
ชื่อเรื่อง : รายงานการบริหารจัดการโดยใช้รูปแบบ STIPCo เพื่อให้โรงเรียนบ้านหนองเกิดสู่ความเป็นเลิศผู้รายงาน : นายสมบัติ สาคำที่ปรึกษา : นายเจตนา เมืองมูล, ดร.เฉลิม ฟักอ่อน, ดร.วิชากร ลังกาฟ้าปีที่รายงาน : 2554 การบริหารจัดการโรงเรียนบ้านหนองเกิดเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสู่ความป็นเลิศโดยใช้รูปแบบ STIPCo มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 5 ประการคือ เรียนดี สุขภาพอนามัยดี มีคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมเด่น และมีความเป็นประชาธิปไตย ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในโรงเรียน มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและประเมินผลการบริหารจัดการโรงเรียนบ้านหนองเกิดสู่ความเป็นเลิศโดยใช้รูปแบบ STIPCo ดำเนินการโดยสำรวจความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้แทนผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการที่ปรึกษาต่อพฤติกรรมของนักเรียนด้านการเรียน ด้านสุขภาพอนามัย ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านการจัดกิจกรรมของโรงเรียนและด้านความเป็นประชาธิปไตย สำรวจความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการที่ปรึกษาที่มีต่อโครงการบริหารจัดการโรงเรียนบ้านหนองเกิดเพื่อพัฒนาสู่ความป็นเลิศโดยใช้รูปแบบ STIPCo กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยครูโรงเรียนบ้านหนองเกิด จำนวน 18 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองเกิด จำนวน 238 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองเกิด จำนวน 238 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านหนองเกิด จำนวน 9 คน และคณะกรรมการที่ปรึกษาโรงเรียนบ้านหนองเกิด จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการมี 3 ชุด คือ แบบสำรวจความคิดเห็น ปัญหาและความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อพฤติกรรม/ลักษณะที่เป็นปัญหาของนักเรียน แบบสำรวจความคิดเห็นของครู นักเรียนผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการที่ปรึกษาต่อพฤติกรรมของนักเรียนด้านการเรียน ด้านสุขภาพอนามัย ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านการจัดกิจกรรมของโรงเรียน และด้านความเป็นประชาธิปไตย และแบบสำรวจความพึงพอใจของครูนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการที่ปรึกษา ที่มีต่อโครงการบริหารจัดการโรงเรียนบ้านหนองเกิดเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศโดยใช้รูปแบบ STIPCo ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)ผลการดำเนินการ 1. ผลการส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 5 ประการ คือเรียนดี สุขภาพอนามัยดี มีคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมเด่น และมีความเป็นประชาธิปไตย ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในโรงเรียน มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและประเมินผลการบริหารจัดการโรงเรียนบ้านหนองเกิดสู่ความเป็นเลิศโดยใช้รูปแบบ STIPCo พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงกว่าเป้าหมายค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาได้รับรางวัล เกียรติบัตรด้านการเรียน ด้านสุขภาพอนามัย ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านกิจกรรม และด้านประชาธิปไตย จากการเข้ร่วมกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. ผลการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรในโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า นายสมบัติ สาคำ ผู้บริหารโรงเรียนบ้านหนองเกิด ได้รับรางวัลผู้บริหารโรงเรียนดีเด่น ประจำปี 2550 จากเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาป่าซาง 2 นายชัยพร ชัยสวัสดิ์ และนางดวงเดือน ขันตี ได้รับการแต่งตั้งให้มีและเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้นเป็นครูชำนาญการพิเศษ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550 นางวันทนีย์ กะตะศิลา ได้รับรางวัลครูดีในดวงใจระดับประเทศ จากสำนักงานคณะกรรการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2551 นายถนัด กาสุยะและนางวันทนีย์ กะตะศิลา ได้รับการแต่งตั้งให้มีและเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้นเป็นครูชำนาญการพิเศษ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 3. ผลการสำรวจความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการที่ปรึกษาโรงเรียนบ้านหนองเกิด ด้านการเรียน ด้านสุขภาพอนามัย ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านกิจกรรม และด้านประชาธิปไตย พบว่า ครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการที่ปรึกษามีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติตนของนักเรียนตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 5 ประการอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ เรียงตามลำดับคือ ด้านการจัดกิจกรรมของโรงเรียนด้านสุขภาพอนามัย ด้านคุณธรรมจริธรรม บทที่ 1บทนำ 1. ที่มาและความสำคัญ พระบรมราโชวาทที่อัญเชิญมาเป็นข้อความมงคลสูงสุดนี้ ได้แสดงถึงคุณภาพของผู้เรียนที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษาเป็นเครื่องมือหรือกระบวนการสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความคิด ความสามารถ รวมทั้งพฤติกรรม เจตคติ ค่านิยมคุณธรรมของบุคคลอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต คุณสมบัติของบุคคลดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมในโลกปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วยความก้าวหน้าทางสื่อเทคโนโลยีและมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทางด้านเศรษฐกิจทำให้คุณภาพของประชากรยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น สอดคล้องกับแนวคิดของ รุ่ง แก้วแดง (2540 : 4) ที่กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาต่อการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ สรุปได้ว่า “ การศึกษาเป็นรากฐานและเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมืองของประเทศ การที่จะใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประชากรและประเทศชาติให้บรรลุเป้าหมายได้ จำเป็นต้องพัฒนาระบบการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพดีพอที่จะพัฒนาประชากรและประเทศชาติให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในกระแสโลกาภิวัฒน์ ” แนวโน้มการจัดการศึกษาไทยในปัจจุบันได้ลดความเคร่งครัดในกรอบเนื้อหาวิชาลงและขยายสู่คุณลักษณะของการปฏิบัติ การทำงานให้ประสบผลสำเร็จ การรู้จักคิดพิจารณาค้นหาคำตอบ และการมีคุณธรรม จริยธรรมมากขึ้น โดยเน้นทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ คุณธรรม จริยธรรม สังคม และสติปัญญาอย่างเต็มศักยภาพ การศึกษาจึงมิใช่เป็นเพียงการใช้ชีวิตอยู่ในระบบโรงเรียนในเวลาหนึ่งเท่านั้นแต่การศึกษาเปรียบเหมือนเครื่องมือหรือปัจจัยในการดำรงชีวิตที่ทุกคนจะต้องแสงวหาให้เพิ่มพูนมากขึ้นตลอดเวลา เพื่อพัฒนาตนเอง หน้าที่การงานที่ปฏิบัติ พัฒนาครอบครัวสังคมและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้นิยามคำว่า “ การศึกษา” ว่า หมายถึง “ กระบวการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต”( ) โรงเรียนประถมศึกษาเป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นการศึกษาภาคบังคับและเป็นพื้นฐานของการศึกษาทุกระดับซึ่งนับว่าเป็นหน่วยงานที่สำคัญยิ่งในการนำนโยบายนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติให้การศึกษาแก่เด็กโดยตรงแต่จากผลการวัดผลประเมินผลของสถาบันทดสอบทางการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้มีการปรับปรุงการบริหารการศึกษาให้มีเอกภาพด้านนโยบายและมาตรฐานการศึกษา โดยการกระจายอำนาจไปสู่ชุมชน ท้องถิ่นและโรงเรียน เพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใน สนับสนุนให้บุคคลและองค์คณะบุคคลในชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดวางแผน การตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมตรวจสอบประเมินผล การจัดการจัดการศึกษาในท้องถิ่นของตนโดยเฉพาะโรงเรียนประถมศึกษาที่ตั้งอยู่ในชนบท ในระบบการบริหารจัดการโรงเรียน ผู้บริหารคื