การเปรียบเทียบของคำคุณศัพท์ (Comparison of Adjective)
สร้างโดย : นายนรินทร์ อนงค์ชัย
สร้างเมื่อ พฤ, 20/11/2008 – 01:49
มีผู้อ่าน 472,148 ครั้ง (18/10/2022)
http://www.thaigoodview.com/node/18208
บทเรียน CAI ออนไลน์เรื่อง
“การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ (Comparison of Adjective)”
สร้างโดย ครูนรินทร์ อนงค์ชัย ครู โรงเรียนเทพอุดมวิทยา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
เป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้ของผู้จัดทำเอง และเพื่อการเรียนรู้แก่นักเรียน ครู และ ผู้สนใจทั่วไป ผู้จัดทำมีความประสงค์จะใช้ flash หรือ การ์ตูนแอนิเมชั่น เพื่อเพิ่มความสนใจในการเรียนรู้ สามารถตอบโต้กับผู้ใช้ได้ สื่อการเรียนรู้นี้ มีแบบทดสอบ ที่ตอบโต้ และ ทำซ้ำได้ สีสัน สวยงาม แต่ ไม่ได้ใส่เสียงพูดด้วย เนื่องจาก เห็นใจและเข้าใจท่านที่ใช้ internet ความเร็ว ไม่สูงมากนัก ท่านใดสนใจให้เพิ่มเสียง หรือ มีข้อเสนอแนะ ก็ comment ติติงให้ด้วย ครับ
ขอบคุณ thaigoodview ที่ให้โอกาส ครูบ้านนอก ชายแดนไทย – กัมพูชา ดินแดนห่างไกล จาก สาย Hi-Speed ได้ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยคน ขอบคุณมากครับ
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- ท่านที่ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ งานแอนิเมชั่นอาจจะแสดงผลช้า เล็กน้อย
- เนื้อหามีทั้งหมด 11 หน้า รวมหน้านี้ด้วย
- แบบทดสอบมำ 10 ชุด แบบฝึกหัดในหน้าีที่ 2 – 10 เป็นแบบฝึกหัดทดสอบความรู้ในเนื้อหาด้านบนในหน้านั้น ๆ และ แบบทดสอบที่ 11 เป็นแบบทดสอบ แบบตัวเลือก เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจ ในเนื้อหาทั้งหมด
- ควรศึกษาเนื้อหาตามลำดับหน้า ไม่ควรข้ามหน้าใดหน้าหนึ่งไป
อ่านเพิ่มเติม...
การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ (Comparison of Adjective)
คำคุณศัพท์ (Adjective) นี้มีการเปรียบเทียบได้เหมือนกับ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) และแบ่งออกเป็น 3 ขั้นเหมือนกัน คือ
- ขั้นปกติ (Positive Degree)
- ขั้นกว่า (Comparative Degree)
- ขั้นสูงสุดหรือขั้นสุด (Superlative Degree)
เนื้อหาหน้าแรกมีแค่นี้ น้องแจ่มใส มีข้อสอบวัดความเข้าใจ ทำดู
ข้อแตกต่างระหว่าง คำคุณศัพท์(Adjective) และ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb)
ที่นี้ เราก็ต้องมารู้จักการแยกแยะก่อนว่าอะไรเป็น คำคุณศัพท์ (Adjective) และอะไรเป็น คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) มิฉนั้นจะเกิดความสับสน และเปรียบเทียบไม่ถูกประเภท
ดังนั้น ควรจำไว้ว่า
คำคุณศัพท์ (Adjective) มีไว้เพื่อขยายคำนาม
คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) มีไว้เพื่อขยายคำกริยา
ทั้ง 2 ประเภท มีหน้าที่ในประโยคต่างกัน แต่เกณฑ์ที่ใช้เปรียบเทียบที่คล้ายคลึงกันบ้างดูความแตกต่างของทั้งสองประเภทนี้
คำกริยาวิเศษณ์
He ran (fast – faster – fastest).
เขาวิ่ง (เร็ว – เร็วกว่า – เร็วที่สุด)
คำคุณศัพท์
He is (wise – wiser – wisest).
เขา (ฉลาด – ฉลาดกว่า – ฉลาดที่สุด)
ไปดูแบบทดสอบที่ น้องแจ่มใส ด้านล่าง และหน้าถัดไปกันเลย ครับ
ทำไมต้องมีการเปรียบเทียบ?
