วันไหว้พระจันทร์

สร้างโดย : นางสาวสุพัฒน์กุล ภัคโชค
สร้างเมื่อ พุธ, 10/09/2008 – 13:40
มีผู้อ่าน 38,457 ครั้ง (08/11/2022)

วันไหว้พระจันทร์
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8

     ภาษาจีนเรียกวันไหว้พระจันทร์ว่า “จงชิว” ที่มาของคำว่าจงชิวนี้คือ เดือนแปดตามปฏิทินจันทรคติตกอยู่ช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง (เดือนเจ็ดและเดือนแปดอยู่ในฤดูใบไม้ร่วง หนึ่งฤดูแบ่งเป็น เมิ่ง จ้ง จี้) ดังนั้นก็เลยเรียกว่า “จ้งชิว” ประกอบกับวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนแปดก็ตกอยู่ในช่วงกลางของเวลาที่เรียกว่าจ้งชิวนี้ จึงเรียกเทศกาลดังกล่าวว่า “จงชิว” ด้วย
     ในคืนวันไหว้พระจันทร์ ดวงจันทร์สว่างและกลม ถือว่าสวยที่สุด ผู้คนถือว่าดวงจันทร์ที่กลมเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความสามัคคี ดังนั้นจึงเรียกเทศกาลนี้ว่า “เทศกาลแห่งความกลมเกลียว”
     เทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลดี เป็นเทศกาลที่มีความเกี่ยวข้องกับตำนาน เรื่องดวงจันทร์ของชาวจีนอย่างแนบแน่น เช่นเรื่อง “ฉังเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์” ถือว่าเป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงมาก
     วันไหว้พระจันทร์ เป็นการไหว้ครั้งที่ 6 ของปี เรียกการไหว้ครั้งนี้ว่า “ตงชิวโจ่ย” การไหว้พระจันทร์ของคนจีน เป็นที่รู้จักกันดีกว่าเทศกาลไหว้อื่นๆ เพราะมีเรื่องราวที่น่าสนใจ เป็นการไหว้เจ้าแม่กวนอิม และมีของไหว้ที่เป็นแบบเฉพาะ เช่นมีขนมไหว้พระจันทร์ มีต้นอ้อย โคมไฟ เทศกาลนี้เป็นอุบายในการปลดแอกชาติจีน ออกจากการปกครองของพวกมองโกล
     วันไหว้พระจันทร์ ถือเป็นวันสารท เพราะตรงกับวันกลางเดือน คือวันที่ 15 ถ้าเป็นตรุษจะเป็นวันที่ 1 ของเดือน ตรงกับวันที่ 15 เดือน 8 ของจีน และถือเป็นวันกลางเดือนของเดือน กลางฤดูใบไม้ร่วง ด้วยว่าประเทศจีนนั้นแบ่งวันเวลา เป็น 4 ฤดูกาล ฤดูหนึ่งมี 3 ดวง คือ ชุง แห่ ชิว ตัง คือฤดูใบไม้ผลิ ฤดูฝน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ตามมลำดับ
     ขนมที่ทำมาเป็นพิเศษในเทศกาลไหว้พระจันทร์นี้ก็คือ ขนมเปี๊ยก้อนใหญ่พิเศษ ไส้หนา มีขนมโก๋สีขาว ขนมโก๋สอดไส้ ขนมโก๋สีเหล์อง เมื่อไหว้เสร็จก็แบ่งกันรับประทานในครอบครัว 

อ่านเพิ่มเติม...

