สร้างโดย : นางพิชยา เสนามนตรี
สร้างเมื่อ อาทิตย์, 16/11/2551- 22:42

ที่มา  

ประเพณีการเห่เรือของไทยมี  ๒  ประเภท  คือ

๑.  เห่เรือหลวง  เป็นการเห่ในพระราชพิธี  ในสมัยโบราณสันนิษฐานว่าใช้ภาษาสันสกฤตของอินเดีย  ซึ่งเป็นมนต์ในตำราไสยศาสตร์  ต่อมาได้นำบทพระราชนิพน์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์มาใช้เห่เรือหลวง

๒.  เห่เรือเล่น  เห่ในเวลาแล่นเรือเที่ยวแตร่  เพื่อความรื่นเริงและให้ฝีพายพายพร้อมๆ  กัน  การเห่เรือเล่นใช้ภาษาไทย  การพายใช้สองจังหวะคือ  จังหวะจ้ำกับจังหวะปกติ

    การเห่เรือหลวงมี  ๔  อย่างคือ  เห่โคลงนำกาพย์  หรือเกริ่นโครง  เมื่อพระเจ้าแผ่นดินลงประทับในเรือพระที่นั่ง  ขณะเรือพระที่นั่งแล่นระหว่างทางใช้ทำนอง  ช้าละวะเห่  ซึ่งเป็นทำนองเห่ช้าพลพายนกบินจังหวะช้า  พอจวนถึงที่ประทับใช้ทำนอง  สวะเห่  ระหว่างทางในการเดินทางกลับเป็นทำนอง  มูลเห่  เมื่อจบบทพายจ้ำสามทีส่งทุกบท

   ๑.  อธิบายเนื้อเรื่องกาพย์เห่เรือได้

  ๒.  พิจารณาคุณค่าวรรณศิลป์จากเรื่องกาพย์เห่เรือได้

ผู้แต่ง  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์  (เจ้าฟ้ากุ้ง)

เนื้อเรื่องย่อ 

กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์มี  ๒  ตอน 

ตอนที่  ๑    ชมพยุหยาตราทางชลมารคตั้งแต  “พระเสด็จโดยแดนชล  ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย”  ต่อจากชมกระบวนเรือ  ว่าด้วยชมปลา  ชมไม้  ชทนก  เป็นลักษณะนิราศ  กาพย์เห่เรือเรื่องนี้เห็นได้ในสำนวนว่าเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ทรงนิพนธ์สำหรับเห่เรือของท่านเอง  เวลาตามเสด็จขึ้นพระพุทธบาทออกจากจังหวัดพระนครศรีอยุทธยาแต่เช้า  พอตกเย็นก็ถึงท่าเจ้าสนุก

ตอนที่  ๒  เป็นคำสังวาสเอาเรื่องพระยาครุฑลักนางกากีมาทำบทขึ้นต้นว่า  ไกงกรโอบอุ้มแก้ว  เจ้างามแพร้วสบสรรพพางค์”  แล้วว่าต่อไปเป็นกระบวนสังวาสจนจบ 

          ในที่นี้จะยกตัวอย่างให้ศึกษาบางตอนคือ  บทเห่ชมเรือกระบวน  บทเห่ชมปลา  บทเห่ชมไม้  บทเห่ชมนก  และจบลงด้วยบทเห่ครวญ

ลักษณะการแต่ง

          ตอนที่  ๑  กล่าวชมเรือกระบวน  ชมปลา  ชมไม้  ชมนก  และแทรกบทครำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก 

        ตอนที่  ๒  เป็นบทเห่เรียกว่า  เห่กากีเป็นบทคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักเพียงอย่างเดียว 

        ลักษณะการแต่งประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพ  ๑  บท  ใช้เป็นบทนำกระบวนความแตละตอน  และต่อด้วยกาพย์ยานี  ๑๑        พรรณนาความของเนื้อหาในเนื้อเรื่อง  จนจบตอนหนึ่งๆ  โดยไม่จำกัดจำนวนบท