วิถีชีวิตชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง

สร้างโดย : นางสาวพชรมณฑ์ ธีกาศ และเด็กชายพงศกร เขียวกาศ
สร้างเมื่อ อังคาร, 18/01/2011 – 16:15
มีผู้อ่าน 150,372 ครั้ง (19/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/91517
รางวัลรองชนะเลิศ ประเภทสื่อออนไลน์ ระดับชั้น ป.1 – ม.3
โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553
ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วิถีชีวิตชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง

https://www.youtube.com/watch?v=9Ui_6K5KKL4

เนื้อหาประกอบด้วย

  1. ประวัติความเป็นมา
  2. ประเพณีและวัฒนธรรม
    • พิธีการแต่งงาน
    • การเลี้ยงผี
    • เลี้ยงผีหมู่บ้านหรือผีเสื้อบ้าน
  3. สำเนียงภาษา
  4. การแต่งกาย
  5. อาชีพหลักของชาวกระเหรี่ยง
  6. อาหารการกิน
  7. ที่อยู่อาศัย
  8. การเดินทาง
  9. สถานที่ท่องเที่ยวที่ใกล้เคียง
  10. โรงเรียนกับชุมชน
  11. โรงเรียนมีส่วนร่วมกับชาวกะเหรี่ยง
  12. วิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงโดยสรุป
  13. แหล่งอ้างอิง
  14. ผู้จัดทำ

อ่านเพิ่มเติม...

1. ประวัติความเป็นมา

          เลขที่ 99 หมู่ที่ 8 ตำบลทากาศ บนทางหลวงหมายเลข 1033 เข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตรหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงปากญอ มีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย ชาวบ้านยังคงแต่งกายด้วยชุดชาวเผ่า ผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้วจะแต่งนุ่งผ้าถุงสีแดง คาดลายสีต่าง ๆ ที่ทอขึ้นเอง ปักด้วยลูกเดือยและตกแต่งด้วยผ้าสีแดง ส่วนผู้หญิงที่ยังไม่มีครอบครัวจะใส่ชุดยาวสีขาว แต่งลวดลายด้วยสีต่าง ๆ ส่วนผู้ชายจะใส่เสื้อโพล่งสีแดง กางเกงสะดอหรือโสร่ง ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทอผ้าใช้เองตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกฝ้าย ปั่นด้าย ทอผ้า และประดับลูกเดือย มีการสืบทอดต่อกันมาจนถึงรุ่นลูกหลาน ภายในหมู่บ้านมีกลุ่มทอผ้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาวเขาและสิ่งทอทุกชนิด    

          หมู่บ้านแม่ขนาดเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง มีอาชีพรับจ้าง และทำการเกษตร ปัจจุบันยังคงหลงเหลือซึ่งความเป็นอยู่แบบชนบทแบบดั้งเดิมที่พอให้เราได้พบเห็นอยู่  “กะเหรี่ยง” เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่มีวิถีการดำเนินชีวิตที่น่าสนใจเพราะทุกวันนี้มีจำนวนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกที เนื่องจากไม่นิยมคุมกำเนิด หรือคุมกำเนิดไม่ได้ผล ทำให้นิยมมีบุตรมากกว่า 2 คนขึ้นไป ถึงแม้รายได้ไม่เพียงพอสำหรับบุตรที่จะเกิดมา แต่เนื่องจากพวกเขามีวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ จึงดำรงอยู่ได้อย่างไม่อดอยาก ในขณะที่คนไทยปัจจุบันนิยมมีบุตรเพียงคนเดียว หรือบางทีอาจจะเลือกวิธีที่จะไม่มีบุตร เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่มีค่าครองชีพสูง

https://www.youtube.com/watch?v=wYPYmAf5WUA
วิถีชีวิตชาวปากญอ

          การดำเนินชีวิตของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่แตกต่างจากคนไทยที่สามารถเห็นได้ชัดอีกอย่างคือประเพณีการแต่งงาน ที่ฝ่ายหญิงต้องเป็นฝ่ายไปสู่ขอรวมทั้ง จัดเตรียมจัดงานและทอชุดแต่งงานของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เพื่อใช้ในวันแต่งงาน เจ้าบ่าว เจ้าสาวจะใส่ชุดสีแดง ฝ่ายเจ้าสาวจะโพกผ้าบนหัวสีแดงหรือสีขาว พิธีการจัดงานแต่งงานจะจัดทั้งที่บ้านเจ้าสาวและเจ้าบ่าว ซึ่งต่างจากประเพณีการแต่งงานของคนไทยที่ฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายไปสู่ขอและจัดเตรียมพิธีการแต่งงานทุกอย่าง

