เซลล์พืช เซลล์สัตว์ ต่างกันอย่างไร ??

สร้างโดย : นางสาวเทพศิรินทร์ บุริมาศ
สร้างเมื่อ เสาร์, 29/05/2010 – 18:29

เซลล์พืช เซลล์สัตว์ ต่างกันอย่างไร ??

สวัสดีค่ะ !! ยินดีต้อนรับทุกคนนะคะ
สำหรับบล็อกนี้  ก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเซลล์พืช และเซลล์สัตว์นะคะ
อ้อ..แล้วก็มีการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเซลล์พืชและ เซลล์สัตว์ด้วยค่ะ

เชิญเลื่อนลงไปดูเนื้อหาได้เลยค่า^^

     เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ !!!!

เซลล์พืชเซลล์สัตว์
1. เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม1. เซลล์สัตว์มีรูปร่างกลมหรือรี
2. มีผนังเซลล์อยู่ด้านนอก2. ไม่มีผนังเซลล์แต่มีสารเคลือบเซลล์อยู่ด้านนอก
3. มีคลอโรพลาสต์ภายในเซลล์3. ไม่มีคลอโรพลาสต์
4. ไม่มีเซนทริโอล4. มีเซนทริโอลใช้ในการแบ่งเซลล์
5. แวคคิวโอลมีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน5. แวคคิวโอลมีขนาดเล็กมองเห็นได้ไม่ชัดเจน
6. ไม่มีไลโซโซม6. มีไลโซโซม

อ่านเพิ่มเติม...

ส่วนประกอบของเซลล์พืช

เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดเล็กมากภายในมีโครงสร้างมากมายดังนี้

  1. ผนังเซลล์ (Cell Wall ) เซลล์ทั่วไปประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นหลักทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายให้แก่เซลล์พืช ให้เซลล์คงรูปเพิ่มความแข็งแรงเซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์ แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสารเคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้ มีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆเช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู มีสารเคลือบพวกไกลโคโปรตีน (Glycoprotein)  เซลล์พวกไดอะตอมมีสารเคลือบเป็นพวก ซิลิกา สารเคลือบเหล่านี้มีประโยชน์ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้
  2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นเยื่อบางๆ ประกอบด้วยโปรตีน และไขมัน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณ และชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ และมีรูเล็ก ๆเพื่อให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกได้ และไม่ให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกจากเซลล์ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อบางๆ (Semipermeable Membrane)
  3. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) เป็นส่วนประกอบที่เป็นของเหลวอยู่ภายในเซลล์มีสารที่ละลายน้ำได้ เช่น โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ ฯลฯ ประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ที่สำคัญหลายชนิดดังนี้
    1. ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะยาวรีเป็นแหล่งผลิตสารที่มีพลังงานสูงให้แก่เซลล์
    2. คลอโรพลาส (Chloroplast) เป็นโครงสร้างพบเฉพาะในเซลล์พืชมองเห็นเป็นสีเขียวเพราะมีสารพวกคลอโรฟิลล์ ซึ่งไม่ดูดกลืนแสงสีเขียวคลอโรฟิลล์เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
    3. ไรโบโซม (Ribosome) เป็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็กเป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์โปรตีนเพื่อส่งออกไปใช้นอกเซลล์
    4. กอลจิคอมเพลกซ์ (GolgiComplex) เป็นโครงสร้างที่เป็นถุงแบนๆ คล้ายจานซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หลายชั้น ทำหน้าที่สร้างสารคาร์โบไฮเดรตที่รวมกับโปรตีนแล้วส่งออกไปใช้ภายในเซลล์
    5. เซนตริโอล (Centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์และโพรติสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์
    6. แวคิวโอล (Vacuole) เป็นโครงสร้างที่มีช่องว่างชนาดใหญ่มากในเซลล์พืชภายในมีสารพวกน้ำมัน ยาง และแก๊สต่าง ๆ
  4. นิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงการเซลล์เซลล์ส่วนใหญ่มีนิวเคลียส ยกเว้นเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ลำเลียงอาหารของพืชเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส นิวเคลียสทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์ ส่วนประกอบของนิวเคลียสมีดังนี้
    1. นิวคลีโอพลาซึม (Nucleoplasm) เป็นของเหลวภายในนิวเคลียสเป็นส่วนที่ใส ไม่มีสี ประกอบด้วยเม็ดสารเล็ก ๆ ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน
    2. ร่างแหนิวเคลียส มีโครงสร้างเป็นเส้นที่สานกันเป็นร่างแหเมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว ร่างแหนิวเคลียสจะเปลี่ยนเป็นร่างแหโครโมโซม ซึ่งประกอบด้วย DNA หรือยีน (gene) ซึ่งมีสารพันธุกรรมประกอบอยู่และเป็นตัวควบคุมการแสดงออกถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
    3. นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นตำแหน่งที่ติดสีเคมีบนไครโมโซมประกอบด้วยสารประเภท DNA TNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกลไกการสร้างโปรตีน

เอาล่ะค่ะ เราก็ได้รู้จักส่วนประกอบของเซลล์พืชไปบ้างแล้วนะคะ ต่อไป เราก็จะได้รู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของเซลล์สัตว์กันบ้าง ไปกันเลยยยยย !!!!

 ส่วนประกอบของเซลล์สัตว์

  1. นิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงการเซลล์เซลล์ส่วนใหญ่มีนิวเคลียสยกเว้นเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและเซลล์ลำเลียงอาหารของพืชเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส นิวเคลียสทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์ส่วนประกอบของนิวเคลียสมีดังนี้
    1. นิวคลีโอพลาซึม (Nucleoplasm) เป็นของเหลวภายในนิวเคลียสเป็นส่วนที่ใสไม่มีสี ประกอบด้วยเม็ดสารเล็ก ๆ ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน
    2. ร่างแหนิวเคลียส มีโครงสร้างเป็นเส้นที่สานกันเป็นร่างแหเมื่อเซลล์มีการแบ่งตัวร่างแหนิวเคลียส จะเปลี่ยนเป็นร่างแหโครโมโซม ซึ่งประกอบด้วย DNA หรือยีน (gene) ซึ่งมีสารพันธุกรรมประกอบอยู่และเป็นตัวควบคุมการแสดงออกถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
    3. นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นตำแหน่งที่ติดสีเคมีบนไครโมโซมประกอบด้วยสารประเภท DNA TNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกลไกการสร้างโปรตีน
  2.  ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) เป็นส่วนประกอบที่เป็นของเหลวอยู่ภายในเซลล์มีสารที่ละลายน้ำได้ เช่น โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ ฯลฯ ประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ที่สำคัญหลายชนิดดังนี้ 
    1. ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะยาวรีเป็นแหล่งผลิตสารที่มีพลังงานสูงให้แก่เซลล์
    2. คลอโรพลาส (Chloroplast) เป็นโครงสร้างพบเฉพาะในเซลล์พืชมองเห็นเป็นสีเขียว เพราะมีสารพวกคลอโรฟิลล์ ซึ่งไม่ดูดกลืนแสงสีเขียวคลอโรฟิลล์เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
    3. ไรโบโซม (Ribosome) เป็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็กเป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์โปรตีนเพื่อส่งออกไปใช้นอกเซลล์
    4. กอลจิคอมเพลกซ์ (GolgiComplex) เป็นโครงสร้างที่เป็นถุงแบนๆ คล้ายจานซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หลายชั้น ทำหน้าที่สร้างสารคาร์โบไฮเดรตที่รวมกับโปรตีนแล้วส่งออกไปใช้ภายในเซลล์
    5. เซนตริโอล (Centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์และโพรติสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์
    6. แวคิวโอล (Vacuole) เป็นโครงสร้างที่มีช่องว่างชนาดใหญ่มากในเซลล์พืชภายในมีสารพวกน้ำมัน ยาง และแก๊สต่าง ๆ
  3. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นเยื่อบางๆ ประกอบด้วยโปรตีน และไขมัน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณ และชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ และมีรูเล็ก ๆเพื่อให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกได้ และไม่ให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกจากเซลล์ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อบางๆ (Semipermeable Membrane)

แหล่งอ้างอิง:  http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/03.htm

ย่อ