ตำนานและประเพณี วันไหว้พระจันทร์ 

     ประเพณีไหว้พระจันทร์นั้นนอกจาก ประเทศไทยแล้ว ประเทศอื่นๆทั่วโลกที่มีชน ชาวจีนไปตั้งถิ่นฐาน ก็จะปฏิบัติเช่น เดียวกัน คือทุกปีในวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนแปด ชาวจีนจะตั้งโต๊ะจัดของสักการะบูชาพระจันทร์ เพื่อเป็น การขอพรให้กับครอบครัวและให้กับชีวิตของ ตนเอง ของแต่ละอย่างบนโต๊ะก็จะมีความหมาย ต่างๆ กันไปหากวิธีการจัดโต๊ะของแต่ละประเทศก็ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสิ่งของที่หาได้และผลไม้ ในประเทศที่มีซึ่งโดยปรกติก็จะไม่ฟันธงกำหนด ตายตัว หากแต่ผลไม้ที่ใช้ก็จะเน้นให้เป็นผลกลมเพื่อ ความกลมกลึงของชีวิตและหมายถึงความกลมของ พระจันทร์
     แต่ที่จะขาดไม่ได้เลยคือขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งจะเป็นขนมอบใส่ไส้ผลไม้กวนหรือถั่วแดงกวน เม็ดบัว และไข่เค็มเฉพาะไข่แดง สิ่งของอย่างอื่นๆ บนโต๊ะก็จะประกอบไปด้วยสิ่งละอันพันละน้อย ที่มีความ หมายแตกต่างกันไปอย่างเข่น ขนมอี้ ซึ่งเป็นแป้งลูกกลมๆสีแดงสดใสใส่ในน้ำเชื่อมหวาน ซึ่งเปรียบเหมือนชีวิตที่หวานสดชื่น

     ขนมโก๋ ที่เป็นแป้งหวานสีขาว รูปทรงต่างๆ ลวดลายสวยงามเพื่อเป็นการขอผิว พรรณที่ขาวสวย ผลไม้ต่างๆ 5 ชนิดที่มีผลกลม เหมือนพรที่ขอเพื่อให้ชีวิตสุขสดชื่นรวมไปถึง ชีวิต ครอบครัวที่มีความสุขความสามัคคี ในบ้านเจดีย์น้ำตาล เป็นตัวแทนของ ปราสาทแห่งสวรรค์ถั่วหวานขนมหวาน เคลือบน้ำตาล ขนมเปี๊ยที่มีอักษรมงคล ประทับสีแดงอยู่กลางขนม ของประดับอื่นๆ ก็จะมีกระดาษรูปเซียน 8 องค์ คำกลอนต่างๆ ในกระดาษสีแดงสดใส เทียนดอกใหญ่ สีแดงที่เขียนคำขอพรไว้ กิ่งหลิว ดอกไม้สีสัน สดสวยอ้อยต้นโตเพื่อนำมาทำ เป็นซุ้มประตู โคมไฟลวดลายงามตา การตั้งโต๊ะจะต้องตั้งให้เรียบร้อยก่อน พระจันทร์จะลอยสูงเกินขอบฟ้า และเก็บก่อนที่ พระจันทร์จะเลยหัวไปหรือเมื่อเทียนดอก ใหญ่ดับลง หันโต๊ะไปทางทิศตะวันออก

     โดยเริ่มด้วยซุ้มประตูที่ทำจากต้นอ้อยผูกโคมไฟ ไว้กับต้นอ้อย ให้สวยงามวางกระถางธูป เทียนไว้ด้าน หน้าสุด ดอกไม้วางไว้สองข้าง ขนมอี้ใส่ถ้วยแล้วแต่ พื้นที่บนโต๊ะจะอำนวย 5 – 8 ถ้วยก็ได้วางถัดมา แล้วนำ เจดีย์น้ำตาลวางไว้สองข้างถัดจาก ขนมอี้ ขนมเปี๊ยใส่ จานจัดไว้ถัดมา ใต้เจดีย์อาจนำคำกลอนในกระดาษ แดงมาวางก็ได้ผลไม้ 5 ชนิดจัดวางตาม ความ สวยงาม ต่อด้วยขนมไหว้พระจันทร์ที่จัดเป็น เรียงชั้นๆ ขนมโก๋ และขนมหวานเคลือบน้ำตาลต่างๆ รอบโต๊ะวางประดับประดาด้วยกระดาษลวดลาย ต่างๆ ที่มี อย่างไรก็ดีการจัดตั้งโต๊ะนั้นไม่ตายตัวเสมอไป แล้วแต่ใครมีวิธีการที่ ต่างกันไปเน้นความสวยงามเป็น หลักดังนั้น ใครคิดว่าจัดอย่างไรจึงสวยที่สุดก็ให้จะจัด กันตามนั้น
     ทุกวันนี้วันไหว้พระจันทร์มีความหมายที่ เปลี่ยนไปแล้ว สำหรับบางคน ในวันนี้เป็นวันที่ครอบครัว ซึ่งได้ห่างจากกันไป ลูกสาวที่แต่งออกจากบ้าน บุตรหลานที่ โยกย้ายออก ไปมีบ้านใหม่ ก็จะกลับมาเยี่ยมเยี่ยนให้พร้อม หน้าพร้อมตา กินขนมหวาน ชมพระจันทร์ในคืนที่มี ความสุกสว่างกลมโตที่สุดในรอบปี ไม่แน่คืนนี้คุณ อาจเห็นนางฟ้าผู้งดงามที่อาศัยอยู่ในพระจันทร์กำลัง มองลงมาที่คุณก็ได้
     การจัดโต๊ะหมู่บูชา นำของกิน ขนมหวาน และขนมไหว้พระจันทร์มาเซ่นไหว้ พระจันทร์ ที่ในวันนี้จะสวยงามกลมใหญ่และส่งแสง สว่าง เป็นพิเศษเหมือนจะเล่าเรื่องราวของนางใน พระจันทร์ ให้แก่ลูกหลานที่เฝ้ามองความงามของ ดวงจันทร์ที่ทอแสงสาดส่องทำให้พื้นโลกได้เรืองรอง ไปด้วยแสงเหลืองนวล เรื่องราวของนางในพระจันทร์ เป็นเหมือนนิทานที่แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ซึ่งมี หลาย Version และนี่คือหนึ่งในจำนวนนั้น

     กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เมื่อสมัยที่โลกยังคง มีดวงอาทิตย์ สิบดวงล้อมรอบผลัด เปลี่ยนหมุนเวียน ให้แสงสว่างและความร้อน พื้นพิภพเต็มไปด้วยจอม ยุทธ์ และผู้กล้า ผู้คน อาศัยอยู่กันอย่างสงบสุขจน ทำให้เป็นที่อิจฉาของเหล่าเซียนเทวดา และพวก เขาก็มีรู้สึกว่าผู้คนเริ่มไม่ให้ความเคารพนับถือ จึงพากันฉุดรั้ง ดวงอาทิตย์ทั้งสิบดวงให้สาดส่อง แสงอันแรงกล้าลงมายังพื้นโลกพร้อมกัน ทำให้โลก ร้อนระอุและเผาไหม้เป็นไฟ เพื่อหวังที่จะให้ผู้คน ขอร้องและกลับมาเกรงกลัวเหล่าเซียนอีกครั้ง แต่แผนการก็ต้องล้มเหลวเมื่อมีชายหนุ่มนักแม่นธน ูนาม ฮัวหยี่ อาสาที่จะช่วยเหลือโดยยิงธนูเพื่อดับ ดวงอาทิตย์และฮัวหยี่ก็ทำได้สำเร็โดยยิงดวง อาทิตย์ไปเก้าดวง เหลือดวงที่สิบไว้เพียงดวงเดียว เพื่อยังคงส่งแสงสว่างให้แก่โลก ทำให้พื้นพิภพ กลับมาสงบสุขอีกครั้งผู้คนต่างร่ำร้องสรรเสริญ ฮัวหยี่ว่าเป็นวีรบุรุษและแต่งตั้งให้เขาเป็นฮ่องเต้ แต่ก็โชคร้ายเหลือเกินอาทิตย์ดวงที่เก้าที่ เขายิงตก เป็นราชบุตรขององค์เง็กเซียนฮ่องเต้ พระจักรพรรดิ์ แห่งสวรรค์ ซึ่งทรงกริ้วและเสียพระทัยกับการ สูญเสียราชบุตรสุดรักไป จึงสั่งให้นางกำนัลแห่งสวรรค์ นาม ฉางอี นำยาพิษไปให้ ฮัวหยี่ โดยให้หลอกว่าเป็นยา อายุวัฒนะหากกินก็จะทำให้สามารถมีชีวิตที่เป็นนิรันดร์ ฉางอีได้รับคำสั่ง จึงนำยาไปมอบให้แก่ ฮัวหยี่ แต่เมื่อนาง เห็นหน้าชายหนุ่มก็เกิดความรักและเห็นใจ
     ฮัวหยี่ก็เช่นกันเมื่อได้เห็นความงามของ ฉางอีก็เกิด ความรักขึ้น แต่นางฉางอีก็คงส่งมอบยา ให้แก่ฮัวหยี่ตามคำสั่งที่ได้รับมาหากแต่บอกว่ายานี้ จะยัง ไม่สามารถกินได้จนถึง วันที่ 15 ค่ำเดือนแปด ด้วยความหวังว่านางอาจจะสามารถหาวิธีที่ทำ ให้เง็กเซียน ฮ่องเต้ทรงเปลี่ยนพระทัย หรือหาวิธีช่วย ชีวิตชายคนรักได้ นางใช้ชีวิตอยู่กับ ฮัวหยี่ถึง 7 วัน จนเมื่อถึงวันที่ 15 ค่ำตามที่นางได้กล่าวไว้กับ ฮัวหยี่ นางก็ยังคงไม่สามารถคิดหาวิธีช่วย ชีวิตฮัวหยี่ได้ ดังนั้น ในคืนวันที่ 15 ค่ำเดือนแปดก่อนที่ฮัวหยี่จะ ไว้ทันกินยาพิษ นางจึงตัดสินใจ ชิงกินยาพิษเม็ดนั้น แทนสามีสุดรัก แต่ยากลับไม่ได้ทำให้นางตาย ชั่วอึดใจนางก็รู้สึกว่าตัวของนางเบาและเริ่มล่อง ลอยขึ้นสู่ฟากฟ้าเบื้องบน ลอยสูงจนไปถึงดวงจันทร์ ด้วยความตื่นตระหนกนางเริ่มที่จะหายใจไม่ออก และเริ่มไอ ซึ่งทำให้ยาหลุดออกมาจากลำคอ ของนาง ด้วยนางนั้นไม่สามารถบินได้อีกนาง จึงไม่สามารถลอยกลับลงมายังโลกได้อีก นางจึงต้องใช้ชีวิตอยู่ในพระจันทร์นั้นเอง
     ตำนานนี้เป็นที่เล่าขานต่อๆ กันมาและนี่คือ เหตุผลว่าทำไมชาวจีนจึงนับถือนางในพระจันทร์ กราบไหว้เพื่อให้ความดี ความงามของนางได้สาด ส่องลงมายังโลกมนุษย์ ให้เกิดความสงบสุขไป ทั่วหล้า ทำให้มนุษย์ที่เป็นหญิงได้มีรูปโฉมที่ งดงามเช่นนาง และขอให้ความดีงาม ของนางปกปักรักษา คุ้มครอง โลกมนุษย์ต่อไป