2. ประเพณีและวัฒนธรรม

          แต่เดิมนั้นชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านแม่ขนาดนับถือผีมีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัด แต่ต่อมาในภายหลังชาวกะเหรี่ยงในชุมชนบ้านแม่ขนาดแม้ว่าจะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็ผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมกับเรื่องการนับถือผีเข้าไว้ด้วยกัน  การนับถือ ผี เป็นความเชื่อดั้งเดิมอยู่คู่หมู่บ้านแม่ขนาดนี้มานานแล้ว ซึ่งเป็นความเชื่อในเหล่าบรรพบุรุษ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา เนื่องจากวิถีชีวิตของชาวบ้านในหมู่บ้านแม่ขนาดนั้นผูกพันอยู่กับธรรมชาติและป่าเขามานาน และความผูกพันนี้จึงเชื่อมความเชื่อกับธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกัน  โดยเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งไม่ว่าในป่า ในหมู่บ้าน ในไร่นา หากเกิดเจ็บป่วยไม่สบายหรือเกิดภัยพิบัติ ชาวกระเหรี่ยงเชื่อว่าเกิดจากการบันดาลให้เป็นไปของผี สืบเนื่องจากมีผู้กระทำผิดผี ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการเลี้ยงผีเพื่อเป็นการขอขมา หรือหากมีผู้ใดทำผิดผีต้องมีการเสียผี มีการเซ่นไหว้และจ่ายเงินชดเชยให้กับเจ้าของบ้านที่ถูกกระทำผิดผี  เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนมีที่มาอันยาวนานสอดคล้องกับวิถีชุมชน มิใช่เรื่องเหลวไหลงมงาย หากแต่ลึกซึ้งเกินกว่าคนจากต่างวัฒนธรรมจะเข้าใจได้

พิธีการแต่งงาน

สู่ขอ (เอาะ เฆ)
          เรื่องราวของการสู่ขอมีลักษณะดังนี้เมื่อเป็นที่รับรู้แล้วว่าหญิงชาย รักชอบพอกัน พ่อแม่และญาติพี่น้องของฝ่ายหญิงก็จะส่งคนไปหาฝ่ายชาย เพื่อสอบถามให้แน่ใจว่าฝ่ายชายรัก และยินดีที่จะแต่งงานกับฝ่ายหญิงจริงหรือไม่ หากฝ่ายชายรักชอบพอกัน และยินยอมที่จะแต่งงานกับฝ่ายหญิงก็จะมีการนัดหมายวันเวลาทำพิธีแต่งงานกัน ในเวลานั้น (ตามหลักประเพณีกะเหรี่ยงฝ่ายหญิงจะต้องเป็นฝ่ายไปขอฝ่ายชาย)

การหมั้นหมาย (เตอะ โหล่)
          เมื่อฝ่ายชายตกลงปลงใจว่าจะแต่งงานกับฝ่ายหญิงและนัดหมายวันเวลาแต่ง งานที่แน่นอนแล้วฝ่ายชายก็ส่งเถ้าแก่ ไปทำพิธีหมั่นหมาย ฝ่ายหญิงก่อนวันแต่งงานในพิธีฝ่ายหญิงจะฆ่าไก่ 2 ตัว ในการู่ทำอาหารเพื่อเลี้ยงรับรองเถ้าแก่ของ่ฝ่ายชายและ วันรุ่งขึ้นก็จะนัดหมายวันเวลาที่ ฝ่ายชายและเพื่อนๆ จะมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำพิธีแต่งงานต่อไป

