supatkul Avatar

สร้างโดย : สุพัฒน์กุล ภัคโชค
สร้างเมื่อ อาทิตย์, 19/06/2554 – 10:39

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2554
Election of Members of House of Representatives B.E.2554

– สำหรับคนที่อายุต่ำกว่า 18 แล้วคลิกเข้ามา อย่าลืมบอกคุณพ่อคุณแม่ ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งด้วยนะคะ –

โฆษณาชิ้นนี้ไม่ได้ค่าจ้างจาก กกต. สักบาทเดียว แต่ทำไปด้วยจิตสำนึกของการเป็นคนไทย
ที่ต้องการให้ประเทศไทยมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
ทุกเสียงของประชาชน มีค่าสำคัญเหนืออื่นใด
ขอให้ทุกคน ทุกองค์กร ยอมรับการตัดสินใจของประชาชน
ด้วยความปราถนาดีจาก 
www.thaigoodview.com

เลือกตั้ง ส.ส. กลไกสำคัญสู่วิถีประชาธิปไตยที่ยั่งยืน

         ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คำว่า “ประชาธิปไตย” แปลว่า “ประชาชนเป็นใหญ่” คือการที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตยหรือมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แต่ประชาชนทั้ง 64 ล้านคน จะเข้าไปปกครองบริหารประเทศทั้งหมดด้วยตนเองย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงต้องมอบ อำนาจอธิปไตยให้แก่ตัวแทนที่ตนเลือกเพื่อให้ไปทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติและ ด้านการบริหารแทนประชาชน ดังนั้นจึงมีการเลือกตั้ง ส.ส. ให้ทำหน้าที่แทนประชาชน
         การเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งนี้อยู่ในช่วงเวลาที่ประชาชนบางกลุ่มมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งพร้อมใจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อย่างพร้อมเพรียงกัน ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร ย่อมหมายถึงประชาชนส่วนใหญ่ได้ตัดสินใจเลือกแล้วและได้แสดงเจตนารมณ์ อย่างแรงกล้าที่ต้องการให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดหรือพรรคการเมืองใด เข้าไปแก้ไขปัญหาและระงับความขัดแย้งต่างๆ ให้หมดไปจากประเทศไทย
ดังนั้น การตัดสินใจเลือกใคร พรรคการเมืองใด หรือแม้แต่การตัดสินใจไม่เลือกใครหรือพรรคการเมืองใดเลย จึงเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญของประชาชนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่จะต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งอย่างมีเหตุผล โดยเลือก “คนดี มีความสามารถ ซื่อสัตย์ สุจริต เห็นประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน” ให้เข้าไปบริหารบ้านเมืองเพื่อประโยชน์สุขของพวกเราทุกคน

ที่มาของ ส.ส.

         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1)พุทธศักราช 2554 กำหนดให้มี ส.ส. มีจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้ง 2 แบบ ได้แก่ ส.ส.แบบแบ่งเขต จำนวน 375 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน

 ส.ส. แบบแบ่งเขต

         ส.ส.แบบแบ่งเขต คือ ส.ส. ที่มาจากเขตเลือกตั้งโดยการแบ่งเขตเลือกตั้งประเทศออกเป็น 375 เขต เกิดจากการคำนวณราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานทะเบียนราษฎร ที่ประกาศปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งเฉลี่ยด้วยจำนวน ส.ส. 375 คน เช่น ราษฎรทั้งประเทศ จำนวน 63,878,267 ล้านคน หารด้วย 375 ก็จะได้ค่าเฉลี่ยราษฎร 170,342 คน ต่อ ส.ส. 1 คน หลักการนี้มาจากเหตุผลที่ว่า แต่ละเขตเลือกตั้งควรมี ส.ส. จำนวนเท่าเทียมกันโดยประชาชนหนึ่งคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน มีความ เสมอภาคกัน ไม่ว่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ใด หรือจะยากดีมีจน เป็นชาวไร่ ชาวนา หรือเศรษฐีก็มีสิทธิที่เท่าเทียมกัน การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตให้ทำเครื่องหมาย x กากบาทเลือกได้เพียงหมายเลขเดียวหรือเบอร์เดียว ดังที่เรียกว่า “เขตเดียว เบอร์เดียว”

 ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ มีจำนวน 125 คน

         ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คือ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ โดยพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจะจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครไว้เพียงบัญชีเดียว เรียงลำดับจำนวนไม่เกิน 125 รายชื่อ รายชื่อใครจะอยู่ลำดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละพรรคจะดำเนินการ การเลือกตั้งแบบนี้ถือประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง หมายถึงทั้งประเทศ จะมีผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อชุดเดียวกัน
         การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ให้ทำเครื่องหมาย x กากบาท เลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียว ได้เพียงหมายเลขเดียว หรือเบอร์เดียว นั่นก็หมายถึงผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ตัดสินใจ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อในสังกัดของพรรคการเมืองที่ชื่นชอบนั่นเอง ส่วนที่ว่าพรรคใดจะได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจำนวนเท่าใดก็ขึ้นกับว่าพรรคนั้นๆ จะได้รับคะแนนเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด โดยผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งต้องมาจากบัญชีรายชื่อเรียงตามลำดับจนกว่าจะครบจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้รับ โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้

 วิธีคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่ได้รับเลือกตั้ง

  1. นำจำนวนคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนน ให้แก่พรรคการเมืองทุกพรรคมารวมกัน
  2. ผลลัพธ์ตามข้อ 1 หารด้วยจำนวนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 125 คน
  3. ผลลัพธ์ตามข้อ 2 ไปหารคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ก็จะได้จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค
  4. ตามข้อ 3 ถ้ายังไม่ได้ครบ 125 คนให้ดูว่าพรรคการเมืองใดมีเศษเหลือมากที่สุดไล่ไปพรรคการเมืองที่มีเศษรองลงไปเรื่อยๆจนครบ 125 คน

สมมุติว่ามีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ รวม 8 พรรค มีคะแนนรวมทั้งประเทศ ดังนี้

ที่พรรคการเมืองได้คะแนนจำนวน ส.ส. จากการ
คำนวณครั้งแรก
เหลือเศษจำนวน ส.ส. ที่ได้เพิ่ม
จากการคำนวณ
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
ทั้งสิ้น
1
2
3
4
5
6
7
8
พรรค ก.
พรรค ข.
พรรค ค.
พรรค ง.
พรรค จ.
พรรค ฉ.
พรรค ช.
พรรค ซ.
12,600,000
8,450,000
2,900,000
2,800,000
1,550,000
1,550,000
300,000
150,000
51
34
11
11
6
6
1
0.980
0.859
0.963
0.551
0.394
0.394
0.237
0.618
1
1
1
1



1
52
35
12
12
6
6
1
1
รวม1205125

หมายเหตุ ผลการคำนวณครั้งแรกได้ ส.ส. 120 คน ดังนั้น จำนวน ส.ส. อีก 5 คนที่เหลือ จะมาจาก 5 พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเหลือเศษมากที่สุด พรรคละ 1 คน ไล่เรียงตามลำดับคือ พรรค ก. พรรค ค. พรรค ข. พรรค ซ และ พรรค ง.

โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้

  1. รวมคะแนนทุกพรรค 30,300,000 คะแนน
  2. คะแนนเฉลี่ย ต่อ ส.ส. 1 คน คือ คะแนนรวมทุกพรรค หารด้วย 125 กรณีนี้คือ 30,300,000 คะแนน หารด้วย 125 เท่ากับ 242,400 คะแนน
  3. คะแนนรวมของแต่ละพรรคหารด้วยคะแนนเฉลี่ย ผลที่ได้คือจำนวน ส.ส. ของพรรคในเขตนั้นๆ หากคำนวณแล้วได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อไม่ครบ 125 คน ให้นำเศษของคะแนนในแต่ละพรรคการเมืองที่ได้มาจัดลำดับจนครบ

ตัวอย่าง : พรรค ก. ได้คะแนน 12,600,000 คะแนน หารด้วย 242,400 คะแนน ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 51.980 ก็จะได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 51 คน เหลือเศษ .980 คะแนน

คุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.

