ศิลปะสมัยทวารวดี


แต่ เดิมนั้นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของศิลปะทวารวดีมักให้ความ สำคัญต่อกลุ่มพระพุทธรูปเป็นหลัก เนื่องจากมีการค้นพบเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังบ่งบอกถึงการรับนับถือพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทในวัฒนธรรมทวารวดีได้ เป็นอย่างดี แม้จะมีการค้นพบหลักฐานที่เป็นพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และศาสนาฮินดูปะปนอยู่บ้างแต่มีจำนวนไม่มากนัก โดยทั่วไปมักจะแบ่งกลุ่ม และยุคสมัย พระพุทธรูปศิลปะทวารวดีออกเป็น 3 รุ่นคือ
รุ่น ที่ 1 (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 13) จัดเป็นพระพุทธรูประยะแรกของทวารวดีและพุทธศิลปะที่ปรากฏบนแผ่นดินไทย ซึ่งยังคงลักษณะต้นแบบของพระพุทธรูปของศิลปะอินเดียแบบอมราวดี คุปตะ – หลังคุปตะ
รุ่นที่ 2 (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 15) พระพุทธรูปมีลักษณะแบบพื้นเมือง เป็นแบบที่พบมากที่สุด และรุ่นที่ 3 อิทธิพลของศิลปะเขมร (พุทธศตวรรษที่ 16 – 17) จัดเป็นรุ่นสุดท้ายของศิลปะทวารวดี มีอิทธิพลของศิลปะเขมรสมัยบาปวนหรือ สมัยลพบุรีตอนต้นเข้ามาปะปน
พระพุทธรูป
1.ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือมีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบอมราวดีอยู่ ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมีจีวรเรียบเหมือนจีวรเปียก ถ้าเป็นพระพุทธรูปนั่งจะขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดีมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12
2. พัฒนาขึ้นจากแบบแรก โดยมีอิทธิพลพื้นเมืองผสมมากขึ้นพระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเกตุมาลา เป็นต่อมนูนใหญ่บางทีมีรัศมีบัวตูมเหนือเกตุมาลา และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระเนตรโปน พระหนุ (คาง ) ป้าน พระนลาฏ
(หน้าผาก)แคบพระนาสิกป้านใหญ่แบน พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ ยังคงขัดสมาธิหลวม ๆแบบอมราวดี มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 13-15
3.พระพุทธรูปในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร เนื่องจากเขมรเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นในสมัยเมืองพระนครประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ศิลปกรรมแบบทวารวดี ในระยะนี้จึงมีอิทธิพลเขมร แบบบาปวนหรือ อิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทยที่เรียกว่าศิลปะลพบุรีปะปนเช่น พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักยิ้ม นั่งขัดสมาธิราบ เป็นต้นนอกจากพระพุทธรูปแล้วยังพบสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าซึ่งแสดงการสืบทอด แนวคิดทางศิลปะอินเดียโบราณก่อนหน้าที่จะทำรูปเคารพเป็นรูปมนุษย์ภายใต้ อิทธิพลศิลปะกรีก
