ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific
Name ):
Psilanthus bengalensis (Roem.& Schult) J.
Leroy
ชื่อวงศ์
(
Family Name ):RUBIACAE
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มเตี้ยสูงประมาณ
1 เมตร แตกกิ่งจำนวนมาก ที่ใกล้พื้นดิน ลำต้นและกิ่งมีเส้นผ่าศูนย์ กลาง
0.2 - 0.4 เซนติเมตร กื่งกรอบหักง่าย ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามเป็นคู่ใบรูปไข่
กว้าง 3 - 5 เซนติเมตร ยาว 5 - 8 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนใบสอบ
ใบสีเขียวเข้มเป็นมันก้านใบยาว 0.8เซนติเมตร จุดเด่นของดอก เป็นดอกเดี่ยวมีสีขาว
ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวรูปถ้วย
โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสีขาวยาว 1 - 2เซนติเมตร
ปลายแยกเป็น 4 กลีบ แต่ละกลีบกว้าง 0.2 - 0.3 เซนติเมตร
ยาว 1.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางดอก3 - 3.5 เซนติเมตร
ดอกบานและส่งกลิ่นหอมแรงในช่วงกลางคืน หอมอ่อนในเวลากลางวัน
ออกดอกตลอดปี แต่ดอกดกในช่วง กุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์และการปลูกเลี้ยง ขยายพันธุ์โดยการปักชำและตอนกิ่ง
การตอนกิ่งโดยวิธีควั่นจะหักง่าย เนื่องจากกิ่งเล็กและเปราะ ตึงควรมัดกิ่งกับหลัก
หรือผูกโยงด้วยเชือกกันกิ่งหัก การตอนกิ่งโดยวิธีปาดหรือกรีด
ให้เป็นแผล ยาวจะให้ผลดีขึ้น ส่วนการปักชำควรใช้กิ่งที่ยางประมาณ
10 - 15เซนติเมตร ปักชำในทรายผสมขี้เถ้าแกลบและวางกะบะปักชำในกระโจม
พบว่าออกรากได้ดีขึ้นเหมาะที่จะปลูกลงกระถางหรือลงแปลงในที่ร่มรำไร
การใช้ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
ไม้พุ่มเตี้ย และมีดอกแข็งแรง
|