  1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
  3. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวนับถึงวันเลือกตั้ง ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน (การเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งนี้เป็นกรณียุบสภาผู้สมัครต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง)

ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

  1. ผู้มีสัญชาติไทย (ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
  3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
  4. ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
    • เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
    • อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
    • ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
    • วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

การสมัครรับเลือกตั้ง

การรับสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
ระหว่างวันที่ 19-23 พฤษภาคม 2554 เวลา 08.30-16.30 น.
ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการสมัคร

  1. หนังสือแสดงความยินยอมของผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคน
  2. เงินค่าธรรมเนียมการสมัครรับเลือกตั้งคนละห้าพันบาท
  3. รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกขนาดกว้างประมาณ 8.5 เซนติเมตร ยาว ประมาณ 13.5 เซนติเมตร จำนวนคนละ 10 รูป
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน แต่ถ้าผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนกฎหมาย ให้ใช้บัตรประจำตัวหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้และมีหมายเลขประจำตัวประชาชนของผู้ถือบัตร
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน
  6. ใบรับรองแพทย์

การรับสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
ระหว่างวันที่ 24-28 พฤษภาคม 2554 เวลา 08.30-16.30 น.
ณ สถานที่ ผอ.กต.ประจำเขตเลือกตั้งกำหนด ( คลิกที่นี่ เพื่อ download รายละเอียดสถานที่รับสมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต)

เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการสมัคร

  1. หนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมือง
  2. ค่าธรรมเนียมการสมัครรับเลือกตั้งคนละห้าพันบาท
  3. รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกขนาดกว้างประมาณ 8.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13.5 เซนติเมตร คนละ 10 รูป
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน แต่ถ้าผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนกฎหมายให้ใช้บัตรประจำตัวหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้และมีหมายเลขประจำตัวประชาชนของผู้ถือบัตร
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน
  6. ใบรับรองแพทย์

และ หลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกตั้งเพิ่มเติมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  1. หลักฐานซึ่งแสดงว่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็น เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
  2. หลักฐานซึ่งแสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
  3. หลักฐานซึ่งแสดงว่าเคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับ เลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีการศึกษา
  4. หลักฐานซึ่งแสดงว่าเคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัด ที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี

รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อ

หมายเลขชื่อพรรคจำนวนผู้สมัครวันที่สมัคร
1เพื่อไทย12519 พ.ค. 54
2ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน12519 พ.ค. 54
3ประชาธิปไตยใหม่00619 พ.ค. 54
4ประชากรไทย01319 พ.ค. 54
5รักประเทศไทย01119 พ.ค. 54
6พลังชล01819 พ.ค. 54
7ประชาธรรม02519 พ.ค. 54
8ดำรงไทย01319 พ.ค. 54
9พลังมวลชน00819 พ.ค. 54
10ประชาธิปัตย์12519 พ.ค. 54
11ไทยพอเพียง00319 พ.ค. 54
12รักษ์สันติ06419 พ.ค. 54
13ไทยเป็นสุข00519 พ.ค. 54
14กิจสังคม12519 พ.ค. 54
15ไทยเป็นไท01019 พ.ค. 54
16ภูมิใจไทย12519 พ.ค. 54
17แทนคุนแผ่นดิน03219 พ.ค. 54
18เพื่อฟ้าดิน00119 พ.ค. 54
19เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย03019 พ.ค. 54
20การเมืองใหม่02419 พ.ค. 54
21ชาติไทยพัฒนา12519 พ.ค. 54
22เสรีนิยม00819 พ.ค. 54
23ชาติสามัคคี00919 พ.ค. 54
24บำรุงเมือง01419 พ.ค. 54
25กสิกรไทย00219 พ.ค. 54
26มาตุภูมิ04019 พ.ค. 54
27ชีวิตที่ดีกว่า00419 พ.ค. 54
28พลังสังคมไทย00519 พ.ค. 54
29เพื่อประชาชนไทย00419 พ.ค. 54
30มหาชน00619 พ.ค. 54
31ประชาชนชาวไทย00521 พ.ค. 54
32รักแผ่นดิน00123 พ.ค. 54
33ประชาสันติ03423 พ.ค. 54
34ความหวังใหม่12523 พ.ค. 54
35อาสามาตุภูมิ00323 พ.ค. 54
36พลังคนกีฬา10323 พ.ค. 54
37พลังชาวนาไทย00523 พ.ค. 54
38ไทยสร้างสรรค์00423 พ.ค. 54
39เพื่อนเกษตรไทย02323 พ.ค. 54
40มหารัฐพัฒนา00223 พ.ค. 54
รวม1,410

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. รายชื่อผู้สมัครพร้อมนโยบายพรรคอย่างย่อ คลิกที่นี่
  2. ประกาศ กกต. เรื่องรายชื่อพรรคการเมืองที่ยื่นรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ส.ส.22/บช1, ส.ส.22/บช2) คลิกที่นี่

รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตฯ

  • รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตฯ

การลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า

ในเขตเลือกตั้ง

         ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านตามทะเบียนบ้าน ที่ต้องเดินทางออกนอกเขตไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ในวันเลือกตั้ง ก็สามารถไปแสดงตนเพื่อขอลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ล่วงหน้า ได้ ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง โดยต้องยื่นคำขอลงทะเบียนนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ถามวันเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาการลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง

ตั้งแต่วันที่ 13-17 มิถุนายน 2554 ณ ที่ว่าการอำเภอ และ ที่ทำการทะเบียนท้องถิ่น โดยยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอ / นายทะเบียนท้องถิ่น ก็คือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตของ กทม. นายอำเภอ หรือปลัดเทศบาล

วันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง
วันที่ 26 มิถุนายน 2554 เวลา 08.00 – 15.00 น.
ณ สถานที่เลือกตั้งกลาง

นอกเขตจังหวัด

ผู้ประสงค์ที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดจะต้องทำอย่างไร?

          ผู้ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่คนละจังหวัดกับที่ผู้นั้นมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง (เพิ่งย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาใหม่) ไม่ถึง 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลาง ของจังหวัดที่ท่านทำงานหรืออาศัยอยู่ได้ แต่ต้องยื่นคำขอลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ภายในวันที่ 19 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2554 สำหรับผู้ที่เคยลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าไว้แล้วโดยไม่ได้ขอเปลี่ยนแปลงที่ลงคะแนน ก็สามารถไปขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าได้ตามวันเวลาที่กำหนดได้เลย

การลงคะแนนเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด

วันเลือกตั้งล่วงหน้า : วันที่ 26 มิถุนายน 2554 เวลา 08.00-15.00 น.
สถานที่ลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า  : ณ ที่เลือกตั้งกลางของแต่ละจังหวัด อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานคร มีทุกสำนักงานเขต

เอกสารที่ต้องเตรียมยื่นลงทะเบียนนอกเขตจังหวัด

  1. คำขอลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด (ส.ส.42) และหนังสือตอบรับการลงทะเบียนฯ ส.ส.42/ข.) – ขอรับได้ที่ที่ว่าการอำเภอทุกแห่งหรือสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือ Download จากหมวด “แบบฟอร์ม”
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้และมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง

หมายเหตุ สามารถยื่นรวมกันเป็นกลุ่มได้ โดยใช้คำแบบ ส.ส.42/ก หรือทำเป็นหนังสือที่มี ชื่อ-สกุล เลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง และจังหวัดที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้ายเป็นเวลาไม่น้อย กว่า 90 วัน

วิธีการยื่นคำขอลงทะเบียนนอกเขตจังหวัด 
         ยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอ/นายทะเบียนท้องถิ่น ก็คือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตของ กทม. นายอำเภอ หรือปลัดเทศบาล โดยมีวิธีการยื่น 3 ทาง คือ

  1. ยื่นด้วยตนเอง
  2. ทำหนังสือมอบหมายให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอื่นดำเนินการแทน
  3. ส่งทางไปรษณีย์ (ดูตราประทับต้นทางเป็นสำคัญ)
    หมายเหตุ กรณีส่งทางไปรษณีย์ จะต้องเตรียมซองจดหมายจ่าหน้าซองถึงตนเองพร้อมติดแสตมป์ส่งไปพร้อมกันกับเอกสารคำขอด้วย

ระยะเวลาในการลงทะเบียน
วันที่ 19 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2554ข้อควรระวังเกี่ยวกับการลงทะเบียน

  1. ผู้ที่เคยลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตฯ ไว้แล้วสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าได้ทันที โดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่
  2. ผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้วฯ หากต้องการกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ เขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะต้องขอยกเลิกการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดก่อน
  3. การลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตฯ ใช้ได้กับการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. เท่านั้น ส่วนการเลือกตั้งท้องถิ่น ผู้ลงทะเบียนจะต้องกลับไปใช้สิทธิ ณ ท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  4. ผู้ที่ลงทะเบียนฯ ต้องไปใช้สิทธิได้ในวันที่ 26 มิถุนายน 2554 เท่านั้น จะไม่สามารถไปใช้สิทธิในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ได้
  5. การลงทะเบียนฯ จะมีผลผูกพันไปตลอดจนกว่าผู้มีสิทธิฯ จะยื่นหนังสือขอยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง