การเสพติด

 

Homemai's storyยาบ้าผลกระทบป้องกันรักษาพ.ร.บ.

maiiam_@hotmail.com

ใครติดยา 
การเสพติด 
แนวทางป้องกันรักษา 
ค่ายกับยาเสพติด 
ป้องกันตนจากคนเมายา 
ยาบ้ากับลูกรัก 

เสพยากับติดยา

        เมื่อกล่าวถึงปัญหาสารเสพติด  ยังมีความเข้าใจผิดอยู่มากในเรื่องของ  "การใช้ยา" และ"การเสพติดยา" ทำให้การพิจารณากระบวนการดูแลรักษาเป็นไปได้ค่อนข้างยุ่งยากรวมทั้งอาจทำให้เกิดปัญหาในกระบวนการประเมินผลกิจกรรมการรักษาด้วย ในช่วงเริ่มต้นของ "การใช้ยา"  นั้น  ผู้ใช้ยังอาจไม่มีสภาวะเสพติดเกิดขึ้น  โดยเฉพาะหากใช้สารที่มีฤทธิ์เสพติดไม่สูง  แต่เมื่อมีการใช้ต่อเนื่อง ฤทธิ์เสพติดที่สารนั้นมีต่อร่างกายจึงจะทำให้เกิด  "ภาวะเสพติด"  ขึ้น

        องค์การอนามัยโลกได้ให้การนิยามของภาวะที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดไว้  ดังนี้

   1.  การใช้ยาในทางที่ผิด  (Harmful  use ,abuse)   หมายถึง  การใช้ยาเสพติดในลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ  ทั้งทางด้านร่างกายและด้านจิตใจ  เข่น  

       ภาวะซึม เศร้าจากการดื่มสุราอย่างหนัก

   2.  การติดสารเสพติด  (Depenedence  syndome)    มายถึง  ภาวะผิดปกติทางด้านพฤติกรรมสติปัญญาความคิดอ่าน  และระบบสรีระร่างกายซึ่งเกิดภายหลังจาก

      การใช้สารเสพสารซำ ๆและมีอาการต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

        1.  มีความต้องการอย่างรุนแรงที่จะใช้สารตัวนั้น ๆ

        2.  มีความยากลำบากในการควบคุมการใช้ทั้งปริมาณและความถี่

        3.  ยังคงใช้สารนั้นต่อไปทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย

        4.  หมกมุ่นอยู่กับการใช้สารเสพติดมากกว่าการทำกิจกรรมอื่นที่สำคัญกว่า

        5.  มีอาการดื้อยา  คือ ต้องเพิ่มปริมาณการใช้  เพื่อให้ได้ผลเท่าเดิม

        6.  เมื่อหยุดการใช้ยาจะเกิดอาการขาดยาหรืออยากยาทางร่างกาย(Physical  With drawal  Stage)

เข้าใจการเสพติด

        เมื่อเกิดภาวะเสพติดแล้ว  ผู้เสพติดส่วนหนึ่งอาจอยู่ในภาวะ "เมินเฉย"  คือไม่สนใจจะทำอะไรเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเอง  หลีก

เลี่ยงการยอมรับรู้เกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของพฤติกรรมที่มีอยู่  หรือบางรายอาจท้อใจเพราะม่สามารถที่จะหยุดพฤติกรรมเดิมได้ทั้งที่ได้พยายามครั้งแล้วครั้งเล่า