หมู่แรกทำพิธี (เทาะ เตาะ) 
          เทาะเตาะ คือหมูตัวแรกที่ใช้ฆ่าในพิธีแต่งงาน และจะนำเนื้อหมูมาเอาไว้เป็นเครื่องบูชาเพื่อขอเทวดามาอวยพรเจ้าบ่าวเจ้า สาวและผู้ร่วมงานทุกคน เมื่อถึงเวลาออกเดินทางไปสู่หมู่บ้านเจ้าสาว ตั้งข้าวของเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าบ่าวจะลงไปอยู่พร้อม กันที่พักหน้าหมู่บ้านและจะปูเสื่อเพื่อนั่งปรึกษาหารือกัน จากนั้นตั้งข้าวจะทำพิธีรินเหล้าและอธิฐานขอพร เมื่อเสร็จพิธีก็จะออกเดินทางโดยมีเจ้าบ่าวและเพื่อนๆของเจ้าบ่าวร่วมเดิน ทางกันอย่างพร้อมเพรียงกัน เมื่อเดินทางมาถึงบ้านเจ้าสาวเพื่อนบ้านของเจ้าสาวก็จะคอยต้อนรับโดยจะให้ ไปพักที่พักชั่วคราวบริเวณหน้าบ้าน เพื่อทำพิธีดื่มเหล้า เสร็จพิธีดื่มหัวเหล้า (เหล้าขวดแรกที่ใช้ดื่มในพิธี) หลังจากนั้นก็จะขึ้นไปสู่บ้านเจ้าสาวเพื่อพักผ่อน และดื่มเหล้าพร้อมกับขับลำนำโต้ตอบกันระหว่างเพื่อนเจ้าบ่าวที่เป็นคนต่าง ถิ่นและเพื่อนเจ้าสาวที่เป็นคนต่างถิ่น และเพื่อนเจ้าสาวที่เป็นคนในถิ่น ในขณะเดียวกันนี้ญาติพี่น้องของเจ้าสาวก็จะทำการฆ่าหมูเพื่อทำอาหารสำหรับ เลี้ยงต้อนรับแขกที่มาในงานทุกคน รวมถึงเพื่อนเจ้า บ่าวที่มาจากต่างถิ่นมารับประทานอาหารร่วมกัน เสร็จแล้วก็จะเป็นเวลาส่วนตัวของแต่ละคน ที่จะพักผ่อนนอนหลับหรือเยี่ยมเยียนเพื่อนบ้านอื่นๆ และขับลำนำโต้ตอบกัน ซึ่งบางคนบางกลุ่มูก็จะเที่ยวขับลำนำตลอดคืนเลยก็มี

การเลี้ยงผี

          ผีบ้าน ผีเรือนหรือผีบรรพบุรุษ เป็นผีประจำบ้านเรือน คือ วิญญาณของปู่ย่าตายายที่วนเวียนคุ้มครองลูกหลานอยู่ภายในบ้านเรือนคอยป้องกันรักษาบุตรหลานให้อยู่ อย่างสงบสุข ชาวกะเหรี่ยงจะมีพิธี เซ่น บวงสรวงบูชาผีเรือนอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง เพื่อให้ปลอดภัยจากการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือรอดพ้นจากภัยทั้งปวง

เลี้ยงผีหมู่บ้านหรือผีเสื้อบ้าน

          ชาวกะเหรี่ยงจะนับถือผีและถือ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีผีปีศาจเฝ้าดูแลรักษา ในป่ามีผีป่า บ้านมีผีเรือน ผีหมู่บ้าน ซึ่งมีพิธีเลี้ยงผีหมู่บ้านในราวเดือน 10 เหนือ ทุกหลังคาเรือนฆ่าไก่ 1 คู่ นำไปเซ่นผีหมู่บ้าน ซึ่งปลูกศาลไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ริมหมู่บ้าน (ถะหลือขาง) มีการผูกข้อมือด้วยเส้นด้าย โดยมีอาจารย์ทางไสยศาสตร์หรือหมอผี (ตั้งข้าว) ประจำหมู่บ้านนั้นเป็นผู้ประกอบพิธี

 