ตำนานเรื่องดวงจันทร์ของชาวจีน เช่นเรื่อง ” ฉังเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์ “

          เรื่อง ” ฉังเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์ ” ปรากฎเป็นครั้งแรกในยุคต้นของสมัยจั้นกว๋อ (สมัยสงครามระหว่างรัฐ) เล่าเรื่องราวของฉังเอ๋อที่ได้กินยาอายุวัฒนะของเจ้าแม่ซีหวังหมู่ แล้วไปเป็นเทวีแห่งดวงจันทร์ เมื่อถึงสมัยราชวงศ์สุยและถัง เนื่องจากผู้คนในสมัยนั้นมีความนิยมที่จะชื่นชมดวงจันทร์ว่าสวยและดูน่ารักใคร่ ดังนั้นทัศนะที่มีต่อฉังเอ๋อผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนดวงจันทร์ว่าเป็นผู้ที่อ่อนหวาน สวยงาม ฉลาด มีจิตใจดีงาม มีความสามารถในการร้องรำ เป็นต้น มีตำนานอีกเรื่องที่เล่าถึงเทวีแห่งดวงจันทร์ว่า สมัยโบราณนานมาแล้ว โลกเรานี้มิได้มีดวงอาทิตย์เพียงแค่ดวงเดียวเท่านั้น แต่มีถึงสิบดวง นำมาซึ่งภัยพิบัติแต่โลกมนุษย์ ทำให้โลกร้อนระบุเป็นเพลิง ส่วนที่เป็นน้ำก็เหือดแห้งไป ภูเขาถล่มแผ่นดินแยก ต้นไม้ใบหญ้าแห้งกรอบ ผู้คนไม่มีที่จะไปหลบซ่อนอาศัย ในช่วงนี้เองได้ปรากฎวีรบุรุษคนหนึ่งชื่อ” โฮ่วอี้ ” เป็นผู้ที่มีฝีมือในการยิงธนูได้อย่างมหัศจรรย์มาก เขาได้ยิงธนูขึ้นสู่ฟ้า เพียงดอกเดียวก็ยิงถูกดวงอาทิตย์ตกลงมาถึงเก้าดวง เหลืออยู่เพียงแค่ดวงเดียว ถือเป็นการขจัดทุกเข็ญให้กับบรรดาประชาชน ผู้คนจึงพากันยกย่องให้เขาเป็นกษัตริย์ แต่ทว่า พอเขาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ เขาก็ลุ่มหลงในสุราและนารี ฆ่าฟันผู้คนตามอำเภอใจ กลายเป็นทรราช ราษฎรล้วนแต่โกรธแค้นและชิงชังเขาเป็นที่สุด โฮ่วอี้รู้ตัวว่าตัวเองคงจะอยู่เป็นสุขเช่นนี้ไปได้อีกไม่นาน จึงเดินทางไปที่ภูเขาคุนหลุน (คุนลุ้น) เพื่อขอยาอายุวัฒนะจากเจ้าแม่หวังหมู่มากิน แต่ฉังเอ๋อ ภรรยาของเขากลัวว่าถ้าสามีของเธอมีอายุยืนนานโดยไม่มีวันตายเช่นนี้ ก็จะเข่นฆ่าราษฎรต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้นเธอเลยตัดสินใจกินยาอายุวัฒนะนั้นเสียเอง แต่พอกินเข้าไป ในฉับพลันทันใด ร่างของเธอก็เบาแล้วก็ลอยขึ้นไปสู่ดวงจันทร์ ยังมีนิทานอีกเรื่องเล่าว่า ศิษย์ของโฮ่วอี้ชื่อ” เฝิงเหมิ่ง ” อิจฉาฝีมือการยิงธนูของโฮ่วอี้มาก คอยคิดแต่จะสังหารโฮ่วอี้ อยู่มาวันหนึ่ง เฝิงเหมิ่งถือโอกาสตอนที่โฮ่วอี้ออกไปล่าสัตว์บังคับให้ฉังเอ๋อ ภรรยาของโฮ่วอี้มอบยาอายุวัฒนะให้แก่ตนเอง แต่ฉังเอ๋อไม่ยอม โดยกินยาอายุวัฒนะที่มีอยู่ทั้งหมดลงท้องไป ผลก็คือ ร่างของเธอเบา และลอยขึ้นไปสู่ดวงจันทร์ในที่สุด นับแต่นั้นมา บนดวงจันทร์ก็ปรากฎนางฟ้าผู้งดงามและจิตใจดีเช่นฉังเอ๋อนี้