เหตุผลที่มีการเปรียบเทียบ (Comparison) ก็เพราะว่าสิ่งต่าง ๆ ในโลกล้านไม่มีความเท่าเทียมกัน
ตัวอย่างง่าย ๆ
สีขาว ก็ยังมี
สีขาวปกติ มี สีขาวกกว่า และ ยังมี สีขาวที่สุด เป็นต้น
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเกิดการเปรียบเทียบขึ้น
ในการเปรียบเทียบนั้น เราแบ่งออกเป็น 3 แบบ หรือ 3 ชนิดด้วยกัน คือ
- การเปรียบเทียบในสิ่งที่เท่าเทียมกัน (Comparison of Equality)
- การเปรียบเทียบในสิ่งที่สูงกว่ากัน (Comparison of Superiority)
- การเปรียบเทียบในสิ่งที่ต่ำกว่ากัน (Comparison of Interriority)
พบกับคำถามจาก น้องแจ่มใส อีกข้อ ละกัน แล้วพบกันหน้าต่อไป ครับ
เปรียบเทียบแต่ละแบบกันเลย นะครับ
เราจะเริ่มจาก
1. การเปรียบเทียบในสิ่งที่เท่ากัน (Comparison of Equality)
ในการเปรียบเทียบในสิ่งที่เท่ากันนั้น ไม่ว่าจะเป็นคน สิ่งของ การกระทำ หรือ เหตุการณ์ ใด ถ้าเรามีความประสงค์จะบอกว่า แต่ละชนิดมีความเท่าเทียมกัน ก็สามารถใช้สูตรนี้
as + คำคุณศัพท์ขั้นปกติ (Positive Degree) + as + คำนาม (Nouns)
ตัวอย่างประโยค เช่น
He is tall as his brother. (เขาสูงเท่ากับพี่ชายของเขา)
My hands were as cold as ice. (มือของผมเย็นเยือกเหมือนน้ำแข็งแล้ว)
ข้อสังเกต
นอกจากการเปรียบเทียบในลักษณะข้างต้นนี้แล้ว ยังมีการเปรียบเทียบที่เรีกว่า “สิ่งที่เหมือนกันและคล้ายคลึงกัน (Similarity and Identify) อีกด้วย และมีใช้ให้เห็นอยู่เหมือนกัน โดยใช้คำเหล่านี้มาเปรียบเทียบ เช่น
as (เหมือนกับ) | like (เหมือน) |
so do I (ข้าพเจ้าก็ด้วยเหมือนกัน) | neither do I (ข้าพเจ้าไม่ทั้งสองอย่าง) |
too (ด้วยเหมือนกัน) | the same (อย่างเดียวกัน) |
ดูตัวอย่างประโยค เช่น
You look like your sister. (คุณดูคล้ายพี่สาวคุณนะ)
She like dancing,and so do I. (เธอชอบเต้นรำและผมก็ชอบเหมือนกัน)
His eyes are just the same color as mine. (ตาของเขามีสีเดียวกับของผมเลย)
อนึ่ง ในการเปรียบเทียบในสิ่งที่เท่าเทียมกัน ถ้าอยู่ในรูปปฏิเสธ ต้องใช้โครงสร้าง คือ
not so + คุณศัพท์ขั้นปกติ + as + คำนาม
not as + คุณศัพท์ขั้นปกติ + as + คำนาม
เช่น
He is not as(so) successful as his sister. (เขาไม่ประสบผลสำเร็จเหมือนกับพี่สาวเขาเลยนะ)
2. การเปรีบเทียบในสิ่งที่สูงกว่ากัน (Comparison of Superiority)
ถ้าเราต้องการบอกว่า คนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น มีความไม่เท่าเทียมกันในทางใดทางหนึ่ง เราก็อาจเปรียบเทียบได้โดยใช้โครงสร้าง หรือ สูตรนี้
คำคุณศัพท์ขั้นกว่า (Comparative Degree) + than
เช่น
I am much older than her. (ผมแก่กว่าเธอมาก)
The baby is more actractive than you. (เด็กเล็กนั้นดูน่ารักกว่าคุณซะอีก)
3. การเปรียบเทียบในสิ่งที่ต่ำกว่า (Comparisonof Interiority)
ในการเปรียบเทียบสิ่งที่ด้อยกว่ากัน หรือ ต่ำกว่ากัน เราเปรียบเทียบได้ โดยใช้ สูตร นี้
less + คุณศัพท์ขั้นปกติ (Positive Degree) + than
เช่น
The baby is less ugly than you. (เด็กเล็กคนนนั้นขี้เหน่ น้อยกว่าคุณซะอีก)