          เพื่อขับไล่ความชั่วร้ายทั้งหลายให้ออกไปจากร่างกาย และจิตใจ การเลี้ยงผีหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านทุกคนต้องหยุดงานไม่ไปไร่สวนเป็นเวลา 3 วัน ต่างช่วยกันทำซุ้มประตู ซึ่งอยู่ระหว่างหัวหมู่บ้านกับท้ายหมู่บ้าน ปิดเครื่องหมายเฉลวเพื่อห้ามคนต่างถิ่นหรือต่างหมู่บ้านเข้าออกภายในบริเวณ หมู่บ้านของเขาตลอดเวลาที่มีงาน ถ้าหากมีคนต่างถิ่นเข้าไปก็จะถูกห้ามออกจากหมู่บ้านก่อนจะเสร็จพิธีเลี้ยงผีหมู่บ้านหรืองานเซ่นผีหมู่บ้าน เมื่อเสร็จพิธีแล้วจะถูกปรับไหมทันที ที่ประทับผีหมู่บ้านทำเป็นศาลหลังสูงประมาณ 2 เมตร ไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ข้างหมู่บ้าน ชาวบ้านต่างนำไก่ต้ม 1 คู่ สุรา 1 ขวดใส่ถาดอาหารไปเส้นผีหมู่บ้าน เมื่อเสร็จแล้วก็นำมารับประทานกัน และมักมีการร้องทำเพลงอย่างสนุกสนาน

3. สำเนียงภาษา

          ภาษาในท้องถิ่นของหมู่บ้านแม่ขนาดส่วนมาก ร้อยละ 90 จะใช้ ภาษา ปากะญอ  อีก 10 เปอร์เซ็นต์ที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ใหม่จะใช้ภาษาเมือง และภาษาไทย เด็กๆทั่วไปเมื่อเกิดมาจะใช้ภาษา ปากะญอ เป็นภาษาแรก และเมื่อเข้าโรงเรียน ก็จะใช้ภาษากลางกับครู เพราะนักเรียนจะพูดไม่ชัดจึงต้องใช้ภาษาไทยกับครูเป็นส่วนใหญ่ และภาษาคำเมืองของชาวเหนือ อามิตาหล่อ = กินข้าวกับอะไร  ยาบ่าลี่ = ฉันจะไป  ทะเน๊า = วัว  อะหงีนะ = สวย ยาบ่าลี่ใจ๋ = ฉันจะไปเที่ยว ศาสนาที่นับถือส่วนใหญ่ จะนับถือศาสนาพุทธ

https://www.youtube.com/watch?v=yrakOByU0DM
ภาษากะเหรี่ยง

4. การแต่งกาย

          การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่า ดังเช่น ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงในหมู่บ้านแม่ขนาด ที่ยังคงรักษาเอกลักษณะแลความเป็นชนชาติกะเหรี่ยงไว้ คือ การแต่งกายด้วยผ้าทอแบบกะเหรี่ยง  หญิงสาว และหญิงแม่เรือน มีลักษณะการแต่งกายที่ต่างกัน คือ ผู้หญิงกะเหรี่ยงสะกอที่ยังไม่แต่งงานใส่ชุดทอด้วยมือทรงสอบ สีขาว ยาวคร่อมเท้า ชุดขาวนี้เรียกว่า “ไช้ อั่วะ” ใส่ตั้งแต่เด็กจนถึงวันแต่งงานจึงจะเปลี่ยนใส่ชุดขาว เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ หญิงทุกวัยที่ยังไม่ได้แต่งงาน ต้องสวมชุดยาวสีขาว  เมื่อแต่งงานแล้วจะต้องเปลี่ยนมาเป็นสวมใส่เสื้อสีดำหรือที่เรียกว่า  “ไช้ โพ่ง” และผ้าถุงคนละท่อนที่เรียกว่า “นิง” เท่านั้น ห้ามกลับไปสวมใส่ชุดยาวสีขาวอีก

