สร้างโดย : นางสาวโยสิตา ยิ่งเจริญลาภผล
สร้างเมื่อ อังคาร, 13/01/2015 – 17:57
มีผู้อ่าน 62,919 ครั้ง (24/07/2023)
ที่มา : http://old.thaigoodview.com/node/186706

สวัสดีค่ะ!!! ขอต้อนรับผู้เยี่ยมชมบล็อกนี้ทุกท่านมาร่วมเรียนรู้เรื่องราวของดนตรีในประเทศสิงคโปร์กันค่ะ

        ประเทศสิงคโปร์ ประเทศแห่งหมู่เกาะน้อยใหญ่ที่หลายคนอยากจะเดินทางไปเที่ยวชมสักครั้งในชีวิต ไม่เพียงแต่จะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเท่านั้น หากแต่ยังมีศิลปะ ดนตรี วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ซึ่งยังคงได้รับการอนุรักษ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เรื่องของดนตรีในสิงคโปร์นั้นมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก แม้ว่าคนส่วนใฆย่มักจะมองประเทศนี้เป็นประเทศที่โดเด่นในด้านเศรษฐกิจ และสถานที่ท่องเที่ยวเพียงเท่านั้น แต่จริงๆแล้วประเทศสิงคโปร์ยังมีเรื่องราวของศิลปะ ดนตรีให้ทุกท่านได้ศึกษากับอีกด้วยค่ะ
       แม้ว่าประเทศสิงคโปร์จะเป็นประเทศที่มีวิวัฒนาการทางดนตรีไม่มากนัก แต่เรื่องราวของดนตรีในประเทศสิงคโปร์ก็ยังคงความน่าสนใจในการเรียนรู้อยู่ไม่น้อยเลยค่ะ เนื่องมาจากประเทศนี้มีองค์ประกอบของประชากรที่หลากหลายเชื่อชาติทำให้มีเรื่องราวของดนตรีที่หลากหลาย และไม่เด่นชันตามไปด้วย แต่ดนตรีหลักๆที่เรามักจะพบเห็นจะเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับของชาวจีนค่ะ ในวันนี้เรายังมีเรื่องราวให้ทุกท่านได้ศึกษาในหน้าต่อไป แต่ตอนนี้เราไปรับชมคลิปเรียกน้ำย่อยเล็กๆน้อยๆกันก่อนดีกว่าค่ะ 

ขอบคุณที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=2d5GCipwfFU&t=1s

เครื่องดนตรี

        ในหน้านี้นะค่ะเราจะพูดคุยกันถึงเรื่องของเครื่องดนตรีพื้นเมืองในประเทศสิงคโปร์ค่ะ  อย่างที่ทราบกันดีนะค่ะว่าผู้คนในประเทศสิงคโปร์มีหลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีเครื่องดนตรีประจำชาติเป็นของตนเองค่ะ เช่น วีนา (Veena) เป็นเครื่องดนตรีของชาวอินเดีย  กู่เจิง เป็นเครื่องดนตรีของชาวจีน  แต่ดนตรีได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศสิงคโปร์และได้รับจากนานาประเทศ  คือ  การบรรเลงเพลงของวงออร์เคสตราจีนแห่งสิงคโปร์ค่ะ ซึ่งเป็นวงที่รวมเครื่องดนตรีสากลไว้ด้วยกันนับ  30  ชนิด  เช่น  ขลุ่ยผิว  พิณจีนโบราณชนิดต่างๆ ขิมจีน  เป็นต้นค่ะ โดยวงออร์เคสตราจีนแห่งสิงคโปร์ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2539 และเปิดการแสดงทั้งในประเทศและต่างประเทศจนโด่งดังภายในเวลาอันรวดเร็วมาแล้วค่ะ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วเรายังมีเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่จะมาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันอีกมากมาย ดังต่อไปนี้ค่ะ

        เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่เราจะนำเสนอ คือ Dizi ค่ะ
        Dizi เป็นขลุ่ยจีนดั้งเดิม จะมีปุ่ม 3 ปุ่ม อาจจะมีแผ่นบาง ๆ เพื่อปิดรูไว้เพื่อทำให้เกิดเสียงรัวค่ะ มีความเชื่อกันว่า Dizi นำมาจากทิเบตในช่วงยุคราชวงค์ฮั่น และตั้งแต่นั้นมาก็มีการใช้ในประเทศจีนมา เป็นเวลากว่า 2 พันปีมาแล้วค่ะ โดยผู้เล่นจะมีเทคนิคในการเป่ามากมาย ซึ่งก็จะทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกันไปค่ะ

ขอบคุณที่มา : http://m4.sourcingmap.com/photo_new/20111205/g/ux_a11120500ux0238_ux_g03.jpg