Uthai is less strong than Vinai. (คุณอุทัยแข็งแรงน้อยกว่าคุณวินัย)
ขั้นของการเปรียบเทียบ (Degree of Comparison)
ดังที่เคยอ้างไว้ในตอนต้นว่า เมื่อสิ่งต่าง ๆ อุบัติขึ้นมาในโลกแล้วย่อมไม่มีความเท่าเทียมกันทุกอย่าง
ดังนั้น จึงมีการเปรียบเทียบกัน เป็นขั้น ๆ ขึ้น ซึ่งก็แบ่งออกเป็น 3 ขั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ
1. ขั้นปกติ(Positive Degree) คือ คำคุณศัพท์(Adjective) ที่อยู่ในรูปปกติ โดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรทั้งนั้น ดังนั้น คำคุณศัพท์ในขั้นนี้จึงมีหน้าที่เพียงแค่ขยายคำนามเพียงเพื่อให้รู้ว่า เป็นอย่างนี้ อย่างนั้น แต่ไม่ได้บอกว่าอยู่ในขั้นใดเลย เช่น
Piya is wise. (ปิยะเป็นคนฉลาด)
Aphinya is beautiful. (คุณอภิญญาเป้นคนสวย)
2. ขั้นกว่า (Comparative Degree)
ในการเปรียบเทียบขั้นกว่านี้ จะแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติที่สูงขึ้นไปอีกของคำนาม หลังจากที่มีคำคุณศัพท์เข้ามาขยายแล้ว กล่าวคือ สูงกว่าขั้นปกตินั้นเอง แก่การที่จะเปรียบเทียบได้จำเป็นต้องมีคน 2 คน หรือ สิ่งของ 2 สิ่ง จึงจะเปรียบเทียบกันได้ เช่น
The man is stronger than that man. (ผู้ชายคนนี้แข็งแรงกว่าผู้ช่ายคนนั้น)
3. ขั้นสูงสุด (Superlative Degree)
และในทำนองเดียวกัน ในการเปรียบเทียบขั้นสูงสุดนี้ จะแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติขั้นสูงสุดของคำนาม หลังจากที่มีคำคุณศัพท์เข้ามาขยายแล้ว ดังนั้น จึงอยู่ในระดับสูงสุดแห่งการเปรียบเทียบ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะทำการเปรียบเทียบมีคำนามตั้งแต่ 2 คำ ขึ้นไป กล่าว คือ คำนามนั้น อาจจะป็น คน หรือ สิ่งของ ก็ได้ แต่ต้องมีมากกว่า 2 ขึ้นไป เช่น
He is the tallest boy in this class. (เขาเป็นเด็กผู้ชายตัวสูงที่สุดในห้องนี้)
ข้อสังเกต
ในการเปรียบเทียบขั้นสูงสุดนั้น บางครั้งก็เป็นการเปรียบเทียบขึ้นมาลอย ๆ โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นการเปรียบเทียบอะไร แต่ที่แน่ ๆ คือ อยู่ในขั้นสูงสุด (Superlative Degree) ดังนั้น การเปรียบเทียบในลักษณะนี้ จึงเรียกว่า Superlative of Eminence หรือ Absolute Superlative เช่น
This is the most unfortunate. (นี้เป็นเรื่องที่โชคร้ายมากที่สุด)
การแปลงรูปคำคุณศัพท์เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบขั้นกว่าและขั้นสูงสุด
ในการแปลงรูปคำคุณศัพท์เพื่อใช้ใน 2 ขั้นนี้สามารถทำได้ดังนี้ คือ
- โดยการเติม -er เข้าที่ท้าย หรือ ไม่ก็เติม more เข้าข้างหน้า เพื่อใช้ในขั้นกว่า
- โดยการเติม -est เข้าข้างท้าย หรือ ไม่ก็เติม most เข้าข้างหน้า เพื่อใช้ในขั้นสูงสุด
อนึ่ง กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ควรอ่านให้เข้าใจ และสังเกตการใช้ให้ดี
วิธีการเติม more หรือ most เข้าข้างหน้าคำคุณศัพท์ ตามวิธีการดังต่อไปนี้ คือ
1. คำคุณศัพท์ที่มีตั้งแต่ 2 พยางค์ ขึ้นไป เติม more เมื่อเป็นขั้นกว่า และ เติม most เมื่อเป็นขั้นสูงสุด เช่น
