมูกหักฟุบดูน่าชัง
- ท้องป่องเป็นกระเปาะดั่งหม้อใหญ่
- สันหลังไหล่หักค่อม คด โกง
- ตาถล่มลึกทรลักษณ์ ข้างหนึ่งใหญ่ ข้างหนึ่งเล็ก ไม่เสมอกัน
- หนวดเครามีพรรณดังลวดทองแดง
- ผมโหรง เหลืองดังสีลาน
- ตามตัสะครานคลำด้วยแถวเอ็นนูนเกะกะ
- มีต่อมแมลงวัน และตกกระดังโรยงา
- ลูกตาเหลือง เหลือก เหล่
- ร่างกายคดค้อมในที่ทั้งสามคือ คอ หลัง สะเอว
- เท้าทั้งสองหัน เห ห่างเกะกะ
- ขนตามตัวหยาบดังแปลงหมู
6. กัณฑ์จุลพน
ชูชกเดินทางผ่านป่าตามเส้นทางที่เจตบุตรแนะจนถึงที่อยู่ของอัจจุตฤาษี อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ แม้จะบังเกิดในปรภพใดๆจะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติบริวาร จะมีอุทยานอันดารดาษด้วยไม้หอมตรลบไป แล้วจะมีสระโบกขรณีอันเต็มไปด้วยประทุมชาติ ครั้นตายไปแล้วก็ได้เสวยทิพยสมบัติในโลกหน้าสืบต่อไป
7. กัณฑ์มหาพน
ชูชกลวงอัจจุตฤาษี ให้บอกทางผ่านป่าไม้ใหญ่ไปยังที่ประทับของพระเวสสันดร อานิสงค์ของผ้บูชากัณฑ์นี้คือ จะเสวยสมบัติใดในดาวดึงส์เทวโลกนั้นแล้ว จะได้ลงมาเกิดเป็นกษัตริย์มหาศาล มีทรัพย์ศฤงคารบริวารมากมี อุทยานและสระโบกขรณีที่เป็นประพาส เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยด้วยศักดานุภาพเฟื่องฟุ้งไปทั่วชมพูทวีป อีกทั้งจักได้เสวยอาหารทิพย์เป็นนิตย์นิรันดร
8. กัณฑ์กุมาร
ชูชกทูลขอสองกุมาร ทุบตีสองกุมารเฉพาะพระพักตร์พระเวสสันดร แล้วพาออกเดินทาง อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ ย่อมประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา ครั้นตายไปแล้วได้เกิดในฉกามาพจรสวรรค์ในสมัยที่พระศรีอาริยาเมตไตรมาอุบัติก็จะได้พบศาสนาของพระองค์ จะได้ถือปฏิสนธิในตระกูลกษัตริย์ ตลอดจนได้สดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระองค์ แล้วบรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง 4 ด้วยบุญราศีที่ได้อบรมไว้
9. กัณฑ์มัทรี
พระนางมัทรีเสด็จกลับจากหาผลไม้ในป่าออกติดตสมสองกุมารตลอดทั้งคืน จนถึงทรงงิสัญญี ( สลบ ) เฉพาะพระพักตร์พระเวสสันดร เมื่อทรงฟื้นแล้วพระเวสสันดรตรัสเล่าความจริงเกี่ยวกับสองพระกุมาร พระนางทรงอนุโมทธนาด้วย อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ เกิดในโลกหน้าจะเป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติเป็นผู้มีอายุยืนยาวทั้งประกอบด้วยรูปโฉมงดงามกว่าคนทั้งหลาย จะไปในที่ใดๆก็จะมีแต่ความสุขทุกแห่งหน
10. กัณฑ์สักกบรรณ
พระอินทร์พระเกรงว่าจะมีผู้มาขอพระนางมัทรีจึงแปลงเป็นพราหมณ์ชรามาทูลขอพระนางมัทรีแล้วฝากไว้กับพระเวสสันดร อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะเป็นผ้ที่เจริญด้วยลาภยศตลอดจนจตุรพิธพรทั้ง 4 คืออายุวรรณธ สุขะ พละ ตลอดกาล
พระอินทร์ประทานพร 8 ประการแด่พระเวสสันดร
- ให้พระราชบิดาทรงยินดีในการกระทำของพระเวสสันดร
- ให้พระเวสสันดรปลดปล่อยนักโทษให้รอดชีวิต
- ให้ทรงปกครองประชาชนทุกเพศทุกวัยให้มีความสุข
- ไม่ประพฤติผิดในกาม
- ให้มีพระโอรสมีเกียรติยศปราบแคว้นอื่นได้
- ให้มีอาหารทิพย์มากมายให็เป็นทาน
- ให้มีทรัพย์ทำทานไม่รู้หมด และโดยไม่เสียดาย
- เมื่อสิ้นชีวิตให้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นสูงสุด
11. กัณฑ์มหาราช
ชูชกเดินทางเข้าไปแคว้นสีวีราษร์ พระสัญชัย ทรงไถ่สองกุมาร ชูชกได้รับพระรายชทานเลี้บง และ ถึงแก่กรรมด้วยกินอาหารมากเกินควร อานิสงค์ขชองผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้มนุษสมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติเมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะได้เป็นพระราชาเมื่อจากโลกมนุษย์ไปก็จะไปเสวยทิพยืสมบัติ ในฉกามาพจรสวรรค์มีนางเทพอัปสรเป้นบริวาร ครั้นบารมีแก่กล้าก็จะได้นิพพานสมบัติอันตัดเสียซึ้งชาติ ชรา พยา มรณธ พ้นจากโอฆะทั้งสามมีกาโมฆะ เป็นต้น
12. กัณฑ์ฉกษัตริย์
กษัตริย์แคว้นถลิงราชย์ทรงคืนช้างปัจจัยนาเคนทร์ พระเจ้ากรุงสญชัย พระนางผุสดี พระชาลี พระกัณหา เสด็จไปทูลเชิญพระเวสสันดร พระนางมัทรีกลับพระนคร เมื่อกษัตริย์ทั้งหกพระองค์ทรงพบกันก็ทรงวิสัญญี ต่อมาฝนโบกขรพรรษตกจึงทรงฟื้นขึ้น อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้เป็นผู้ที่เจริญด้วยพร 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุกๆชาติแล
13. กัณฑ์นครกัณฑ์
กษัตริย์หกพระองค์เสด็จกลับพระนคร พระเวสสันดรได้ครองราชย์ดังเดิม บ้านเมืองสมบูรณ์พูนสุข อาณิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้เป็นผู้บริบูรณ์ด้ยวงคาคณาญาติข้าทาสชาย-หญิง ธิดา สามี หรือบิดามารดา เป็นต้นอยู่พร้อมหน้ากันด้วยความผาสุก ปราศจากดรคาพาธทั้งปวง จะทำการใดๆก็พร้อมเพียงกันยังการงานนั้นๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ผู้จัดทำ
ชื่อ น.ส. โสรดา นามสกุล ปิยะศุภสิทธิ์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสรีศรีสุริโยทัย
email : buta_oil1986@hotmail.com