ขอบคุณที่มา : http://www.wabash.edu/images2/academics/music/Dizi.jpg

        ชิ้นต่อมา คือ Erhu ค่ะ
        Erhu เกิดขึ้นในประเทศจีนในสมัยรัชวงศ์ถังค่ะ  เป็นซอสองสายที่เล่นบนตัก โดยเส้นสายจะมีระดับเสียง 5 ระดับค่ะ เราจะใช้คันชักในการสี และมีรูปแบบหลายชนิดโดยรูปร่างและกล่องเสียงก็จะแตกต่างกันออกไปค่ะ Erhu ได้กลายมาเป็นเครื่องดนตรีหลักในอุปรากรจีนในปัจจุบันค่ะ

ขอบคุณที่มา : http://api.ning.com/files/oYnyohOrXpzBY7SLP32v98OPseDqrdfQYgLAtUt6yLKY3NBlcIFa58o5Z2VlPmoapqRAB7sU4QTZrDO-L5MAMhOYzEThooVqbYpCCr4sm2k_/Er4hu2.jpg

ขอบคุณที่มา : http://images.fineartamerica.com/images-medium-large/graceful-tones-of-erhu-cheng-jiguang.jpg

        มาต่อกันที่ Gaohu ค่ะ 
        Gaohu ชิ้นนี้เป็นเครื่องดนตรีหลักของเพลงกวางตุ้งและเพลงอุปรากรจีนค่ะ  Gaohu จะมีลักษณะคล้ายกับ Erhu แต่มีกล่องเสียงที่มีน้ำหนักเบากว่าค่ะ โดยทั่วไปกล่องเสียงจะเป็นวงกลม และมีระดับเสียงที่สูงกว่าคือ 5 ระดับด้วยกัน และมีเสียงที่กังวานกว่า Erhu8 ค่ะ

ขอบคุณที่มา : http://easonmusicstore.com/webshaper/pcm/pictures/Rosewood-Shanghai-Gaohu2.jpg

ขอบคุณที่มา : http://indonesian.cri.cn/mmsource/images/2005/08/10/gaohu2.jpg

        ชิ้นที่ 4 คือ Veena 
        Veena เป็นเครื่องดีดที่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในดนตรี Carnatic (ดนตรีที่เล่นกันทางตอนใต้ของอินเดีย)ค่ะ รูปแบบของ Veena มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยเราจะเรียกผู้ที่เล่น Veenaว่า Vainika ค่ะ

ขอบคุณที่มา : http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/35/Veena.png

ขอบคุณที่มา : http://i.ytimg.com/vi/T8N-zSShk-s/maxresdefault.jpg

        เครื่องดนตรีต่อมา คือ Zhongruan 
        Zhongruan เป็นเครื่องดีดของจีนค่ะ โดยอาจจะใช้นิ้วหรือปิ๊กดีดก็ได้ จะมีลักษณะคล้ายกับ pipa มีคอตั้งตรง มีกล่องเสียงเป็นวงกลมและมีลวดลายสลักค่ะ

ขอบคุณที่มา : http://2.bp.blogspot.com/-voB3CVGc2DQ/UZhuBrBGV9I/AAAAAAAAAf8/y4U2BVcbJXk/s1600/21.jpg

ขอบคุณที่มา : http://www.cultural-china.com/chinaWH/upload/allImg/2008-12/06/ruan20081206060421.jpg0.jpg

        ชิ้นถัดมา คือ Guzheng 
        Guzheng เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของจีน ที่เป็นแม่แบบของ koto ที่เป็นเครื่องดนตรีญี่ปุ่น yatga ที่เป็นเครื่องดนตรีของมองโกเลีย และ Kayageum ที่เป็นเครื่องดนตรีของเกาหลีค่ะ โดย Guzheng มีแม่แบบมาจาก  se (เครื่องดนตรีประเภทสายโบราณของจีน)ค่ะ สายของมันแต่เดิมแล้วทำด้วยไหม จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นสายโลหะและเหล็กที่พันด้วยไนลอนตามลำดับค่ะ  จำนวนสายของเครื่องดนตรีชนิดนี้จะมีจำนวนไม่แน่นอน แต่อย่างน้อยที่สุดจะมี 6 เส้น หรือมากที่สุด 23 เส้นค่ะ 

ขอบคุณที่มา : http://static2.evermotion.org/files/model_images/940e5c8ad21efc8320315ce17fbb7682.jpg

ขอบคุณที่มา : http://www.moonfest.com.sg/2013/photos/MF2013-20.jpg

        ต่อกันที่ Yangqin 
        Yangqin เป็นเครื่องดนตรีที่คล้ายขิมของประเทศไทย แต่เดิมแล้วมาจากประเทศแถบตะวันออกกลาง มีรูปแบบแตกต่างกันไปค่ะ ชิ้นนี้เป็นที่นิยมมาก ไม่เพียงแต่เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น แต่ยังนิยมในยุโรปกลาง ตะวันออกกลาง อินเดียและปากีสถานอีกด้วยค่ะ โดย Yangginอาจใช้เล่นอยู่ในวงหรือเล่นเดี่ยวก็ดึค่ะ 

ขอบคุณที่มา : http://www.webdirectbrands.com/images/D/2011381611571064407.jpg

ขอบคุณที่มา : http://s2.torontochineseorchestra.com/wp/wp-content/uploads/2009/11/XuPingXin1-300×247.jpg

        มาถึงชิ้นที่ 8 คือ Konghou ค่ะ 
        Konghou ลักษณะเด่นของ Konghou ต่างจากพิณคอนเสิร์ตในตะวันตก คือ สายของ Konghou จะถูกพับเพื่อทำให้เกิดแถวสองแถว ซึ่งทำให้ผู้เล่นสามารถใช้เทคนิคการเล่นชั้นสูงได้ค่ะ สายที่มีสองแถวนั้นยังเหมาะกับการเล่นจังหวะเร็วและเสียงประกอบอีกด้วยค่ะ

ขอบคุณที่มา : http://s2.torontochineseorchestra.com/wp/wp-content/uploads/2009/11/XuPingXin1-300×247.jpg

ขอบคุณที่มา : http://esperanto.cri.cn/mmsource/images/2004/06/10/konghou2.jpg

        มาถึงชิ้นสุดท้าย คือ Pipa  
        Pipa หรือที่บางครั้งเราเรียกกันว่า ขลุ่ยจีนค่ะ โดยจะมีรูปร่างเหมือนผลแพร์ ใช้เป็นเครื่องดนตรีมาเป็นเวลายาวนานกว่า 2 พันปีในจีนแล้วค่ะ วิธีการเล่น คือ ใช้ทุกนิ้วข้างขวายกเว้นนิ้วหัวแม่มือกดสายจากขวาไปซ้าย และใช้นิ้วหัวแม่มือขวาดีดจากซ้ายไปขวา เมื่อเริ่มแรกสายจะถูกดีดด้วยปิ๊กอันใหญ่ จากนั้นก็ค่อยๆเปลี่ยนมาใช้นิ้วข้างขวาแทนค่ะ

ขอบคุณที่มา : http://img02.taobaocdn.com/imgextra/i2/675570607/T2FG9AXcVbXXXXXXXX_!!675570607.jpg

ขอบคุณที่มา : http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c2/Flickr_-_dalbera_-_Lingling_Yu_au_pipa_en_concert_(mus%C3%A9e_Guimet,_Paris).jpg

        นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีการแสดงเครื่องดนตรีดั่งเดิมที่หาดูหาชมได้ยากในปัจจุบัน คือ การแสดงดนตรีนานหยิน ซึ่งเป็นการแสดงดนตรีเก่าแก่ของชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาตั้งรกรากในสิงคโปร์ค่ะ แม้จะเป็นการเปล่งเสียงร้องเอื้อนผ่านท่วงทำนองช้าๆ แต่ยังให้กำลังใจในยามที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ยาก หรือความท้าทายในชีวิตบทเพลง “GanHuai” ยังคงสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของดนตรีนานหยิน ที่บรรเลงโดยเครื่องดนตรีพื้นบ้านได้แก่ ผีผา,ซันเซียน, ต้องเชียว, เอิ้อนเซียนด้วยค่ะ นอกจากนี้ดนตรีนานหยินยังได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมในฐานะรูปแบบดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดจากทางตอนใต้ในมณฑลฟูเจียนของจีนที่ยังดำรงอยู่ และเป็นที่ได้รับการอนุรักษ์จากชาวสิงคโปร์เป็นอย่างดีค่ะ

