สร้างเมื่อ จันทร์, 06/06/2559 – 13:43

           สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกเรื่อง บอนสี caladium “ ราชินีแห่งไม้ใบ ” “Queen of the Leafy Plant” ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งในหลายชนิดที่ปลูกอยู่ในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ในการจัดทำแหล่งเรียนรู้ออนไลน์เกี่ยวกับบอนสี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ในการจัดทำครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ หนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่างๆ อีกทั้งได้สอบถามผู้รู้ได้แก่คุณครู เจ้าหน้าที่ในโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งข้าพเจ้าต้องขอขอบพระคุณมาณที่นี้

           ข้าพเจ้าหวังว่าข้อมูลเรื่องบอนสีนี้ คงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง หรือผิดพลาดประการใด ขอความกรุณาแจ้งมายังข้าพเจ้าได้ เพื่อจะได้ทำการแก้ไขต่อไป

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
webmaster@thaigoodview.com

ที่มาของภาพ นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ประวัติความเป็นมา

ประวัติบอนสีในไทย

เส้นทางการแพร่หลายของบอนสี
ที่มาของแผนที่ 
https://broadcast.lds.org/crowdsource/mobile/images/1545915/bbebaca6d1cc4bdc8ddeef31cf5bc792/3137×2048.jpg

           บอนสีมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แพร่หลายเข้ามาทางทวีปยุโรป อินเดีย จนถึงประเทศอินโดนีเซีย และคาดว่าแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยมากับเรือสำเภาของพ่อค้าจีน คือ Caladium schomburgkii (Andre’) M.Madison หรือที่เรียกกันว่า ว่านโพธิ์ทอง หรือว่านพระอาทิตย์ เส้นใบสีชมพู และว่านโพธิ์เงินหรือว่านพระจันทร์ เส้นใบสีขาว เชื่อกันว่าหากใครปลูกเลี้ยงบอนสีทั้งสองต้นจะเป็นสิริมงคล เมตตามหานิยม และช่วยค้าขายดี

ว่านพระอาทิตย์
ที่มาว่านพระอาทิตย์ http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/203661.jpg

ว่านพระจันทร์
ที่มาว่านพระจันทร์ http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/124286.jpg

           บอนสีจึงเป็นที่นิยมและปลูกเลี้ยงกันเรื่อยมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการปลูกเลี้ยงบอนสีหลายสายพันธุ์ เช่น พระยาเศวต วัวแดง ช้างเผือก ใบบัว จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์การปลูกเลี้ยงบอนสีก็ยิ่งมีความหลากหลายมากขึ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปในปี 2440 และ พ.ศ. 2450 ทรงนำพรรณไม้จากต่างประเทศเข้ามาปลูกในประเทศหลายชนิด สำหรับบอนสีที่นำเข้ามาในปี พ.ศ. 2440 เป็นบอนสีประเภทใบไทย แต่เรียกกันว่า “บอนฝรั่ง” มีพื้นใบสีแดงเข้มและสีแดงอ่อน บางชนิดมีพร่าเหลือบสี เช่น แดงสรรพศาสตร์ แดงภาณุรังสี แดงสุริยัน ไก่อัมรินทร์ ไก่ราชาธิราช ไก่วสันต์ ฯลฯ ส่วนบอนสีที่นำเข้ามาในปี พ.ศ. 2450 เป็นบอนสีประเภทใบไทยเช่นกัน แต่มีความหลากหลายของสีสันมากขึ้น พื้นใบมีตั้งแต่สีแดงเข้ม สีแดงอ่อน สีชมพู สีชมพูอ่อน บางชนิดเป็นเหลือบสีเหลือง พื้นใบมีเม็ดสีขาว สีแดง หรือมีเม็ดสองสีปนกันและยังมีบอนป้ายที่มีแถบด่างพาดบนพื้นใบ ซึ่งถือว่าเป็นยุคเริ่มต้นของความนิยมปลูกเลี้ยงบอนสีของไทย

พระยาเศวต หรือ ว่านพญาปัจเวก
ที่มาของภาพพระยาเศวต
http://www.thaiarcheep.com/wp-content/uploads/2014/08/%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2.jpg