ขั้นปกติ | ข้นกว่า | ขั้นสูงสุด |
careful(ระวัง) | more careful | most careful |
difficult (ยาก) | more difficult | most difficult |
economical (ประหยัด) | moreeconomical | mosteconomical |
2. คำคุณศัพท์ที่มากจากคำกริยาช่องที่ 3 และกริยา -ing (Participle) นำมาใช้อย่างคำคุณศัพท์ (Adjective) ให้เติม more เมื่อเป็นขั้นกว่า และเติม most เมื่อเป็นขั้นสูงสุด เช่น
ขั้นปกติ | ขั้นกว่า | ขั้นสูงสุด |
pleased (ดีใจ) | more pleased | most pleased |
excited (ตื่นเต้น) | more excited | most excited |
hurt (บาดเจ็บ) | more hurt | most hurt |
interesting (น่าสนใจ) | more interesting | most interesting |
3. คำพยางค์เดียวที่ระบุถึงสัญชาติ หรือ การเปรียบเทียบคุณสมบัติ ของคนเดียวกัน หรือ สิ่งของเดียวกัน ในขั้นกว่า ให้เติม more เสมอ เช่น
He is more Thai than I am. (เขาดูเป็นคนไทยมากกว่าฉันเสียด้วยซ้ำ)
She is more talkative than beautiful. (เธอเป็นคนพูดเก่งมากกว่าเป็นคนสวย)
วิธีเติม er และ est ท้ายคำคุณศัพท์
ในกฏเกณฑ์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จะนำไปใช้กับคำคุณศัพท์อีกพวกหนึ่ง ซึ่งเมื่อทำเป็นขั้นกว่า จะเติม er และ เมื่อเป็นขั้นสูงสุดจะเติม est แทนดังนี้
1. คำคุณศัพท์พยางค์เดียว (One-Syllable Adjectives) ถ้าลงท้ายด้วยตัวสะกด 2 ตัว หรือแม้แต่ลงท้ายด้วยตัวสะกดเดียวแต่มีสระอยู่ 2 ตัว ต้องเติม er ในขั้นกว่า และ เติม est ในขั้นสูงสุด เช่น
ขั้นปกติ | ขั้นกว่า | ขั้นสูงสุด |
small (เล็ก) | smaller | smallest |
tall (สูง) | taller | tallest |
sweet (หวาน) | sweeter | sweetest |
deep(ลึก) | deeper | deepest |
long (ยาว) | longer | longest |
short (สั้น) | shorter | shortest |
etc. |
2. คำคุณศัพท์พยางค์เดียว ถ้าสระตัวเดียวและสะกดตัวเดียว ต้องเพิ่มเตัวสะกดเข้ามาอีกตัวหนึ่งก่อน จึงเติม er และ est เข้าข้างท้ายได้ เช่น
ขั้นปกติ | ขั้นกว่า | ขั้นสูงสุด |
big (ใหญ่) | bigger | biggest |
sad (เศร้า) | sadder | saddest |
fat (อ้วน) | fatter | fattest |
thin (ผอม) | thinner | thinnest |
etc. |
3. คำคุณศัพท์ พยางค์เดียวที่ลงท้ายด้วย e อยู่แล้ว ให้เติมเฉพาะ r ในขั้นกว่า และเติม est ในขั้นสูงสุด
ขั้นปกติ | ขั้นกว่า | ขั้นสูงสุด |
fine (ดี) | finer | finest |
ripe (สุก) | riper | ripest |
brave(กล้าหาญ) | braver | bravest |
large | larger | largest |
etc. |
4. คำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y นั้นเป็นพยัณชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i ก่อน แล้วจึงเติม er ในขั้นกว่า และเติม est ในขั้นสูงสุด เช่น
ขั้นปกติ | ขั้นกว่า | ขั้นสูงสุด |
dry (แห้ง) | drier | driest |
happy(มีความสุข) | happier | happiest |
easy (ง่าย) | easier | easiest |
wealthy (มั่งคั่ง) | weathier | weathiest |
etc. |