ขอบคุณที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=GQ4BIo0ViJk&t=2s

การแสดง

        ในหน้านี้เราจะนำเสนออในเรื่องการแสดงของสิงคโปร์ การแสดงของสิงคโปร์จะมีความหลากหลายไปตามเชื้อชาติ ความเชื่อ และความเป็นอยู่ โดยส่วนใหญ่ความเชื่อของประชาชนจะเข้ามามีผลต่อการแสดงของประเทศสิงคโปร์เป้นอย่างมาก ทำให้สิงคโปร์เป้นประเทศที่มีศิลปะการแสดงที่หลากหลาย และน่าตื่นตาตื่นใจ รวมถึงทำให้เกิดความศรัทธาสอดแทรกอยู่อีกด้วย ศิลปะการเต้นรำ (หรือเรียกว่า Tiaowu หรือ เที่ยวอู่ ในภาษาจีน) ของประเทศสิงคโปร์ จะประกอบไปด้วยรูปแบบการเต้นรำแบบดั้งเดิมและแบบร่วมสมัย นับเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ค่อนข้างน้อยในเรื่องศิลปะการเต้นรำแบบแปลกใหม่ วิจิตรบรรจง และเชี่ยวชาญค่ะ อัตลักษณ์ของประเทศสิงคโปร์ผ่านศิลปะการเต้นรำถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทาย ซึ่งมักพัฒนาจากการรับรู้จากภายนอก มากกว่าการรับรู้และตระหนักถึงความคิดสร้างสรรค์ที่ได้มีมาแต่เดิมภายในท้องถิ่นค่ะ โดยในวันนี้เราได้ยกตัวอย่างการแสดงที่สำคัญๆมาให้ชมกันค่ะ ไปชมกันเลยดีกว่าค่ะ

        การแสดงแรก เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นแล้วกับการแสดงเชิดสิงโตค่ะ อย่างที่ทราบกันดีว่าประชากรส่วนใหญ่ที่มีจำนวนมากที่สุดในสิงคโปร์จะเป็นคนเชื้อจีนค่ะ จึงทำให้สิงคโปร์ได้รับอิทธิพลจากจีนมาเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะในด้านการแต่งตาย ภาษา รวมไปถึงด้านของการแสดงและเทศกาลในวันสำคัญที่มีการจัดขึ้น โดยมักจะต้องมีนำเอาการเชิดสิงโตมาแสดง เพื่อส่งเสริมความเป็นสิริมงคลค่ะ เนื่องจากคนจีนเชื่อว่าสิงโตจะนำความโชคดีและโชคลาภมาให้จึงมักจะมีการเชิดสิงโตในงานสำคัญๆของประเทศค่ะ อย่างเช่น ในงานขึ้นบ้านใหม่ งานปีใหม่ การเปิดกิจการร้านค้า การเปิดงานกิจกรรมต่าง ๆ ก็มักจะมีขบวนเชิดสิงโตมาประกอบด้วย

ขอบคุณที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=aX0MK6UVnRI

         การแสดงชุดต่อมา คือ บังสาวัน (Bangsawan) ค่ะ ซึ่งเป็นการแสดงละครร้องเหมือนกับการแสดงโอเปร่าของทางยุโรป ทั้งยังเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศสิงคโปร์ค่ะ โดยมีจะการแสดงประกอบกับการร้องบทละครออกมาเป็นเพลงด้วยตัวของนักแสดงเอง พร้อมกับการการเต้นประกอบเสียงดนตรี ในท่าทางและอารมณ์ต่าง ๆตามบทบาทที่ได้รับค่ะ การแสดงนี้สร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชมเป็นอย่างมาก โดยการแต่งกายที่จะมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสวยงามสีสดใส การแสดงละครร้อง ที่ถูกเรียกว่า บังสานี้ เป็นการแสดงที่ได้รับอิทธิพลต้นแบบมาจากเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซียนั่นเองค่ะ

ขอบคุณที่มา : http://department.utcc.ac.th/thaiculture/images/2T2J1997.jpg

ขอบคุณที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=Py5-s1_zIXY

แหล่งอ้างอิง

         ดิฉันขอขอบพระคุณแหล่งที่มาของข้อมูลดีๆ ที่ทำให้บล็อกนี้มีความสมบูรณ์ และสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีค่ะ 

  • https://sites.google.com/site/cirsakdi34/11-wathnthrrm/11-3-dntri
  • http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%8C#.E0.B8.94.E0.B8.99.E0.B8.95.E0.B8.A3.E0.B8.B5
  • http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%8C
  • http://www.dmc.tv/pages/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD…%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2.html
  • https://instrumentasean.wordpress.com/
  • http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/21943-00/
  • https://docs.google.com/presentation/d/1I31-yKs397L8f2R_HnIW1lXrIOgSWrC92Zq5CyMw55A/edit#slide=id.p89
  • http://www.toasean.com/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%8C/
  • http://porploy31.blogspot.com/2013/06/blog-post.html

         บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาดนตรี ดิฉันขอขอบพระคุณ คุณครูสุทัศน์ ตั้งฮั่น  คุณครูผู้ให้คำแนะนำในการนำเนื้อหามาบูรณาการกับวิชาคอมพิวเตอร์

ผู้จัดทำ

น.ส.โยสิตา ยิ่งเจริญลาภผล (Yosita Yingcharoenlappol)
ศึกษาอยู่ที่ : โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6
คติประจำใจ : ไม่ถึงต้องเขย่ง ไม่เก่งต้องขยันLaughing
Facebook : vavayo
E-mail : y_ooyoo@hotmail.com