           สมัยนั้นความนิยมปลูกเลี้ยงบอนสีอยู่ในกลุ่มขุนนาง ข้าราชบริพารเท่านั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงแบบธรรมชาติ คือปล่อยให้บอนพักตัวในฤดูหนาว ใบเหี่ยวเฉา เหลือแต่หัวฝังจมใต้ดิน รอจนกว่าจะถึงฤดูฝน ใบเริ่มแตกขึ้นมาใหม่จึงเริ่มเลี้ยงกัน จนช่วงปี พ.ศ. 2472-2475 การปลูกบอนสีได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนทั่วไปเริ่มจากบรรดาขุนนาง ข้าราชบริพารได้นำบอนสีไปถวายให้พระสงฆ์และบุคคลสำคัญที่สนิทสนมกัน แต่การปลูกเลี้ยงบอนสียังจำกัดเฉพาะในกลุ่มคนมีเงินละตามวัดวาอารามเท่านั้นเนื่องจากบอนสีมีราคาสูง เช่น บอนสี “นกยิบ” ที่มีราคา 10 ชั่ง เท่ากับ 800 บาท (มีมูลค่าเป็นแสนบาทในปัจจุบัน) และเรียกกันว่า “นกยิบสิบชั่ง”

           จากนั้นจึงเริ่มพัฒนาเทคนิคการปลูกเลี้ยงที่แตกต่างไปจกาเดิม เช่น มีการนำแก้วน้ำดื่มหรือแก้วครอบพระมาครอบต้นบอน บางรายก็นำเข้าตู้กระจกเพื่อป้องกันการพักตัวของบอน การผสมเกสรให้ติดเมล็ด ซึ่งทำให้มีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น และมีการนำต้นบอนสีมาแลกเปลี่ยนกันในหมู่ผู้ปลูกเลี้ยงมีการตั้งชื่อตามลักษณะใบและสีสัน แบ่งเป็นกลุ่มโดยเรียกชื่อว่า “ตับ” ตามละครในวรรณคดีบ้าง ชื่อจังหวัดบ้าง หรือชื่อบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์บ้าง จนมีการตวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มของนักเล่นบอนสีซึ่งมีสถานที่ชุมนุม 5 แห่งได้แก่

  1. สนามบาร์ไก่ขาว ตั้งอยู่บริเวณร้านเมธาวลัยศรแดงในปัจจุบัน ใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในอดีตมีการนัดชุมนุมเดือนละ 1 ครั้ง มีการจัดประกวดละตั้งชื่อจดทะเบียนบอนสีสายพันธุ์ใหม่ๆ ละแบ่งเป็นตับต่างๆ เช่น ตับพระอภัยมณี ตับขุนช้าง ตับนก สถานที่แห่งนี้จึงมีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงบอนสีในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก และยังการการรวบรวมลักษณะบอนสีที่ตั้งชื่อไว้แล้วจำนวน 160 ต้นเพื่อจัดพิมพ์เป็นเล่มอีกด้วย
  2. วัดอินทรวิหาร เทเวศร์ โดยจางวางหลุย วังบางขุนพรหม เป็นผู้ริเริ่มรวมกลุ่มผู้ปลูกเลี้ยงบอนสีขึ้น และมีการชุมนุมทุกวันเสาร์ต้นเดือน ซึ่งผู้ชนะการประกวดจะได้รับรางวัลเป็นปั้นน้ำชา
  3. บ้านเจ้าคุณทิพย์ ปากคลองบางลำพูบน โดยมีพระยาทิพย์โกษาเป็นผู้ริเริ่มให้มีการพบปะกันทุกวันเสาร์-อาทิตย์ สามารถเข้าชมฟรี สำหรับผู้ส่งประกวดเสียค่าธรรมเนียมท่านละ 1 บาท
  4. วัดสระเกศ เป็นสำนักเลื่องชื่อ มีชมรมบอนสี 3 ชมรม โดยแยกเป็นหมู่คณะ ได้แก่ อาจารย์หรุ่น อาจารย์เป๋ หมวดเจิ่ง ทั้งหมดเป็นพระภิกษุ สถานที่แห่งนี้มีผู้นิยมไปชุมนุมมากที่สุดในยุคนั้นและเป็นเช่นนั้นมาถึง 10 ปี
  5. ร้านเสาวรส บางลำพู หลังห้างเสาวรส มีการจัดประกวดบอนสีอยู่เป็นประจำเมื่อในอดีต