อนึ่ง คำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y นั้นเป็นสระก็ไม่ต้องเปลี่ยน y เป็น i ให้เติม er หรือ est ได้เลย เช่น
ขั้นปกติ | ขั้นกว่า | ขั้นสูงสุด |
gay (หล่อ) | gayer | gayest |
grey (สีเทา) | greyer | greyest |
5. คำคุณศัพท์ 2 พยางค์ที่ลงท้ายด้วย er, re, le และ ow ให้เติม er ในขั้นกว่า และเติม est ในขั้นสูงสุด ได้ทันที เช่น
ขั้นปกติ | ขั้นกว่า | ขั้นสูงสุด |
bitter (ขม) | bitterer | bitterest |
sincere (จริงใจ) | sincerer | sincerest |
simple (ง่าย) | simpler | simplest |
noble (สง่างาม) | nobler | noblest |
narrow (แคบ) | narrower | narrowest |
shallow(ตื้นเขิน) | shallower | shallowest |
etc. |
6. คำคุณศัพท์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้อาจจะเติม er ในขั้นกว่า และเติม est ในขั้นสูงสุดก็ได้ หรือ จะเลือกช้วิธีเติม more และ most ก็ได้ คือ นำไปใช้ได้ทั้ง 2 กฏเกณฑ์ คือ คำเหล่านี้
angry (โกรธ) | sunny (แดดจ้า) |
clever (ฉลาด) | sincere (จริงใจ) |
cloudy (มีเมฆมาก) | foggy (หมอกจัด) |
cruel (โหดร้าย) | sleepy (ง่วงนอน) |
risky (เสี่ยง) | windy (ลมแรง) |
rainy (ฝนชุก) | severe (อย่างหนัก) |
etc.
7. มีคำคุณศัพท์บางคำ ส่วนมากลงท้ายด้วย -ior เมื่อนำมาเปรียบเทียบในขั้นกว่า ให้ใช้ to ตามหลัง ไม่ใช้ than และ คำที่ตามหลัง to ต้องเป็นกรรม (Object) เท่านั้น จะเป็นประธานไม่ได้ และ คำเหล่านั้น คือ
superior to = เหนือกว่า
interior to = ด้อยกว่า
prior to = ก่อนกว่า
senior to = อาวุโสกว่า/แก่กว่า
junior to = อาวุโสน้อยกว่า/อ่อนกว่า
8. คำคุณศัพท์ต่อไปนี้ รูปการเปลี่ยนแปลงที่อยู่นอกเหนือกฏเกณฑ์ทั้งหลาย (Irregular Comparison) การเรียนรู้ต้องอาศัยการท่องจำ เช่น
ขั้นปกติ | ขั้นกว่า | ขั้นสูงสุด |
good (well) (ดี) | better | best |
bad (ill) (เลว) | worse | worst |
far (ไกล) | farther (further) | farthest (furthest) |
many (much) (มาก) | more | most |
little(น้อย) | less | lest |
old (แก่) | older (elder) | older (oldest) |
ข้อสังเกต
คำคุณศัพท์บางคำไม่นิยมไปเปรียบเทียบ เพราะถือว่า มีเนื้อหาสมบูรณ์อยู่ในตัวอยู่แล้ว เป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ไม่นิยมมาเปรียบเทียบอีก เช่น
Perfect (สมบูรณ์)
Etenal (ชั่วนิรันดร)
unique (หนึ่งเดียว, เป็นเอก)
แบบทดสอบหลังเรียน
พบกับ แบบทดสอบหลังเรียน (Post – test) แบบปรนัย 10 ข้อ เปิดลำโพงด้วยนะครับ
ขอขอบคุณที่ให้ความสนใจการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ
มีความสนใจ และ ข้อเสนอแนะ ติติง ติดต่อ ครูนรินทร์ อนงค์ชัย โดยตรงที่
โทร. 087 377 9581
e-mail: anongchai@gmail.com
Website: http://www.4-teachers-download.blogspot.com
จดหมาย: โรงเรียนเทพอุดมวิทยา ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 32150
ตอนนี้ ลงมือทำข้อสอบให้ได้เต็มเลยนะครับ
แหล่งอ้างอิง: http://www.ict.moph.go.th/English/content/adj05_comparison.htm
ย่อ