ยีนและโครโมโซม

-
บทนำ
สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะมีเพศที่แตกต่างกัน คือ เพศผู้และเพศเมีย ลูกที่เกิดขึ้นจะพัฒนามาจากเซลล์ที่เกิดจากเซลล์พิเศษ
ของเพศผู้ คือ สเปิร์มหรืออสุจิกับเซลล์ไข่องเพศเมีย มารวมตัวกันเป็นไซโกตด้วยกระบวนการสืบพันธุ์ ยีนจากพ่อและแม่น่าจะมี
การส่งถ่ายลักษณะต่างของพ่อและเม่สู่ลูกด้วยกระบวนการสืบพันธุ์
นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตนี้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 นับตั้งแต่มีการสังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์เห็นการรวมตัวกันของสเปิร์มและเซลล์ไข่ของกบและหอยเม่นพ.ศ. 2423 มีการค้นพบสีย้อมนิวเคลียสทำให้พบว่าในนิวเคลียส มีโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นเส้นเรียกว่า
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (Mitosis) ภายหลังการแบ่งเซลล์ เซลล์ลูกที่เกิดขึ้นจะมีจำนวนโครโมโซม
โครโมโซม นักวิทยาศาสตร์เฝ้าศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมและพบว่าการแบ่งเซลล์ใน 2 ลักษณะ คือ
เท่ากับเซลล์เริมต้น (diploid cell)
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis) ภายหลังการแบ่งเซลล์ เซลล์ลูกที่เกิดขึ้นจะมีจำนวนโครโมโซม
เพียงแค่ครึ่งหนึ่งของเซลล์เริ่มต้น (haploid cell)
พ.ศ. 2445 วอลเตอร์ ซัตตัน (Walter Sutton) เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่เสนอทฤษฎีโครโมโซมในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม (chromosome theory of inheritance) โดยเสนอว่า สิ่งที่เรียกว่าแฟกเตอร์ของเมนเดลซึ่งต่อมาเรียกว่า ยีน น่าจะอยู่บนโครโมโซม เพราะมีความสอดคล้องกันในหลาย ๆ เรื่อง ดังนี้
1. ยีนมี 2 ชุด โครโมโซมก็มี 2 ชุด
2. ยีนและโครโมโซมถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลาน
3. การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส โครโมโซมมีการเข้าคู่กันและแยกจากกันไปยังเซลล์ลูกที่เกิดขึ้นคนละเซลล์
ยีนเองก็มีการแยกตัวของแอลลีลเช่นกัน
4. การแยกตัวของโครโมโซมที่เป็นคู่กันไปยังขั้วเซลล์ขณะที่มีการแบ่งเซลล์ ดำเนินไปอย่างอิสระเช่นเดียวกับกันแยกตัว
ของแอลลีลไปยังเซลล์สืบพันธุ์
5. ขณะเกิดการสืบพันธุ์ การรวมตัวกันของเซลล์ไข่และสเปิร์มเกิดเป็นไซโกตเป็นไปอย่างสุ่ม ทำให้การรวมตัวกันระหว่าง
ชุดโครโมโซมจากเซลล์ไข่และสเปิร์มเป็นไปอย่างสุ่มด้วย ซึ่งเหมือนกับการกลับมารวมกันของแอลลีล
ในเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่
6. ทุกเซลล์ที่พัฒนามาจากไซโกตจะมีโครโมโซมครึ่งหนึ่งจากแม่และอีกครึ่งหนึ่งจากพ่อ ลูกที่เกิดมาจึงมีลักษณะ
แปรผันไปจากพ่อและแม่
การจำลองตัวเองของ DNA การถอดรหัส สังเคราะห์ RNA รหัสพันธุกรรม การแปลรหัส บทบาทหน้าที่ของโปรตีน แอนิเมชัน