ป่าไม้

Home 
our  story 
มนุษย์ 
นิวเคลียร์ 
ทรัพยากร 
ระบบนิเวศน์ 
Contact me 
[น้ำ][ป่าไม้][อากาศ]

ทรัพยากรป่าไม้

 ป่าไม้   :     การใช้ประโยชน์  ปัญหาและการจัดการ

        ป่า  เป็นระบบนิเวศที่มีรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ ในป่ามีสิ่งชีวิตที่สำคัญอยู่ 3กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่สำคัญที่สำ ได้แก่ พืช ต้นไม้ใหญ่น้อยและเถาวัลย์ ไม้เลื้อย    กลุ่มที่สอง   ได้แก่  จุลินทรีย์  ไส้เดือน แมลง  กลุ่มที่สาม  ได้แก่  สัตว์ป่า
        
ป่าดิบชื้น     ลักษณะเป็นป่าทึบเขียวชอุ่มอยู่ในเขตฝนตกชุกตลอดปี พบมากที่สุดทางภาคใต้ ชายฝั่งใต้ ชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จันทบุรีภาคเหนือมีตามลำห้วยหุบเขา และไหล่เขาที่ชุ่มชื้น พรรณไม้ในป่า ได้แก่ ยางขาว ยางแดง ตะเคียน สยา ตาเสือ ตะแบก มะม่วงป่า
       
 ป่าดิบแล้ง     เป็นป่าไม่ผลัดใบ ป่ามีลักษณะโปร่งชื้น ขนาดไม้เล็กกว่า พื้นที่ป่าสูงกว่าระดับน้ำทะเล 500 เมตร พบในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พรรณไม้ในป่า ได้แก่ ยางแดง ตะเคียนหิน มะค่า โมง กะบาก เคี่ยม หลุมพอ
        
ป่าดิบเขา     เป็นป่าไม่ผลัดใบ พบบริเวณเขตเทือกเขาสูง ส่วนใหญ่อยู่บนภูเขาในภาคเหนือพื้นที่ป่าสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร จัดเป็นป่าต้นน้ำลำธาร โปร่งกว่าป่าดิบชื้น อากาศค่อนข้างเย็น พรรณไม้ในป่า ได้แก่ ไม้วงศ์ก่อ มะขามป้อมดง ยมหอม พญาเสือโคร่ง สนแผง อบเชย
        
ป่าพรุหรือป่าบีง     เป็นป่าที่มีน้ำจืดท่วมขังและชื้นตลอดปี สภาพดินเป็นดินพรุซึ่งเกิดจากการย่อยสลายอินทรียสาร มีมากในภาคใต้ พรรณไม้ในป่า ได้แก่ เสม็ด สำโรง ระกำ จิก อ้อ แขม หวายน้ำ หวายโป่ง กก เฟิน
      
  ป่าสนเขา     พบในบริเวณเทือกเขาสูงและที่ราบสูงกระจายเป็นย่อม ๆ ตามภูเขา สูงกว่าระดับน้ำทะเล 750 เมตร มีมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พรรณไม้ในป่ามีไม้สนเป็นหลัก ได้แก่ สนสองใบและสนสามใบ
        
ป่าเบญจพรรณ     เป็นป่าโปร่งประกอบด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายชนิดขึ้นปะปนกัน บางแห่งมีไผ่ขึ้นผสม พื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย มีมากในภาคเหนือ พรรณไม้ในป่า ได้แก่ สัก ประดู่แดง มะค่าโมง ชิงชัน ตะแบก
      
  ป่าเต็งรัง หรือ ป่าแดง ป่าแพะ     เป็นป่าโปร่งมีต้นไม้ขนาดใหญ่ พื้นที่แห้งแล้ง ดินร่วนปนทรายหรือกรวด ลูกรัง มีมากในภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นป่าที่แห้งมากมักเกิดไฟป่าบ่อย ๆ พรรณไม้ในป่า ได้แก่ เต็งรัง มะขามป้อม พะยอม ติ้ว แต้ว ประดู่แดง สมอไทย
        
ป่าชายหาด     เป็นป่าไม้โปร่งผลัดใบ อยู่ตามหาดทรายริมทะเลที่น้ำท่วมไม่ถึง พรรณไม้ในป่า ได้แก่ สนทะเล หูกวาง กระทิง โพธิ์ทะเล ตีนเป็ดทะเล

        มีการกำหนดสัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก 15 ชนิด ตามพระราชบัญญติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า  พ.ศ. 2535      ได้แก่ แมวลายหินอ่อน  พะยูน  เก้งหม้อ   นกกระเรียน   เลียงผา   กวางผา   ละองหรือละมั่ง   สมัน   กูปรี  ความป่า แรด กระซู่ สมเสร็จ นกแต้วแร้วท้องดำ และนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

การใช้ประโยชน์จากป่าไม้

        1.  ประโยชน์ที่ได้รับจากป่าโดยตรง  ปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ส่วนใหญ่ได้มาจากป่าไม้เช่นการนำไม้มาสร้างที่อยู่อาศัย เครื่องเรือน ใช้เป็นเชื้อเพลิง เป็นอาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม เนื้อที่ป่าไม้ซึ่งควรจะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของประเทศ ในปัจจุบันคงเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 20 ของเนื้อที่ของประเทศไทย
        2.  ประโยชน์ที่ได้รับจากป่าโดยอ้อม  ได้แก่  การเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งของการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ ต้นไม้ในป่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เกิดการหมุนเวียนคาร์บอน ไนโตรเจน น้ำ และแร่ธาตุอื่น

 


 จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 07 ตุลาคม 2545

thaigoodview.com Version 17.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

 Copyright(c) 2002 Miss Wirasa Chaileamwong and Miss Sureeporn Bumroongeiampanya. All rights reserved.