แม้ในช่วงเวลาที่่ผ่านมาบอนสีได้รับความนิยมอย่างมาก แต่เพียงไม่นานก็เงียบหายไป จนในปี พ.ศ.2508 มีผู้สั่งบอนใบยาวจากสหรัฐอเมริกามาปลูกเลี้ยงกันมากขึ้น และทดลองผสมพันธุ์ใหม่ๆ กันมากมาย บอนสีจึงได้รับความนิยมอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2520 ตลาดต้นไม้สนามหลวงก็มีผู้นำบอนสีแปลกใหม่มาจำหน่ายกันในราคาค่อนข้างสูงเช่น “นายโชติ” มีราคาสูงถึง 35,000 บาท จนเมื่อตลาดต้นไม้ย้ายไปที่ตลาดจตุจักร ส่งผลให้ความนิยมบอนสีลดลงอีกครั้ง แต่ด้วยความตั้งใจของผู้ปลูกเลี้ยงบอนสี พลตำรวจเอก พจน์ บุณยะจินดา และนักปลูกเลี้ยงหลายท่าน จึงร่วมกันจัดตั้ง สมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2525 พร้อมกับดำรงตำแหน่งนายกสมาคม โดยมีจุดประสงค์ให้นักปลูกเลี้ยงบอนสีร่วมกันอนุรักษ์พันธุ์บอนสีที่เกิดจากฝีมือของคนไทยมาหลายชั่วอายุคนไม่ให้สูญพันธุ์ไป พร้อมกับพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ให้มีมากขึ้น มีการจัดประกวดบอนสีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บอนสีมีความนิยมสูงสุดในช่วงวลานั้น และยังมีหนังสือบอนสีเกิดขึ้นหลายเล่ม
จนถึงปัจจุบันสมาคมได้กีอตั้งขึ้นมานานถึง 30 ปีแล้ว แต่สมาชิกและนักปลูกเลี้ยงบอนสีทุกท่านก็ยังคงร่วมกันพัฒนาวงการให้กว้างขวางขึ้น มีการจัดประกวดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด เพื่อต้องการอนุรักษ์สายพันธุ์และความรู้ด้านการปลูกเลี้ยงบอนสีของคนไทยให้คงอยู่ตลอดไป อีกทั้งยังมีการปลูกประดับร่วมกับพรรณไม้อื่นในงานภูมิสถาปนิก มีการผลิตกล้าพันธุ์ การผลิตหัวพันธุ์บอนสีสำหรับส่งจำหน่ายต่างประเทศ และการปลูกเลี้ยงเพื่อผลิตเป็นไม้ตัดใบ กล่าวได้ว่า บอนสีมีการปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่องจนได้สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีศักยภาพในด้านไม้ประดับไม่น้อยไปกว่าไม้ประดับอื่นๆเลย

ที่มาของข้อมูล
หนังสือ "บอนสี ราชินีแห่งไม้ใบ" โดยสมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย
http://www.oknation.net/blog/bonsi/2013/11/19/entry-1
ที่มาของภาพที่จัดทำแบนเนอร์ นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ลักษณะทั่วไป

ลักษณะทั่วไป

             เนื่องจากบอนสี ( Caladium ) เป็นไม้ใบที่มีสีสันและลายใบสวยงาม ตลอดจนขนาดรูปใบแตกต่างมากจนได้รับการขนานนามว่า “ ราชินีแห่งไม้ใบ ” “Queen of the Leafy Plant” เป็นพืชในวงศ์ Araceae สกุล Caladium มีถิ่นกำเนิดแถบทวีปอเมริกาใต้และประเทศในเขตร้อนทั่วไป บอนสีเป็นไม้ประเภทล้มลุกที่มีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดินคล้ายหัวเผือกหรือมัน มีรากเป็นเส้นฝอยเล็กๆ แทงออกมาระหว่างหัวกับลำต้นและพักตัวในฤดูหนาวโดยจะทิ้งใบจนหมดและเริ่มผลิใบเจริญเติบโตอีกครั้งในฤดูฝน

             บอนสี หรือที่เรียกกันแต่เดิมว่า “บอนฝรั่ง” (Caladium Bicolor) จากชื่อทำให้คาดเดาได้ว่าเป็นพืชที่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย จากหลักฐานพอสรุปได้ว่าบอนสีปลูกเลี้ยงกันในต่างประเทศมานานกว่า 300 ปีแล้ว มีการสันนิษฐานว่า บอนสีบางต้นมีผู้นำเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีการติดต่อค้าขายกับชาวจีน ชวา เปอร์เซีย และมีความสัมพันธุ์กับชาวยุโรปเป็นอย่างดี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเสด็จนิวัตพระนครหลังเสด็จประภาสยุโรป ราวปี พศ. 2444 ทรงนำพันธุ์ไม้หลายชนิดจากยุโรปเข้ามาปลูกในประเทศไทย ในจำนวนพันธุ์ไม้เหล่านี้มีบอนฝรั่งหรือบอนสีรวมอยู่ด้วย ในช่วงแรกปลูกเลี้ยงกันเฉพาะในกลุ่มของเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และมักปิดบังวิธีการปลูกเลี้ยงและการผสมพันธุ์บอน จนกระทั่งความนิยมปลูกเลี้ยงบอนสีเสื่อมลง บอนสีพันธุ์ต่างๆ จึงได้แพร่หลายสู่ประชาชนทั่วไป