        ครอบครัวสามารถมีบทบาทช่วยเหลือได้ด้วยดารให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของการเสพติดทั้งนี้  จำเป็นต้องเป็นไปบนพื้นฐานของการเสริมสร้างสัมพันธภาพให้ผู้เสพติดมีความหวังและเกิดสำนึกรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคมด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น  ชักดชวนให้มีการระบายความรู้สึกนึกคิด  หรือใช้การบันทึกหรือบอกเล่าถึงชีวิตตนเองเพื่อให้ผู้เสพติดมีโอกาสใช้ความคิดทบทวนปัญหาชีวิตที่เกิดจากยาและต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมหรือนิสัยของตน  ขั้นตอนนี้  อาจต้องใช้เวลา  กำลังใจและความอดทนในทุกฝ่ายค่อนข้างสูงและสามารถเป็นไปได้โดยเทคนิคที่แตกต่างกันในแต่ลบะครอบครัว  วิธีการหนึ่งที่อาจช่วยได้  คือ  การส่งเสริมให้ผู้เสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาที่จะเป็นการจูงใจให้ผู้เสพติดเข้าใจภาวะการณ์และสภาพจิตใจของตนดียิ่งขึ้น  เมื่อผู้เสพเริ่มยอมรับและคิดถึงข้อดีและข้อเสียของพฤติกรรมการเสพติด  อาจเกิดภาวะสองจิตสองใจหรือรู้สึกลังเล  ครอบครัวและผู้บำบัดควรช่วยให้ผู้เสพพัฒนาสุ่ขั้นตอนต่อไป คือ ให้หมั่นสำรวจตัวเองถึงผลดีผลร้ายของพฤติกรรมเดิม  และเน้นเพิ่มการชี้ให้เห็นถึงข้อดีของพฤติกรรมใหม่  เช่น  ชักชวนให้คิดว่า  ชีวิตนี้น่าจะดีอย่างไรหากไม่ติดยา  เมื่อผู้เสพมีความร่วมมือระดับหนึ่งแล้ว  ควรมีการเตรียมพร้อมสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งรวมถึงการหาแนวปฏิบัติร่วมกัน  ยำถึงความตั้งใจจริง  เช่น  สัญญากับตนเอง  กับครอบครัวและกับบุคคลที่ผู้เสพติดเคารพนับถือ  และการขจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงตนเอง  คือ  การเรียนรู้ถึงชีวิตใหม่ที่ไม่เป็นทาสยาเสพติด  การร่วมมือในการบำบัดรักษาต่าง ๆ และการป้องกันไม่ให้เกิดติดยาซำอีกอาการของการเลิกใช้ยาหรือขาดยา โดยทั่วไป  ผู้ป่วยที่เลิกใช้ยาบ้าจะมีอาการทางร่างกายเพียงเล็กน้อย เช่น มือสั่น  เหงื่ออกมาก ปวดตามกล้ามเนื้อ  ง่วงนอนจัด  ปวดบิดในท้อง  หิวจัด  วิงเวียน  อ่อนเฟลีย  อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากการขาดยาไปเพียง 2-3 วัน  แม้อาการทางกายจะมีเล็กน้อยดังกล่าว แต่ผู้ใช้จะมีความรู้สึกทุกข์ทรมานมาก จากความอ่อนเปลี้ยเพลียแรงจนอาจไม่มีแรงแม้จะรับประทานอาหารได้  รู้สึกกระวนกระวายกระสับกระสาย  ความคิดสับสน  เช่น  ไม่รู้ว่า ตนเองเป็นใคร อยู่ที่ไหน ปวดศีรษะ  มีความรู้สึกร้อนสลับกับหนาวจัด  และผู้ที่ใช้ยาอาจทุรนทุรายจนเอะอะอาละวาดทำร้ายผู้อยู่ใกล้เคียงได้  ปํยหาที่สำคัญคือ  อาจพยายามฆ่าตัวตายได้ เพราะภาวะซึมเศร้าจากการขาดยา  ความรู้สึกเหล่านี้มักคงอยู่เป็นสัปดาห์  ทำให้ผู้เสพติดพ่ายแพ้จนกระทั่งนำไปสู่การแสวงหายานี้มาใช้อีก  เพื่อบำบัดตัวเองให้พ้นจากความทรมาน  กลายเป็นวัฏจักรที่ไม่สิ้นสุดของการเสพติด  อย่างไรก็ตาม  ในหมู่ผู้ที่มุ่งมั่นและมีความพร้อมต่อการเลิกยา  อาจพยายามผ่านพ้นอาการทุกข์ทรมานต่าง ๆ ข้างต้นได้และสามารถนำไปสู่การลิกใช้ยาในที่สุดกระบวนการเลิกยาเสพติด  โดยทั่วไปการเลิกยาในแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกัน  แต่อาจแบ่งออกเป้นระยะกว้าง ๆ ได้ ดังนี้

        ระยะมีอาการขาดยา

                เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 2-10 หลังจากการหยุดยาอาการที่รุนแรงคือ อาการอยากยาและซึมเศร้า  มีหลายคนที่มีอาการไม่รุนแรง   เช่น  มีเพียงปัญหา  