          เนื่องจากตำนานเรื่องต่างๆที่เล่าขานเกี่ยวกับดวงจันทร์ทั้งหลายนี้ ดังนั้นนับแต่สมัยโบราณเป็นต้นมา ผู้คนก็จะมีประเพณีการชมและบูชาดวงจันทร์ จักรพรรดิถือความนิยมในการบูชาพระอาทิตย์ในฤดูใบไม้ผลิ และบูชาพระจันทร์ในฤดูใบไม้ร่วง พวกราษฎรก็มีประเพณีการบูชาพระจันทร์ในฤดูใบไม้ร่วงด้วยเช่นกัน ในการบูชาพระจันทร์นั้น ตามปกติพิธีจะเริ่มหลังจากที่ดวงจันทร์ขึ้นแล้ว บางท้องที่สิ่งที่นำมาบูชาดวงจันทร์ได้แก่ขนมไหว้พระจันทร์ ผลไม้ ถั่ว ดอกหงอนไก่ หัวไชเท้า รากบัว เป็นต้น ในขณะที่ทำการบูชาดวงจันทร์นั้น เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ธาตุหยิน ก็มักจะให้ผู้หญิงไหว้ก่อน แล้วถึงให้ผู้ชายไหว้ และก็ยังถึงกับมีความนิยมที่ว่าผู้ชายจะไม่ไหว้พระจันทร์อีกด้วย หลังจากไหว้พระจันทร์เสร็จแล้ว คนในครอบครัวก็จะร่วมกันดื่มสุราแห่งความกลมเกลียว และกินข้าวชมจันทร์ วันนี้ผู้หญิงที่กลับบ้านแม่ไปเยี่ยมญาติก็ยังต้องกลับบ้านมาเพื่อความกลมเกลียว
          ในฐานะที่ขนมไหว้พระจันทร์เป็นสิ่งของสำคัญในการบูชาดวงจันทร์ หลังจากการบูชาจบลง คนทั้งบ้านก็จะแบ่งกันกิน เนื่องจากขนมไหว้พระจันทร์เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความกลมเกลียว สะท้อนให้เห็นความหวังอันงดงามของผู้คนที่มีต่อชีวิตในอนาคตของพวกตน ดังนั้นบางที่ก็จะเรียก ขนมไหว้พระจันทร์ว่า ” ขนมแห่งความกลมเกลียว “
          ตามที่เล่าขานสืบต่อกันมานั้น ขนมไหว้พระจันทร์ปรากฎขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ครั้นถึงราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) ก็ยิ่งเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น ขนมไหว้พระจันทร์นั้นไม่เพียงแต่เป็นขนมที่สืบทอดกันมาโดยถือว่าเป็นผลิตผลจากสี่ฤดูกาลเท่านั้น ในด้านการทำ รสชาติก็ยังแตกต่างกันไปในแต่ละถิ่นที่ด้วย เช่นขนมไหว้พระจันทร์แบบซูโจว ขนมไหว้พระจันทร์แบบกว่างตง (กวางตุ้ง) ขนมไหว้พระจันทร์แบบเป่ยจิง (ปักกิ่ง) ขนมไหว้พระจันทร์แบบหนิงโป ขนมไหว้พระจันทร์แบบเฉาซาน (แต้จิ๋ว- ซัวเถา) ขนมไหว้พระจันทร์แบบหยุนหนาน (ยูนนาน) แม้แต่ในท้องถิ่นเดียวกัน ก็ยังมีการทำไส้ขนมที่ต่างกัน ลวดลายขนผิวขนมก็ต่างกัน และก็เรียกชื่อต่างกันไป เช่น ไส้ผลไม้ ไส้ถั่วแดง ไส้ลูกบัว ไส้แฮม ไส้ไข่เค็ม เป็นต้น