          ผู้หญิงกะเหรี่ยงสะกอที่แต่งงานแล้วสวมเสื้อประดับประดาด้วยลูกเดือยและฝ้ายสี เสื้อของหญิงที่แต่งงานแล้ว ต้องมีลายปัก ต้องมีการปักลูกเดือย และจะใส่ผ้าซิ่นที่มีลายถี่ ผ้าซิ่นของหญิงที่แต่งงานแล้ว ส่วนผู้ชายมักสวมกางเกงสีดำ และสีน้ำเงิน กรมท่า หรือ มักสวมโสร่ง ลักษณะเสื้อผู้ชายวัยหนุ่มใช้สีแดง เสื้อสีแดงของชายกะเหรี่ยงเน้นเสื้อทรงสอบ คอเสื้อเป็นรูปตัววี ตรงชายเสื้อติดพู่ห้อยลง แต่มีลวดลายมากน้อย ต่างกันที่เรียกว่า “ไช้พรู่”  ซึ่งเสื้อสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชาย นั่นคือ ความอดทนแข็งแรง การแต่งกายในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีปีใหม่ พิธีแต่งงาน เน้นสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ จะเห็นชัดว่าชายหนุ่ม และหญิงสาวจะพิถีพิถันแต่งกายสวยงามเป็นพิเศษ

https://www.youtube.com/watch?v=lcyZJcoZkwA

5. อาชีพหลักของชาวกระเหรี่ยง

          หมู่บ้านแม่ขนาดมีภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง มีพื้นที่ทำการเกษตรมากมาย อาชีพหลักของชาวกะเหรี่ยงคือทำการเกษตร และอาชีพรองลงมาก็คือ การออกไปรับจ้างทั่วไป แต่อาชีพที่สำคัญและเป็นที่นิยมของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงได้แก่ การทอผ้าจะถือได้ว่าเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านเลยก็ว่าได้ รูปภาพการทอผ้า และผ้าทอที่จัดจำหน่ายโดยกลุ่มสตรีบ้านแม่ขนาด

https://www.youtube.com/watch?v=LpkoHqCgxDA
การทอผ้าอาชีพหลักของชาวปากญอ

6. อาหารการกิน

          สมัยก่อนอาหาร ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงจะรับประทานข้าวจ้าวที่ปลูกบนภูเขาแล้วนำมาตำในครกก่อนนำไปต้มเพื่อทำอาหาร อาหารที่นิยมรับประทานเรียกว่า “ต่าโยเผาะ” (คนไทยเรียก “ข้าวเบ๊อะ”) มีลักษณะคล้ายข้าวต้มหรือแกงคั่วของคนไทย โดยจะมีส่วนผสมพวก หมู เนื้อ ไก่ และผักต่าง ๆ ตามโอกาส ลงไปในข้าวที่ต้มไว้ ปรุงรสด้วยเกลือ และพริกป่น รับประทานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีกับข้าวอีก   สมัยปัจจุบัน อาหารของชาวกะเหรี่ยงก็จะเป็นอาหารแบบทั่วๆไปอย่างที่เรารับประทานกันเพราะเดี๋ยวนี้ยุคสมัยปรับเปลี่ยนไป การกินอยู่ก็จะทันสมัยขึ้นไม่แพ้กับคนไทยปัจจุบัน

https://www.youtube.com/watch?v=vQfhQ8kjdQM

7. ที่อยู่อาศัย

          ส่วนที่อยู่อาศัยนิยม ปลูกบ้านไม้ชั้นเดียว ตัวบ้านทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก หลังคามุงด้วยหญ้าคา หรือใบตอง ส่วนใหญ่บ้านหนึ่งหลังจะมีเพียง 1 ห้องนอน ตรงกลางตัวบ้านมักจะมีเตาไฟไว้ เพื่อทำกับข้าว และอาศัยนอนเพื่อรับความอบอุ่นจากเตาไฟในช่วงฤดูหนาว นอกจากนี้ยังสร้างยุ้งฉางข้าวไว้มุมใดมุมหนึ่งของตัวบ้าน

https://www.youtube.com/watch?v=zFFvjnUgwY8
บ้านชาวปากญอ

8. การเดินทาง

การเดินทาง   บนทางหลวงหมายเลข 1033 เข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร    

การเดินทางโดยรถส่วนตัว

          ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านดอนเมือง รังสิต แยกซ้ายตรงกิโลเมตรที่ 32 ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท เข้าจังหวัดนครสวรรค์ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 11 เข้าจังหวัดลำพูน จากนั้น มุ่งหน้าสู่ตำบลทากาศ หมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงปากะญอ บนทางหลวงหมายเลข 1033 เข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร|รวมระยะทาง 670 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง  

การเดินทางโดยรถประจำทาง

          บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถประจำทางปรับอากาศบริการทุกวันจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 โทร. 0-2936- 2852-66 สถานีบขส.ลำพูน

การเดินทางโดยรถไฟ

          รถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปจังหวัดลำพูนทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 หรือ สถานีรถไฟหัวลำโพง   0-2621-8701    0-2621-8701  ต่อ 5208 สถานีรถไฟลำพูน

การเดินทางโดยเคื่องบิน

          บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไม่มีเครื่องบินบินตรงไปจังหวัดลำพูน ต้องบินไปเชียงใหม่ แล้วต่อรถมาลำพูน รายละเอียดสอบถามได้ที่ การบินไทย  โทร. 1566, 0-2356-1111 0-2356-1111     

9. สถานที่ท่องเที่ยวที่ใกล้เคียง

หมู่บ้านแกะสลักในอำเภอแม่ทา

          เดินทางไปตามถนนสายแม่ทา – ท่าจักร ประมาณ 15 กิโลเมตร บริเวณบ้านหนองยางไคล ตำบลทุ่งทาหลวง และบริเวณหมู่บ้านใกล้เคียง เป็นแหล่งผลิตไม้แกะสลักเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น รูปคน รูปสัตว์ เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องประดับบ้าน ของเล่นเด็ก เป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนส่งไปขายยังจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง

อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล

ข้อมูลทั่วไป
          อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอห้างฉัตร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สภาพพื้นที่เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ซึ่งเป็นบรรยากาศที่เงียบสงบ และอุโมงค์ขุนตานซึ่งเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สร้างโดยชาวเยอรมัน มีเนื้อที่ประมาณ 159,556.25 ไร่ หรือ 255.29 ตารางกิโลเมตร

          ป่าดอยขุนตาลแห่งนี้เป็นป่า 1 ใน 14 แห่ง ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ได้ประกาศให้ป่าดอยขุนตาลในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยขุนตาล ตามกฏกระทรวง ฉบับที่ 116 (พ.ศ. 2506) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 80 ตอนที่ 82 วันที่ 13 สิงหาคม 2506 เนื้อที่ 39,206.25 ไร่ และในท้องที่บางส่วนของตำบลเวียงตาล ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร และตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยขุนตาลตาม กฏกระทรวงฉบับที่ 359 (พ.ศ. 2511) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอนที่ 109 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2511 เนื้อที่ 120,625 ไร่

สะพานทาชมภู

          เป็นสะพานทางรถไฟสีขาวโดดเด่นเป็นสง่าอยู่กลางทุ่ง ถัดจากอุโมงค์ขุนตาล ในเขตอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2462 โดยมีนายพลเอก กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นวิศวกรควบคุมงาน ตัวสะพานสร้างด้วยคอนกรีต ซึ่งนับเป็นเรื่องแปลกและท้าทาย เนื่องจากปกติสะพานรถไฟจะสร้างด้วยเหล็ก เพราะสามารถทนต่อแรงสะเทือนและอ่อนตัวได้ดีกว่า แต่เนื่องจากช่วงเวลาที่สร้างสะพานเป็นภาวะสงครามไม่สามารถหาเหล็กมาสร้างสะพานได้ แต่ด้วยการคำนวณและควบคุมงานที่ยอดเยี่ยม ทำให้สะพานทาชมภูยังคงใช้งานได้อยู่จนถึงทุกวันนี้ 

บ้านทาป่าเปา

          ตั้งอยู่ที่บ้านทาป่าเปา ตำบลท่าปลาดุก อำเภอแม่ทา เป็นชุมชนที่เคยได้รับผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่ามาก่อน จึงเข้าใจและรับรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี ได้ร่วมกันฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ดังเดิมได้ ปัจจุบันเป็นพื้นที่ป่าใหญ่ มีความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีความเข้าใจในการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า มีองค์ความรู้ เป็นชุมชนเข้มแข็งมีการจัดกฎระเบียบของชุมชนที่ดูแลกันเอง จนได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประจำปี 2551 ทางชุมชนมีบริการที่พักโฮมสเตย์สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง  

https://www.youtube.com/watch?v=xUg1h4w9Gmo

อ่างเก็บน้ำทาสบเส้า

          ตัวเขื่อนสูง 19 เมตร ยาว 271 เมตร ทางเดินขึ้นหน้าเขื่อนกว้าง 4 เมตร มีศาลาพักร้อน การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 11 สายลำปาง-ลำพูน หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 1033 เข้าทางตลาดเพื่อการเกษตร

