เจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยว
จังหวัด ปัตตานี
เรื่องเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยวเป็นตำนานที่เล่ากันมาหลายร้อยปี
ศาลที่ประดิษฐานรูปสลักเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยว ปัจจุบันตั้งอยู่กลางเมืองปัตตานี
ชาวบ้านเรียก ศาลเจ้าเล่งจู เกียงตำนานเกี่ยว กับศาลเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยวมีว่า
แต่เดิมนั้นเมืองปัตตานีเรียกว่า เมืองตานี
เป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีเรือสำเภานำสินค้าจากต่างเมืองมาค้า
ขายและขนถ่ายสินค้าเป็นประจำ ลิ่มโต๊ะเคี่ยมเป็นพ่อค้าหนุ่มชาวจีนนำเรือสำเภาไปค้าขายตามเมืองต่างๆ
ได้แวะมาที่เมืองตานี และนำสินค้าเครื่องบรรณาการไปมอบให้เจ้า
เมืองตานี จึงได้มีโอกาสพบธิดาเจ้าเมืองซึ่งมีรูป
โฉมงดงาม ลิ่มโต๊ะเคี่ยมเกิดหลง รักอย่างถอนตัวไม่ขึ้น
ส่วนนางก็มีใจตรงกัน ติดขัดอยู่ที่ว่าฝ่ายชายเป็นคนต่างชาติ
ต่างศาสนา บิดาของนางจึงขอให้ลิ่มโต๊ะเคี่ยมเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามตามอย่างนาง
ซึ่งลิ่มโต๊ะเคี่ยมก็ยินยอมโดยได้ส่งเรือสำเภาให้เดินทางกลับไปส่งข่าวให้มารดาทราบว่าตนจะตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองตานี
ไม่กลับไปเมืองจีนอีก เมื่อมารดาทราบข่าวก็ เศร้าโศกเสียใจมาก
นางลิ่มกอเหนี่ยวผู้เป็นน้องสาวจึงตัดสินใจเดินทางมาหาพี่ชายเพื่อขอร้องให้กลับไปเยี่ยมมารดา
เมื่อลิ่มกอเหนี่ยวมาที่เมืองตานี
ก็พบว่าพี่ชายได้เข้ารีตนับถือศาสนาอิสลาม และกำลังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยเจ้าเมืองตานีก่อ
สร้างมัศยิดหลังใหญ่เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานทางศาสนาซึ่งนางเห็นว่าเป็นความผิดอย่างมหันต์
เพราะจะทำให้วิญญาณของบรรพ บุรุษต้องเสียใจที่ลูกหลานนอกรีตนอกรอย
นางพยายามขอให้พี่ชายวางมือจากการก่อสร้าง แต่ลิ่มโต๊ะเคี่ยมก็ไม่ยอมฟังเสียง
ในที่สุดนางลิ่มกอเหนี่ยวก็ลั่นวาจาสาปแช่งขออย่าให้พี่ชายสร้างมัสยิดได้สำเร็จได้
แล้วคืนนั้นเอง นางก็ตัดสินใจผูกคอตายกับกิ่งมะม่วงหิมพานต์ที่ตรงหน้ามัสยิดที่กำลังก่อสร้างนั้น
เมื่อลิ่มโต๊ะเคี่ยมรู้ก็เศร้าโศกเสียใจ และได้จัดการ
ฝังศพนางไว้ใต้ต้นมะม่วงหิมพานต์ต้นนั้น
หลังจากทำศพน้องสาวเสร็จ
ลิ่มโต๊ะเคี่ยมก็พยายามสร้างมัสยิดต่อไป โดยเจตนาให้เป็นอนุสรณ์แก่น้องสาวด้วยแต่
ปรากฏว่า เมื่อสร้างไปถึงยอดโดมอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญก็เกิดเหตุอัศจรรย์ฟ้าผ่าลงตรงกลางทำใหห็ยอดโดมพังทลายลงมา
ครั้งแรกยังไม่มี ใครคิดเป็นอย่างอื่นนอกจากเห็นว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติและลงมือสร้างต่อไปใหม่
แต่พอสร้างถึงยอดโดมก็เกิดฟ้าผ่าเปรี้ยงลงมาเป็นครั้งที่สอง
ทำให้ยอดโดมพังทลายลงไปอีก ลิ่มโต๊ะเคี่ยมจึงนึกถึงคำสาปแช่งของนาง
ลิ่มกอเหนี่ยวขึ้นมาได้และสั่งให้คนวางมือจากการก่อสร้างทั้งๆที่สร้างเสร็จแล้วเป็นส่วนมากเหลืออยู่แต่เพียงยอดโดมที่
เป็นสัญลักษณ์ของมัสยิดเท่านั้น
มีเรื่องเล่าว่า
เมื่อประมาณร้อยปีมานี้ มีผู้พยายามสร้างยอดโดมต่อ
แต่ก็ประสบเหตุอาถรรพ์เช่นเดิมอีก กล่าวคือเกิดฟ้าผ่าลงมาตรงกลางครั้งที่สาม
เป็นเหตุให้ผู้คนเชื่อว่าเป็นเพราะคำสาปแช่งของนางลิ่มกอเหนี่ยวนั่นเอง
ในปัจจุบันมัสยิดแห่งนี้ยังคงเหลือ โครงร่างอยู่เช่นเดิม
ที่ตำบลรือเซาะ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร
และหลุมศพของนางลิ่มกอเหนี่ยวก็ยังคงปรากฏอย ู่เช่นกัน
เรื่องเมืองปัตตานีสร้างมัสยิดไม่สำเร็จเพราะคำสาปแช่งของนางลิ่มกอเหนี่ยวได้แพร่สะพัดไปทั่ว
ต่างก็ร่ำลือถึงความศักดิ์สิทธิ์และอาถรรพ์ของคำสาป
หลุมศพของนางลิ่มกอเหนี่ยวจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
มีคนไปกราบไหว้ไม่ขาด และเชื่อกันว่าเป็นหลุมศพของเจ้าแม่
เมื่อมีเรื่องทุกข์ร้อนก็พากันไปบนบานศาลกล่าวขอให้เจ้าแม่ช่วยเหลือ
และก็ปรากฏว่าสัมฤทธิผลไปตามๆกันคน จึงพากันนับถือมากขึ้นทุกที
ต่อมามีชาวจีนคนหนึ่งได้ตัดกิ่งมะม่วหิมพานต์ที่นางลิ่มกอเหนี่ยวผูกคอตายนำไปแกะสลักเป็นรูป
เหมือนของนางและสร้างศาลเล็กๆ
ขึ้นไว้ใต้ต้นมะม่วงหิมพานต์นั้น นำรูปแกะสลักไปประดิษฐานไว้ให้คนไปเคารพบูชา
เมื่อไม่นานมานี้เอง
ชาวจีนในจังหวัดปัตตานีส่วนมากมีความเห็นว่า ศาลเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยวเป็นที่เคารพบูชาของคนทั่วไป ด้วยถือว่าเป็นศาลศักดิ์สิทธิ์ แต่ศาลนั้นตั้งอยู่ไกลจากตัวเมือง
ไม่สะดวกแก่การประกอบพิธีบวงสรวง จึงได้ร่วมมือกันสร้างศาลเจ้าแห่ง
ใหม่ขึ้นที่ตัวเมืองปัตตานี
คือ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง และอัญเชิญรูปสลักเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยวมาประดิษฐานที่
ศาลเจ้าแห่งใหม่ และยัง คงเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไปตราบจนทุกวันนี้
|