ขนมไหว้พระจันทร์

     ขนมไหว้พระจันทร์ก็เป็นของขวัญที่ดีสำหรับฝากเพื่อนและญาติพี่น้อง เมื่อถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ ห้างร้านต่างๆ ก็จะมีการวางจำหน่ายขนมไหว้พระจันทร์ต่างๆ ที่ใส่ไว้ในหีบ ห่อที่สวยงาม เป็นการเตือนผู้คนว่า ถึงเวลาเทศกาลที่อยู่พร้อมหน้ากับเพื่อนและญาติพี่น้องต่างๆ แล้ว
     สำหรับเทศกาลไหว้พระจันทร์นี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ “ขนมไหว้พระจันทร์” ที่ใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้เทพเจ้าดวงจันทร์ โดยคนจีนจะเรียกขนมไหว้พระจันทร์ว่า “ขนมเอี้ยปิ่ง” ซึ่งความหมายถึงความพรั่งพร้อม สมบูรณ์ และความสมหวัง โดยในประเทศไทยศิลปะการทำขนมเค้กจีนได้ถูกเผยแพร่โดยชาวจีนที่อพยพเข้ามากว่า 100 ปีแล้ว เดิมขนมไหว้พระจันทร์ของจีนมีส่วนประกอบ เช่น ถั่วแดง ลูกนัทจีน 5 ชนิด และ เมล็ดบัว แต่เมื่อไทยกับจีนเริ่มผสมกลมกลืนกัน เค้กจีนก็เริ่มกลิ่นและรสชาติไทยๆ ตามไปด้วย เช่น ใช้ทุเรียน ลูกเกาลัด และลูกพลับประกอบ ส่วนเครื่องปรุงที่เพิ่มเข้ามา เช่น เมล็ดบัว ไข่แดงเค็ม และเมล็ดแตงโม 

ย่อ