การนอนหลับยาก กินเก่ง  และไม่มีสมาธิ

        ระยะฮันนี่มูน

                       เป็นระยะต่อเนื่องจากระยะขาดยาและคงอยู่ได้นานถึง 6 สัปดาห์  ในช่วงนี้ผู้เลิกยาจะรู้สึกมีกำลังใจเพิ่มขึ้น กระตือรือร้น มองโลกในแง่ดี  มีความเชื่อมั่นมากจนหลายคนเข้าใจผิดว่าระยะนี้ เป็นการสิ้นสุดกระบวนการรักษาทั้งที่ในความเป็นจริง ยังมีความเสี่ยงต่อการกลับไปใช้ยารออยู่ในระยะต่อไป

        ระยะฝ่าอุปสรรค

                       จาก 6 สัปดาห์  ถึงประมาณ 4 เดือนหลังเลิกยา  ผู้เลิกยาจะรู้สึกรำคาญและเกิดอารมณ์ยุ่งยากและไม่สามารถใช้ความคิดได้เต็มที่ ส่วนมากผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้า หงุดหงิด  ไม่มีสมาธิ ไม่มีกำลัง  และขาดความกระตือรือร้น  เป็นระยะที่มีความเสี่ยงสูงมากในการกลับไปใช้ยาซำ

        ระยะปรับตัวหรือระยะคลี่คลาย

                        การเรียนรู้ถึงระยะต่าง ๆ ของการเลิกยาที่ผ่านมาจะช่วยให้ผู้เลิกยาเข้าใจสิ่งที่อาจชักนำให้กลับไปใช้ยาและเตรียมพร้อมต่อการแก้ไขอาการหรือปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเป็นหลักสำคัญในระยะปรับตัวโดยทั่วไป  เมื่อผู้เลิกยาสามารถปรับตัวใหม่กับชีวิตปกติ  หลังหยุดยาได้ 1 ปี จะมีความพร้อมและปลอดภัยเพียงพอต่อการดำรงชีวิตตามปกติ  รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ ในชีวิตได้  เช่น  การเรียนต่อการย้ายที่อยู่  การแต่งงานและภาวะที่ส่งผลกระทบทางจิตใจอื่น ๆ ในภาวะเสพติด  อาการอยากยาเกิดขึ้นได้จากฤทธิ์เสพติดทางกายของยา  ขณะเดียวกันสิ่งแวดล้อมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับการเสพยาในประสบการณ์ของผู้เสพติด  เช่น  ยาเสพติด  กลุ่มเพื่อน  ผู้ค้ายา  สถานที่  สิ่งของ  ความรู้สึกและเวลา  ล้วนเป็นสาเหตุร่วมที่ะกระตุ้นให้เกิดความคิดถึงกระบวนการเสพยาได้รุนแรงไม่แพ้ผลจากการเสพติดทางกาย  ความคิดที่จะใช้ยาจะเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว  หากผู้เสพติดปล่อยให้ตนเองคิดหมกมุ่นเรื่องการเสพยามากขึ้นเท่าใด  โอกาสที่จะกลับไปใช้ยาก็มีมากขึ้นเท่านั้น

        ดังนั้น  การที่ผู้เสพยาปล่อยตนเองให้คิดเกี่ยวกับการเสพยาอย่างต่อเนื่อง จะเป้นผลให้กลับไปใช้ยาอีก

        วิธีการที่จะช่วยป้องกันการเสพยาได้สำเร็จคือ  การตระหนักรู้ถึงความคิดอยากยาของตัวเองให้เร็วที่สุดและหยุดความคิดไว้ตั้งแต่เริ่มต้นก่อนที่จะรู้สึกอยากยาและไม่สามารถควบคุมตนเองได้เมื่อผู้เสพติดสามารถหยุดยาได้แล้ว  ต้องไม่ประมาท  ควรระมัดระวังการติดยาซำอีก  ต้องมีความอดทนให้สามารถหยุดยาได้อย่างถาวร  และตระหนักชัดเจนว่า  ยาเสพติดเป็นของแปลกปลอม   ห้ามสัมผัสหรือแตะต้องโดยเด็ดขาด

 คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่

ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2545
www.thaigoodview.com
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail :
thaigoodview@hotmail.com
ICQ : 82032264

Copyright(c) 2001 Miss Thanaporn Iamsoponkul. All rights reserved.