10. โรงเรียนกับชุมชน

          ชุมชนบ้านแม่ขนาดเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ห่างไกลจากสิ่งเสพติด ได้ประสานความร่วมมือในการพัฒนาท้องถิ่นด้วยดีเสมอมา และถือว่าชุมชนกับโรงเรียนให้ความร่วมมือกันในทุกเรื่อง อาทิเช่น การสืบสานประเพณีในท้องถิ่น การร่วมกิจกรรมที่ชุมชนได้จัดทำขึ้น เป็นวิทยากรท้องถิ่นชาวกะเหรี่ยง ผู้รู้จากชุมชน ได้ให้การสนับสนุนโรงเรียนบ้านดอยคำในการจัดกิจกรรมของนักเรียนอย่างไม่ขาดสาย 

11. โรงเรียนมีส่วนร่วมกับชาวกะเหรี่ยง

          ด้วยมีนักเรียนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง(บ้านแม่ขนาด)ร้อยละ 80 เป็นนักเรียนของโรงเรียนบ้านดอยคำได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การรักษาไว้ซึ่งขบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงเพื่อพัฒนานักเรียน และเป็นแหล่งวิทยาการให้ความรู้แก่เด็กให้เด็กรุ่นต่อไปได้สืบทอด   

12. วิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงโดยสรุป

          จากวิถีการดำเนินชีวิตของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่กล่าวมา เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป แต่ไม่ว่าจะเป็นชาวกะเหรี่ยง ชาวเขา ชาวเรา คนเราทุกคนนั้นต่างเกิดมาบนพื้นดินและโลกใบเดียวกัน เราทุกคนสามารถเป็นเพื่อน และเป็นมิตรกันได้ อีกทั้งอาจนำวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีๆ ที่เราแตกต่างกันมาลองปฏิบัติได้เช่น ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ นำเอาความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของคนไทยไปใช้ในชีวิตประจำวัน อาจจะทำให้มีเพื่อนมีมิตรที่ดีเพิ่มขึ้นอีกหลาย ๆ คน ส่วนคนไทยเองก็นำเอาความอดทน ความขยันขันแข็งของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงมาเป็นแบบอย่างในการทำงาน นำเอาชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต อาจจะทำให้คนไทยอย่างเรามีชีวิตอยู่ในโลกใบนี้อย่างมีความสุขมากขึ้นกว่าเดิม

แหล่งอ้างอิง

  • http://culturelib.in.th/articles/1565
  • http://www.suddan7002.com/kariang.html
  • http://karen.hilltribe.org/thai/
  • http://karen.hilltribe.org/thai/karen-vocation.php
  • http://www.baanjomyut.com/library/hill_tribes/karieng.html
  • http://www.mochit.com/place/2052
  • http://www.teawmuangthai.com/lamphun/001/
  • http://www.moohin.com/039/039m004.shtm
  • http://www.teawmuangthai.com/lamphun/023/
  • http://www.horapa.com/webboard/show.php?No=2911
  • http://www.youtube.com/watch?v=9Ui_6K5KKL4
  • http://www.youtube.com/watchv=wYPYmAf5WUA&feature=related
  • http://www.youtube.com/watch?v=hGuj5E1J_7A&feature=related
  • http://www.youtube.com/watchv=vQfhQ8kjdQM&feature=related
  • http://www.youtube.com/watch?v=yrakOByU0DM&feature=related
  • http://www.youtube.com/watch?v=LpkoHqCgxDA&feature=related
  • http://www.youtube.com/watch?v=lcyZJcoZkwA&feature=related

ผู้จัดทำ

ย่อ