โรคไม่ติดต่อ
โรคหัวใจวาย

สร้างโดย : นายสมาน ถวิลกิจ และนางสาวสุพัตรา บุญพรม
สร้างเมื่อศุกร์, 27/11/2009 – 16:26
มีผู้อ่าน 36928 ครั้ง (13/10/2022)

โรคหัวใจวาย

http://www.student.in.th/article/editor/assets/heart.jpg

โรคหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจตาย
            การทำงานของหัวใจเกิดจาการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งได้รับอาหารจากหลอดเลือดโคโรนารี ถ้าหลอดเลือดแดงนี้เกิดแข็งตัวหรือตีบแคบลงจากไขมันไปเกาะหรือมีพังผืดภายใน ผนังหลอดเลือด เลือดจะไปเลี้ยงหัวใจไม่สะดวก โดยเฉพาะขณะออกกำลังกาย ทำให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือด และเมื่อเส้นเลือดแข็งตัวมากขึ้นจะเกิดการอุดตันของเส้นเลือด เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ หัวใจได้ เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย
โรคหัวใจขาดเลือด หมายถึง ภาวะผิดปกติของการทำงานของหัวใจ อันเนื่องมาจากกล้ามเนื้อหัวใจ ได้รับเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอกับความต้องการ

สาเหตุ

           ภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงนี้ เป็นปัจจัยสำคัญอันเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดแดงแข็งและตีบตัน เกิดโรคหัวใจขาดเลือดตามมา(เจ็บ แน่นหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย เสียชีวิตตอย่างเฉียบพลัน) โรคสมองขาดเลือด (อัมพาต อัมพฤกษ์) ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชาชนทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมและประเทศที่กำลังพัฒนาอุตสาหกรรม
           ไขมันในเลือดสูง หรือ โคเลสเตอรอลในเลือดสูง โดยที่โคเลสเตอรอลในเลือดเป็นไขมันประมาณร้อยละ 75 อีกร้อยละ 25 ได้จากอาหารที่เราบริโภค เช่น เนื้อสัตว์ ตับ สมอง นม เนย ไข่แดง (ไข่แดงเป็นสารอาหารที่ให้โคเลสเตอรอลมากที่สุด ไข่แดง 1 ฟอง มีโคเลสเตอรอล 250-300 มิลลิกรัม ส่วนในไข่แดงไม่มี)

           โคเลสเตอรอลในเลือดมี 2 ชนิด

  1. โคเลสเตอรอลอันตราย ถ้าเมื่อใดมีโคเลสเตอรอลประเภทนี้ในระดับสูงเกินไป จะทำให้โคเลสเตอรอลไปจับสะสมตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งและตีบแคบ
  2. โคเลสเตอรอลดี เป็นโคเลสเตอรอลประเภทที่ให้ประโยชน์ ทำหน้าที่จับสารโคเลสเตอรอลตามผนังหลอดเลือดและนำไปทำลายที่ตับ จากการศึกษาพบว่าบุคคลที่มีระดับโคเลสเตอรอลประเภทนี้สูง ไม่ค่อยเกิดโรคหัวใจขาดเลือด มักจะมีอายุยืนยาว โคเลสเตอรอลดีช่วยป้องกันการเกิดหลอดเลือดแดงแข็งและตีบแคบ ภาวะความสมดุลของระดับไขมันทุกชนิดในเลือดจะช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/lamphu_s/bodysystem/picture/bodyheart.jpg

อาการ

  1. เจ็บหน้าอกด้านซ้ายหรือบริเวณลิ้นปี่เป็นพักๆอาจเจ็บแบบ
    • เจ็บแน่นๆหนักๆเหมือนกดหรือมีอะไรวางทับ
    • เจ็บรัดในอก ทำให้หายใจไม่สะดวก
    • อาจมีอาการร้าวไปบริเวณคอ กราม หรือแขน 2 ข้าง
    • เจ็บลึกๆใต้ผนังทรวงอกลงไป
  2. อาจมีอาการใจสั่น
  3. ถ้าเจ็บหน้าอกนานกว่า 20 นาที อาจหมายถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ต่อไปอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตฉับพลัน
  4. สมองขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้เป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์ได้

ปัจจัยเสี่ยง

  1. อายุ-เพศ เพศชายมักพบมากกว่าเพศหญิง ผู้ชายมักเริ่มมีอาการของโรคนี้ตั้งแต่อายุ 40-50ปีขึ้นไป ผู้หญิงมักเริ่มเป็นมากขึ้นเมื่อพ้นวัยหมดประจำเดือน
  2. โรคความดันโลหิตสูง
  3. การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมาก แก้ไขโดยงดสูบ เมื่อเลิกสูบบุหรี่ 10 ปีขึ้นไปแล้ว อัตราเสี่ยงจะใกล้เคียงผู้ไม่สูบบุหรี่
  4. มีไขมันในเลือดสูง ระดับโคเลสเตอรอลทั้งหมดในเลือดโดยเฉลี่ยไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 ซีซี (200 mg/100cc.)
  5. โรคอ้วน ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมัน                    
  6. โรคเบาหวาน
  7. ขาดการออกกำลังกาย
  8. กรรมพันธุ์ โดยเฉพาะมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้ก่อนอายุ 45 ปี
http://www.wanjai.com/webboard/webboard_images/3647.jpg

การรักษา

           ต้องปฏิบัติตัวและติดตามการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

  1. การควบคุมรักษาปัจจัยเสี่ยง เพื่อช่วยลดการดำเนินของโรคไม่ให้เพิ่มขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นในรายที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด
    1. ควบคุมอาหารและจำกัดการรับประทานไขมัน โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนประกอบพวกไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมัยสัตว์ (หมู เนื้อ เป็ด ไก่)) ไข่แดง กะทิ หอยนางลม นม เนย  และควรจำกัดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลด้วย
    2. ลดความอ้วนและออกกำลังกาย พยายามควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นการเพิ่มการเผาผลาญอาหารโดยเฉพาะช่วยลดโคเลสเตอรอล ความดันโลหิตและโรคเบาหวาน
    3. งดสูบบุหรี่
    4. ลดความเครียด
    5. ปรึกษาแพทย์ ตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อตรวจหาโรคที่อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยง เมื่อรู้ว่าเป็นโรคเหล่านี้แล้วต้องรีบรักษา โอกาสที่จะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะลดลงมาก
  2. การรักษาโดยการใช้ยา
    1. ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ เป็นยาเม็ดอมใต้ลิ้นและยาพ่นในช่องปาก ใช้เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก ให้อมใต้ลิ้น 1 เม็ดห่างกัน 5-10 นาที ถ้าอมยาติดต่อกัน 3 เม็ด แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์ ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ควรเก็บไว้ในขวดสีชา ปิดฝาแน่นเพื่อป้องกันแสงและควรพกยานี้ติดตัวไว้ตลอดเวลา
    2. ยาอื่นๆ ได้แก่ ยาไนเตรตที่ออกฤทธิ์ยาว ยากั้นเบต้า ยาต้านแคลเซียม เป็นต้นซึ่งแล้วแต่ความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายไป
  3. การขยายรูของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ด้วยท่อยางลูกโป่ง ซึ่งไม่ต้องผ่าตัดใหม่ หรือถ้าเป็นมาก อาจต้องผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจที่ตีบแคบโดยตรง

แหล่งอ้างอิง:  http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-5/no46-48/red8.html