 ที่มาข้อมูล http://www.oknation.net/blog/caladium/2009/08/18/entry-1

บอนสีต่าง ๆ ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=U5Aznl8bfLg

ที่มาของภาพที่จัดทำแบนเนอร์ นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล

การเพาะปลูก

การเพาะปลูกและขยายพันธ์

ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=_lNTJmzy4hw
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=ab2aSXuRaPs&t=1s
ประมวลภาพบอนสี

ประมวลภาพบอนสี

          บอนสีในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด และมีชนิดใหม่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์กันขึ้นเรื่อย ในที่นี่จะพยายามรวบรวมชนิดของบอนสีมาให้ชมกัน

Caladium, “Florida Sweetheart”
ที่มาของภาพ
 https://forestgardenblog.files.wordpress.com/2014/06/may-29-2014-after-the-rain-0231.jpg?w=510&h=382
Caladium, “Miss Muffet”
 ที่มาของภาพ
 https://forestgardenblog.files.wordpress.com/2014/06/may-29-2014-after-the-rain-025.jpg
Caladium, “Florida Fantasy”
ที่มาของภาพ 
https://forestgardenblog.files.wordpress.com/2014/06/june-10-2014-wait-for-it-024.jpg?w=510&h=382
Caladium, “Red Flash” 
ที่มาของภาพ 
https://forestgardenblog.files.wordpress.com/2014/06/june-7-2014-garden-067.jpg
Caladium, “White Christmas”
ที่มาของภาพ 
https://forestgardenblog.files.wordpress.com/2014/06/june-7-2014-garden-025.jpg
บอนสี, “อัปสรสวรรค์” 
ที่มาของภาพ 
http://www.bloggang.com/data/pemiga/picture/1187711037.jpg
บอนสี, “หลวงประสิทธิ์”
ที่มาของภาพ 
http://www.bloggang.com/data/pemiga/picture/1187710785.jpg
บอนสี, “พระยาจักรี” 
ที่มาของภาพ http://www.caladium.sc.chula.ac.th/
 
     
กวนอิม ปิ่นรัตน์ นพเก้า กันตนา
เอลซาวาดอร์ สงขลา อิเหนา มิ่งมเหสี ไม่ทราบชื่อ
ปิ่นรัตน์ สงขลา (ตับจังหวัด) เจ้าหญิง ฝนหลวง
มัฆวานรังสรรค์ (บอนป้าย) เหลืองสดุดี เกษตรศาสตร์ ทองประกายแสด
พระเพื่อนพระแพง อรุณรุ่ง ลายไทย เสือพราน(ต.ช.ด.)
เรือนแก้ว(บอนกาบ) รุ้งตะวัน (บอนกาบ) พระยามนต์ จำชื่อไม่ได้
หลวงปู่ใหญ่(บอนกาบ) คุณนายทองม้วน นพเก้า ไก่ตัวงาม
สาวน้อยประแป้ง บางก็เรียกพริกกะเกลือ คุณหญิงและดอกที่พร้อมสำหรับการผสมพันธุ์
ลูกไม้ (ใบเกือบจะเป็นสีดำแล้ว) วิมลสาคร โคบุตรและฝักที่ติดผล(ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก) ขุนไกร(บอนป้าย)ตับขุนแผน
ยวงที่หลุดออกจากฝัก(1 ยวงมีเมล็ด 2-20 เมล็ด) เมืองชล (ตับจังหวัด)

ที่มาของข้อมูล 

  • https://forestgardenblog.wordpress.com/2014/06/10/crazy-for-caladiums/
  • http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pemiga&month=21-08-2007&group=6&gblog=5
  • http://www.oknation.net/blog/caladium/2009/08/18/entry-1

ที่มาของภาพที่จัดทำแบนเนอร์ นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล