การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
เมื่อกำหนดเป้าหมายในการดำเนินชีวิตของตนเองแล้ว ก่อนที่จะเริ่มลงมือจัดทำแผน
อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้แผนทางการเงินที่จะจัดทำเป็นแผนที่ดี สามารถนำไป
ปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพ คือนำเราไปสู่เป้าหมายชีวิตตามที่ต้องการได้นั้น เราจะต้อง
ศึกษา เพื่อทำความเข้าใจกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำมาใช้ในการวางแผนทางการเงิน
เสียก่อน ซึ่งข้อมูลสำคัญที่เราควรทำการศึกษาให้เข้าใจ ได้แก่ ช่วงอายุ ประเภทของ
รายได้ และรายจ่าย
ช่วงอายุ : เป็นข้อมูลสำคัญประการหนึ่งที่เราต้องทำการศึกษาทำความเข้าใจ เนื่องจาก
ช่วงอายุจะมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการหารายได้ของบุคคล เพราะ
หากพิจารณาจะเห็นว่าในชีวิตการทำงานของบุคคลหนึ่ง ในแต่ละช่วงก็จะมี
ความสามารถในการหารายได้แตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปเราอาจแบ่งช่วงอายุ
ออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่
1. ช่วงเริ่มทำงาน จะเป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะ
ความรู้ ให้เกิดความชำนาญ ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่โดยปกติทั่วไปจะมีความ
สามารถในการหารายได้น้อย และก็มักจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามประสบการณ์
ในการทำงาน และตำแหน่งหน้าที่การทำงานที่สูงขึ้น
2. ช่วงที่มีรายได้สูงกว่ารายจ่าย เป็นช่วงที่บุคคลมีหน้าที่การทำงานที่มั่นคง
ขึ้น จึงเป็นช่วงที่ทำให้บุคคลมีความสามารถในการหารายได้สูงที่สุด และ
มีเงินเหลือสำหรับการนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ได้มากขึ้นหลั
3. ช่วงหลังเกษียณ เป็นช่วงที่ระดับความสามารถในการหารายได้จากการ
ทำงานต่ำที่สุด หรือบางคนก็อาจจะไม่มีรายได้เลย
***จะเห็นว่าการแบ่งช่วงอายุในที่นี้ ไม่ได้คำนึงถึงอายุของบุคคล แต่เป็นการแบ่งช่วง
ตามระดับความสามารถในการหารายได้ของบุคคล ดังนั้น หากเราสามารถเริ่มต้น
ชีวิตการทำงานได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นผลดีต่อระดับความสามารถในการหารายได้
และความมั่นคงทางการเงินมากเท่านั้น
รายได้ : การศึกษาทำความเข้าใจถึงแหล่งที่มาของรายได้ จะทำให้ในการวางแผนทาง
การเงินของบุคคลละเอียด และได้ข้อมูลทำหรับการจัดทำแผนครบถ้วน
โดยทั่วไปอาจแบ่งแหล่งทีมาของรายได้ ได้ดังนี้
1. เงินเดือน และโบนัส
2. รายได้จากการเป็นเจ้าของกิจการ
3. รายได้จากการมีทรัพย์สินให้เช่า
4. รายได้จากแหล่งอื่น ๆ เช่น การนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ จะได้
รับรายได้ในรูปของดอกเบี้ย เงินปันผล หรือกำไรจากการขาย ฯลฯ
รายได้จากการประกอบอาชีพเสริมนอกเวลาการทำงานประจำ
รายจ่าย : เราอาจแบ่งประเภทของรายจ่ายของบุคคล ได้ดังนี้
1. เงินออม หากเริ่มต้นวางแผนทางการเงิน เงินออมจะถือเป็นเงินส่วนแรกที่จะ
ต้องหักออกจากรายได้
2. ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ถือเป็นรายจ่ายส่วนใหญ่ของบุคคล
3. ภาระหนี้สิน เป็นภาระผูกพันทางการเงินที่เกิดขึ้นในอดีตและเป็นรายจ่ายใน
ปัจจุบัน
4. ค่าประกันภัย เป็นรายจ่ายเพื่อแบ่งเบาภาระหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน
หรือเป็นรายจ่ายเพื่อความมั่นคงในอนาคตที่ควรต้องนำมาพิจารณาในการ
วางแผนทางการเงินของบุคคลในยุคปัจจุบัน
5. เงินสำหรับแผนการในอนาคต แผนการในอนาคตของบุคคลมักแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับความต้องการและสถานะของแต่ละบุคคล ดังนั้นหากเรามีแผนการใน
ในอนาคต ก็ควรจะจัดสรรเงินสำหรับแผนการในอนาคตไว้ด้วย